เมียนมาเร่งปลูกขิงคุณภาพดีเพื่อการส่งออก
เมียนมามองเห็นความต้องการของต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นสำหรับพืชที่ใช้น้ำน้อยในการเพาะปลูก เช่น ขิง น้ำผึ้ง และกาแฟ ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ความต้องการขิงคุณภาพสูงเพิ่มมากขึ้น ขณะนี้เมียนมาสามารถส่งออกขิงได้เพียงปีละ 1 ตัน ซึ่งสหรัฐฯ มีความต้องการขิงมากกว่า 100 ตัน ดังนั้นเมียนมาจะต้องใช้เวลาในการวิจัยสายพันธุ์ขิงที่ทนทานและมีคุณภาพสูงสำหรับการเพาะปลูกปลูก นักวิจัยและนักลงทุนภาคเอกชนจำเป็นต้องจัดหาสายพันธุ์ที่มีคุณภาพส่วนกระบวนการผลิตและการเพาะปลูกจะตามมาเอง ขิงจะใช้เวลาประมาณ 3 ปีในการปลูกเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการในการส่งออก ปัจจุบันมีประมาณ 5,000 ครัวเรือนที่ปลูกขิงในรัฐฉานตอนใต้ ในอีกห้าปีข้างหน้าคาดว่าจะผลิตขิงได้มากกว่า 10,000 ตันต่อปีในพื้นที่ 10,000 เอเคอร์ ในอดีตบังกลาเทศยังนำเข้าขิงจากเมียนมาร์ แต่ปัจจุบันบังกลาเทศสามารถส่งออกขิงแห้งไปยังยุโรป
ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-produce-better-quality-ginger-exports.html
ส่งออกข้าวของเมียนมาแตะ 2.5 ล้านตันในปีนี้
จากรายงานของสมาพันธ์ค้าข้าวแห่งประเทศสหภาพเมียนมา (Myanmar Rice Federation :MRF) เมียนมาส่งออกข้าวและปลายข้าวมากกว่า 2.5 ล้านตันในปีงบประมาณ 62-63 คิดเป็นรายได้มากกว่า 794.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 570 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากปีงบประมาณก่อน แต่ผู้ค้าจำเป็นต้องจับตาดูปัจจัยต่างๆ เช่น อุปสงค์ของต่างประเทศ อัตราแลกเปลี่ยน และการเกษตรในประเทศหลัง COVID-19 ในปีงบประมาณ 62-63 ส่งออกข้าวและปลายข้าวไปกว่า 60 ประเทศทั่วโลก จีนถือเป็นรายใหญ่แต่การนำเข้าจากฟิลิปปินส์ มาเลเซีย มาดากัสการ์ โปแลนด์ กินี เบลเยียม เซเนกัล อินโดนีเซีย เนเธอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักรเพิ่มสูงขึ้นตลอดหลายปีที่ผ่านมา โดยประมาณ 16% เป็นการส่งออกผ่านชายแดนส่วนที่เหลือเป็นการส่งออกทางทะเล
ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-rice-export-levels-hit-25-million-tonnes-year.html
ตลาดเซโจ เมืองมัณฑะเลย์พร้อมเปิดอีกครั้ง
นาย U Min Min เลขาธิการคณะกรรมการตลาดเผยกำลังขออนุญาตเปิดตลาด13. ตลาดเซโจ (Zegyo Market) ในเมืองมัณฑะเลย์อีกครั้งหลังปิดมานานกว่าหนึ่งเดือน ขณะเดียวกันก็จำเป็นต้องมีมาตรการป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 เพื่อไม่ให้ตลาดหยุดนิ่งหรือปิดลง ซึ่งการค้าขายโดยเฉพาะสินค้าตามฤดูกาล เช่น ผ้าห่มและเสื้อกันหนาวเป็นสิ่งที่ขายในในช่วงเทศกาลตาดิงยุต (Thadingyut Festival of Lights) และเทศกาลตาซองดิน (Tazaungdine Festival of Lights) ตลาดแห่งนี้ใหญ่ที่สุดในเมียนมาตอนเหนือและเป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจของประเทศ พบว่ามีปัญหาด้านห่วงโซ่อุปทานและการจ้างงานหากถูกปิดเป็นเวลานาน ทั้งนี้ตลาดจะลดพนักงานลงครึ่งหนึ่งและอนุญาตให้อาคารแค่สี่หลังเปิดทำการตั้งแต่ 8.00 น. ถึงเที่ยงวัน ปัจจุบันมีร้านค้ามากกว่า 5,000 ร้าน ในตลาดแห่งนี้
ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/mandalay-zegyo-market-seeks-ok-reopen.html
โควิดพ่นพิษทำราคาเนื้อสัตว์สูงขึ้น กระทบอาหารแช่แข็งในเมียนมา
