การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและจีนลดลงร้อยละ 5.2 ในปี 2020

การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและจีนมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 8,118 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2020 ลดลงร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยจากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์กัมพูชาส่งออกสินค้าไปยังจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1 เมื่อเทียบเป็นรายปีที่มูลค่า 1,086 พันล้านดอลลาร์ ในขณะเดียวกันกัมพูชานำเข้าสินค้าจากจีนรวม 7.031 พันล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับในปี 2019 ซึ่งการนำเข้าจากจีนที่ลดลงส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการชะลอตัวของการนำเข้าวัตถุดิบสำหรับโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า เนื่องจากมีมาตรการปิดกั้นหรือจำกัดการส่งออกของกัมพูชา รวมถึงการแพร่ระบาดของ COVID-19 ก็ส่งผลทำให้กัมพูชานำเข้าสินค้าลดลงไปด้วย ส่วนกัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตรไปยังจีนเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ ข้าว มะม่วง และมันสำปะหลัง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50821332/8-1-billion-recorded-as-cambodia-china-trade-volume-in-2020-showing-a-5-2-percent-drop/

ผู้เลี้ยงแพะเมืองกะเล่ปลื้ม ราคาพุ่ง ไม่พอขาย

ความต้องการแพะของเนินเขาชิน เมืองกะเล่ เขตเขตซะไกง์ และเขตตะมู่ ส่งผลให้ราคาในตลาดสูงขึ้น ผู้เลี้ยงแพะเผยนมแพะราคาถ้วยละ 1,000 จัต มีรายได้ต่อวันประมาณ 10,000 จัต ซึ่งเกษตรกรผู้เลี้ยงมีรายได้มากขึ้นเนื่องจากมีผู้ซื้อแพะจำนวนมากในช่วงฤดูกาลนี้ มีผู้เลี้ยงแพะเชิงพาณิชย์เพียง 10 รายเท่านั้นที่ทำธุรกิจธุ์ปศุสัตว์ในเมืองกะเล่ ดังนั้นความต้องการจึงสูงกว่าอุปทานส่งผลให้ราคาสูงขึ้น แพะตัวผู้ขายได้ประมาณ 100,000 จัต ส่วนแพะตัวเมียขายได้ประมาณ 50,000 หรือ 80,000 จัตขึ้นอยู่กับขนาด ปีที่แล้วอินเดียเข้ามาซื้อแพะในเมียนมาร์ นอกจากนี้ยังมีการขายแพะได้ราคาดีหลายร้อยตัวจากเมืองโมนยวา เมืองปะค็อกกู และเมืองมยิงยานแถบชายแดนพม่า – อินเดีย

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/goat-breeders-earn-good-profit-on-upward-market-in-kalay/

การปลูกมัสตาร์ดด้วยระบบน้ำใต้ดิน เพิ่มรายได้เกษตรกรในเมืองมินบู

นาง Daw Mya Kyi เผยเกษตรกรในท้องถิ่นจากหมู่บ้าน Kyauktan ในเมืองมินบู กำลังปลูกผักโดยใช้ระบบน้ำใต้ดิน โดยในปีนี้ผู้คนปลูกมัสตาร์ดและพืชผลอื่น ๆ เพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัว ซึ่งใช้เพียงสมาชิกในครัวขเรือน จึงสามารถประหยัดค่าแรงได้ ค่าใช้จ่ายมีเพียงค่าไถและค่าปุ๋ย ตอนนี้มัสตาร์ดกำลังให้ผลผลิตอย่างมากและสามารถขายได้ทุก 2-3 วัน และยังปลูกพืชอื่น ๆ เพื่อเพิ่มรายได้อีกด้วย

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/mustard-other-crops-grown-on-manageable-scale-using-underground-water-in-minbu-township/

