สปป.ลาวเผยยอดส่งออกกาแฟพุ่ง 100% แตะ 40 ล้านดอลลาร์

สปป.ลาวส่งออกเมล็ดกาแฟเกือบ 22,300 ตันมูลค่าเกือบ 40 ล้านดอลลาร์ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้เพิ่มขึ้นจาก 20 ล้านดอลลาร์จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ประธานสมาคมกาแฟสปป.ลาวกล่าวว่าการเพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากในปีนี้ราคากาแฟในตลาดโลกเพิ่มขึ้น รวมทั้งต้นกาแฟที่ให้ผลผลิตมากกว่าปีที่แล้ว ปริมาณเมล็ดกาแฟที่ผลิตได้ทุกปีจะแตกต่างกันไปจากปัจจัยหลายประการเช่น สภาพอากาศ โรคที่ส่งผลกระทบต่อต้นกาแฟ มาตรการที่เข้มงวดขึ้นซึ่งบังคับใช้โดยรัฐบาลทำให้ผู้ค้าต่างชาติซื้อเมล็ดกาแฟจากเกษตรกรอย่างผิดกฎหมายได้ยากขึ้นและนี่คือเหตุผลสำคัญที่ทำให้การส่งออกเพิ่มขึ้น การส่งออกกาแฟผิดกฎหมายก่อให้เกิดปัญหากับผู้ประกอบการในสมาคมเนื่องจากผู้ค้าต่างชาติซื้อเมล็ดกาแฟโดยไม่เสียภาษีใด ๆ แต่ผู้ประกอบการสปป.ลาวต้องจ่ายภาษีส่งออกให้กับรัฐบาลซึ่งทำให้ต้นทุนการผลิตกาแฟสูงขึ้น ในปีนี้ผู้ประกอบการซื้อเมล็ดกาแฟอาราบิก้าจากเกษตรกรในราคา 1,500-3,200 กีบต่อกิโลกรัมขึ้นอยู่กับช่วงเวลาและคุณภาพของกาแฟ ในขณะที่ราคาเมล็ดกาแฟโดยรวมอยู่ระหว่าง 15,000-16,500 กีบต่อกิโลกรัม ราคาของกาแฟโรบัสต้าปอกเปลือกอยู่ระหว่าง 11,000-12,500 กีบต่อกิโลกรัมในปีนี้  โดยส่งออกกาแฟไปยังกว่า 26 ประเทศในยุโรปเอเชียและสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันมีบริษัท 8 แห่งที่รับซื้อกาแฟจากเกษตรกรเพื่อส่งออกและขายภายในประเทศ

ที่มา : https://www.phnompenhpost.com/business/laos-ups-its-coffee-exports-100-hit-40m

สิงคโปร์รุกตลาดพลังงานไฟฟ้าความร้อนจากถ่านหินที่แขวงเซกอง สปป.ลาว

บริษัท Evolution Power Investment Corporation (EPIC) และ บริษัท Kuounmixay Bridge and Road Construction and Repair Company (KMX) ซึ่งเป็นบริษัทกิจการร่วมค้า (Joint Venture) ระหว่างสิงคโปร์กับ สปป.ลาว ลงนามบันทึกความเข้าใจกับรัฐบาล สปป.ลาว เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโรงผลิตไฟฟ้าพลังงาน ความร้อนจากถ่านหินสะอาดที่เมืองดากจึง สปป.ลาว โครงการดังกล่าว มีมูลค่า 1.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 1,000 เมกะวัตต์ เพื่อส่งไปขายยังประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะ ไทย เวียดนามและกัมพูชา โดยคาดว่าการก่อสร้างโครงการจะแล้วเสร็จในปี 2570และการเกิดขึ้นของโครงการดังกล่าวจะเป็นส่วนช่วยในขยายตัวเศรษฐกิจสปป.ลาวได้อย่างมั่นคง