ตลาดอาหารทะเลแช่แข็งและอาหารจานด่วนกำลังประสบปัญหาในระหว่างการระบาดของโควิด -19 ร้านอาหารในท้องถิ่นปิดตัวลงอุตสาหกรรมจึงต้องพึ่งพาตลาดขนาดเล็กและการค้าปลีกออนไลน์ อาหารทะเลส่วนใหญ่ผลิตในประเทศหรือนำเข้าจากไทยและขายให้กับร้านค้าส่วนใหญ่ เช่น Kyay-Oh, Hot-Pot, Barger, Sushi และ Thai BBQ ผู้ผลิตฟาสต์ฟู้ดลดมีปัญหาด้านโลจิสติกส์และโรงงานอาหารแช่แข็งจึงลดการผลิตลง ในขณะเดียวกันราคาไก่เนื้อเพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 2000 จัตต่อ 1.6 กิโลกรัมเนื่องจากลดการเพาะเลี้ยงในช่วงกลางเดือนกันยายน โดยต้นทุนการเลี้ยงไก่อยู่ที่ประมาณ 2700 จัตต่อ 1.6 กิโลกรัม แต่ราคาในตลาดอยู่ที่ประมาณ 2000 จัตต่อ 1.6 กิโลกรัมดังนั้นจึงขาดทุนมากกว่า 700 จัตต่อ 1.6 กิโลกรัม โดยปกติชาวเมียนมาบริโภคไก่ประมาณ 14 ล้านตัวต่อเดือนหรือประมาณ 500,000 ตัวต่อวัน แต่ความต้องการลดลงครึ่งหนึ่งเนื่องจากโรงแรมร้านอาหารและร้านชาปิดตัวลง ปกติในตลาดเคยขายได้ประมาณ 48 กก. ต่อวัน แต่ตอนนี้เหลือวันละ 8 กิโล จึงจำเป็นต้องขายผ่านออนไลน์ ร้านค้าปลีกในเขตเมืองกะลาปาเหนือ (North Okkalapa) ในช่วงต้นเดือนกันยายนราคาไก่หน้าฟาร์มต่ำกว่า 1600 จัตต่อ 1.6 กก. และมีความเสียหายประมาณ 50 ล้านจัตต่อวัน
ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/rising-prices-hurt-frozen-food-wholesalers-myanmar.html
เกษตรกรเมียนมาได้รับการเยียวยาจากการเวนคืนที่ดิน
กรมจัดการที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเมียนมายืนยันเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 63 ที่ผ่านมาโดยจะมีการจัดสรรที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจำนวน 2 พันล้านจัต โดยจะชดเชยให้แก่เกษตรกรที่สูญเสียที่ดิจากการเวนคืนที่ดินของรัฐบาลที่นำไปสร้างถนนและทางรถไฟ ภายใต้กฎหมายกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการระดับชาติคาดว่าจะจัดสรรจำนวนเงินเป็นค่าตอบแทนแก่เกษตรกรล่วงหน้าพร้อมจะขอคำยืนยันจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-farmers-receive-land-compensation.html
เมียนมาคาดราคาน้ำตาลพุ่งตามราคาตลาดโลก
ผู้ค้าน้ำตาลในเมียนมาคาดราคาน้ำตลาดจะสูงขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าเนื่องจากความต้องการทั่วโลกที่สูงขึ้นและการระบาดของ COVID-19 ทำให้ห่วงโซ่อุปทานหยุดชะงักนำไปสู่การขาดแคลนในบางส่วนของโลกรวมถึงจีน เมียนพยายามมานานหลายปีจะต้องการจะเพิ่มการผลิตน้ำตาล แต่ก่อนหน้ามีข้อกำหนดทางศุลกากรที่เข้มงวดการส่งออกน้ำตาลไปยังจีนจึงหยุดชะงักไปเมื่อต้นปี ขณะเดียวกันชาวไร่อ้อยในพื้นที่ก็ต้องลดการผลิตลงในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเนื่องจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น สต๊อกน้ำตาลก่อนหน้านี้ที่เมืองชายแดนมูเซถูกขายจนหมด นอกจากนี้ยังมีความต้องการน้ำเชื่อมบางส่วนจากจีนด้วยเช่นกัน ซึ่งปริมาณสำรองน้ำตาลทั่วโลกกำลังลดลงและราคาสูงขึ้น กระทรวงพาณิชย์ของเมียนมาได้หารือกับโรงงานน้ำตาลไปเมื่อวันที่ 13 ตุลาคมเกี่ยวกับการกำหนดราคาขั้นต่ำอ้อยก่อนสิ้นเดือนนี้ก่อนฤดูการหีบอ้อยจะเริ่มขึ้น ปัจจุบันราคาอ้อยอย่างเป็นทางการอยู่ที่ 42,000 จัตต่อตัน ในอนาคตอาจจะไม่ต่ำกว่า 40,000 จัตต่อตันซึ่งหนุนราคาท้องถิ่นให้สูงในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า เมื่อสต็อกในท้องถิ่นลดลงและพื้นที่เพาะปลูกลดลงราคาอ้อยและน้ำตาลอาจเพิ่มขึ้นอีกในปีหน้า ก่อนหน้านี้เมียนมาส่งออกน้ำตาลทรายดิบไปยังจีนแต่เนื่องจากข้อจำกัดการนำเข้าและการปราบปรามการค้าที่ผิดกฎหมายทำให้ชาวไร่ค่อยๆ เลิกปลูกอ้อยมากขึ้น ในความเป็นจริงคนวงในคาดการณ์การหดตัวของพื้นที่เพาะในปีงบประมาณ 63-64 เหลือเพียง 350,000 เอเคอร์ลดลงร้อยละ 25 เมื่อเทียบกับ 7 ปีที่แล้วและต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ในขณะเดียวกันก็มีนำเข้าน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์เนื่องจากโรงงานน้ำตาลมีเพียง 2 แห่งจาก 29 แห่งที่สามารถผลิตน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ ปีงบประมาณ 62-63 มีการนำเข้าน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์มากกว่า 57,000 ตันซึ่งน้อยกว่าก่อนหน้านี้ประมาณร้อยละ 40-50 เนื่องจากราคาที่สูงขึ้นและข้อจำกัดของรัฐบาลเมียนมา
ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-anticipates-higher-sugar-prices-demand-rises.html