รถบรรทุกแตงโมกว่า 1,300 คันติดค้างที่ด่านมูเซ กระทบผลผลิตล้นตลาด

Khwar Nyo Fruit Depot เผยแม้หลังตรุษจีนแตงโมจะได้ราคาดี แต่ตอนนี้รถบรรทุกประมาณ 1,300 คัน ติดอยู่ในเขตการค้า 105 ไมล์ของด่านมูเซเนื่องจากด่านชายแดนจีนปิด 2 วัน ดังนั้นอุปทานแตงโมจึงเกินความต้องการ ตอนนี้แตงโมหนึ่งตัน (855 สายพันธุ์) ราคาสูงสุดอยู่ที่ 65,000 หยวน ในขณะที่ราคาปกติอยู่ที่ประมาณ 45,000 หยวน นอกจากนี้รถบรรทุกแตงโมประมาณ 200 คันต่อวันต่อคิวเดินทางผ่านด่านมูเซไปยังจีน ก่อนหน้านี้ตลาดแตงโมพึ่งพาจีนมาตลอด เมียนมาส่งแตงโมไร้เมล็ด 45 ตันไปยังตลาดดูไบเมื่อธันวาคม 63 และมกราคม 64 และแผนที่จะขยายตลาดไปยังฮ่องกง สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และกาตาร์ เมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2564 ศูนย์ค้าส่งผลไม้เขตการค้า 105 ไมล์ ได้แถลงการณ์ว่าจำนวนรถบรรทุกส่งออกแตงโมและแตงเมลอนมีกำหนดควบคุมตลาด ในช่วงปีที่ผ่านมาเกษตรกรและผู้ค้าประสบปัญหาขาดทุนเนื่องจากความไม่แน่นอนของราคาและความลำบากในการขนส่งซึ่งเกิดจากการระบาดของ COVID-19 แตงโมและแตงเมลอนจะเก็บเกี่ยวได้จนถึงสิ้นเดือนพฤษภาคมทั่วประเทศยกเว้นรัฐคายาห์และชิน เมียนมาส่งออกแตงโมมากกว่า 800,000 ตันต่อปีและแตงเมลอนประมาณ 150,000 ตันไปยังจีน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/watermelon-supply-exceeds-demand-as-about-1300-trucks-stuck-in-muse-depot/#article-title

ต่างประเทศ – อาเซียนจี้พม่าเปิดคุย-หยุดโหด

วันที่ 2 มี.ค. เอเอฟพีรายงานว่า กลุ่มประเทศอาเซียนมีแนวโน้มจะกดดันคณะรัฐประหารของเมียนมาให้หยุดปราบปรามผู้ประท้วงอย่างนองเลือด หลังจากการปราบปรามเมื่อวันอาทิตย์ที่ 28 ก.พ. มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 18 ราย หลังจากสหประชาชาติประณาม อาเซียนถูกวิพากษ์วิจารณ์มาอย่างยาวนานกรณีนิ่งเฉยไม่ทำอะไรในยามเผชิญวิกฤต เพราะยึดติดกับหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในของสมาชิก กระทั่งสิงคโปร์ ชาติที่ลงทุนใน เมียนมามากที่สุดเริ่มแสดงออกอย่างชัดเจนว่าไม่เห็นด้วยกับการใช้กำลัง นายวิเวียน บาลากริชนัน รมว.การต่างประเทศสิงคโปร์กล่าวต่อรัฐสภาว่าการใช้กำลังอย่างรุนแรงต่อพลเรือนดังกล่าวน่าตกใจอย่างยิ่ง เราเรียกร้องให้ทหารเมียนมาอดทนอดกลั้นอย่างที่สุด ขณะเดียวกันกระตุ้นให้เมียนมาหวนสู่เส้นทางการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตย สำหรับเวทีการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการวันที่ 2 มี.ค. แหล่งข่าวจากนักการทูตเผยว่า รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนหลายคนมีแนวโน้มที่จะขอให้ทหารเมียนมาหยุดความรุนแรง หยุดทำร้ายประชาชน โดยอาเซียนจะขอให้กองทัพพูดคุยกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องรวมถึงพรรคสันนิบาตเพื่อประชาธิปไตยหรือเอ็นแอลดีของนางออง ซาน ซู จี ผู้นำเมียนมาด้วย

