ญี่ปุ่นสนับสนุนเงินกว่า 47,000 ล้านเยนสำหรับโครงการโครงสร้างพื้นฐาน 2 โครงการ

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมาสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) และรัฐบาลเมียนมาลงนามตกลงที่จะให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมผ่านการปรับปรุงระบบรถไฟและระบบไฟฟ้า JICA ลงนามในสัญญาเงินกู้กับรัฐบาลโดยให้เงินกู้ ODA สูงถึง 47.94 พันล้านเยน (607.3 พันล้านจัต) สำหรับโครงการทั้งสอง จากทั้งหมด 40,600 ล้านเยนจะถูกใช้ในช่วงแรกของโครงการปรับปรุงรถไฟย่างกุ้ง – มันดาเลย์ในขณะที่ระยะที่สาม 7.33 พันล้านเยนจะเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในเขตเศรษฐกิจพิเศษติวาล่า หน่วยงานพัฒนาของญี่ปุ่นจะยังคงให้การสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาเศรษฐกิจของเมียนมาอย่างต่อเนื่อง  ในเดือนมกราคม JICA ได้ลงนามในสัญญาเงินกู้จำนวน 120.9 พันล้านเยนกับเมียนมาสำหรับสี่โครงการ ได้แก่ โครงการพัฒนาระบบท่อน้ำทิ้งย่างกุ้ง, โครงการพัฒนาเมืองย่างกุ้ง, โครงการปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้าในเขตเมืองและโครงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานระดับภูมิภาค

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/japan-provide-y47-billion-two-infrastructure-projects.html

สนามบินนานาชาติเตินเซินเญิ้ตให้บริการรองรับผดส. 3.7 ล้านคน ในช่วงเทศกาลเต็ด

จากตัวแทนของสนามบินนานาชาติโฮจิมินห์ซิตีเตินเซินเญิ้ต (Ho Chi Minh City Tan Son Nhat International Airport) เปิดเผยว่ามีจำนวนเที่ยวบินขาเข้าและขาออกประมาณ 965 เที่ยวบิน ในช่วงไฮซีซั่นก่อนที่จะถึงช่วงเทศกาลเต็ด (Tet) ซึ่งตรงกับวันที่ 22 มกราคม และคาดว่ามีผู้โดยสารมากกว่า 3.7 ล้านคนในช่วงเทศกาลปีใหม่ตรงกับตรุษจีน โดยเพื่อตอบสนองต่อการท่องเที่ยวที่มากขึ้นในช่วงเทศกาลดังกล่าวนั้น สิ่งอำนวยทางด้านโครงสร้างพื้นฐานจะได้รับการลงทุนพร้อมกัน ซึ่งสายการบินประจำชาติเวียดนามได้ติดตั้งตู้คิออส (Kiosk) มากกว่า 10 แห่งที่อาคารผู้โดยสารในประเทศ เพื่อให้บริการที่ดียิ่งขึ้นและลดความแออันตรงหน้าเคาน์เตอร์เช็คอิน ประกอบกับมีการเพิ่มพื้นที่สแกนและระบบรักษาความปลอดภัยมากขึ้น รวมไปถึงลานจอดอากาศยานมากกว่า 14 แห่ง

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/tan-son-nhat-airport-to-serve-over-37-million-passengers-during-tet-408789.vov

มาเลเซียขอร่วมลงทุนบนโครงสร้างพื้นฐานในท้องถิ่นของกัมพูชา

กระทรวงโยธาธิการและการขนส่งได้ถามถึงบริษัทมาเลเซียในการพิจารณาลงทุนบนโครงสร้างพื้นฐานในท้องถิ่น ซึ่งเป็นภาคที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชาและเป็นส่วนช่วยลดความแออัดของการจราจรในเมืองหลวง โดยกระทรวงกำลังพิจารณาความเป็นไปได้ในการสร้างระบบขนส่งมวลชนในรูปแบบอัตโนมัติโมโนเรลหรือรถไฟฟ้าใต้ดินรวมถึงการสร้างทางคู่ขนานเพิ่ม ซึ่งถนนและสะพานเล็ก ใหญ่ได้ถูกสร้างหรือปฏิรูปเพื่อให้การขนส่งมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยถนนและสะพานที่ดีขึ้นยังช่วยให้การส่งออกของกัมพูชา, กำลังผลิตสินค้าเกษตรเพิ่มมากขึ้นและผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกมากขึ้น ซึ่งประธานสมาคมผู้ขนส่งสินค้าทางอากาศของกัมพูชากล่าวว่าความต้องการเครือข่ายการขนส่งที่เพิ่มขึ้นนั้นเป็นผลมาจากการค้าที่เฟื่องฟูในประเทศ โดยกัมพูชากำลังสร้างทางด่วนมูลค่า 1.9 พันล้านเหรียญสหรัฐซึ่งเชื่อมโยงกรุงพนมเปญกับสีหนุวิลล์ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2565

