เปิดตัว E-visa อนุญาตให้ชาวต่างชาติสมัครวีซ่าสปป.ลาวในระบบออนไลน์

Lao e-Visa ซึ่งเป็นระบบที่อนุญาตให้ชาวต่างชาติสามารถยื่นขอวีซ่าเข้า สปป.ลาวผ่านระบบออนไลน์ได้เปิดตัวเมื่อวันที่ 9 ก.ค. ที่ท่าอากาศยานนานาชาติวัตไต การเคลื่อนไหวครั้งนี้คือการสร้างเงื่อนไขที่เอื้ออำนวยต่อความร่วมมือและผู้คน ต่อการแลกเปลี่ยนระหว่างสปป.ลาวกับประเทศอื่น ๆ อีกทั้งเพิ่มการไหลเข้าของนักท่องเที่ยวต่างชาติในประเทศ สปป.ลาวได้ลงนามในข้อตกลงยกเว้นวีซ่าแบบทวิภาคีกับ 46 ประเทศทั่วโลก ในช่วงเริ่มต้นของโครงการบริการ e-visa จะให้บริการสองช่องทางระหว่างประเทศ คือท่าอากาศยานนานาชาติวัตไต และสะพานมิตรภาพไทย – ​สปป.ลาว1 โดยใช้เว็บไซต์อย่างเป็นทางการhttps://laoevisa.gov.la .

ที่มา : http://kpl.gov.la/En/Detail.aspx?id=46982

กฎหมายทางการค้าสำคัญของกัมพูชาจะเริ่มบังคับใช้ในสิ้นปีนี้

การออกกฎหมายใหม่เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ อยู่ในขั้นตอนของการพิจารณา และจะถูกส่งผ่านก่อนสิ้นปีนี้ คือกฎหมาย อีคอมเมิร์ซ และการคุ้มครองผู้บริโภค โดยได้ถูกส่งไปยังคณะรัฐมนตรีที่จะตรวจสอบร่างเมื่อวันศุกร์ ก่อนที่จะส่งไปยังสมัชชาและวุฒิสภาเป็นขั้นตอนสุดท้าย โดยนายกรัฐมนตรีฮุนเซนจะเป็นประธานการประชุมในวันศุกร์นี้เพื่อหารือเกี่ยวกับร่างกฎหมาย ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยผู้บริโภคในการซื้อสินค้าและบริการในราคาที่เป็นธรรม รวมถึงเพิ่มคุณภาพและความหลากหลายของข้อเสนอที่มีให้ โดยคาดการณ์ว่ากฎหมายจะมีผลบังคับใช้ก่อนสิ้นปีนี้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50622358/key-commerce-laws-to-be-passed-this-year/

ค้าปลีก-ค้าส่งเหนื่อย

ธุรกิจค้าปลีก-ค้าส่ง เป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญ มีสัดส่วนถึง 16% ของจีดีพี โดยช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (51-61) เติบโตเฉลี่ย 6.8% ต่อปี ประเมินว่าปี 62 จีดีพีการค้าปลีกและการค้าส่งจะขยายตัว 5% ชะลอตัวลงจากปีก่อนที่ 8.5% โดยยอดขายธุรกิจค้าส่งจะเติบโตได้ต่ำ เนื่องจากเศรษฐกิจชะลอตัว ในขณะยอดขายธุรกิจคาดว่าจะขยายตัว 3-5% โดยช่องทางค้าปลีกที่เติบโต ได้แก่ ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาร์เก็ต นอกจากนี้ ร้านค้าปลีกออนไลน์ สำหรับร้านค้าปลีกในอดีตอย่าง ร้านค้าปลีกดั้งเดิม รวมไปถึงร้านค้าปลีกสินค้าเฉพาะอย่าง อาทิ ร้านค้าปลีกเฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องใช้ในครัวเรือน จะไม่เติบโตเนื่องจากได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป ส่วนระดับการทำกำไร 5 ปีที่ผ่านมาพบว่าอัตรากำไรสุทธิเฉลี่ยทรงตัวอยู่ที่ 3.4-3.9% มีกำไรสุทธิทรงตัวนอยู่ที่ 4.7-4.8% แต่ยอดขายยังขยายตัวได้อยู่ จากการประเมินผู้ค้าส่งจะเป็น กลุ่มที่ได้รับผลกระทบสูงที่สุด เนื่องจากผู้ผลิตเริ่มมองการปรับกลยุทธ์ขายสินค้าไปยังร้านค้าปลีกมากขึ้น ด้าน “ผู้ค้าปลีกมีแนวโน้มที่จะถูกแข่งขันจากร้านค้าปลีกที่เพิ่มขึ้น รวมถึงผู้ค้าปลีกออนไลน์ที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก”