ที่มา : https://globthailand.com/laos-11082020/

อัตราเงินเฟ้อของ สปป. ลาว เดือน มิถุนายน 2563 ลดลงเล็กน้อย

ศูนย์สถิติแห่งชาติ กระทรวงแผนการและการลงทุน สปป. ลาว เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อลาวเดือน มิถุนายน 2563 ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 5.28 จากร้อยละ 5.46 เมื่อเดือน พฤษภาคม 2563  ปัจจัยที่ทำให้ราคาสินค้าบางประเภทปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่
(1) ความผันผวนของราคาสินค้าบางรายการที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19
(2) การส่งเสริมการผลิตสินค้าภายในประเทศที่ยังทำได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ และสินค้าที่ผลิตได้ยังต้องพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบและปัจจัยการผลิต
(3) ราคาสินค้าสำคัญในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น
(4) อัตราแลกเปลี่ยนเงินกีบกับบาทและดอลลาร์สหรัฐยังมีความผันผวนอย่างต่อเนื่อง

ที่มา : https://globthailand.com/laos-20082020/

จีนเตรียมจัดจ่ายวัคซีน COVID -19 ให้ประเทศในลุ่มน้ำโขงเมื่อพัฒนาสมบูรณ์

นายหลี่เค่อเฉียงนายกรัฐมนตรีจีนเข้าร่วมการประชุมความร่วมมือล้านช้าง – แม่โขง (LMC) ครั้งที่สามผ่านลิงก์วิดีโอซึ่งตามรายงานในซินหัว นายกรัฐมนตรีจีนกล่าวว่า “จีนจะให้ความสำคัญกับการเข้าถึงประเทศในลุ่มน้ำโขงเพื่อจัดหาวัคซีน COVID-19 เมื่อพัฒนาจนสมบูรณ์แบบ” จีนตั้งใจที่จะจัดตั้งกองทุนพิเศษเพื่อส่งเสริมสุขภาพของประชาชนในสปป.ลาว ภายใต้กรอบของกองทุนพิเศษ LMC และจะจัดหาวัสดุป้องกันการแพร่ระบาด COVID-19 รวมถึงการสนับสนุนมาตราฐานทางการแพทย์ที่ดีขึ้น ในที่ประชุมยังได้มีการเสนอแนวทางการร่วมมือด้านอื่นๆ ที่จะเป็นผลดีต่อประเทศในกลุ่มแม่น้ำโขลง ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งปันข้อมูลอุทกวิทยาของแม่น้ำโขลงรวมถึงการค้าและการท่องเที่ยว ในส่วนของสปป.ลาวเองยังคงได้รับสนับสนุนในการขยายเส้นทางรถไฟสปป.ลาว-จีนที่จะเชื่อมต่อมายังจีนและไทยได้ เป็นส่วนช่วยในการส่งเสริมความเชื่อมโยงในภูมิภาคและจะเป็นเส้นทางที่สำคัญด้านการค้าและการท่องเที่ยวต่อไปในอนาคต

ที่มา : https://laotiantimes.com/2020/08/26/china-to-provide-mekong-countries-with-covid-19-vaccine/

รัฐบาลสปป.ลาวและUN Habitat ดำเนินการระยะสองในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านน้ำ

รัฐบาลสปป.ลาวและUN Habitat จะเริ่มดำเนินการในระยะที่สองของโครงการ Adaptation Fund ตามแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก – ตะวันตกในภาคกลางของสปป.ลาว โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อจัดหาโครงสร้างพื้นฐานด้านน้ำให้เข้ากับการวางผังเมืองรวมถึงมีความยืดหยุ่นต่อสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง บันทึกความเข้าใจ (MOU) สำหรับกองทุนดำเนินการในระยะที่สองของโครงการ Adaptation Fund ได้รับความร่วมมือระหว่างกระทรวงโยธาธิการและการขนส่งและมูลนิธิที่อยู่อาศัยของสหประชาชาติ ซึ่งภายในงานนางวิไลคำรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงโยธาธิการและคมนาคมได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของน้ำ เพราะเป็นปัจจัยสำคัญในการชี้วัดความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คน และเธอหวังว่าโครงการดังกล่าวจะเข้าถึงผู้คนที่เปราะบางมากขึ้น การพัฒนาการโครงสร้างพื้นฐานทางน้ำดังกล่าว จะเป็นรากฐานที่สำคัญที่ในการทำให้แนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก – ตะวันตกในภาคกลางของสปป.ลาว แข็งแกร่งและดึงดูดการลงทุนจากนักลงทุนได้มากขึ้นและเป็นส่วนสำคัญในการส่งเสริมเศรษฐกจสปป.ลาวต่อไป

