‘สภาพัฒน์‘ แนะรัฐบาลใหม่เร่งแก้ส่งออก-ปากท้อง โชว์จีดีพีไตรมาสแรกโต 2.7%

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) เปิดเผยถึง ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(จีดีพี)ของไทยในไตรมาส1/2566 ขยายตัว 2.7% เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัว 1.4% โดยปัจจัยหลักมาจากการบริโภคภาคเอกชน ขยายตัว 5.4% การลงทุนรวมขยายตัว 3.1% เป็นการลงทุนภาครัฐ 4.7% และการลงทุนภาคเอกชน 2.6%  ภาคเกษตรขยายตัว 7.2% ภาคบริการขยายตัว 5.2% ทั้งนี้ นายดนุชา กล่าวต่อว่า หลังจากการเลือกตั้งนั้นต้องให้ความสำคัญกับการเบิกจ่ายอย่างต่อเนื่องตามเป้าหมาย รวมทั้งเร่งการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งรักษาบรรยากาศหลังการเลือกตั้งเพื่อสร้างความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจให้เกิดขึ้นต่อเนื่องในการเดินหน้าเศรษฐกิจไทยต่อไป สร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนทั้งภายในและต่างประเทศ พร้อมทั้งเร่งรัดการขับเคลื่อนการส่งออกสินค้าของไทยไปยังตลาดสินค้าที่ขยายตัวได้ดีและการค้าชายแดน การดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามายังประเทศไทยให้ได้ตามเป้าหมาย

ที่มา : https://www.thaipost.net/economy-news/378743/

มิน อ่อง หล่าย สถาปนาตัวเองเป็นนายกรัฐมนตรีเมียนมา ลั่นจัดเลือกตั้งใน 2 ปี

6 เดือนหลังการรัฐประหาร นายพลอาวุโสมิน อ่อง หล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของเมียนมา ได้ประกาศสถาปนาตัวเองเป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 ส.ค. ที่ผ่านมา พร้อมย้ำว่าจะบริหารประเทศภายใต้ภาวะสถานกาณณ์ฉุกเฉินต่อไปจนกว่าจะมีการเลือกตั้งทั่วประเทศครั้งใหม่ใน 2 ปีข้างหน้า ทั้งนี้ เมียนมาตกอยู่ภายใต้ภาวะสถานการณ์ฉุกเฉินมาตั้งแต่ที่มีการรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลพลเรือนของนางอองซาน ซูจี เมื่อวันที่ 1 ก.พ. ที่ผ่านมา ซึ่งการรัฐประหารครั้งนั้น กองทัพเมียนมาอ้างความชอบธรรมเพราะเป็นไปตามรัฐธรรมนูญฉบับปี 2551 ที่กองทัพมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการร่าง

ที่มา : https://www.thansettakij.com/world/490206

คลังเชื่อ ไบเดน นั่งปธน.เป็นแรงหนุนช่วยเศรษฐกิจไทย

9 พ.ย.2563 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.การคลัง กล่าวถึงกรณีที่นายโจ ไบเดน ชนะการเลือกตั้งและได้ขึ้นเป็นว่าที่ประธานาธิบดีของสหรัฐฯ คนใหม่ ว่า ยังต้องรอติดตามนโยบายของประธานาธิบดีคนใหม่ก่อน อย่าเพิ่งรีบวิพากษ์วิจารณ์อะไรตอนนี้ แต่เมื่อพิจารณาตามนโยบายหาเสียงของนายโจ ไบเดน ในช่วงที่ลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีคนใหม่ ซึ่งเน้น 2 เรื่องสำคัญ 1.นโยบายด้านภาษี และ 2. นโยบายการขึ้นค่าแรงขึ้นต่ำ ทั้งนี้ ในส่วนของนโยบายภาษีและการขึ้นค่าแรงขึ้นต่ำ มองว่า เป็นข้อดี ที่ไทยจะได้ประโยชน์ตรงนี้ โดยเฉพาะเรื่องการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ จะส่งผลให้นักลงทุนมีการย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศในภูมิภาคอื่น ๆ รวมถึงประเทศไทยด้วย แต่ก็ต้องขอรอดูความชัดเจนของนโยบายของนายโจ ไบเดนอีกครั้ง