ที่มา : https://www.khaosod.co.th/newspaper-column/economic-wheel/news_2689860

การเพิ่มขึ้นของ FDI เวียดนาม ส่งผลให้อุตสาหกรรมในประเทศดีขึ้น

จากข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) พบว่าในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ เงินทุนจดทะเบียนรวมจากการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศกว่า 7.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นจำนวนโครงการใหม่ 1,720 โครงการ ซึ่งนักลงทุนจากต่างชาติได้อัดฉีดเงินทุน เพื่อซื้อหุ้นและให้เงินสนับสนุนธุรกิจเวียดนาม คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 8.12 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นับว่าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเกือบ 2 เท่าในรอบปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ ทางรองผู้อำนวยการอุตสาหกรรมและการค้า กล่าวว่าธุรกิจเวียดนามจำนวนมากต้องเผชิญกับปัญหาด้านต้นทุน ข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูลการตลาด และความสามารถในการบริหารห่วงโซ่อุปทานยังไม่เพียงพอ รวมไปถึงไม่มีเขตอุตสาหกรรมที่เข็มข้น และโครงสร้างพื้นฐานที่ยังไม่เพียงพอต่อธุรกิจ ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลดำเนินปรับปรุงโครงสร้าง/ความสามารถของธุรกิจ และให้ความรู้ทางด้านเทคโนโลยี นวัตกรรมต่างๆ เป็นต้น

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/522396/rising-fdicalls-for-better-supporting-industry-experts.html#zEicRJ7upByfcuZM.97

สัมมนาความร่วมมือทวิภาคี จีน – เมียนมาจัดขึ้นที่ย่างกุ้ง

การสัมมนาในวันจันทร์ที่ผ่านมามีการหารือภายใต้หัวข้อเทคโนโลยีพลังงานสีเขียวและการพัฒนาที่ยั่งยืน การกำกับดูแล: ปัญหาและความท้าทายและความคืบหน้าของเส้นทางเศรษฐกิจจีน – เมียนมา ซึ่งประเด็นที่ถกเถียงกันคือทางเดินเศรษฐกิจจีน – เมียนมา (CMEC) เป็นการเชื่อมต่อแบบสองทางและเป็นประโยชน์ต่อทั้งสองประเทศจากการค้าและการลงทุนในระดับทวิภาคีเป็นส่วนหนึ่งของโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (BRI) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์และการค้า ด้านการค้าชายแดนของสองประเทศมีมูลค่ามากกว่า 4.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ 14 มิ.ย. ในปีงบประมาณปัจจุบัน (ปี 61 – 62) การค้าชายแดนส่วนใหญ่ผ่านด่านมูเซ ลแวแจ ชินชเวฮอ ด่าน Kanpikete และด่านเชียงตุง ในขณะเดียวกันได้อนุมัติโครงการลงทุนของจีนทั้งหมด 82 โครงการด้วยทุนกว่า 323.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 31 พ.ค.ของปีงบประมาณ 61-62

