ราคาเมล็ดกาแฟเมียนมา พุ่งแตะ 5,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน

สมาคมกาแฟเมียนมา เผย ราคาเมล็ดกาแฟเมียนมาพุ่งถึง 5,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน จากความต้องการทั้งในและต่างประเทศสูงที่มีมากขึ้น โดยตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์, ไต้หวัน, จีน, ไทย, สหรัฐอเมริกา, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, สหราชอาณาจักร, ไอซ์แลนด์, เกาหลีใต้, ญี่ปุ่น, และเยอรมนี  ขณะที่ไร่กาแฟมีมากกว่า 200,000 เอเคอร์ ผลผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 9,000 ตันต่อปี และราคาจะอยู่ระหว่าง 4,500 ถึง 5,000 ดอลลาร์ต่อตัน ส่วนใหญ่ร้อยละ 80 เป็นกาแฟอาราบิก้า และร้อยละ 20 เป็นกาแฟโรบัสต้า  ทั้งนี้กาแฟส่วนใหญ่ปลูกในเขตมัณฑะเลย์ และรัฐฉาน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-produced-coffee-beans-fetch-us5000-per-tonne/

ความต้องการเมล็ดงาในเมียนมาลดฮวบ ! ส่งผลราคาดิ่งลง

ผลผลิตเมล็ดงาที่เก็บเกี่ยวใหม่ราคาลดฮวบเหลือ 220,000 จัตต่อถุง ลดลง 20,000 จัต เมื่อเทียบกับราคาเมื่อช่วงต้นเดือนพ.ย.64 ที่ 240,000 จัตต่อถุงในต้นเดือนพ.ย. โดยทั้งเมล็ดงาดิบและเมล็ดงาแปรรูปที่เพิ่มมูลค่าถูกแล้วส่งออกไปยังจีน และเมื่อมาตรการผ่อนคลายหลังการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้คลี่คลาย ตลาดเมล็ดงาจะกลับมาคึกคักอีกครั้งแน่นอน ปกติแล้วเมียนมาส่งออกเมล็ดงาประมาณ 80% ไปยังต่างประเทศ โดยตลาดหลักๆ จะเป็น จีน สาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุ่น สิงคโปร์ สหภาพยุโรป และไต้หวัน ซึ่งเมล็ดงามีการปลูกตลอดทั้งปี โดยเขตมะกเว ถือว่าเป็นหลักเพาะปลูกและเป็นผู้ผลิตเมล็ดงารายใหญ่ของประเทศ สำหรับพืชน้ำมันที่ใช้สำหรับการประกอบอาหาร เมล็ดงาเป็นพืชที่ใช้พื้นที่เพาะปลูกมากที่สุด คิดเป็น 51.3% ของพื้นที่เพาะปลูกพืชน้ำมันทั้งหมด มีผลผลิตประมาณ 600,000-800,000 ตันต่อปี

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/fresh-sesame-supply-brings-down-price/

เวียดนามเผยผลผลิตอุตฯ เติบโตเร็วที่สุดนับตั้งแต่ พ.ย. 61

ตามรายงานของ IHS Markit ระบุว่าอุตสาหกรรมการผลิตในเดือนเมษายน 2564 เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หากนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2561 ท่ามกลางยอดคำสั่งซื้อใหม่พุ่งสูงขึ้น ต้นทุนของปัจจัยการผลิตยังคงเพิ่มขึ้นอย่างมาก ส่งผลให้ราคาขายปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ในขณะเดียวกัน มีสัญญาบ่งชี้ว่าการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานเริ่มคลี่คลายลงในเดือนนี้ ทั้งนี้ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของภาคอุตสาหกรรมเวียดนาม เพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่สามติดต่อกัน อยู่ที่ระดับ 54.7 เดือนเมษายน ซึ่งภาคการผลิตของเวียดนามในเดือนเมษายน ได้รับแรงหนุนมาจากลูกค้าสั่งซื้อจำนวนมากขึ้นเมื่อเทียบกับครั้งก่อน เนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นและการควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/81734/vietnam%e2%80%99s-production-rises-at-fastest-pace-since-nov-2018-.html