ที่มา : https://www.khaosod.co.th/newspaper/newspaper-inside-pages/news_6059441

กัมพูชา-เวียดนาม ตัวเลือกลงทุนแทนเมียนมา

ปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองที่ยืดเยื้อในเมียนมาขณะนี้ ทำให้บริษัทต่างชาติเริ่มคิดที่จะถอนการลงทุนออกจากประเทศนี้ ขณะที่มีบริษัทบางแห่งประกาศยุติความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัทท้องถิ่นที่มีสายสัมพันธ์กับกองทัพให้เห็นบ้างแล้ว และหันไปมองประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงที่เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจมากกว่าอย่างกัมพูชาและเวียดนาม ข้อมูลจากสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(อาเซียน)ระบุว่า การลงทุนโดยตรงของต่างชาติ(เอฟดีไอ)ที่ไหลเข้าไปในกลุ่มประเทศ CLMV ขยายตัว 6.3% ในปี 2562 โดยเวียดนามเป็นจุดหมายปลายทางอันดับ1 ในแง่ของมูลค่าการลงทุนที่ 16,100 ล้านดอลลาร์ และเมียนมา เคยเป็นประเทศที่มีอัตราการขยายตัวของเอฟดีไอสูงสุดที่ 55.9% แต่เมื่อกองทัพเข้ายึดอำนาจเมื่อวันที่ 1ก.พ.ที่ผ่านมา กระแสเอฟดีไอในเมียนมาก็ไม่เพิ่มขึ้นเลย

ทั้งนี้ ฟิลด์ พิคเกอริง หัวหน้าหน่วยงานด้านการลงทุนจากวัลเพส อินเวสต์เมนท์ แมเนจเมน กล่าวว่าความไม่สงบเรียบร้อยที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้ ทำให้บรรดาผู้ประกอบการเมียนมาอาจเลือกย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่น และเข้าไปสร้างธุรกิจให้เติบโตในดินแดนอื่นภายในภูมิภาคอาเซียน เท่ากับว่าเป็นความสูญเสียของเมียนมาแต่เป็นการได้ประโยชน์ของประเทศอื่นๆในภูมิภาคแทน

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/925213

จีนออกใบอนุญาตให้เมียนมาส่งออกข้าวเพิ่มในปีนี้

จากการเปิดเผยของ นาย Muse U Min Thein รองประธานของ Muse Rice Wholesale Center กรมศุลกากรของจีนให้ได้ออกใบอนุญาตการส่งออกข้าวให้แก่ บริษัท ในเมียนมาเพิ่มเติมในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2564 เพื่อส่งออกข้าวผ่านชายแดนมูเซ บริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ส่งออกข้าวไปยังประเทศจีนเพิ่มขึ้นในปีนี้เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว อย่างไรก็ตามปริมาณข้าวที่อนุญาตสำหรับการส่งออกยังไม่ได้รับการยืนยัน ใบอนุญาตนำเข้าข้าวของจีนปี 63 หมดอายุในวันที่ 31 ธันวาคม 63 การค้าข้าวถูกระงับ ขณะนี้ผู้ค้าข้าวเมียนมาสามารถส่งออกข้าวภายใต้ใบอนุญาตใหม่ได้แล้ว อย่างไรก็ตามการปิดธนาคารทำให้เกิดปัญหาการทำธุรกรรมหยุดชะงักลง ดังนั้นการซื้อขายจึงลดลงครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เมียนมาส่งข้าวและปลายข้าวไปยังต่างประเทศมากกว่า 720,000 ตันระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 63 ถึง 15 มกราคม 64 ของงบฯ ปัจจุบันโดยมีรายได้กว่า 275 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศส่งผลกระทบต่อความพร้อมของชลประทานในการเกษตร ด้วยเหตุนี้สหพันธ์ข้าวแห่งเมียนมาร์ (MRF) จึงตั้งเป้าการส่งออกไว้ที่ 2 ล้านตันในปีงบประมาณปัจจุบันเนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกข้าวในฤดูร้อนลดลง เมียนมามีรายได้กว่า 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากการส่งออกข้าวในช่วงปีงบประมาณ 63-64 ที่ผ่านมาโดยมีปริมาณกว่า 2.5 ล้านตัน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/china-grant-licences-to-more-myanmar-companies-for-rice-export-this-year/