เมียนมาเตรียมจัดการกับผลกระทบทางเศรษฐกิจจาก COVID-19

เศรษฐกิจเมียนมาคาดว่าจะลดลงอีกในปีนี้เนื่องจากการระบาด COVID-19 นางอองซานซูจีที่ปรึกษาของรัฐกล่าวระหว่างการประชุมกับรัฐมนตรีคลังที่สำคัญในวันที่ 16 มิถุนายน 63 ความเสียหายส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในไตรมาสที่สามและสี่ของปีนี้ ดังนั้นรัฐบาลต้องการให้ประชาชนได้เตรียมความพร้อมด้านการเงินเพื่อรับมือกับวิกฤติที่จะเกิดขึ้น ในช่วงสามเดือนที่ผ่านมาเมียนมาได้กู้ยืมเงินดอกเบี้ยต่ำจากพันธมิตรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศและผู้ให้กู้มูลค่า 1.25 พันล้านดอลลร์สหรัฐเพื่อจัดการกับความเสียหายทางเศรษฐกิจที่เกิดจาก COVID-19 ประกอบไปด้วยกองทุนรวม 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) 270 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากญี่ปุ่น 250 ล้านดอลลาร์ดอลลาร์สหรัฐจากธนาคารโลก และ 30 ล้านดอลลาร์ดอลลาร์สหรัฐจากธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) รัฐบาลได้จัดทำแผนบรรเทาเศรษฐกิจ COVID-19 (CERP) ซึ่ง SMEs กว่า 2,000 แห่งได้รับเงินกู้ยืมดอกเบี้ยต่ำจากกองทุน 100 พันล้านจัต โดยมีการจัดสรรเงินทุนเพิ่มเติมจำนวนมากถึง 500,000 ล้านจัตเพื่อช่วย SMEs และธุรกิจการท่องเที่ยวและการผลิตอื่น ๆ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-prepared-manage-further-economic-fallout-dassk.html

การลงทุนในย่างกุ้งยังคงดำเนินต่อแม้จะการระบาด ของ COVID-19

การระบาดใหญ่ของโคโรนาไวรัสไม่ได้ทำให้นักลงทุนสนใจในย่างกุ้งลดลง ตั้งแต่ตรวจพบเชื้อ COVID-19 ในเมียนมาเมื่อเดือนมีนาคม ซึ่งมี 4  ธุรกิจที่ได้รับอนุมัติให้ลงทุน 8 ล้านดอลลาร์สหรัฐในย่างกุ้ง การประชุมเชิงปฏิบัติการและโรงงานในยังดำเนินงานตามปกติและไม่ได้รับผลกระทบรุนแรง บริษัท 3 แห่งจากจีนและฮ่องกงและบริษัทท้องถิ่นแห่งหนึ่งได้รับอนุมัติให้ลงทุนในย่างกุ้ง ซึ่งการลงทุนคาดว่าจะสร้างตำแหน่งงานกว่า 656 ตำแหน่ง โดยผู้ผลิตเสื้อผ้าและรองเท้าเป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดในเขตย่างกุ้ง คณะกรรมการการลงทุนเขตย่างกุ้งจัดการประชุม 2 ครั้งต่อเดือนเพื่อตัดสินใจอนุมัติเงินลงทุนสูงสุด 5 ล้านเหรียญสหรัฐหรือ 6 พันล้านจัต

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/investments-yangon-continue-despite-pandemic.html

ยอดผู้โดยสารลดลงส่งผลกระทบต่อคนขับแท็กซี่อย่างหนัก

แท็กซี่ในเมียนมากำลังประสบปัญหาในการหาผู้โดยสารจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในย่างกุ้ง แม้เจ้าของอู่จะลดค่าเช่าลง (ประมาณ 50%) แต่จำนวนผู้โดยสารก็ลดลงอย่างชัดเจนตั้งแต่ต้นปี สำหรับค่าธรรมเนียมการเช่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมันลดลงจาก 10,000 จัต เหลือ 5000 จัตต่อเดือน รถที่ใช้แก๊สจะมีการลดค่าธรรมเนียมจาก 15,000 จัตเหลือ 8,000 จัตต่อคัน คนขับ taxi รายหนึ่งเล่าว่าแต่ก่อนมีรายได้มากกว่า 40,000 จัตต่อวัน แต่ตอนนี้เหลือเพียง 20,000 จัตเท่านั้น

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/falling-demand-hits-taxi-drivers-hard.html

YBS ใช้ระบบการชำระเงินด้วยบัตรเริ่มมิถุนายนนี้

ย่างกุ้งเปิดตัวระบบชำระเงินย่างกุ้ง (YPS) สำหรับรถประจำทางในปลายเดือนมิถุนายนจากรายงานของ Asia Starmar Transport Intelligent ซึ่งเป็นบริษัทที่ได้ชนะการประกวดราคา เทคโนโลยีระบบบัตร YPS ได้ติดตั้งบนรถบัสเกือบ 2,000 คัน โดยจะมีจะขายในร้านสะดวกซื้อ รถบัส 2,000 คันได้รับการติดตั้งพร้อมกับอีก 500 เครื่องที่รอส่ง ภายใต้แผนที่จะติดตั้งเครื่องบนรถบัส 4,000 คัน  จะมีการออกบัตรจำนวน 100,000 ใบ โดยแต่ละใบมีราคาเริ่มต้นที่ 1,000 จัต รถโดยสาร YBS มีผู้โดยสารประมาณ 1.8 – 2.5 ล้านคนก่อนเกิดการระบาดใหญ่ แต่ผู้โดยสารลดจำนวนลงอย่างรวดเร็วเมื่อปลายเดือนมีนาคมเหลือเพียง 100,000 คน ส่วนในเดือนมิถุนายนจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นเป็น 500,000 คน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/ybs-adopt-card-payment-system-june.html

