ชำระเงินค่ำสินค้ำวิธีไหน เหมาะกับการค้ำไทยและ สปป.ลาว

เศรษฐกิจ สปป.ลาว ขยายตัวสูงเฉลี่ยกว่าร้อยละ 7 ต่อปีในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ทำให้มีพลังในการบริโภคมากขึ้นและสินค้าไทยเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคที่นิมมากที่สุดเพราะชายแดนที่ติดกันมีการคมนาคมขนส่งสะดวกขึ้น และไทยครองอันดับหนึ่งจากการนำเข้าของสปป.ลาวมาตลอดและเกือบทั้งหมดเป็นการค้าผ่านชายแดน ซึ่งในปัจจุบันการชำระเงินซื้อขายสินค้ามีอยู่ 2 รูปแบบคือ 1.แบบไม่ผ่านระบบธนาคาร เช่น การใช้เงินสด จะเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ เงินบาทไทย ส่วนเงินกีบไม่เป็นที่นิยมมากนักเพราะไม่ค่อยมีเสถียรภาพ และการชำระเงินผ่านนายหน้า (โพยก๊วน) นิยมในแถบชายแดนเฉพาะกลุ่ม SME โดยผ่านคนกลางและค่าธรรมเนียมที่ไม่สูง 2.แบบผ่านธนาคาร เช่น การชำระเงินผ่านบัญชีธนาคาร ชาวสปป.ลาวสามารถข้ามมาเปิดบัญชีเงินบาทประเภทผู้ไม่มีถิ่นฐานในไทย และการชำระเงินเงินในรูปแบบการค้าระหว่างประเทศสากล ส่วนใหญ่จะเป็นการค้ามูลค่าสูง

ที่มา: http://www.exim.go.th/doc/newsCenter/49554.pdf

มีนาคม 2561

เจาะตลาด สปป.ลาว โอกาสที่มาพร้อมกับรถไฟความเร็วสูง

สปป.ลาว แม้จะเป็นประเทศขนาดเล็กแต่มีอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ 7% เป็นอันดับ 3 ในอาเซียน อันดับ 10 ของโลก ถึงแม้จะมีประชากรเพียง 7 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัยหนุ่มสาวแต่มีนักท่องเที่ยวมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนประชากร ปัจจุบันมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจผ่าน 4 ด้าน ได้แก่ การสร้างเขื่อนเพื่อผลิตไฟฟ้า โครงสร้างพื้นฐาน การส่งเสริมให้ลงทุนเขตเศรษฐกิจพิเศษ 12 เขต และการส่งเสริมการลงทุนภาคกสิกรรม อุตสาหกรรมแปรรูป การศึกษา และโรงพยาบาล และยังปรับปรุงกฎหมายการลงทุนฉบับใหม่ โอกาสสำหรับ SME ไทยคือสินค้าอุปโภคบริโภคเพราะยอมรับในคุณภาพและบริการ ในปัจจุบันไทยเข้ามาลงทุนเป็นอันดับ 2 รองจากจีน โดยมีทั้งหมด 752 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 4,492 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนใหญ่ลงทุนด้านการค้า การบริการ หัตถกรรม โรงแรม ร้านอาหาร สินค้าเกษตรแปรรูปและธุรกิจด้านพลังงาน

ที่มา: http://www.exim.go.th/doc/adn/49347_0.pdf

30 มกราคม 2561

ชานมไข่มุก ฮิตในเวียดนาม แบรนด์แฟรนไชส์ต่างชาติรุมแบ่งเค้ก

ในปี 2013 ธุรกิจชานมไข่มุกกลับมาเริ่มบูมอีกครั้ง จากการเข้ามาทำตลาดของแบรนด์จากใต้หวันและฮ่องกง โดยเฉพาะในนครโฮจิมินห์ที่เปิดสาขาอย่างมากมายและกลุ่มเป้าหมายหลักอยู่ในวัยเรียนและกลุ่มคนทำงานที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก จากข้อมูลคนเวียดนามดื่มชาพร้อมดื่มและพร้อมเสิร์ฟมากกว่ากาแฟถึง 2 เท่า โดยเฉพาะชานม โดยมีแบรนด์แฟรนไชส์ชานมไข่มุกต่างชาติ ได้แก่ ไต้หวัน ฮ่องกง ไทย ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ ที่เข้ามาลงทุน แนวโน้มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มจะโตไปจนถึงปี 2020 และปี 2560 ที่ผ่านมา โตเฉลี่ยถึง 5% ท้ายนี้ตลาดเครื่องดื่มในเวียดนามยังมีโอกาสเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง แต่จะมีอุปสรรคในเรื่องของการแข่งขันกันรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะจากต่างชาติ แต่สิ่งที่น่าสนใจคือประชากรส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นใหม่ ที่มีกำลังซื้อสูง และนิยมบริโภคสินค้าแปลกใหม่

