สหราชอาณาจักรและออสเตรเลีย ร่วมส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนของ สปป.ลาว

คณะผู้แทนสหราชอาณาจักรประจำอาเซียนและสถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศลาว จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ลอยน้ำ โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของ Lao Holding State Enterprise (LHSE) ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐที่ดำเนินธุรกิจหลักในการจัดหาเงินทุนให้กับอุตสาหกรรมพลังงานในการดำเนินโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ลอยน้ำที่สำคัญ นอกจากนี้ ยังมีการแบ่งปันความรู้ ให้คำปรึกษาทางการเงิน และสนับสนุน สปป.ลาว ที่มุ่งหวังการมีเศรษฐกิจสีเขียว ทั้งนี้ ภายในงาน รัฐบาลลาวและผู้ถือหุ้นของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ น้ำเทิน 2 ได้ลงนามข้อตกลงการพัฒนาโครงการสำหรับ น้ำเทิน 2-โซลาร์ โดยโครงการนี้กำหนดให้เป็นโครงการลงทุนพลังงานแสงอาทิตย์แบบลอยน้ำที่ใหญ่ที่สุดในลาว โดยมีกำลังการผลิตสูงสุด 240 เมกะวัตต์ (MWp) ที่จะถูกสร้างขึ้นบนพื้นที่ผิว 3.2 ตารางกิโลเมตรของอ่างเก็บน้ำน้ำเทิน 2

ที่มา : https://laotiantimes.com/2023/12/13/uk-australia-boost-laos-green-energy-with-floating-solar-workshop/

โรงผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 1.9 MWp ณ โรงบำบัดน้ำบาเค็งเสร็จสมบูรณ์แล้ว

Green Yellow Cambodia (GYC) บริษัทผู้รับรับผิดชอบในการก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ณ โรงบำบัดน้ำบาเค็งในประเทศกัมพูชา โดยโครงการดังกล่าวมีกำลังการผลิตอยู่ที่ 1.9 MWp ในระยะที่ 1 ซึ่งโครงการดังกล่าวประกอบด้วยแผงโซลาร์เซลล์ 3,500 แผง ที่จะให้พลังงานสะอาดแก่โรงงานช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้เป็นอย่างมาก โดยโครงการดังกล่าวได้รับความร่วมมือจาก VINCI Construction Grand Projects (VCGP) ซึ่งเป็นผู้ก่อสร้างโครงการบำบัดน้ำในระดับชาติอย่างโครงการ PPWSA ด้านโรงบำบัดน้ำบาเค็งถือเป็นศูนย์บำบัดน้ำที่สำคัญของกัมพูชาสามารถผลิตน้ำได้มากถึง 390,000 ลูกบาศก์เมตร/วัน และส่งไปยังพื้นที่เขตเมืองครอบคลุมเมืองพนมเปญและถนนตักเมาในบริเวณชายแดน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501350868/1-9mwp-solar-power-project-at-bakheng-water-treatment-plant-in-cambodia-completed/

ไบเดน ประกาศเว้นภาษีนำเข้าแผงโซลาร์ 4 ชาติอาเซียนรวมไทย 2 ปี

ไบเดน ประกาศยกเว้นภาษีนำเข้าแผงโซลาร์จาก 4 ประเทศ ได้แก่ ไทย กัมพูชา เวียดนามและมาเลเซีย 2 ปี พร้อมประกาศใช้กฎหมายผลิตเพื่อป้องกัน และใช้งบรัฐบาลกลางเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ เดินหน้านโยบายพลังงานสะอาด ลั่นไม่กระทบกระบวนการสอบสวนจีนใช้ 4 ประเทศเลี่ยงภาษีนำเข้า