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50671081/malaysian-company-asked-to-invest-in-local-infrastructure/

การรถไฟเวียดนามปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน

จากข้อมูลของการรถไฟแห่งเวียดนาม (VNR) ได้ทำการวางแผนที่จะปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟที่ตอบสนองต่อความต้องการผู้ใช้บริการ รวมถึงการสร้างตู้รถไฟโดยสารใหม่ 300 คัน และสั่งซื้อหัวรถจักรเพิ่มมากขึ้น ในปี 2566 เนื่องมาจากตู้รถไฟโดยสารล้าสมัย ส่งผลต่อการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงและค่าบำรุงรักษาที่สูงขึ้น ทั้งนี้ ทางการรถไฟแห่งเวียดนามได้ร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ต่างประเทศ ในการส่งเสริมการลงทุนตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ ด้วยการที่หุ้นส่วนจะสร้างรถไฟ และเสนอให้ทางการรถไฟเวียดนามทำการลงนามข้อตกลงสัญญาเช่าซื้อ ขณะเดียวกัน ค่าใช้จ่ายดังกล่าวจะลดลงร้อยละ 10 ตัวอย่างเช่น ค่าใช้จ่ายรวมประมาณ 300 พันล้านด่อง (12.9 ล้านเหรียญสหรัฐ) เพื่อสร้างตู้รถไฟและค่าบำรุงรักษา ด้วยมูลค่า 40 พันล้านด่อง ด้วยเหตุนี้ ทางการรถไฟเวียดนามต้องใช้เงินราว 300 พันล้านด่อง แทนที่จะต้องเสียเงิน 340 พันล้านด่อง โดยไม่จำเป็นต้องกู้เงิน ซึ่งจะประหยัดเงินทุนอย่างมาก

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnam-railways-to-upgrade-infrastructure-406655.vov

กัมพูชาขอความช่วยเหลือจากญี่ปุ่นในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่

รัฐบาลกัมพูชาได้ขอให้ญี่ปุ่นร่วมช่วยในการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งและงานสาธารณะภายในประเทศในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน ครั้งที่ 25 ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม โดยพูดถึงการลงทุนในภาคการก่อสร้างระบบการขนส่งอัตโนมัติหรือ AGT สำหรับเมืองหลวงของกัมพูชาได้ดำเนินการไปอย่างช้าๆส่วนหนึ่งเป็นเพราะขาดเงินทุนในการก่อสร้างจากนักลงทุนในการดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งระบบ AGT จะช่วยบรรเทาปัญหาจราจรติดขัดภายในเขตเมือง โดยมีต้นทุนในการก่อสร้างอยู่ที่ประมาณ 800 ล้านเหรียญสหรัฐ รวมถึงรัฐบาลกำลังตั้งสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินเพื่อลดความแออัดภายในเขตเมือง ซึ่งสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) ได้ทำการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ AGT ในขณะที่บริษัทสองแห่งจากจีนกำลังดำเนินโครงการรถไฟฟ้ารางเดี่ยวและรถไฟฟ้าใต้ดินภายในกรุงพนมเปญ โดยประเทศญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในผู้ให้ความช่วยเหลือกัมพูชาที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งเมื่อปีที่แล้วกัมพูชาได้รับเงินช่วยเหลือจำนวน 135 ล้านเหรียญสหรัฐจากญี่ปุ่นซึ่งอยู่ในรูปของเงินช่วยเหลือและเงินกู้ยืมในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภายในประเทศกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50662323/assistance-from-japan-sought-as-kingdom-mulls-new-big-ticket-projects/