ที่มา : http://www.xinhuanet.com/english/asiapacific/2019-07/08/c_138209797.htm

อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในสปป.ลาว

สปป.ลาวเผชิญกับอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมาหลังจากถูกกดดันจากปัจจัยทางเศรษฐกิจหลายประการ การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคซึ่งเป็นผลมาจากสินค้าราคาแพง เช่น น้ำมัน ทองคำและอาหาร การอ่อนค่าของเงินกีบ สร้างความกังวลให้กับผู้บริโภคและผู้ประกอบการธุรกิจ ซึ่งตามข้อมูลจากเว็บไซต์ของธนาคารแห่งสปป. ลาวในเดือนมกราคมปีนี้อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 1.5 และยังคงเพิ่มขึ้นถึง 1.57% ในเดือนกุมภาพันธ์ ภายในเดือนมีนาคมเป็น 1.66%, ในเดือนเมษายนเป็น 2.21% และในเดือนพฤษภาคม 2.54% โดยเฉลี่ยเงินเฟ้อสูงขึ้น 1.9% ในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา ตามแผนประจำปีรัฐบาลได้กำหนดเพดานอัตราเงินเฟ้อที่ร้อยละ 5 อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วอัตราของ 5 เดือนแรกของปีนี้ก็สูงขึ้นเล็กน้อย

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/inflation-spikes-laos-99723

Smart holds ทดลงใช้ 5G

Smart Axiata ซึ่งเป็น บริษัท สื่อสารโทรคมนาคมมือถือชั้นนำของประเทศกัมพูชาได้เป็นเจ้าภาพการทดลอง 5G ครั้งแรกในประเทศกัมพูชา ซึ่งติดตั้งอุปกรณ์มือถือที่เปิดใช้งาน 5G จากหัวเว่ย แสดงให้เห็นว่าการเชื่อมต่อ 5G มีศูนย์กลางอยู่ที่ความเร็วกิกะบิตความหน่วงต่ำที่น่าเชื่อถือและการเชื่อมต่อขนาดใหญ่ โดยลงทุนกว่า 70-80 ล้านเหรียญสหรัฐ ในทุกๆปี โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายเพื่อปรับปรุงการเชื่อมต่อบรอดแบนด์ผ่านโทรศัพท์มือถือทั่วกัมพูชา ซึ่งการทดลองใช้ 5G แบบสดแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในอนาคตที่สามารถกำหนดรู้แบบของสังคมโดยการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจ โดย 5G ถูกคาดหวังว่าจะปฏิวัติโลกผ่านปัญญาประดิษฐ์ เมื่อในเดือนเมษายน Huawei ออกบริการ 5G เชิงพาณิชย์ในเกาหลีใต้และสวิตเซอร์แลนด์ และอีกหนึ่งเดือนถัดมาได้เปิดตัวบริการในสหราชอาณาจักรและฟินแลนด์ ซึ่งสเปนและอิตาลีจะได้รับบริการในเดือนนี้ เป็นประเทศต่อไป

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50622026/smart-holds-live-5g-trial/

หกเดือนแรกกัมพูชาส่งออกข้าวเพิ่มขึ้น 3.7%

กัมพูชาส่งออกข้าวสารจำนวน 281,538 ตัน ในช่วงครึ่งปีแรกเพิ่มขึ้น 3.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยรายงานล่าสุดจากกระทรวงเกษตร แสดงให้เห็นว่าตั้งแต่เดือนมกราคม – มิถุนายนผู้ส่งออกท้องถิ่น 75 ราย ส่งข้าวสารไปยัง 47 ประเทศ ซึ่งจีนยังคงเป็นตลาดข้าวที่ใหญ่ที่สุดของกัมพูชาโดยมีปริมาณการส่งออกอยู่ที่ 118,401 ตัน หรือ 42% ของการส่งออกทั้งหมด โดยอันดับรองลงมาคือฝรั่งเศสโดยส่งออก 37,515 ตัน โดยภายในสิ้นปีผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่คาดการว่าส่งออกจะสูงถึง 650,000 ตัน ซึ่งอธิบายว่าฤดูเก็บเกี่ยวหลักจะลดลงในช่วงครึ่งหลังของปี โดยข้าวพันธุ์หอมส่งออกมากกว่า 82% (237,097 ตัน) ส่วนข้าวเมล็ดยาวส่งออก 39,854 ตัน ขณะที่ข้าวนึ่งส่งออกเพียง 4,587 ตัน ไปยังต่างประเทศ ซึ่งเมื่อปีที่แล้วกัมพูชาส่งออกข้าว 626,225 ตัน ไปยังตลาดต่างประเทศลดลง 1.5% เมื่อเทียบกับปี 2560