ที่มา : https://www.prachachat.net/breaking-news/news-948618

EDL จับมือ Huawei ศึกษาพลังงานแสงอาทิตย์

Electricite Du Laos (EDL) และ Huawei Technologies (Lao) Sole Co., Ltd. ได้ตกลงที่จะร่วมกันดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ของพลังงานแสงอาทิตย์ บันทึกความเข้าใจ (MOU) ครอบคลุมความร่วมมือระหว่าง EDL และ Huawei สปป.ลาวในหัวข้อกว้าง ๆ ในด้านพลังงานแสงอาทิตย์ รวมถึงมาตรฐานพลังงานแสงอาทิตย์แบบออนกริด มาตรฐานอินเวอร์เตอร์พลังงานแสงอาทิตย์ การวิจัยตลาดร่วมกันสำหรับพลังงานหมุนเวียนในสปป.ลาว และการฝึกอบรมเกี่ยวกับโซลาร์ฟาร์มและการติดตั้งบนชั้นดาดฟ้า การเชื่อมต่อพลังงานแสงอาทิตย์กับกริดจะช่วยลดการสูญเสียของระบบและปรับปรุงแรงดันไฟฟ้าตกได้  ในขณะที่การทำงานร่วมกันเกี่ยวกับผลกระทบของการเชื่อมต่อพลังงานแสงอาทิตย์กับระบบไฟฟ้าและมาตรฐานของ On-Grid Solar และ Inverter จะปรับปรุงความเสถียรของระบบไฟฟ้าของเรา

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_EDL_58.php

กัมพูชากำหนดเป้าหมาย นำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ในประเทศร้อยละ 20

โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (PV) จำนวน 7 โครงการ อยู่ในขั้นตอนการก่อสร้างและพร้อมที่จะดำเนินการภายในปี 2023 โดยรัฐบาลกัมพูชาตั้งเป้าที่จะสร้างพลังงานภายในประเทศจากพลังงานจากแสงอาทิตย์ให้ได้ร้อยละ 20 เปิดเผยโดยปลัดกระทรวงการต่างประเทศของกระทรวงเหมืองแร่และพลังงาน ในงาน Singapore-IRENA High-Level Forum of the Singapore International Energy Week 2021 ซึ่งในปัจจุบันกัมพูชาผลิตไฟฟ้าจากเขื่อนพลังน้ำ คิดเป็นร้อยละ 88 รองลงมาคือพลังงานแสงอาทิตย์มีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 9 ของกำลังการผลิตไฟฟ้าในกัมพูชา และโรงไฟฟ้าถ่านหินบางส่วน ไปจนถึงการนำเข้าเพื่อให้เกิดเสถียรภาพด้านพลังงานภายในประเทศ โดยคาดว่าภายในปี 2023 โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จะมีสัดส่วนด้านการผลิตเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 20 จาก โรงไฟฟ้าหลังงานแสงอาทิตย์ 7 แห่งที่มีกำลังการผลิตรวม 495 mW

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50960312/cambodia-to-achieve-20-percent-of-energy-supplies-from-solar/

HLH ร่วมกับ CMEC พัฒนาโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ 200 เมกะวัตต์ในกัมพูชา

นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ Hong Lai Huat Group Ltd (SGX: CTO) และ China Machinery Engineering Corp (HKG: 1829) หรือ CMEC ได้ร่วมมือกันพัฒนาโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 200 เมกะวัตต์ที่ Aoral Eco-City ในกัมพูชา โดย HLH และ CMEC ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างกัน (MoU) เพื่อสร้างนิติบุคคลเฉพาะกิจ (SPV) และทำงานร่วมกันเป็นเวลาอย่างน้อย 20 ปี ซึ่งโครงการดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดของกัมพูชาตามที่ผู้จัดการทั่วไปและกรรมการบริหารของ HLH ได้กล่าวไว้ โดย Aoral Eco-City เป็นโครงการ “การพัฒนาเมืองเชิงนิเวศเกษตรผสมผสานขนาดใหญ่” ที่พัฒนาโดย HLH ภายในกัมพูชา ด้วยการสร้างสวนพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ โดยใช้เงินลงทุนทั้งหมดประมาณ 200 ล้านดอลลาร์ ซึ่ง CMEC จะเป็นฝ่ายกำหนดโซลูชันที่เกี่ยวกับโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบครบวงจรสำหรับโครงการนี้ เมื่อเสร็จสิ้นสวนพลังงานแสงอาทิตย์จะสามารถขายไฟฟ้าให้กับ Electricite du Cambodge (EDC) ของรัฐ

ที่มา : http://khmertimeskh.com/50846094/hlh-cmec-to-co-develop-200-mw-solar-project-in-cambodia/

