ผู้ผลิตเร่งหาแนวทางผลิตสินค้าเจาะตลาดทั้งในและต่างประเทศ

ในการประชุมเชิงปฏิบัติการระหว่างสมาคมสหกรณ์อุตสาหกรรมของเมียนมา กระทรวงเกษตรปศุสัตว์และชลประทาน และกระทรวงสหภาพแรงงาน เมื่อเช้าวันที่ 8 พฤษภาคม 64 ที่ผ่านมา โดยมีความเห็นตรงกันว่าควรส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ที่มีคุณภาพและจำหน่ายสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มเพื่อพัฒนาชนบทสร้างโอกาสในการทำงานและยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่น ซึ่งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในห่วงโซ่การผลิตต้องหาแนวทางและวิธีการในการผลิตซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของภูมิภาคและเพื่อเจาะตลาดในและต่างประเทศ ทั้งนี้ยังขอความช่วยเหลือทางเทคนิคในการผลิตจากกรมเกษตรและกรมอุตสาหกรรมขนาดเล็กเพื่อการผลิต

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/manufacturers-urged-to-seek-ways-for-commercial-scale-manufacturing-of-products-penetrate-local-and-foreign-markets/#article-title

ฤดูร้อนเกษตรกรเมืองยอง อู ปลูกถั่วเขียวได้ราคาถึง 40,000 จัตต่อตะกร้า

ในฤดูร้อนเกษตรกรจากเขตเมืองยอง อู ประสบผลสำเร็จในการปลูกถั่วเขียวบนพื้นที่กว่า 300 เอเคอร์โดยใช้น้ำจากแม่น้ำ สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตและจำหน่ายได้ราคาสูงถึง 42,000 จัตต่อตะกร้า ซึ่งเพิ่มมากขึ้นในกว่าปีที่แล้ว โดยจะเริ่มหว่านในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ หลังจากปลูกได้ 45 ถั่วเขียวก็เริ่มแตกหน่อและออกดอก หลังจากนั้นสองเดือนก็จะนำผลผลิตไปขายที่นายหน้าที่มารับซื้อ ซึ่งแต่ละเอเคอร์สามารถให้ผลิตตะกร้าได้ถึง 20 ตะกร้า สำหรับต้นทุนการเพาะปลูกจะอยู่ที่ 3,000 จัตต่อเอเคอร์ ในทางตรงกันข้ามการปลูกข้าวในช่วงฤดูร้อนมีต้นทุนสูงถึง 9,000 จัตต่อเอเคอร์ ณ ตอนนี้ราคาถั่วเขียวอยู่ที่ 42,000 จัตต่อตะกร้าในช่วงต้นฤดูเก็บเกี่ยว ซึ่งเป็นช่วงที่ทำกำไรให้กับเกษตรกร

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/cultivation-of-summer-green-gram-succeeds-selling-for-k40000-per-basket/

เดือน เม.ย. ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เมียนมา ลดฮวบลง 5 เท่า

ผลผลิตและคำสั่งซื้อใหม่ในภาคการผลิตของเมียนมาลดลงถึง 5 เท่า จากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ที่เผยแพร่โดย IHS Markit เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 64 ที่ผ่านมา ซึ่งประกอบไปด้วย 5 ตัวแปร ได้แก่ ยอดสั่งซื้อใหม่ ปริมาณสินค้าคงคลัง สายการผลิต การส่งสินค้าซัพพลาย และการจ้างงาน โดยการจัดซื้อลดลงหนักในเดือนเมษายน บริษัทร้อยละ 60% ให้ข้อมูลว่าการผลิตในเดือนเมษายนลดลงจากเดือนมีนาคมที่ผ่านมา จากการขาดแคลนวัสดุ การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนและต้นทุนการขนส่งที่สูงขึ้นล้วนส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อของสูงขึ้นนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2561 การสำรวจดำเนินการโดย IHS Markit ซึ่งได้ข้อมูลจากภาคการผลิตและได้รับการสนับสนุนโดย Nikkei Inc จากประเทศญี่ปุ่น

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/output-and-new-orders-in-april-fall-fivefold-ihs-markit