ฤดูร้อนเกษตรกรเมืองยอง อู ปลูกถั่วเขียวได้ราคาถึง 40,000 จัตต่อตะกร้า

ในฤดูร้อนเกษตรกรจากเขตเมืองยอง อู ประสบผลสำเร็จในการปลูกถั่วเขียวบนพื้นที่กว่า 300 เอเคอร์โดยใช้น้ำจากแม่น้ำ สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตและจำหน่ายได้ราคาสูงถึง 42,000 จัตต่อตะกร้า ซึ่งเพิ่มมากขึ้นในกว่าปีที่แล้ว โดยจะเริ่มหว่านในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ หลังจากปลูกได้ 45 ถั่วเขียวก็เริ่มแตกหน่อและออกดอก หลังจากนั้นสองเดือนก็จะนำผลผลิตไปขายที่นายหน้าที่มารับซื้อ ซึ่งแต่ละเอเคอร์สามารถให้ผลิตตะกร้าได้ถึง 20 ตะกร้า สำหรับต้นทุนการเพาะปลูกจะอยู่ที่ 3,000 จัตต่อเอเคอร์ ในทางตรงกันข้ามการปลูกข้าวในช่วงฤดูร้อนมีต้นทุนสูงถึง 9,000 จัตต่อเอเคอร์ ณ ตอนนี้ราคาถั่วเขียวอยู่ที่ 42,000 จัตต่อตะกร้าในช่วงต้นฤดูเก็บเกี่ยว ซึ่งเป็นช่วงที่ทำกำไรให้กับเกษตรกร

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/cultivation-of-summer-green-gram-succeeds-selling-for-k40000-per-basket/

ผลผลิตข้าวของกัมพูชาในช่วงฤดูฝนคาดว่าจะสูงถึง 8.5 ล้านตัน

แม้จะมีภัยน้ำท่วมฉับพลันในบางพื้นที่ของกัมพูชาแต่ผลผลิตข้าวในฤดูฝนคาดว่าจะมีสูงถึง 8.5 ล้านตันภายในปีนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 เมื่อเทียบกับปี 2019 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรป่าไม้และการประมงได้ให้ข้อมูลล่าสุดหลังจากการติดตามการอภิปรายข้อมูลผลผลิตข้าวล่าสุดกับหน่วยงานในจังหวัด ซึ่งการเก็บเกี่ยวโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 3,122 ตันต่อเฮกตาร์ เพิ่มขึ้นจากประมาณ 3,095 ตันต่อเฮกตาร์ในปีที่แล้ว โดยรัฐมนตรีกล่าวว่าประมาณร้อยละ 89 หรือ 57,557 เฮกตาร์ของพื้นที่นาข้าวทั้งหมดใน 19 จังหวัด ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมฉับพลันครั้งล่าสุด นอกจากนี้กระทรวงยังได้มอบเมล็ดพันธุ์ข้าวจำนวนหลายพันตันให้กับชาวนาเพื่อนำไปเพาะปลูกในพื้นที่นาที่ได้รับการฟื้นฟูหลังน้ำท่วม ซึ่งตัวเลขจากสมาพันธ์ข้าวกัมพูชาแสดงให้เห็นว่าในช่วง 11 เดือนของปี 2020 การส่งออกข้าวของกัมพูชาเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 17 โดยมีปริมาณรวม 601,045 ตัน คิดเป็นมูลค่า 415 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 เมื่อเทียบเป็นรายปี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50794313/wet-season-rice-yield-expected-to-reach-8-5-million-tonnes-this-year/