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Ministry_165.php

สปป.ลาวและญี่ปุ่นลงนามข้อตกลงเปิดช่องทางการเดินทางระหว่างประเทศ

ญี่ปุ่นและสปป.ลาวลงนามข้อตกลงที่จะให้ชาวต่างชาติที่พำนักระยะยาวสามารถกลับมาเดินทางระหว่างสองประเทศได้ ซึ่งคาดการณ์จะเริ่มทำได้เร็วที่สุดในเดือนกันยายน ปัจจุบันญี่ปุ่นกำลังก้าวเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในประเทศริมแม่น้ำโขง โดยเฉพาะในสปป.ลาวที่มีอัตราการเติบโตของภาคเศรษฐกิจที่ดีนอกเหนือจากความร่วมมือกับญี่ปุ่น สปป.ลาวยังได้ลงนามความร่วมมือระหว่างจีนและกลุ่มแม่น้ำโขลงที่ประกอบด้วย 6 ประเทศ ได้แก่ จีน กัมพูชา เมียนมาร์ สปป.ลาว ไทยและเวียดนาม การร่วมมือดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมสร้างในด้านความมั่นคงด้านอาหารและที่สำคัญช่วยส่งเสริมการค้าของสปป.ลาว แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้กลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขลงต้องหารือถึงแนวทางการป้องการแพร่ระบาดระลอกใหม่และมาตราการบรรเทาหรือฟื้นฟูเศรษฐกิจให้กลับมาเติบโตได้ดีอีกครั้ง ซึ่งไทย จีน ญี่ปุ่น พร้อมที่จะช่วยเหลือประเทศในกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขลงทั้งในด้านเงินทุน และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้ในการรับมือ COVID-19 เพื่อให้เศรษฐกิจสปป.ลาวกลับมาเติบโตได้ตามเป้าอีกครั้ง 

ที่มา : https://www.ttrweekly.com/site/2020/08/laos-and-japan-to-open-travel-channel/

รัฐบาลสปป.ลาวช่วยเหลือภาระหนี้แก่เอกชนเพื่อบรรเทาผลกระทบด้านเศรษฐกิจ

รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะชำระหนี้ให้กับองค์กรเอกชนในช่วงที่เหลือของปีนี้เพื่อรักษาสภาพคล่องทางการเงินของบริษัทต่างๆ เพื่อบรรเทาอุปสรรคทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยเงินจะถูกระดมจากการออกพันธบัตรและสถานบันการเงิน รัฐบาลได้เน้นย้ำถึงความตั้งใจของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหานี้ ในขณะเดียวกันก็ผลักดันให้มีการพัฒนาเมกะโปรเจ็กต์อย่างต่อเนื่องเพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของรัฐบาลในการช่วย บริษัท ในท้องถิ่นลดผลกระทบจากวิกฤต Covid-19 แม้ว่าประเทศจะมีความตึงเครียดด้านงบประมาณที่เพิ่มขึ้น ตั้งแต่ต้นปี 2018 ถึงต้นปี 2019 หนี้ของรัฐบาลที่เกิดขึ้นกับองค์กรเอกชนกว่า 3,000 พันล้านกีบ โดยรัฐบาลมีโครงการที่จะนำหนี้ดังกล่าวเข้าสู่ธนาคารพาณิชย์เพื่อช่วยเหลือภาคธุรกิจและลดภาระของรัฐบาลเอง เนื่องจากรายได้ของประเทศคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 78 ของแผนประจำปีในปี 2563 จึงจำเป็นต้องลดการใช้จ่ายในโครงการที่ไม่จำเป็นรวมถึงบริหารจัดการหนี้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อลดภาระของรัฐบาล รัฐบาลจะไม่เพียง แต่ตั้งใจที่จะลดการใช้จ่ายด้านการบริหารเท่านั้น แต่ยังเลื่อนงบประมาณการลงทุนของลงร้อยละ 50 สำหรับโครงการที่ลดลงจะไม่ส่งผลตอบแทนทางเศรษฐกิจมากนัก

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Mekong_164.php