‘สงครามรัสเซีย-ยูเครน’ บีบให้เวียดนามค้นหาซัพพลายเออร์ปุ๋ยรายอื่นทดแทน

ความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลให้เวียดนามต้องค้นหาซัพพลายเออร์ปุ๋ยรายอื่น เพื่อรองรับกับปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบและราคาที่สูงขึ้น กระทรวงเกษตรและพัฒนาบท (MARD) เปิดเผยว่าความขัดแย้งดังกล่าว ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อตลาดปุ๋ยในประเทศ ซึ่งประสบปัญหากับการขาดแคลนทางด้านอุปทานและราคาที่ปรับตัวสูงขึ้น เหตุจากการได้รับผลกระทบของเชื้อไวรัสโควิด-19 และการหยุดชะงักห่วงโซ่อุปทาน ทั้งนี้ รัสเซียเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกปุ๋ยที่มีต้นทุนต่ำที่สุดรายใหญ่ของโลก โดยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา กระทรวงอุตฯ ของรัสเซียประกาศให้ผู้ผลิตปุ๋ยของประเทศทำการหยุดการส่งออกชั่วคราว ด้วยเหตุนี้ ราคาปุ๋ยทำสถิติสูงสุดในรอบ 50 ปี ราคาปุ๋ยเพิ่มขึ้นมากกว่า 20% ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ประกอบกับราคาน้ำมันและก๊าซที่พุ่งสูงขึ้น ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของต้นทุนการผลิต ทำให้ผลักดันราคาปุ๋ยให้สูงขึ้นเช่นเดียวกัน

ที่มา : https://vir.com.vn/russia-ukraine-conflict-forces-vietnam-to-look-for-alternative-fertiliser-suppliers-91979.html

การยึดอำนาจในเมียนมา กระทบ Aeon Mall เลื่อนก่อสร้างศูนย์การค้าในย่างกุ้ง

Aeon Mall ผู้พัฒนาห้างสรรพสินค้าภายใต้แบรนด์ Aeon ผู้ค้าปลีกรายใหญ่ของญี่ปุ่นได้เลื่อนการก่อสร้างห้างสรรพสินค้าแห่งใหญ่ที่สุดของเมียนมาที่วางแผนไว้ในเมืองย่างกุ้ง จากเดิมที่จะเริ่มก่อสร้างในช่วงฤดูร้อนแต่เมื่อเกิดการยึดอำนาจของรัฐบาลทหารจึงยังไม่มีการกำหนดแผนออกมา Aeon Mall ได้ร่วมทุนกับกลุ่มบริษัทในเมียนมาโดยมีแผนจะเปิดห้างสรรพสินค้าที่มีพื้นที่ค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุดในเมียนมาในปี 2566 จากแหล่งข่าวเผยว่า ญี่ปุ่นยังจะไม่ถอนตัวออกจากโครงการนี้ แต่จะต้องปรับแผนเพื่อให้เข้ากับแนวโน้มของผู้บริโภคและสภาพเศรษฐกิจในประเทศ ปีที่ผ่านรัฐบาลอนุมัติการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับโครงการไปแล้วกว่า 180 ล้านดอลลาร์

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/aeon-mall-postpones-yangon-shopping-mall-construction-after-military-takeover

โรงแรมซูเล แชงกริลา ย่างกุ้ง อ่วม โควิดฯ พ่นพิษ ปิดให้บริการเป็นเวลา 9 เดือน

Shangri-La Group ได้ประกาศในวันนี้ (13 มกราคม) ว่าจะปิดทำการโรงแรมซูเล แชงกริลา ย่างกุ้ง ชั่วคราวเป็นเวลาเก้าเดือนนับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 64 เป็นต้นไป โดยช่วงการระบาดของ COVID-19 ที่ผ่านมาโรงแรมได้ลดต้นทุนเพื่อลดผลกระทบอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนรวมถึงการตัดสินใจในการปรับปรุงปรับการทำงานของพนักงานเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมากล่าว อย่างไรก็ตามบริษัทได้ตัดสินใจปิดโรงแรมเนื่องจากธุรกิจตกต่ำอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน โดยเปิดโรงแรมอีกครั้งในเวลา 9 เดือนเมื่อธุรกิจเริ่มฟื้นตัว แขกและลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจะมีการยกเว้นค่าธรรมเนียมจากการยกเลิกทั้งหมด ทั้งนี้ในช่วงปิดโรงแรมพนักงานส่วนใหญ่ยังคงได้รับเงินเดือนค่าจ้างแม้จะไม่ได้เข้ามาทำงาน โรงแรมให้บริการครั้งแรกในปี พ.ศ. 2539 และเดิมชื่อ Traders Hotel เป็นอาคารสูงที่สุดในเมียนมา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 ถึง พ.ศ. 2542 โรงแรมมี 466 ห้องได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็นโรงแรมซูเลแชงกรีลาย่างกุ้งในปี พ.ศ. 2557 โดย Shangri-La Hotels and Resorts  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเครือ Shangri-La ซึ่งดำเนินธุรกิจโรงแรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายใต้แบรนด์ Shangri-La, Kerry, Jen และ Traders กลุ่ม Shangri-La ก่อตั้งโดยรชาวฮ่องกงคือ Mr. Robert Kuok ในปี พ ศ. 2514

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/sule-shangri-la-hotel-yangon-close-nine-months.html

Covid-19 ยังคงส่งผลกระทบต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของสปป.ลาว