สายการบินเข้าตลาดพุ่งสูงขึ้น สร้างภาวะ “คอขวดโครงสร้างพื้นฐาน”

จากข้อมูลของกรมการบินพลเรือนเวียดนาม (CAAV) เปิดเผยว่าสายการบินได้ตั้งเป้าในการขยายฝูงการบิน เพื่อตอบสนองต่อความต้องการเพิ่มขึ้น ยกตัวอย่าง สายการบินเวียตเจ็ท (Vietjet Air) ที่ได้รับเครื่องบินใหม่ 100 ลำ ของแอร์บัส (Airbus) และโบอิ้ง (Boeing) ด้วยเหตุนี้ ถือว่าเป็นโอกาสดีต่อผู้โดยสารให้สามารถเลือกสายการบินได้หลากหลาย สำหรับเที่ยวบินราคาที่สมเหตุสมผล อย่างไรก็ตาม การขยายตัวอย่างรวดเร็วในด้านการบิน ทำให้สร้างความกังวลต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ นักวิเคราะห์มองว่าโครงสร้างพื้นฐานในด้านการบินยังคงอยู่ในระดับต่ำ และด้วยจำนวนหลุมจอดเครื่องบินที่มีอยู่อย่างจำกัด ทำให้หน่วยงานรัฐฯ ต้องหาวิธีในการจัดสรรอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ จากคำแถลงการณ์ของกระทรวงคมนาคม (MOT) ระบุว่าในไตรมาสที่ 3 ทางกระทรวงฯ จะเป็นผู้นำในการสนับสนุนก่อสร้างสายการบินใหม่ แต่ยอมรับว่าโครงสร้างพื้นฐานยังมีปัญหาอยู่ ประกอบกับอัตราการเติบโตของสายการบินที่เพิ่มสูงขึ้น

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/more-airlines-join-market-create-infrastructure-bottlenecks-406361.vov

กัมพูชาส่งเสริมการค้าทวิภาคีกับเวียดนามโดยการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน

รัฐบาลกัมพูชามีความพยายามที่จะปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของประเทศรวมถึงการแก้ไขและดำเนินการตามแผนเพื่อผลักดันโครงการทางด่วน พนมเปญ-เบเวต ซึ่งคาดว่าจะเป็นการกระตุ้นธุรกิจการลงทุนและการค้ากับเวียดนาม โดยนายกรัฐมนตรีของกัมพูชาสั่งให้สถาบันที่เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดในกัมพูชาทบทวนการศึกษาความเป็นไปได้และกำหนดแผนเพื่ออำนวยความสะดวกด้านธุรกิจและการขนส่งที่ชายแดนกับเวียดนาม ซึ่งเชื่อว่าจะมีการขนส่งที่เพิ่มขึ้นจากเวียดนามไปยังกัมพูชาโดยตรง โดยการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการดำเนินการโดยหน่วยงานความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น (JICA) ซึ่งจะมีมูลค่าของโครงการอยู่ที่ 3.8 พันล้านเหรียญ โดยมีความยาวอยู่ที่ 160 กิโลเมตรที่เชื่อมต่อพนมเปญและบาเวต ซึ่งการค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและเวียดนามมีมูลค่าสูงถึง 4.7 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2561 ซึ่งเพิ่มขึ้น 24% เมื่อเทียบกับปี 2560 และเติบโตอย่างรวดเร็วที่ระดับ 2.72 พันล้านเหรียญสหรัฐในช่วงหกเดือนแรกของปี 2562 และคาดว่าจะสูงถึง 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50651252/cambodia-boosts-bilateral-trade-with-vietnam-by-improving-infrastructure/

การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการท่องเที่ยวเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในสปป.ลาว: ADB

