พาณิชย์เมียนมาเร่งเปิดด่านตามู หวังกระตุ้นค้าชายแดน

การค้าชายแดน (Tamu) ระหว่างอินเดียและเมียนมาจะกลับมาดำเนินการโดยเร็วที่สุดตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุขและกีฬา นาย Hla Maung ประธานสมาคมพ่อค้าการค้าชายแดนด่านตามู (Tamu) เผย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของสหภาพแรงงานเรียกร้องให้เปิดการค้าชายแดนตามูแนวทางและกฎเกณฑ์ของการป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19  โดยทำการจัดประชุมระหว่างรัฐบาลภูมิภาคและรัฐมนตรีแบบทวิภาคีในสัปดาห์หน้า เนื่องจากการปิดการค้าชายแดนทำให้ผู้ค้าขาดทุน โอกาสในการทำงานในท้องถิ่นลดลงเรื่อย ๆ การค้าผิดกฎหมายเพิ่มมากขึ้น จึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้การค้าชายกลับมาดำเนินได้อย่างปกติ การระงับการค้าชายแดนตามูเกือบ 9 เดือนได้นำไปสู่ความเสียหายต่อสินค้าและส่งผลต่อผู้ค้าเป็นอย่างมาก ทั้งนี้การเปิดชายแดนจะไม่ตั้งเป้าไปที่ผู้ค้าที่มีรายได้สูงเพียงอย่างเดียวเนื่องจากเมืองนี้มีรายได้จากค่าจ้างรายวันจำนวนมาก เนื่องจากตลาด Nanfarlon ในตามู ซึ่งมีผู้คนจากชายแดนอินเดียพึ่งพาตลาดจึงประสบปัญหาทางการเงิน ในขณะเดียวกันการค้าผิดกฎหมายทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการติดเชื้อ COVID-19 ด้วยเช่นกัน

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/tamu-border-trade-to-resume-promptly-in-line-with-health-guidelines

จีนเดินหน้าสร้างเขตการค้าชายแดนในมูเซ-หลุ่ยลี่

จีนเดินหน้าสร้างสร้างเขตการค้าสองในสามแห่งที่กำหนดไว้สำหรับการพัฒนาภายใต้ข้อตกลงโครงการ มูเซ-หลุ่ยลี่ (Kyegaung) รัฐบาลทั้งสองได้ตกลงที่จะเป็นพื้นที่หลักสำหรับการค้าระหว่างจีนและเมียนมา ในขณะที่เขต Kyu Kote –Pang Sang –Wantain – Kyin San Kyawt จะถูกกำหนดให้เป็นการแปรรูป การผลิตสินค้าเพื่อส่งออก และคลังสินค้า ซึ่งรัฐบาลจีนได้ร่างแผนสำหรับสองโครงการใน Shweli (Kyegaung) และ Wantain และให้เมียนมาติดตามการพัฒนาในพื้นที่ของทั้งสองโครงการนี้ พื้นที่หลักมูเซ-หลุ่ยลี่ ถูกจินตนาการเป็นพื้นที่รูปสามเหลี่ยมทอดยาวจาก Nam Phat Kar ไปทางตอนเหนือของ Namkham และถึง Kyukote (Pangsang) ทางตอนใต้ เขตการค้าเป็นส่วนหนึ่งของเขตความร่วมมือเศรษฐกิจชายแดนจีน – เมียนมา และเมื่อไม่นานมานี้เมียนมาคาดว่าจะพัฒนาโซนหลักในสามแห่ง ได้แก่ มูเซ, ชินฉ่วยฮ่อ และ กันพิตตี

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/china-implement-two-three-border-trade-zones.html

ปี 64 ค้าข้าวเมียนมารุกตลาดดิจิทัล

จากข้อมูลของ Myanmar Rice Federation (MRF) ตลาดค้าข้าวออนไลน์แห่งแรกของเมียนมาที่พร้อมเปิดซื้อขายข้าว เมล็ดพืช และเป็นศูนย์กลางข้อมูลจะเปิดให้บริการในต้นปี 64 โดยแพลตฟอร์มดิจิทัลที่เรียกว่า MRF Rice Portal สำหรับการซื้อขายจะเป็นครั้งแรกในเมียนมาและตั้งเป้าว่าจะวางจำหน่ายในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนธันวาคมหรือสัปดาห์แรกของเดือนมกราคม ซึ่งการใช้งานจะง่ายและสะดวกสำหรับเกษตรกร ปัจจุบันการซื้อขายเมล็ดพันธุ์และข้าวผ่าน Social Network ไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ด้วยแพลตฟอร์มนี้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมจะสามารถรับข้อมูลที่มีอยู่ทั้งหมดผ่านทาง MRF Rice Portal นอกจากนี้ยังมีบริการส่งข้อความผ่าน SMS ซึ่งจะทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในขณะเดียวกัน MRF ได้ร่วมมือกับ Welthungerhilfe (WHH) ของเยอรมนีเป็นครั้งแรกเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพสูงขึ้นซึ่งคาดว่าจะช่วยให้การเก็บเกี่ยวดีขึ้นและทำให้ราคาข้าวในต่างประเทศสูงขึ้นอีกด้วย