เกษตรกรเมืองชัยธานีร่วมมือกันเพื่อเพิ่มอุปทานของผลผลิตอินทรีย์

กลุ่มเกษตรอินทรีย์ในหมู่บ้านทองมัง เมืองชัยธานีไซธานีเวียงจันทน์ได้จัดตั้งสหกรณ์เกษตรอินทรีย์ทองมังเพื่อจัดหาผลผลิตที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาดและตอบสนองผู้บริโภค นางคำมนต์ หลวงลัท หัวหน้าสหกรณ์การเกษตรอินทรีย์ทองมังกล่าวในพิธีเปิดสหกรณ์ “ เราจะปรับปรุงร้านค้าที่ขายผลิตผลและสถานที่บรรจุผลิตผล เราจะจัดฝึกอบรมด้านการบริหารจัดการสหกรณ์และการผลิตสำหรับสมาชิกของเราตลอดจนการฝึกอบรมด้านการเงินและการตลาดให้ธุรกิจเราแข็งแกร่ง” โดยกลุ่มเหล่านี้มีเป้าหมายที่จะขยายตัวอย่างต่อเนื่องและตั้งเป้าที่จะปลูกผักเพื่อสุขภาพบนพื้นที่ทำกินรอบเมืองหลวงเพื่อรองรับความต้องการของคนในประเทศรวมถึงสร้างความมั่นคงด้นอาหารแก่สปป.ลาว

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Xaythany206.php

โครงการ CLEAN พัฒนาผลผลิตเกษตรส่งออกยุโรป

CLEAN หรือโครงการสร้างความเชื่อมโยงสำหรับเครือข่ายเกษตรโดยความร่วมมือกับกรมวิชาการเกษตรโดยช่วยเกษตรกรในการผลิตและพัฒนาห่วงโซ่อุปทานอย่างมีประสิทธิภาพ โครงการ CLEAN ได้รับทุนสนับสนุนจากกระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกาและดำเนินการในสปป.ลาวโดย Winrock Internationalมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มผลผลิตและขยายการค้าในโครงการเกษตรที่ใช้ประโยชน์จากข้อได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบของสปป.ลาวในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) ไปยังตลาดโลกซึ่งมีประชากรชนชั้นกลางจำนวนมากที่เต็มใจจ่ายในราคาที่สูงสำหรับพืชสวนคุณภาพสูง โครงการดังกล่าวให้ความสำคัญกับการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำโดยการเน้นปลูกพืชแบบเกษตรอินทรีย์โดยมีนักวิชาเข้ามาช่วยเกษตกร และยังได้รับการส่งเสริมโดยได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชนเช่น Shopping D และ Living Fresh ในการจัดการกระบวนการจัดเก็บคลังสินค้าตามมาตรฐานของสหภาพยุโรปอีกด้วย โครงการดังกล่าวจะช่วยเพิ่มผลผลิตในประเทศและยังสร้างรายได้แก่ประเทศด้านการส่งออกไปยังตลาดโลกอีกด้วย

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/clean-project-helps-farmers-explore-export-potential-114152

ผลผลิตปลาท้องถิ่นของกัมพูชาเพิ่มขึ้น

ผลผลิตปลาน้ำจืดและปลาทะเลเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในช่วงเวลาครึ่งปีแรก โดยมีการทำผิดกฎหมายในการดำเนินกิจกรรมการจับสัตว์น้ำลดลง เนื่องจากการปราบปรามอย่างจริงจัง ซึ่งในช่วงครึ่งปีแรกสามารถผลิตปลาน้ำจืดได้ถึง 167,950 ตัน มากกว่าในช่วงเดียวกันของปีที่แล้วอยู่ 380 ตัน ส่วนในด้านทางฝั่งของปลาน้ำเค็มอยู่ที่ 57,800 ตัน การผลิตในฟาร์มปลามีการเติบโตที่แข็งแกร่งอยู่ที่ 112,846 ตัน เพิ่มขึ้นกว่า 18,808 ตัน โดยการส่งออกผลิตภัณฑ์ปลาสดเพิ่มขึ้น 80 ตัน และเพิ่มขึ้น 30 ตันในส่วนของผลิตภัณฑ์ปลาแปรรูป ซึ่งปลาน้ำจืดของกัมพูชาส่วนใหญ่ส่งออกไปยัง สิงคโปร์ มาเลเซีย และจีนในขณะที่ปลาทะเลส่วนใหญ่ส่งออกไปยังประเทศไทยและเวียดนาม

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50626839/local-fish-yields-on-the-rise/