ที่มา: https://www.thaipost.net/main/detail/83278

9.11.63

โควิดทุบลงทุน ‘เมียนมา’ คลายมนต์ขลัง

การที่เมียนมาเปิดประเทศได้กลายเป็นขุมทรัพย์ที่คอยดึงดูดการลงทุนจากนักลงทุนทั่วโลก แต่ ณ เวลานี้การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ถือว่ามาแรงและเร็วที่สุดในอาเซียน โดยในช่วงเพียงชั่วเวลาไม่กี่สัปดาห์ยอดจำนวนผู้ติดเชื้อ “เมียนมา” ขยับขึ้นเป็นอันดับ 3 ของอาเซียน ซึ่งส่งผลต่ออนาคตการเป็นแหล่งลงทุน ความเลวร้ายครั้งนี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาก่อนมีการเลือกตั้งใหญ่ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2563 นี้ ยังคงเดินหน้าจัดการเลือกตั้งต่อไปท่ามกลางอนาคตเศรษฐกิจที่ยังไม่แน่นอน ความมั่นคงทางการเงินและเสถียรภาพทางการคลังยังอยู่จุดเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวัง

ล่าสุดธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจขยายตัวลดลงเหลือ 1% เปรียบเทียบกับกับเดือนเมษายนที่อาจจะขยายตัว 4.2% และจะฟื้นตัวในปี 2564 ที่สำคัญกระทบต่อบรรยากาศการลงทุนโดยต่างจากต่างชาติ (FDI) ที่อาจต้องชะลอตัวลง ในเดือนมิถุนายน 2563 ที่ผ่านมา ได้อนุมัติส่งเสริมการลงทุนมูลค่า 134,246 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 99,904 ล้านบาท โครงการส่วนใหญ่เป็นกลุ่มโรงไฟฟ้า การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และโรงงานอุตสาหกรรม แต่จากเกิดภาวะดีมานด์-ซัพพลายช็อค และการระบาดของโควิด 19 ที่ ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ ต้องหยุดชะงักลง

ก่อนหน้านี้ในรายงานเรื่องความยากง่ายในการประกอบธุรกิจ (Ease of Doing Business) ของธนาคารโลก (WorldBank) ประจำปี 2563 ได้จัดอันดับให้เมียนมาอยู่ที่อันดับ 165 จากทั้งหมด 190 ประเทศ แสดงถึงความน่าลงทุนน้อยที่สุดในอาเซียน จากปัญหาเรื่องการคอร์รัปชั่นในระดับสูงและกฎระเบียบที่ยุ่งยาก ความตึงเครียดทั้งจากสถานการณ์โควิด 19 และแรงกดดันจากปัจจัยภายนอก ทำให้รัฐบาลชุดใหม่ต้องเร่งวางนโยบายเพื่อดึงดูดทุนต่างชาติที่อาจจะหันเหไปประเทศเพื่อบ้านอย่าง ประเทศเวียดนาม ไทย หรือกัมพูชา

ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในอาเซียนแล้ว ยังมีความได้เปรียบในการเป็นแหล่งลงทุนใหม่ สามารถเติบโตได้อีกมาก ทั้งความอุดมสมบูรณ์ด้านวัตถุดิบ ต้นทุนแรงงานต่ำ เพียงแต่สิ่งที่นักลงทุนต่างชาติต้องการ คือการสร้างระบบกฎหมายที่เป็นมาตรฐาน การบังคับใช้กฎหมายที่มีประสิทธิภาพ สร้างความมั่นใจสร้างบรรยากาศการลงทุน ทั้งเรื่องการจัดตั้งธุรกิจที่สะดวกและรวดเร็ว การจ้างงาน การหาลูกค้า และนักลงทุนต่างก็คาดหวังว่าจะได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรมหากเข้าไปลงทุนอีกด้วย

ที่มา: https://www.bangkokbanksme.com/en/covid-affects-myanmar-investment