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-rice-trading-go-digital-2021.html

COVID-19 กระทบส่งออกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ไปยังไทย

ปีงบประมาณนี้ การส่งออกข้าวโพดของเมียนมาไปยังไทยอาจลดลงเนื่องจากการระบาดของโควิด -19 ตลาดจะหดตัวในปีหน้าความล่าช้าอาจเกิดขึ้นได้ในการขนส่งจากเมียวดีไปยังไทยในช่วงที่โควิด -19 ระบาด แนวทางการป้องกัน COVID-19 ผู้ขับรถบรรทุกต้องได้รับการกักกัน 14 วัน ดังนั้นจึงมีคนขับน้อยซึ่งทำให้ไม่เพียงพอ ทั้งยังได้รับผลกระทบจากความไม่แน่นอนของการเมืองของไทย เนื่องจากการส่งออกไปยังประเทศจีนถูกระงับตั้งแต่ปี 61 ผลผลิตข้าวโพดถูกส่งออกไปไทยมากกว่าหนึ่งล้านตันเพิ่มขึ้นจาก 700,000 ตันในปีก่อนหน้า

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-maize-exports-thailand-take-hit-due-covid-19.html

เมียนมาพร้อมเจรจากับจีนเพื่อส่งออกโคสด

กระทรวงเกษตรปศุสัตว์และชลประทานของเมียนมากำลังเจรจากับสำนักงานการศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (GACC) เพื่อดำเนินการส่งออกโคสด GACC เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเมื่อไม่นานมานี้และมีขั้นตอนใหม่และทั้ง 2 ประเทศต้องเจรจาให้เป็นไปตามขั้นตอนอย่างเคร่งครัด ซึ่งการส่งออกต้องให้กรมสัตวบาลภายใต้ GACC ออกใบรับรองสุขภาพให้ นาย U Min Aung Aye ผู้อำนวยการ 105th Mile Border Trade Post ของเมืองมูเซภายใต้กระทรวงพาณิชย์ซึ่งรับผิดชอบในการออกใบอนุญาตการส่งออกกล่าวว่าการส่งออกไปยังจีนน่าจะกลับมาดำเนินการได้ในเดือนมกราคมปีหน้า ขณะนี้วัวและแพะมากกว่า 15,000 ตัวถูกขังไว้ที่ชายแดนเพื่อรอการส่งออกไปยังจีน ซึ่งเมียนมาอนุญาตให้ส่งออกโคมีชีวิตเป็นครั้งแรกในเดือนธันวาคม 60 ทั้งนี้นอกจากตลาดจีนแล้วยังมีบางส่วนส่งออกไปยังไทย อินเดีย และบังกลาเทศ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-talks-china-resume-live-cattle-exports.html

อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มเมียนมามุ่งผลิต-ส่งออกที่หลากหลายขึ้น

อุตสาหกรรมเสื้อผ้าของเมียนมาจำเป็นต้องเน้นความหลากหลายโดยการกระจายตลาดเนื่องจากคำสั่งซื้อที่ลดน้อยลงอันเป็นผลมาจากสถานการณ์ COVID-19  ซึ่งอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มของเมียนมาต้องเอาชนะความท้าทายที่เกิดจากการระบาดในปัจจุบันโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีความไม่แน่นอนว่าจะมีวัคซีนป้องกัน COVID-19 เมื่อใด ปัจจุบันตลาดเครื่องนุ่งห่มของเมียนมา ได้แก่ สหภาพยุโรป เกาหลี ญี่ปุ่น และเยอรมนี และอีกเล็กน้อยในตลาดสหรัฐฯ อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจของหลายประเทศเหล่านี้กำลังได้รับผลกระทบส่งผลให้มีคำสั่งซื้อน้อยลง ทั้งนี้ประเทศที่นำเข้าผ้าดิบจากจีนและเมียนมาอาจพิจารณาหันมานำเข้าจากอินเดียหรือปากีสถานแทน การระบาดของ COVID-19 ยังส่งผลให้อัตราการว่างงานในภาคอุตสาหกรรมนี้สูงขึ้น และการยกเลิกคำสั่งซื้อซึ่งส่งผลให้งานหายากขึ้นและการปลดแรงงานออกเนื่องจากนักการถอนการลงทุนของต่างชาติ ขณะนี้โรงงาน CMP (Cut-Make-Pack) ปิดตัวลงมากถึง 64 แห่งส่งผลให้มีผู้ตกงานมากกว่า 25,000 คน ยุทธศาสตร์การส่งออกแห่งชาติจึงมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนจาก CMP ไปเป็นแบบ FOB (Free on Board) เพื่อะเพิ่มขีดความสามารถของแรงงานและการขยายตลาด ทั้งนี้ภายใต้โครงการที่ริเริ่มโดยสหราชอาณาจักรซึ่งสนับสนุนให้โรงงานเสื้อผ้า 5 แห่งในย่างกุ้งและพะโคเริ่มผลิต อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) แทน เมียนมามีรายได้เกือบ 4.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากการส่งออกเสื้อผ้าในปีงบประมาณ 62-63 ซึ่งลดลงกว่า 63 ล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับปีก่อน

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmars-garment-sector-told-diversify.html