National Consulting Group ลงนามข้อตกลงโครงการพลังงานแสงอาทิตย์

National Consulting Group Co. , Ltd. ได้ลงนามในข้อตกลงการพัฒนาโครงการกับรัฐบาลกับในโครงการพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อสนับสนุนเป้าหมายของการเติบโตสีเขียวและการพัฒนาพลังงานทางเลือกและพลังงานสะอาด หลังจากการศึกษาความเป็นไปได้ที่ประสบความสำเร็จซึ่งดำเนินการในแขวงเซกองและจำปาสัก โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดหาพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับพื้นที่ทั้งหมด 813 เฮกตาร์และจะมีขั้นตอนการพัฒนาที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาดและความต้องการในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์กำลังการผลิต 500MW จะเปิดดำเนินการตั้งแต่ปลายปี 2564 ถึงปี 2566 โดยมีกำลังไฟฟ้าปีละ 739 GWh บนพื้นที่ 720 เฮกตาร์ในอำเภอละมัมแขวงเซกองด้วยเงินลงทุนรวม 332.3 ล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_National69.php

กัมพูชาเปิดประมูลโครงการผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์แห่งใหม่

ประมูลจะได้รับเงินสนับสนุนจากธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ซึ่งถือเป็นโครงการที่สองของสวนพลังงานแสงอาทิตย์แห่งชาติกัมพูชา โดยคาดว่าจะให้พลังงานสะสมรวม 100 เมกะวัตต์ เมื่อเสร็จสิ้น ซึ่ง Prime Road Power Co. บริษัทด้านพลังงานหมุนเวียนสัญชาติไทยชนะการประมูลในโครงการแรก โดยมีขนาด 60 เมกะวัตต์ ซึ่ง ADB ได้ให้การสนับสนุนทางการเงินผ่านเงินกู้สัมปทาน ซึ่งการประมูลในครั้งแรกจบลงด้วยราคาเสนอต่ำสุดของ Prime Road ที่ 0.3877 ดอลลาร์ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50831384/bidding-opens-for-new-40-mw-solar-project/

เมียนมาอนุมัติเร่งการลงทุนใหม่ในภาคพลังงาน คาดสร้างงานกว่า 4,371 ตำแหน่ง

คณะกรรมการการลงทุนแห่งเมียนมา (MIC) อนุมัติการลงทุนใหม่ 14 โครงการ ซึ่งการลงทุนจะครอบคลุมภาคพลังงาน การประมง อสังหาริมทรัพย์และบริการ โดยมีมูลค่ารวม 295.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คาดสร้างงานได้ถึง 4,371 คน โดยเน้นให้ความสำคัญกับการลงทุนด้านพลังงาน เช่น โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 40 เมกะวัตต์ 4 โครงการในเขตมัณฑะเลย์ ภูมิภาคสะกาย และภูมิภาคแมกเวย์ ปัจจุบันสิงคโปร์ จีน และไทยติดอันดับ 51 ประเทศที่ลงทุนในเมียนมา มีการลงทุนใน 12 ภาคธุรกิจ โดยแบ่งเป็น 26% ในภาคไฟฟ้า 26% ในภาคน้ำมันและก๊าซ และ 14.6% ในภาคการผลิต MIC กำลังเร่งดำเนินตามแผนบรรเทาเศรษฐกิจ COVID-19 และแผนฟื้นฟูและปฏิรูปเศรษฐกิจเมียนมา ซึ่งเป้าหมายคือการผลิตไฟฟ้าทั่วประเทศ 100% จากระบบกริดแห่งชาติภายในปี 2573

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-approves-new-investments-energy-and-other-sectors.html

จีนหนุนโครงการพลังงานแสงอาทิตย์คาดแล้วเสร็จภายใน เม.ย. 64

โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 29 โครงการที่กำลังดำเนินการโดยจีนในเมียนมาจะแล้วเสร็จในเดือนเมษายนนี้ คาดว่าจะผลิตไฟฟ้าได้มากกว่า 1,000 เมกะวัตต์และเมื่อเสร็จสมบูรณ์และสามารถกระจายพลังงานไปยังกริดแห่งชาติได้ โครงการดังกล่าวจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 180 วันหลังจากได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลเมียนมา โดยบริษัทที่ได้ชนะการประมูลส่วนใหญ่มาจากจีน ซึ่งราคาประมูลของจีนต่ำกว่าที่อุตสาหกรรมคาดการณ์ไว้ที่ 0.0422 ดอลลาร์สหรัฐต่อหน่วย ราคาเสนอซื้อเฉลี่ยอยู่ที่ 0.0508 ดอลลาร์

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/china-backed-solar-projects-be-completed-april.html