การส่งเสริมการผลิตทางการเกษตรในแขวงจำปาสัก

รองเจ้าแขวงจำปาศักดิ์กล่าวกับสื่อท้องถิ่นว่าโควิด -19 ส่งผลกระทบเชิงลบต่อเศรษฐกิจในพื้นที่ อย่างไรก็ตามมาตรการ cross-border travels  ได้ช่วยเพิ่มความต้องการสินค้าเกษตรในจำปาสักทางอ้อม ซึ่งแขวงจำปาสักมีศักยภาพในการผลิตสินค้าเกษตรจำนวนมากและเกษตรกรมีประเพณีการผลิตข้าว กาแฟ ชา ผลไม้ผักและพืชอื่น ๆ มายาวนาน ความท้าทายด้านการตลาดทำให้ผู้ผลิตในพื้นที่บางครั้งต้องขายพืชผลในราคาที่ต่ำกว่าและขาดทุนซึ่งทำให้ไม่สามารถขยายผลผลิตทางการค้าต่อไปได้  ในขณะนี้ชาวไร่กาแฟ บางรายกำลังตัดโค่นสวนกาแฟและหาทางทำมันสำปะหลังเนื่องจากเป็นธุรกิจที่มีกำไรเพิ่มากขึ้น ทั้งนี้ทางการจำปาสักจะส่งเสริมการผลิตทางการเกษตรควบคู่ไปกับอุตสาหกรรมการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าเกษตร ขยายตลาดการเกษตรและเพิ่มรายได้ของเกษตรกร การผลิตทางการเกษตรยังคงเผชิญกับความท้าทาย เช่น ขนาดของตลาดที่เล็ก การผลิตขนาดเล็กปริมาณและคุณภาพที่จำกัด การแข่งขันจากสินค้านำเข้า เพื่อเอาชนะความท้าทายเหล่านี้ จะเพิ่มความพยายามในการปรับปรุงการผลิตทางการเกษตรให้ทันสมัย เพิ่มประสิทธิผลและประสิทธิภาพของผลผลิตและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผลิตภัณฑ์ มุ่งเน้นไปที่อุตสาหกรรมแปรรูปเพื่อแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่เกษตรกรในพื้นที่ปลูกเพื่อช่วยสร้างรายได้ การบริโภคภายในประเทศและการส่งออก อีกทั้งจะส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เพื่อขยายขนาดของตลาดในท้องถิ่น สร้างตลาดการเกษตรเพื่อส่งเสริมการค้าทางการเกษตร

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Champassak_174.php

กล้วย ทำรายได้สูงสุดในการส่งออกสินค้าเกษตรของสปป.ลาว ไปยังจีน

ทางการสปป.ลาวยืนยันว่าปีนี้กล้วยยังคงทำรายได้สูงสุดในบรรดาสินค้าเกษตรส่งออกไปยังประเทศจีน แม้ว่ารัฐบาลจะสั่งห้ามปลูกกล้วยมากขึ้นก็ตาม กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า รายงานว่าสปป.ลาวส่งออกกล้วยไปยังจีนเป็นมูลค่า 116 ล้านดอลลาร์ ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ ปีที่แล้วมีรายได้ราว 185.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แม้ว่าจำนวนนักลงทุนและสวนกล้วยในประเทศจะลดลง หลังจากที่รัฐบาลบังคับใช้คำสั่งห้ามไม่ให้มีพื้นที่ปลูกใหม่และปิดบริษัทที่ฝ่าฝืนกฎระเบียบ แต่มูลค่าการส่งออกกล้วยยังคงอยู่ในระดับสูง การค้าขายระหว่างสปป.ลาวและจีนในปีนี้ได้รับผลกระทบจากโควิด -19 แต่การส่งออกสินค้าโดยเฉพาะกล้วยยังอยู่ในเกณฑ์ดี เนื่องจากความร่วมมือและการเจรจาที่ดีระหว่างทางการสปป.ลาวและจีนยุทธศาสตร์การเกษตรปี 68 ระบุว่ากล้วยเป็นสินค้าส่งออกทางการเกษตรอันดับต้น ๆ สร้างโอกาสในการทำงานและสร้างรายได้ให้คนในท้องถิ่นเพื่อให้อยู่เหนือความยากจน แต่พื้นที่เพาะปลูกบางแห่งทำร้ายสิ่งแวดล้อม เนื่องจากรัฐบาลขาดการจัดการการจัดสรรที่ดินที่ไม่สมบูรณ์และการจดทะเบียนธุรกิจที่หละหลวม ด้วยเหตุนี้ผู้ค้าและนักลงทุนจึงได้รับการสนับสนุนให้ทำสัญญากับครอบครัวเกษตรกรรมเพื่อปลูกพืช แต่ยังไม่มีการบังคับใช้กฎระเบียบโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับองค์กรการส่งเสริมการลงทุนการจัดการสารเคมีการคุ้มครองพืชการคุ้มครองผู้บริโภคและการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม