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50621684/rice-exports-up-3-7-percent-in-first-six-months-of-the-year/

โครงการทางหลวงแผ่นดินสปป.ลาว ส่งเสริมการท่องเที่ยวในอาเซียน

การเดินทางข้ามอาเซียนมีแนวโน้มที่จะง่ายขึ้นเนื่องจากแผนของรัฐบาลสปป.ลาวในการสร้างทางด่วนและมอเตอร์เวย์สามสายซึ่งครอบคลุมระยะทางกว่า 1,700 กิโลเมตรจะเชื่อมโยงประเทศกับจีนและเวียดนาม ทางพิเศษ ซึ่งเริ่มก่อสร้างแล้ว 113.5 กม. ทางทิศเหนือจากเมืองหลวงและอนุญาตให้เข้าถึงเมืองท่องเที่ยวของวังเวียงได้อย่างง่ายดาย โครงการนี้เสร็จสมบูรณ์ 30% แล้วคาดว่าจะเปิดในปี 2564 ทางด่วนมูลค่า 45,000 ล้านบาทเป็นส่วนหนึ่งของโครงการที่จะเชื่อมโยงเวียงจันทน์กับจีนตอนใต้ ในอนาคตจะสร้างมอเตอร์เวย์ 450 กม. จากวังเวียงไปยังบ่อเต็นเมืองชายแดนที่อยู่ฝั่งตรงข้ามกับเมืองโมฮันของจีน ซึ่งจะต้องใช้เงินลงทุนเพิ่มอีก 80,000 ล้านบาท ทางด่วนสายใหม่ไม่เพียงแต่จะทำให้การเดินทางไปจีนเร็วขึ้นเท่านั้น แต่ยังช่วยให้การเดินทางจากประเทศไทยง่ายขึ้นด้วย เมื่อทางพิเศษแล้วเสร็จผู้ใช้ทางสามารถเดินทางจากเมืองหลวงสปป.ลาวไปยังวังเวียง ทั้งหมดจะถูกสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของนักเดินทาง รัฐบาลยังวางแผนที่จะสร้างอีกสองมอเตอร์เวย์เพื่ออำนวยความสะดวกการขนส่งทั้งในประเทศและระหว่างประเทศอีกด้วย ที่มา:https://www.bangkokpost.com/thailand/general/1708174/laos-highway-projects-to-boost-asean-travel

จีนผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ของเมียนมา

จากรายงานของกระทรวงพาณิชย์ เมียนมาส่งออกข้าวและข้าวหักไปยังจีน ประเทศในภูมิภาคแอฟริกา และสหภาพยุโรป โดยเฉพาะจีนและประเทศในภูมิภาคอื่นๆ นำเข้าข้าวคิดเป็นหนึ่งในสามของการส่งออกทั้งหมด มีรายรับ 423.869 ล้านเหรียญสหรัฐจากการส่งออกไปยัง 58 ประเทศและ 88.606 ล้านเหรียญสหรัฐจากการส่งออกข้าวหักไปยัง 28 ประเทศของปีงบประมาณนี้ (1 ต.ค.61 – 14 มิ.ย.62) มีรายรับรวม 512.475 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีผู้นำเข้าหลัก 5 อันดับ ได้แก่ จีน ฟิลิปปินส์ แคเมอรูน ไอวอรี่โคสต์ และกานา เมียนมาส่งออกข้าวหักมากกว่า 1.68 ล้านตันไปยัง 88 ประเทศ และส่งออกไปยังประเทศจีนมากกว่า 36% จากสถิติพบว่าปีงบประมาณนี้มีรายรับ 423.869 ล้านเหรียญสหรัฐจากการส่งออกข้าวมากกว่า 1.35 ล้านตันและข้าวหักไป 54 ประเทศ ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกมากกว่า 16.6 ล้านเอเคอร์ที่เก็บเกี่ยวได้ในปี 60 – 61 จากพื้นที่นาข้าวมากกว่า 17.6 ล้านไร่

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/china-and-regional-countries-top-rice-and-broken-rice-buyers-list