รัฐบาลตั้งเป้าหมายว่าจะมีนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศมากขึ้นจนถึงสิ้นปีนี้ด้วยสิ่งจูงใจมากมายแคมเปญการท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมการขายและการอัปเดตนโยบาย การเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากการคาดการณ์ล่าสุดของ ADB  ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 62 และ 63 ของประเทศยังคงอยู่ในระดับปานกลาง ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารสาธารณะของ ADB สปป.ลาว กล่าวว่าการท่องเที่ยวถือเป็นปัจจัยสำคัญทางเศรษฐกิจการเจริญเติบโต องค์ประกอบสำคัญหลายอย่างจำเป็นสำหรับการส่งเสริมการท่องเที่ยว การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การลงทุน การรณรงค์การท่องเที่ยวและการควบคุมค่าธรรมเนียมแรกเข้าที่สถานที่ท่องเที่ยว สปป.ลาวมีศักยภาพสำหรับการท่องเที่ยวทางธรรมชาติวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ แต่เพื่อใช้ประโยชน์จากสิ่งนี้รัฐบาลจำเป็นต้องปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานส่งเสริมการท่องเที่ยวและจัดการค่าธรรมเนียมการเข้าชมเว็บไซต์ท่องเที่ยวอย่างเหมาะสม สิ่งสำคัญที่สุดคือรัฐบาลต้องการแคมเปญการตลาดผ่านสื่อที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ที่มา : http://annx.asianews.network/content/infrastructure-development-tourism-key-economic-growth-laos-adb-105204

บริษัทสัญชาติอังกฤษเปิดแผนลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวกับน้ำสะอาดในกัมพูชา

Bridgemount Ldt. จากสหราชอาณาจักรได้พบกับเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลกัมพูชา เพื่อประกาศความตั้งใจที่จะลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค โดยพิจารณาที่จะลงทุนในโรงงานบำบัดน้ำเสียภายในกัมพูชา ซึ่งจะปรับปรุงระบบการจัดการน้ำ เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนกัมพูชาให้ดีขึ้น โดยกัมพูชาเองยินดีต้อนรับนักลงทุนในทุกภาคส่วนที่จะมีส่วนช่วยในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภายในประเทศเพื่อให้เกิดการพัฒนา ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จะอำนวยความสะดวกในขั้นตอนที่จำเป็นเพื่อให้แน่ใจว่า บริษัท สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายภายในประเทศ โดยเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมากระทรวงอุตสาหกรรมและหัตถกรรมได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจกับกลุ่มรัฐวิสาหกิจน้ำปักกิ่งของจีนและ Noble Water (กัมพูชา) เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานน้ำสะอาดในประเทศกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50637999/uk-firm-reveals-plans-to-invest-in-clean-water-infrastructure/

ธนาคารโลกมองในเชิงบวกเกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจในสปป.ลาว

ธนาคารโลกมองในเชิงบวกเกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจในสปป.ลาวซึ่งคาดว่าจะฟื้นตัวเป็น 6.5% ในปี 62 เพิ่มขึ้นจาก 6.3% ในปี 61 แม้จะมีการเข้มงวดด้านการคลังอย่างต่อเนื่อง แต่คาดว่าการเบิกจ่ายจะได้รับแรงหนุนจากการลงทุนในโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่รวมถึงรถไฟจีน – สปป.ลาว อีกทั้งจะได้รับแรงหนุนจากภาคบริการที่ยืดหยุ่น นำโดยการเติบโตของการค้าส่งและค้าปลีกที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง ในขณะเดียวกันรัฐบาลสปป.ลาวยังคงมุ่งมั่นที่จะรวมงบการเงินเพื่อควบคุมภาระหนี้สาธารณะในระยะปานกลาง สิ่งนี้จะส่งผลให้การขาดดุลการคลังลดลงจาก 4.4% ของ GDP ในปี 61 ถึง 4.3% ในปี 62 อย่างไรก็ตามสปป.ลาวมีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นหนี้และมีมาตรการหลายอย่างที่จะต้องดำเนินการเพื่อจัดการกับสถานการณ์นี้  สิ่งสำคัญที่จะต้องปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจเพื่อสนับสนุนการพัฒนาภาคเอกชนรวมถึงการเติบโตของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมาตรการเหล่านี้สามารถช่วยรักษาสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจมหภาคที่มั่นคง ส่งเสริมการสร้างงานและลดความยากจนและความไม่เท่าเทียม

ที่มา : http://www.xinhuanet.com/english/2019-08/13/c_138305713.htm