เมียนมาส่งออกไปเวียดนามพุ่ง 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ใน 7 เดือนแรกของปีงบ 63-64

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย การส่งออกไปเวียดนามช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา (ต.ค.63-เม.ย.64) ของปีงบประมาณ 63-64 มีมูลค่ารวม 375.35 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แบ่งเป็นการส่งออก 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่าเพียง 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ โลหะพื้นฐาน เมล็ดพืช ข้าว ข้าวหัก ยาง บุหรี่ เครื่องนุ่งห่ม ข้าวโพด ยาสูบ ฯลฯ ส่วนการนำเข้าจะเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้า อุปกรณ์ขนส่ง พลาสติก อุปกรณ์เครื่องจักรกล กระดาษ กระดาษแข็ง ปุ๋ย ยา ผ้าฝ้าย ผ้าทอ ใยสังเคราะห์ ฯลฯ ทั้งนี้การค้าของสองประเทศเติบโตขึ้นทุกปี อย่างไรก็ตาม การระบาดของ COVID-19 ทั่วโลกส่งผลกระทบต่อการค้าเป็นอย่างมาก จากข้อมูลของคณะกรรมการการลงทุนและการบริหารบริษัทของเมียนมา (DICA) ระบุว่า ณ เดือนมิถุนายน 2564 เวียดนามเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับ 8 ของเมียนมา มีมูลค่าประมาณ 2.224 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา: https://gnlm.com.mm/exports-to-viet-nam-cross-150-mln-in-seven-months/?__cf_chl_jschl_tk__=pmd_cfcf817504600ea9f297f5b3a29321e15ac8f26b-1628373934-0-gqNtZGzNAg2jcnBszQpi#article-title

ปีงบฯ 63 – 64 เมียนมาดึงสิงคโปร์ FDI ลงทุนกว่า 428 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนและการบริหารจัดการของเมียนมา (DICA) เปิดเผยว่า ระหว่างเดือนต.ค. 2563 ถึงเดือนมิ.ย. 2564 มีบริษัทจดทะเบียนจากสิงคโปร์จำนวน 13 บริษัทได้เข้ามาลงทุนในเมียนมาแล้ว 428 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนใหญ่ลงทุนในการพัฒนาเมือง อสังหาริมทรัพย์ พลังงาน และภาคการผลิต และยังมีบริษัทจากประเทศต่างฯ ที่เข้ามาลงทุน ได้แก่ บรูไน จีน ไทย อินเดีย มาเลเซีย สาธารณรัฐเกาหลี เวียดนาม เกาะมาร์แชลล์ ซามัว ฮ่องกง และไต้หวัน โดยตั้งแต่เดือนต.ค. 2563 ถึงเดือนมิ.ย. 2564 เมียนมาสามารถดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมากกว่า 3.76 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากข้อมูลของคณะกรรมการการลงทุนแห่งเมียนมา (MIC) พบว่ามีผู้ประกอบการต่างประเทศ 44 บริษัท ที่ได้รับอนุญาตโดย MIC และมีบริษัท 23 บริษัทที่ลงทุนในภาคการผลิต โดยมีการลงทุนในภาคการผลิตไฟฟ้ามีโครงการขนาดใหญ่ 6 โครงการ ภาคปศุสัตว์และประมง 6 โครงการ, ภาคบริการอื่นๆ 5 โครงการ, ภาคเกษตรกรรม 2 โครงการ, นิคมอุตสาหกรรมและภาคการโรงแรมและการท่องเที่ยว 1 โครงการ ซึ่ง MIC ตั้งเป้าดึงการลงทุนจากต่างประเทศอยู่ที่ 5.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณ 2563-2564 ปัจจุบันสิงคโปร์เป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่เป็นอันดับสองในเขตเศรษฐกิจพิเศษติลาวารองจากญี่ปุ่น

ที่มา: https://gnlm.com.mm/myanmar-attracts-over-428-mln-of-fdi-from-singapore-this-fy/

ตลาดหัวหอมเมียนมาซบเซา เหตุออเดอร์ต่างประเทศลดฮวบ !

ตลาดหัวหอมยังคงนิ่งจากความต้องการของต่างประเทศที่ลดลง  การปิดด่านชายแดนส่งผลให้ราคาลดลงอย่างมากในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้เกษตรกรได้รับความเสียหายและสามารถบริหารจัดการต้นทุนการเพาะปลูกและการเก็บเกี่ยวได้ในตอนนี้ ด้วยเหตุนี้ผู้ปลูกบางรายในเขตมะกเวจำต้องทิ้งต้นหอมในฤดูเก็บเกี่ยวปีที่แล้ว เนื่องจากไม่สามารถแบกรับค่าจ้างแรงงานและค่าขนส่งได้ ในช่วงต้นปี 63 ราคาหัวหอมอยู่ที่ 1,200-1,300 จัตต่อ viss (1 viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) จากนั้นราคาก็ลดลงอย่างมากในช่วงวิกฤต COVID-19 ปัจจุบันราคาในตลาดค้าปลีกปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย นอกจากนี้ การค้าที่ซบเซาเกิดจากสภาวะทางการเมืองในปัจจุบันและการปิดร้านอาหาร โรงแรม โรงงาน และกิจกรรมต่างๆ เหตุเหล่านี้กระทบต่อตลาดอย่างรุนแรง วึ่งก่อนหน้านี้ บังคลาเทศและอินเดียมีความต้องการหัวหอมจำนวนมาก แต่ต้องหยุดชะงักเพราะการแพร่กระจายของ COVID-19  ที่ผ่านมาราคาหัวหอมเคยพุ่งเกิน 3,000 จัตต่อ viss ในปี 2558, 2561 และ 2562 ทั้งนี้หัวหอมส่วนใหญ่ปลูกในเขตมัณฑะเลย์ มะกเว ย่างกุ้ง เนปิดอว์ และรัฐฉาน