ที่มา : https://www.phnompenhpost.com/business/bananas-largest-slice-laos-export-pie-china

รัฐบาลสปป.ลาวช่วยเหลือคนตกงานผ่านกองทุนประกันสังคมแห่งชาติ (NSSF) 12 พันล้านกีบ

แรงงานที่เป็นสมาชิกของโครงการประกันสังคมมีสิทธิ์ได้รับความช่วยเหลือทางการเงินผ่านกองทุนประกันสังคมแห่งชาติ (NSSF) สำหรับการว่างงานชั่วคราวหรือการสูญเสียงานจากสถานการณ์แพร่ระบาด COVID-19 นำมาซึ่งการปิดตัวของโรงงานและธุรกิจต่างๆ ส่งผลให้อัตราการว่างเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 25 และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีกถึงแม้สปป.ลาวจะสามารถควบคุมสถานการณ์ได้แล้วก็ตาม กองทุนประกันสังคมแห่งชาติ (NSSF) จะให้การสนับสนุนทางการเงินเทียบเท่ากับร้อยละ 60 ของเงินเดือนพนักงานผู้ประกันตนเพื่อครอบคลุมค่าครองชีพในแต่ละวันของแรงงานเป็นมาตราการบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19   ปัจจุบันองค์กรเอกชน 249 แห่งได้ส่งเอกสารที่จำเป็นเพื่อขอความช่วยเหลือทางการเงิน กองทุนประกันสังคมแห่งชาติ (NSSF) ได้จ่ายเงินไปแล้วกว่าประมาณ 12 พันล้านกีบเพื่อช่วยเหลือพนักงานกว่า 12,000 คนจากองค์กรเอกชน 202 แห่งทั่วประเทศ

ที่มา: http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt171.php

แม้ท่องเที่ยวในประเทศเพิ่มขึ้น แต่ยังน้อยกว่านักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ

จากความพยายามของรัฐบาลในการลดผลกระทบของการแพร่ระบาดของโควิด -19 แม้การเดินทางเพิ่มขึ้นของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในประเทศ แต่ไม่น่าจะชดเชยการขาดนักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งการท่องเที่ยวที่ตกต่ำไม่เพียงส่งผลกระทบต่อธุรกิจเท่านั้น แต่ยังส่งผลอย่างมากต่อรายได้ที่คนในท้องถิ่นได้รับ หลายคนระมัดระวังการใช้จ่ายเนื่องจากความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้น การเดินทางที่ลดลงอย่างรวดเร็วส่งผลให้เกิดการสูญเสียงานในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เช่น โรงแรมและร้านอาหารคิดเป็นร้อยละ 11 ของงานทั้งหมดและร้อยละ 22 เของงานในเขตเมือง ตามรายงานล่าสุดของธนาคารโลก โรงแรมและสถานที่พัก ร้านอาหาร บริษัท ทัวร์และผู้ประกอบการขนส่งอื่น ๆ ได้รับผลกระทบหนักที่สุดและอาจจะเลิกทำธุรกิจ มีการคาดการการฟื้นตัวอาจจะใช้เวลาถึงหนึ่งปี หากการระบาดของ COVID-19 ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้การสูญเสียรายได้จากการท่องเที่ยวอาจมากกว่า 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือร้อยละ 2.7 ของ GDP ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในวังเวียงและหลวงพระบางโดยเฉพาะผู้ให้บริการขนส่งอาหารและที่พักรวมถึงร้านค้าปลีกได้รับผลกระทบอย่างหนัก การลดลงของนักท่องเที่ยวจากประเทศเพื่อนบ้านรวมถึงจีนในไตรมาสแรกของปี 2663 ทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงจากการจำกัดการเดินทางและการปิดพรมแดนลาวอย่างต่อเนื่อง ในช่วงหกเดือนแรกของปี 2563 จำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศลดลงร้อยละ 60 มื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ก่อน ธุรกิจ SMEs ที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเป็นธุรกิจที่มีแรงงานเป็นจำนวนมากจะมีความเสี่ยงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวิกฤตเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน การเติบโตอย่างช้าๆ ส่งผลกระทบต่อรายได้ครัวเรือน อย่างไรก็ตามการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศทำให้ภาคเอกชนสามารถปรับปรุงบริการและพัฒนาสินค้าผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวเพิ่มเติมเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับวิกฤตหลัง COVID-19 ได้ดีขึ้น ในปี 2563 สปป.ลาวมีนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ 4.58 ล้านคนเพิ่มขึ้นร้อยละ 9 เมื่อเทียบกับปี 2561 จำนวนนักท่องเที่ยวจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 27 ในขณะที่สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรเพิ่มขึ้นร้อยละ 22