การให้เช่าและการขายอสังหาริมทรัพย์ทั่วสปป.ลาวโดยเฉพาะในเวียงจันทน์ยังคงเผชิญกับความท้าทายเนื่องจากผลกระทบอย่างต่อเนื่อง Covid-19 กลุ่มเป้าหมายของผู้เช่าและผู้ซื้อคอนโดมิเนียมและอพาร์ตเมนต์ส่วนใหญ่ประกอบด้วยชาวต่างชาติจากประเทศจีนและประเทศอื่น ๆ หลังจากการเปิดตัวโครงการลงทุนขนาดใหญ่โดยนักลงทุนชาวจีนมีการขยายตัวของการก่อสร้างอาคารอพาร์ตเมนต์ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาก่อนการระบาดของ Covid-19 กรรมการผู้จัดการ RentsBuy.com กล่าวว่าการเช่าและการขายอพาร์ทเมนต์และคอนโดมิเนียมในเวียงจันทน์ยังคงประสบปัญหาหลังจากการออกจากชาวต่างชาติ อย่างไรก็ตามโครงการที่ดินและบ้านจัดสรรยังคงดำเนินต่อไปเนื่องจากราคาไม่แพงและเสริมว่าผู้ซื้อส่วนใหญ่เป็นคนท้องถิ่นจากจังหวัดต่างๆที่ต้องการย้ายไปเวียงจันทน์ ทั้งนี้ผู้ซื้อส่วนใหญ่ที่ต้องการซื้อที่ดินหรือโครงการบ้านจัดสรรสามารถชำระเงินรายเดือนให้กับเจ้าของบ้านหรือผู้พัฒนาโครงการได้ภายในระยะเวลาหนึ่งของการลงนามในข้อตกลง  ก่อนเกิดวิกฤต Covid-19 สปป.ลาวได้เห็นการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วและการลงทุนจากต่างประเทศใน 12 เขตเศรษฐกิจพิเศษ ขณะนี้ภาคธุรกิจหวังว่าการมาของวัคซีน Covid-19 จะช่วยยุติการหยุดชะงักทางเศรษฐกิจและเศรษฐกิจในภูมิภาคและโลกจะฟื้นตัว

ที่มา : https://www.phnompenhpost.com/business/covid-19-continues-impact-lao-real-estate-businesses

คนเวียดนามกว่า 7.8 ล้านคนได้รับผลกระทบจาก COVID-19

กระทรวงแรงงาน ภายใต้กระทรวงแรงงาน ผู้พิการและสวัสดิการสังคม (MOLISA) เปิดเผยว่าคนตกงานสูงถึง 1.4 ล้านคน ส่วนใหญ่อยู่ในธุรกิจอุตสาหกรรมแปรรูป ค้าปลีก โลจิสติกส์และภาคธุรกิจการบริการ เป็นต้น บริษัทยักษ์ใหญ่บางแห่ง ประกาศปลดพนักงานเพิ่มขึ้น อาทิ บริษัทผลิตรองเท้าสัญชาติไต้หวัน “Pouyuen Vietnam” เป็นต้น ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างรายใหญ่ที่สุดในเมืองโฮจิมินห์ ในขณะที่ บริษัทรองเท้าอีกเมืองหนึ่ง “Hue Phong Footwear Jsc” ลดจำนวนแรงงานลงเหลือครึ่งหนึ่ง 4,600 คน ทั้งนี้ ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ จำนวนผู้คนที่ได้รับประโยชน์จากการว่างงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 32 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว เป็น 565,000 ราย ส่งผลให้รัฐบาลต้องจ่ายเงินประมาณ 7 ล้านล้านด่ง (300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) นอกจากนี้ อัตราการขยายตัวของ GDP ในช่วงครึ่งปีแรก อยู่ที่ 1.81% ถือว่าต่ำที่สุดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจได้รับผลกระทบอย่างหนัก เนื่องจากห่วงโซ่อุปทานหยุดชะงัก การว่างงานเพิ่มขึ้นและธุรกิจมีรายได้ลดลง ท่ามกลางมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสดังกล่าว

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/78-million-vietnamese-workers-jobs-affected-by-covid19-415530.vov

เมียนมาเตรียมจัดการกับผลกระทบทางเศรษฐกิจจาก COVID-19

เศรษฐกิจเมียนมาคาดว่าจะลดลงอีกในปีนี้เนื่องจากการระบาด COVID-19 นางอองซานซูจีที่ปรึกษาของรัฐกล่าวระหว่างการประชุมกับรัฐมนตรีคลังที่สำคัญในวันที่ 16 มิถุนายน 63 ความเสียหายส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในไตรมาสที่สามและสี่ของปีนี้ ดังนั้นรัฐบาลต้องการให้ประชาชนได้เตรียมความพร้อมด้านการเงินเพื่อรับมือกับวิกฤติที่จะเกิดขึ้น ในช่วงสามเดือนที่ผ่านมาเมียนมาได้กู้ยืมเงินดอกเบี้ยต่ำจากพันธมิตรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศและผู้ให้กู้มูลค่า 1.25 พันล้านดอลลร์สหรัฐเพื่อจัดการกับความเสียหายทางเศรษฐกิจที่เกิดจาก COVID-19 ประกอบไปด้วยกองทุนรวม 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) 270 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากญี่ปุ่น 250 ล้านดอลลาร์ดอลลาร์สหรัฐจากธนาคารโลก และ 30 ล้านดอลลาร์ดอลลาร์สหรัฐจากธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) รัฐบาลได้จัดทำแผนบรรเทาเศรษฐกิจ COVID-19 (CERP) ซึ่ง SMEs กว่า 2,000 แห่งได้รับเงินกู้ยืมดอกเบี้ยต่ำจากกองทุน 100 พันล้านจัต โดยมีการจัดสรรเงินทุนเพิ่มเติมจำนวนมากถึง 500,000 ล้านจัตเพื่อช่วย SMEs และธุรกิจการท่องเที่ยวและการผลิตอื่น ๆ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-prepared-manage-further-economic-fallout-dassk.html