ที่มา: http://www.thaismescenter.com/ชานมไข่มุก-ฮิตในเวียดนาม-แบรนด์แฟรนไชส์ต่างชาติรุมแบ่งเค้ก/

11 พฤษภาคม 2561

ห้างเมียนมา ปรับกลยุทธ์เน้นสินค้าผักสดผลไม้ ดึงลูกค้าจากร้านชำ

เมียนมา เป็นหนึ่งประเทศที่การจับจ่ายสินค้าประเภทอุปโภคบริโภคของผู้คนยังพึ่งพาร้านขายของชำในชุมชนเป็นหลัก เพราะร้านแบบนี้มีกระจายทั่วไป สะดวกสบาย เทียบกับซูเปอร์มาร์เก็ตสินค้าราคาสูงกว่า สาขาน้อยกว่า จะเหมาะกับลูกค้าระดับบนหรือชาวต่างชาติที่ แต่ช่วงหลังมานี้ ซูเปอร์มาร์เก็ตโดยเฉพาะในเมืองใหญ่อย่างย่างกุ้ง เริ่มหันมาทำการตลาดเพื่อชิงลูกค้าจากร้านชำท้องถิ่นมากขึ้น โดยเริ่มตั้งแต่ปีที่ผ่านมา บริษัทซิตี้ มาร์ท โฮลดิ้ง เครือข่ายค้าปลีกใหญ่สุดของประเทศ และผู้ดำเนินการซูเปอร์มาร์เก็ตซิตี้ มาร์ทได้เพิ่มแผนกผักสดและผลไม้สดหลังจากที่ได้ร่วมทุนกับ Sojitz บริษัทเทรดดิ้งจากญี่ปุ่น การเคลื่อนไหวนี้เกิดขึ้นภายหลังจากที่รัฐบาลอนุญาตให้บริษัทต่างชาติเข้ามาลงทุนในธุรกิจค้าปลีก ที่ผ่านมาสินค้าประเภทผักผลไม้ที่จำหน่ายในซูเปอร์มาร์เก็ตไม่เป็นที่นิยมเพราะมีสารตกค้าง ความสดใหม่ และราคาสูง ภายหลังจากที่ระบบโลจิสติกส์ได้รับการพัฒนา พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป ซิตี้มาร์ทมองเห็นโอกาสจึงลงทุนซื้อกิจการ Uni Vege ฟาร์มในเขตนครย่างกุ้งที่ปลูกผักและจำหน่ายเป็นแพ็ค เป็นฟาร์มไฮโดรโปนิก โดย 80% ของผลผลิตจากฟาร์มส่งให้ซิตี้มาร์ทที่เดียว นอกจากนั้น ทางซูเปอร์มาร์เก็ตแห่งนี้ยังทำแคมเปญเชิญชวนผู้บริโภคให้ทานผักผลไม้มากขึ้นเพื่อสุขภาพโดยทางห้างตั้งโต๊ะบริการผลไม้หั่นเป็นชิ้น และผักพร้อมทาน ณ บริเวณทางเข้าออกห้างเลยทีเดียว และร่วมทุนกับบริษัทในเครือพรีเมียม ดิสทริบิวชั่น และบริษัททรัสต์ เวนเจอร์ พาร์ทเนอร์โดยในการขยายขนาดฟาร์มให้ใหญ่ขึ้น 3 เท่าตัวในอีก 2 ปีข้างหน้า ขณะเดียวกันยังงจัดหาผักผลไม้โดยจากเกษตรกรที่อยู่นอกย่างกุ้งมามาขายในห้างอีกด้วย โดยอาศัยเครือข่ายขนส่งของ Sojitz และพรีเมียม ดิสทริบิวชั่นซึ่งก่อตั้งเมื่อปี 2015 ส่งผลให้การขนส่งสินค้าของบริษัทเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 100 ตันต่อวัน ดังนั้นซิตี้มาร์ทไม่เพียงมีแต้มต่อเหนือร้านค้าท้องถิ่น หากยังอยู่ในฐานะได้เปรียบ หากต้องรับมือกับคู่แข่งจากต่างชาติที่หวังเข้ามาเจาะตลาดค้าปลีกเมียนมา