ปีงบฯ 64 ค้าชายแดนเมียนมา – อินเดีย พุ่ง 84 ล้านดอลลาร์ ฯ

จากรายงานขอวงกระทรวงพาณิชย์ การค้าชายแดนระหว่างเมียนมาและอินเดียแตะ 160 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 16 เมษายนในปีงบประมาณปัจจุบัน (63-64) ซึ่งจะสิ้นสุดในเดือนกันยายนนี้ โดยเพิ่มขึ้น 84.62 ล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว แบ่งเป็นการส่งออก 160.086 ล้านดอลลาร์สหรัฐและการนำเข้า 0.811 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การค้าชายแดนส่วนใหญ่จะผ่านด่านทามู ด่านรีด และด่านถลาง สินค้าส่งออกประกอบด้วย ถั่วเขียว ถั่วลันเตา ขิง หญ้าฝรั่น ขมิ้น ใบกระวาน สินค้าประมง ผลไม้ และผัก ส่วนการนำเข้าจะเป็น ยา ออยล์เค๊ก เครื่องใช้ไฟฟ้ารถจักรยานยนต์ เหล็ก และเครื่องจักรก่อสร้างอื่น ๆ และวัสดุก่อสร้าง

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-india-border-trade-up-by-84-mln-this-fy/#article-title

เกษตรกรเมืองซะไกง์ โอด ราคาแตงโม ดิ่งฮวบ

นาย U Wai Myint ผู้ปลูกแตงโมและรองประธานสมาคมผู้ส่งออกในเขตซะไกง์ เผย เกษตรกรผู้ปลูกแตงโมและเมล่อนผิดหวังกับราคาที่ลดลง ปัญหาเกิดจากผลผลิตเกินความต้องการเพราะขายแตงโมต่อวันได้เพี่ยง 100 หรือ 200 ลูก แต่มีการประมาณขนส่งประมาณ 1,000 ลูกต่อวัน ดังนั้นรถบรรทุกจึงต้องจอดรอคิวที่ด่านชายแดนมูเซ (Muse 7 Mile และ 5 Mile) ทำให้ผลผลิตไม่สดใหม่และเน่าเสีย ซึ่งปีที่แล้วผลผลิตแตงโมและเมล่อนจากเขตซะไกง์เสียหายประมาณ 90% ดังนั้นปีนี้จึงลดลงอย่างมากเทียบกับปีที่แล้ว ด้านพื้นที่เพาะปลูกเขตซะไกง์ เติบโตขึ้นทุกปี พื้นที่แตงโมประมาณ 20,000 เอเคอร์และเมล่อน 40,000 เอเคอร์ ส่วนแหล่งเพาะปลูกสำคัญอยู่ในเมืองช่องอู้ (Chaung-U) เขตซะไกง์

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/growers-in-sagaing-frustrated-over-lower-prices-of-melons/

โรงสีข้าว โรงงานยางพารา ในเมืองมะริด มีส่วนสร้างรายได้ให้คนในท้องถิ่น

โรงสีข้าวโอเคยาดานา และ บริษัท โปลามินรับเบอร์อินดัสเตรียล โรงงานแปรรูปยางพารา ในอำเภอมะริด เขตตะนาวศรี ยังคงเดินหน้าเปิดทำการ ซึ่งโรงสีข้าวโอเคยาดานายังคงเปิดรับซื้อข้าวเปลือกและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าวเปลือกที่ให้ผลผลิตสูงให้กับชาวนาในพื้นที่อีกทั้งยังใช้แกลบในการผลิตกระแสไฟฟ้า ส่วน บริษัท โปลามินรับเบอร์อินดัสเตรียล จำกัด โรงงานแปรรูปยางพาราเพื่อการส่งออกไปยังจีน มาเลเซีย และสิงคโปร์ ยังรับซื้อยางจากเกษตรกรในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ทั้งโรงสีข้าว สวนยางพารา และโรงงานต่างๆ ได้สร้างโอกาสในการทำงานให้คนในท้องถิ่นได้มีรายได้เพื่อการยังชีพในครอบครัว

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/rice-mills-rubber-factories-contribute-to-livelihoods-of-local-people-in-myeik-district/#article-title