ชาวสวนเมืองปะลัค เขตตะนาวศรี เล็งปลูกบุก เป็นพืชผสมผสาน เพื่อสร้างกำไร

กรมวิชาการเกษตรเมืองปะลัค รายงานว่า ผลกำไรบวกกับความต้องการจากต่างประเทศกระตุ้นให้ชาวสวนในเมืองปะลัค อำเภอปะลอ เขตตะนาวศรี หันมาปลูกบุก (มันเทศช้าง) ภายใต้ระบบการปลูกพืชแบบผสมผสานกันมากขึ้น จากที่แต่ก่อนไม่เป็นที่นิยมบริโภคในประเทศมากนัก อย่างไรก็ตาม ความต้องการจากต่างประเทศที่มากขึ้นส่งผลให้ราคาพุ่งตามไปด้วย เมียนมา เริ่มเพาะปลูกบุกเมื่อ 30 กว่าปีที่แล้วในรัฐคะฉิ่น รัฐชิน รัฐฉาน รัฐมอญ รัฐกะเหรี่ยง และเขตพะโค การปลูกบุกเริ่มขึ้นในเขตตะนาวศรีในปีงบประมาณ 2563-2564 ปัจจุบันได้เริ่มมีการปลูกแซมในสวนยางพารากันบ้างแล้ว ขณะที่ต้นทุนการเพาะปลูกอยู่ที่ประมาณ 5 ล้านจัตต่อเอเคอร์ โดยราคาในประเทศอยู่ที่ 1,800-2,000 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) ซึ่งต้องใช้เงินทุนมากในการเพาะปลูก แต่กำไรค่อนข้างสูง ทั้งนี้การทำไร่ปลูกบุกพบได้ทั่วไปในอเมริกาใต้ แอฟริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกเหนือจากการบริโภคในท้องถิ่นแล้ว เมียนมายังจัดส่งบุกแห้งและผงบุกไปยังจีน ญี่ปุ่น ไทย อินเดีย บังคลาเทศ และมาเลเซีย

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/growers-eye-konjac-for-mixed-cropping-in-palauk-as-it-raises-profitability/#article-title