ที่มา: https://www.smethailandclub.com/aec-3640-id.html

จับตาโครงสร้างตลาดกัมพูชาเปลี่ยน กดดันสินค้าส่งออกไทยเผชิญการแข่งขันจากจีนและเวียดนาม

การส่งออกสินค้าไปยังกัมพูชาในระยะเวลา 10 ที่ผ่านมา โตเฉลี่ย 12.6% ต่อปี ทว่าตั้งแต่ปี 2554-2559 มีอัตราลดลงเหลือ 2.2% ต่อปี เหตุเพราะการหันมานำเข้าสินค้าขั้นกลางและสินค้าทุนเพื่อสอดรับโครงสร้างเศรษฐกิจและการลงทุนในด้านโครงสร้างพื้นฐาน โดยมีจีนและเวียดนามเป็นคู่แข่งสำคัญโดยมีสัดส่วน 85% และ 50% ของสินค้าทั้งหมด แต่สินค้าอุปโภคบริโภคของไทยยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ดี ปี 2560 คาดว่าการส่งออกจะขยายตัว 6.5% มูลค่าการค้า 4,977 ล้านเหรียญสหรัฐถือว่ายังสามารถรักษาอันดับหนึ่งเอาไว้ได้

ที่มา: https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/economy/Pages/36551.aspx

21 กันยายน 2560

วิเคราะห์ตลาดกัมพูชา ผ่านกูรูท้องถิ่น

กัมพูชาเป็นประเทศคู่ค้าเก่าแก่ของไทย แต่ปัจจุบันคู่แข่งที่มีบทบาทสำคัญอย่างเวียดนามและจีนที่ได้เปรียบในด้านราคาเข้ามาแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดของไทยในกัมพูชา ทั้งนี้นักธุรกิจท้องถิ่นในกัมพูชาได้ให้มุมมองเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจไว้น่าสนใจคือ การเข้าไปลงทุนถ้าถูกกฎหมาย เสียภาษีถูกต้องทุกอย่าง โอกาสในกัมพูชาจะมีอีกมากมาย ต้องปรับตัวให้ทันกับโอกาสและอุปสรรคที่เข้ามา อัพเดตข่าวสารทั้งด้านธุรกิจและเศรษฐกิจอยู่ตลอดเวลา อย่ากลัวการกู้ยืมเงินเพื่อการลงทุนเพื่อขยายกิจการและควรชำระเพื่อรักษาเครดิตทางการเงิน ระบบอี-คอมเมิร์ซจะช่วยผลักดันการเติบโตของอุตสาหกรรมไอซีที การชำระเงินง่ายขึ้น กว้างขึ้น และต้นทุนต่ำลง ทั้งนี้คาดว่าจะส่งผลต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรมไอซีหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐ ปัจจุบันกัมพูชามีเศรษฐกิจอยู่ในช่วงเติบโตรวดเร็วและเปลี่ยนแปลงเร็วสุดในเอเชีย จึงไม่ควรมองข้ามในการลงทุน

ที่มา: https://www.posttoday.com/aec/trade/524084

8 พฤศจิกายน 2560

เวียดนามตอนกลาง ตลาดเนื้อหอมที่รอต้อนรับนักลงทุนต่างชาติ

ปัจจุบันเขตเมืองเศรษฐกิจอย่างนครโฮจิมินและกรุงฮานอยเริ่มแออัดและเต็มศักยภาพ พื้นที่ตอนกลางจึงเป็นจุดที่น่าสนใจในการลงทุนเพราะมีเขตเศรษฐกิจพิเศษและนิคมอุตสาหกรรมในหลายจังหวัด เช่น กว๋างหงาย กว๋างนาม กวางจิ และดานัง โดยพบว่าสิ่งที่เป็นแหล่งดึงดูดคือ ความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐาน เช่น มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเพื่อรองรับภาคการผลิต ระบบขนส่งทางเรือและโดยเฉพาะท่าอากาศยานนานาชาติดานัง และดานังนี่เองที่มีนิคมอุตสาหกรรมถึง 6 แห่ง ความน่าสนใจเชิงตลาด ตลาดและกำลังซื้อที่เพิ่มขึ้น อย่างดานังมีประชากรราว 25 ล้านคน เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2% ต่อปี สูงเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ และมีรายได้เฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 3,059 ดอลลาร์สหรัฐ เพิ่ม 17% จาก 2,617 ดอลลาร์สหรัฐในปี 2557 ความน่าสนใจเชิงพื้นที่ยุทธศาสตร เป็นพื้นที่เชื่อมโยงทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญทั้ง ระเบียงเศษฐกิจ GMS (Greater Mekong Subregion) โครงการ Belt and Road Initiative ของจีน เห็นได้ว่าเวียดนามมีศักยภาพในการรองรับทุนในหลายๆ ธุรกิจ