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Domestic_170.php

สปป.ลาวคาดการส่งออกลดลงจากการระบาด covid-19

สปป.ลาวคาดมูลค่าการส่งออกจะลดลงอย่างน้อย 483 ล้านดอลลาร์ในปีนี้ ซึ่งเป็นจำนวนเงินมหาศาลสำหรับประเทศเล็ก ๆ ที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล หลังจากการระบาดของโรคโควิด -19 ทำให้โรงงานต้องปิดกิจการ กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้ากล่าวว่ารัฐบาลตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มการส่งออกเป็น 6.42 พันล้านดอลลาร์ แต่การส่งออกในช่วง 7 เดือนแรกอยู่ที่ 2.32 พันล้านดอลลาร์ท่ามกลางการขาดดุลการค้าจำนวนมาก มีการคาดการณ์ว่าการส่งเงินกลับประเทศไปยังสปป.ลาวจะลดลงประมาณร้อยละ 50 ในปี 63 อันเป็นผลมาจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดจากการแพร่ระบาด แรงงานชาวสปป.ลาวมากกว่า 100,000 คนได้เดินทางกลับบ้านเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด -19 ส่วนใหญ่ทำงานในประเทศไทยส่วนที่เหลือทำงานในเกาหลีใต้และญี่ปุ่น ธนาคารโลกระบุเมื่อเดือนมิถุนายนว่าการระบาดของโรคนี้สามารถผลักดันให้ผู้คนจำนวนมากถึง 214,000 คนเข้าสู่ความยากจน  การส่งออกได้รับผลกระทบอย่างมากในช่วงเดือนมีนาคมถึงมิถุนายนหลังจากที่รัฐบาลสั่งระงับการดำเนินการโรงงานเนื่องจากการระบาดของโรคระบาด แต่ระบุว่าตัวเลขดังกล่าวดีขึ้นภายในเดือนกรกฎาคมท่ามกลางการเปิดประเทศบางส่วนและการผ่อนคลายข้อจำกัดการปิดกั้น

ที่มา : https://www.ucanews.com/news/covid-19-expected-to-slash-laos-exports/89341#

อัตราเงินเฟ้อในสปป.ลาวยังคงเป็นอุปสรรคของสปป.ลาว

ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในสปป.ลาวลาวยังคงอยู่ในระดับสูงแม้ว่ารัฐบาลจะมีมาตรการเพื่อควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภคให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมก็ตาม รายงานของสำนักงานสถิติสปป.ลาว เปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภคแตะระดับ 113.15 จุดในเดือนกรกฎาคม โดยอัตราเงินเฟ้อในหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ลดลงในเดือนกรกฎาคมเมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน แต่ก็ยังอยู่ในระดับสูง รวมถึงหมวดหมู่ที่เกี่ยวข้องกับอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ยาสูบ เสื้อผ้า รองเท้าและยาก็ยังอยู่ในระดับสูง ทำให้อัตราเงินเฟ้อประจำปีอยู่ที่ร้อยละ 5.12 ปัจจัยหลักที่ผลักดันให้เกิดเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่สูงนั้นมาจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องนำเข้าสินค้าในราคาที่สูงขึ้นและสปป.ลาวยังคงนำเข้าอาหารจำนวนมากรวมถึงอาหารทะเลจากประเทศเพื่อนบ้านเป็นหลักแทนการผลิตในประเทศ ไม่เพียงแค่ปัญหาด้านเงินเฟ้อที่เป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของเศรษฐกิจสปป.ลาว ในสถานการร์ปัจจุบันสปป.ลาวเผชิญกับการแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจสำคัญทั้งด้านการท่องเที่ยว การลงทุน การส่งออก และกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานซึ่งสาเหตุที่ทำให้ต้องนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเข้ามา แม้ว่ารัฐบาลจะผลักดันให้มีการผลิตทางการเกษตรในประเทศมากขึ้น

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Inflation167.php