ที่มา: https://gnlm.com.mm/onion-market-remains-sluggish-due-to-lack-of-foreign-demand/

เมียนมาขยายเวลาระงับเที่ยวบินระหว่างประเทศจนถึง 31 ส.ค.64

กระทรวงคมนาคมและคมนาคมของเมียนมา ขยายเวลาปิดสำหรับสายการบินระหว่างประเทศทั้งหมดที่ดำเนินการบริการทางอากาศไปและกลับจากสนามบินนานาชาติย่างกุ้ง (YIA) ออกไปจนถึงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของ COVID-19 ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุขและการกีฬาและกรมการบินพลเรือน อย่างไรก็ตาม ผู้ที่จะเดินทางมายังเมียนมาสามารถเดินทางโดยเที่ยวบินบรรเทาทุกข์จากเหตุฉุกเฉินของรัฐบาลหรือชาวต่างชาติรวมถึงนักการทูต เจ้าหน้าที่ และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานของสหประชาชาติ จำเป็นต้องติดต่อสถานทูตเมียนมาในต่างประเทศหรือสถานกงสุลในเมียนมาเพื่อยกเลิกข้อจำกัดเรื่องวีซ่า ขณะนี้ เมียนมามีผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จำนวน 306,354 ราย เสียชีวิตไปแล้ว 10,061 ราย

ที่มา : https://gnlm.com.mm/suspension-of-all-international-flights-extended-until-31-aug/#article-title

มิน อ่อง หล่าย สถาปนาตัวเองเป็นนายกรัฐมนตรีเมียนมา ลั่นจัดเลือกตั้งใน 2 ปี

6 เดือนหลังการรัฐประหาร นายพลอาวุโสมิน อ่อง หล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของเมียนมา ได้ประกาศสถาปนาตัวเองเป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 ส.ค. ที่ผ่านมา พร้อมย้ำว่าจะบริหารประเทศภายใต้ภาวะสถานกาณณ์ฉุกเฉินต่อไปจนกว่าจะมีการเลือกตั้งทั่วประเทศครั้งใหม่ใน 2 ปีข้างหน้า ทั้งนี้ เมียนมาตกอยู่ภายใต้ภาวะสถานการณ์ฉุกเฉินมาตั้งแต่ที่มีการรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลพลเรือนของนางอองซาน ซูจี เมื่อวันที่ 1 ก.พ. ที่ผ่านมา ซึ่งการรัฐประหารครั้งนั้น กองทัพเมียนมาอ้างความชอบธรรมเพราะเป็นไปตามรัฐธรรมนูญฉบับปี 2551 ที่กองทัพมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการร่าง

ที่มา : https://www.thansettakij.com/world/490206

การค้าระหว่างประเทศเมียนมาพุ่ง 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

จากของกระทรวงพาณิชย์ การในช่วง 9 เดือนแรก (1 ต.ค-9 ก.ค.) ของปีงบประมาณ 63-64 ส่งผลให้เกินดุลการค้า 363.9 ล้านเดอลลาร์สหรัฐฯ แม้มูลค่าการค้ารวมจะลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 62-63 โดยการส่งออกอยู่ที่ 11.98 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการนำเข้า 11.6 พันดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลง 23.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จาก 29.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ของปีก่อน การค้าระหว่างประเทศเมียนมาโดนผลกระทบของโควิด-19 ทำให้ประเทศเพื่อนบ้านต้องคุมเข้มชายแดนและจำกัดการค้าขายในบางพื้นที่ชายแดน การค้าหยุดชะงักจากขนส่ง และการปิดทำการของธนาคารทำให้การค้าลดลง ทั้งนี้เมียนมาส่งออกสินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่า และสินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูป ส่วนการนำเข้าจะเป็นสินค้าทุน วัตถุดิบอุตสาหกรรม และสินค้าอุปโภคบริโภค จากสถิติพบว่าเมียนมากขาดดุลการค้ามาตลอด โดยในในปีงบฯ 62-63 ขาดดุลที่ 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ,ปีงบฯ 61-62 ขาดดุลที่ 1.14 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ, ,ปีงบฯ 60-61 ขาดดุลที่ 3.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ , ปีงบฯ 59-60 ขาดดุลที่ 5.3 พันล้านดอลลาร์ และปีงบฯ 58-59 ขาดดุลที่ 5.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ

ที่มา : https://gnlm.com.mm/regional-trade-tops-6-billion-in-seven-months-reports-moc/#article-title