ฮ่องกงลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสูงสุดในเมียนมาในปีงบประมาณนี้

ฮ่องกงกลายเป็นแหล่งที่มาของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ที่สำคัญ จากช่วงเจ็ดเดือนแรกของปีงบประมาณ 2562-2562 ซมีสัดส่วนประมาณ 32 % ของภาระผูกพันโดยรวม จากเดือนตุลาคม 2562 ถึงเมษายน 2563 มีการลงทุนโดยตรงจากหน่วยงานต่าง ๆ ในฮ่องกงจำนวน 39 แห่งมีมูลค่า 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากข้อมูลจากคณะกรรมการการลงทุนและการบริหารบริษัท (DICA) คิดเป็น 23% ของเป้าหมายการลงทุน 5.8 พันล้านดอลลาร์ตามเป้าหมายของรัฐบาล ส่วนใหญ่จะลงทุนในธุรกิจไฟฟ้าและพลังงาน การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป และการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ตั้งแต่ปี 2531 มีบริษัทจากฮ่องกงกว่า 200 แห่งได้ทำสัญญา FDI มากกว่า 9.5 พันล้านดอลลาร์ เนื่องจากความต้องการ พลังงาน โครงสร้างพื้นฐาน และภาคการผลิตของประเทศขยายตัวตามความต้องการที่สูงขึ้น

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/hong-kong-top-fdi-source-myanmar-fiscal-year.html

มัณฑะเลย์ยกเลิกสัญญาโครงการบำบัดน้ำเสีย

เมืองมัณฑะเลย์กำลังยกเลิกโครงการบำบัดน้ำเสียที่ล่าช้ามากเนื่องจากบริษัทจากประเทศไทยที่ไม่สามารถดำเนินการห้เสร็จสิ้นได้ ปัจจุบันค่ากำจัดน้ำเสียตกอยู่ที่เดือนละ 56,000 จัต (40 ดอลลาร์สหรัฐ) สำหรับ 24 โรงงานในเขตอุตสาหกรรม แต่โรงงานขนาดเล็กไม่สามารถจ่ายได้ ท่อน้ำเสียจะปล่อยน้ำเสียลงในแม่น้ำดอกทาวดี (Dokhtawady) ซึ่งถูกสร้างโดยเขตอุตสาหกรรม

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/mandalay-city-moves-cancel-wastewater-treatment-contract.html

ต่างชาติยังสนใจลงทุนในอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูปของเมียนมาเชื่อยังแข็งแกร่งแม้ส่งออกลดลง

ความสนใจของนักลงทุนต่างชาติในภาคการผลิตเสื้อผ้ายังคงแข็งแกร่งแม้จะมีปริมาณการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปลดลงในปีงบประมาณ 2562-2563 จากข้อมูลของคณะกรรมการการลงทุนของเมียนมา (MIC) มีบริษัทต่างชาติ 178 แห่งที่ได้รับอนุญาตให้ลงทุนในเมียนมาระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2562 ถึง 31 พฤษภาคม 2563 แม้การส่งออกจะลดลงเหลือเพียง 2.7 พันล้านดอลลาร์ โดยลดลงมากกว่า 24 ล้านดอลลาร์จากช่วงเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากการยกเลิกคำสั่งซื้อของสหภาพยุโรปจากปัญหา COVID-19 ทั้งโรงงานยังเลิกจ้างหรือปิดกิจการซึ่งส่งผลกระทบถึงแรงงานกว่า 700,000 คนโดยเฉพาะแรงงานหญิงในโรงงาน 600 แห่ง และการหยุดชะงักของการนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศจีนนื่องจากการล็อกดาวน์ประเทศ โดยร้อยละ 70 ส่งออกไปยังสหภาพยุโรป เช่นเดียวกับญี่ปุ่น เกาหลี แคนาดา และสหรัฐอเมริกา จากการช่วยเหลือทางการเงินของรัฐบาลและสหภาพยุโรปทำให้อุตสาหกรรมกำลังฟื้นตัว นอกจากนี้ยังมีรายได้จากการส่งออกจากชายแดนเมียนมา – ไทย ในเมียวดีโดยมีการส่งออกมูลค่า 71 ล้านดอลลาร์ไปยังประเทศไทย ทั้งนี้รัฐบาลมีแผนรับมือทางเศรษฐกิจโดยได้จัดสรรเงินกู้ยืมให้กับอุตสาหกรรมที่มีปัญหารวมถึงอุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าด้วย ภาคการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปของเมียนมามีรายรับจากการส่งออก 5 พันล้านดอลลาร์ในปีงบประมาณ 2561-2562

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/investor-interest-myanmar-garment-sector-still-strong-despite-lower-exports.html