ที่มา: http://www.exim.go.th/doc/adn/49647_0.pdf

8 พฤษภาคม 2561

มองเวียดนามกับโอกาสของธุรกิจพลังงานหมุนเวียน

หลังจากเวียดนามประกาศยกเลิกแผนก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งแรกเพื่อบรรเทาปัญหาขาดแคลนไฟฟ้าซึ่งเป็นผลจากภาคอุตสาหกรรมที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันพบว่าธุรกิจพลังงานหมุนเวียนกำลังเป็นที่น่าจับตา ซึ่งจะเป็นแหล่งพลังงานสำคัญทดแทนพลังงานหลักของเวียดนามอย่างถ่านหินและพลังน้ำที่ต้องนำเข้าเป็นหลัก ทำให้รัฐบาลพยายามส่งเสริมการลงทุนในพลังงานหมุนเวียนขากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมเพื่อลดการนำเข้าของถ่านหิน และการใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นต่อปีอยู่ที่ 10% ในอีก 5 ปีข้างหน้า ปัจจุบันแม้จะอยู่ในช่วงเริ่มต้นแต่เชื่อได้ว่าเวียดนามมีศักยภาพมากพอโดยเฉพาะพลังงานจากแสงอาทิตย์และพลังงานลม ดังนั้นนักลงทุนหรือผู้ประกอบการควรศึกษาและคว้าโอกาสนี้เอาไว้ให้ได้

ที่มา: http://www.exim.go.th/doc/adn/49486_0.pdf

10 กรกฎาคม 2561

SCB EIC วิเคราะห์ CLMV Monitor แนะโอกาสทางธุรกิจในประเทศเพื่อนบ้าน

เศรษฐกิจ CLMV ปี 2561 ขยายตัว 6-7% ปัจจัยหลักคือ การส่งออกและการท่องเที่ยว การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเป็นกลไกสำคัญโดยเฉพาะจีน การส่งออกครึ่งปีแรกขยายตัวได้ดีโดยเฉพาะสินค้าเกษตร เพื่อพิจารณาเป็นรายประเทศพบว่าเมียนมามีการขยายตัวสูงสุดคือ 7% รองลงมาคือ กัมพูชามีเติบโต 6.9% สปป.ลาวขยายตัว 6.8% และเวียดนามเติบโตราว 6.6% ตามลำดับ แต่อย่างไรก็ตาม ภาวะการเงินโลกที่ตึงตัวขึ้นทำให้เศรษฐกิจ CLMV ต้องพึ่งทุนจากต่างประเทศในระดับสูงและเสี่ยงต่อเสถียรภาพของเศรษฐกิจด้านต่างประเทศที่มากขึ้น

ที่มา: https://www.scbeic.com/th/detail/file/product/4770/f23fv1xzqa/CLMV-Monitor_TH_2018_H1_20180618.pdf

สามเหลี่ยมเศรษฐกิจตอนเหนือ แหล่งลงทุนที่น่าสนใจในเวียดนาม

ปัจจุบันสามเหลี่ยมเศรษฐกิจตอนเหนือเป็นที่เนื้อหอมของนักลงทุนต่างชาติ เพราะเป็นจุดเชื่อมโยงระหว่าง กรุงฮานอย จังหวัดไฮฟอง และจังหวัดกว๋างนิญ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นย่านเศรษฐกิจ การค้าและแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ และยิ่งกว่านั้นจุดเชื่อมโยงนี้ตั้งอยู่บนเส้นทางโลจิสติกส์สำคัญอย่าง โครงการ Belt Road Initiative (BRI) ของจีน และในภาคการท่องเที่ยวพบว่ามีนักเดือนทาองเพิ่มมากขึ้น 128% ของครึ่งปีแรก เห็นได้ว่าโอกาสของนักลงทุนนั้นเปิดกว้าง แต่ทั้งนี้สิ่งที่ต้องเข้าใจเป็นอันดับแรกคือ ความต่างกันของพฤติกรรมผู้บริโภคระหว่างเวียดนามเหนือที่อยู่ในเขตค่อนข้างหนา และเวียดนามใต้อากาศจะคล้ายกับไทยคือร้อนอบอ้าว และยังมีนักท่องเที่ยวที่หลากหลายและผู้บริโภคจากจีนที่จำเป็นจะต้องรู้ถึงพฤติกรรมการบริโภค

ที่มา: http://www.exim.go.th/doc/adn/49911_0.pdf

10 กรกฎาคม 2561