นโยบายใหม่ต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมเหล็กเมียนมา

บริษัท ผู้ผลิตเหล็กระหว่างประเทศในเขตเศรษฐกิจพิเศษติลาว่า กำลังมองหาโอกาสเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านการผลิตเหล็กในมีเพียง 50,000 ตัน แต่ยังมีศักยภาพมากเนื่องจากประเทศยังต้องการการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานจำนวนมากซึ่งต้องใช้เหล็ก โอกาสการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) จึงมีแนวโน้มที่ดี คาดเติบโต 7% โดยได้รับการสนับสนุนจากธนาคารโลก ตลาดจะพัฒนาหากมีการสนับสนุนการผลิตเหล็ก ตอนนี้ส่วนใหญ่นำเข้าเป็นหลักซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตในอุตสาหกรรมท้องถิ่น ความต้องการอยู่ที่ประมาณ 2 ล้านถึง 2.5 ล้านตันต่อปี มากกว่า 90 % จากการนำเข้า อีกไม่กี่ปีความต้องการเหล็กจะเพิ่มขึ้นและทำไมต้องนำเข้าทั้งที่ผลิตได้เอง แต่ปัญหาคือการนำเข้าได้รับการยกเว้นภาษีซึ่งทำให้แข่งขันได้ยาก การนำเข้าส่วนใหญ่มาจากเวียดนามซึ่งได้รับการปกป้องด้วยนโยบายและกฎระเบียบ หากนโยบายที่คล้ายคลึงกันถูกนำไปใช้ในการผลิตเหล็กในประเทศจะเพิ่มขึ้นถึงห้าเท่าคือ 50,000, 000 ตันภายในสิบปี หากการผลิตเหล็กเติบโตขึ้นจะสามารถยับยั้งการไหลออกของเงินสำรองต่างประเทศและกลายเป็นผู้ส่งออกเหล็กได้ สามารถเพิ่มการจ้างงานและการเติบโตทางเศรษฐกิจ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/new-policies-needed-unleash-growth-steel-industry.html

FDI เมียนมาสูงกว่า 81 ล้านเหรียญสหรัฐ

คณะกรรมการการลงทุนของเมียนมา (MIC) ระบุว่า 50 ประเทศมีมูลค่าการลงทุนมากกว่า 81,000 ล้านเหรียญสหรัฐจากปี 2531-2532 ปีงบประมาณถึงปี 2561-2562 ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในภาคน้ำมันและก๊าซธรรมชาติและภาคไฟฟ้า MIC จัดประชุมครั้งที่ 18/2019 เมื่อวันที่ 16 พ.ย.และอนุญาตให้ธุรกิจใหม่ 8 ธุรกิจในการผลิตสัตว์และการประมง บริการอื่น ๆ และที่อยู่อาศัย การลงทุนรวมของธุรกิจใหม่มีมูลค่าประมาณ 165.853 ล้านเหรียญสหรัฐและ 99,443 ล้านเหรียญสหรัฐ สามารถสร้างโอกาสในการจ้างงาน 1,739 ตำแหน่งให้กับคนในท้องถิ่น โดย MIC เปิดโอกาสให้มีการลงทุนจากต่างประเทศมูลค่า 220 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในระยะเวลา 20 ปี และดำเนินการตามแผนส่งเสริมการลงทุนในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ระหว่างปี 2559-2560 ถึงปี 2563-2564 ปีงบประมาณระยะกลางจากปี 2564-2565 ถึงปี 2568-2569 ปีงบประมาณและระยะยาวจาก 2569-2570 ถึงปี 2578 2579 เมียนมาคาดจะมีเงินลงทุนต่างประเทศประมาณ 5.8 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2562-2563

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/foreign-investment-reaches-over-us81-b

FDI เมียนมาโตช้าสุดในอาเซียน

การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ของเมียนมาล่าช้าสุดในอาเซียนตามรายงานของสำนักเลขาธิการอาเซียนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว รายงานการลงทุนของอาเซียนปี 62 มีการลงทุนไหลสูงเป็นประวัติการณ์ไปยังประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มอาเซียนยกเว้นเมียนมาที่ลดลง โดยในปี 61 ลดลง 11% คิดเป็น 3.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ สาเหตุหลักมาจากการลดลง 48% ของการลงทุนในอุตสาหกรรมที่นำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต ส่วนใหญ่การลงทุนมาจากบริษัทสิงคโปร์และบริษัทในเครือของจีนหรือฮ่องกง ในปี61 การลงทุนภายในอาเซียนมากกว่า 48% จะเป็นอินโดนีเซีย สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ทำให้ FDI หลั่งไหลเข้ามาใน CLMV เพิ่ม 4% เป็น 23 พันล้านเหรียญสหรัฐเมื่อปีที่แล้วคิดเป็น 15% ในอาเซียน เวียดนามเป็นผู้นำในการดึงดูดเงินลงทุนกว่า 15 พันล้านเหรียญสหรัฐในกลุ่มประเทศ CLMV การไหลเข้าสูงจะเป็นของกัมพูชาและเวียตนามทำให้การลงทุนแข็งแกร่งขึ้น FDI ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์คือ 155 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 61 จากที่ 147 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 60 เพิ่มขึ้นเป็นปีที่สามติดต่อกัน โดยขยายตัวจาก 9.6% ในปี 60 เป็น 11.5% ในปี 61 เม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมากกว่า 66% เข้าสู่ภาคบริการ (การเงิน ค้าส่งและค้าปลีก และอสังหาริมทรัพย์) ทำให้เป็นภาคธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน FDI ในเมียนมาส่วนใหญ่เป็นโครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและการเก็บรักษา ข้อมูลและการสื่อสาร

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-lags-asean-sees-record-fdi.html

กัมพูชาเป็นหนึ่งในสี่ประเทศในอาเซียนที่มี FDI อยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์

กัมพูชาเป็นหนึ่งในสี่ประเทศในอาเซียนที่มีการไหลเข้าของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสูงถึงระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยจากการศึกษาของสำนักเลขาธิการอาเซียนและการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) ซึ่งพบว่าการลงทุนโดยตรงภายในอาเซียนเพิ่มขึ้น 5% สู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 155 พันล้านเหรียญสหรัฐในปีที่แล้ว โดยมีสี่ประเทศที่ภาคการลงทุนทางตรงเพิ่มขึ้นคือ กัมพูชา, อินโดนีเซีย, สิงคโปร์และเวียดนาม ตามรายงาน ซึ่งการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของกัมพูชาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งด้านการผลิตและบริการสูงขึ้นกว่า 15% เป็น 3 พันล้านเหรียญสหรัฐเมื่อปีที่แล้ว โดยเฉพาะภาคการเงินและภาคการประกันภัย ซึ่งภาคบริการคิดเป็นกว่า 79% ของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในขณะที่ภาคการผลิตคิดเป็น 12% โดย Shenzhou International Group Holdings (จีน) ซึ่งเป็นหนึ่งในซัพพลายเออร์รายใหญ่ของไนกี้เริ่มสร้างโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าขนาดใหญ่มูลค่ากว่า 150 ล้านเหรียญสหรัฐในเขตเศรษฐกิจพิเศษของพนมเปญซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2564

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50657917/cambodia-among-four-in-asean-receiving-fdi-at-record-level/

เวียดนามเผยเม็ดเงิน FDI ไปยังนครด่งนาย ตรงตามเป้าที่ตั้งไว้

จากข้อมูลของกระทรวงการวางแผนและการลงทุนเวียดนาม เปิดเผยว่าจังหวัดด่งนายได้รับเงินทุนโดยตรงจากต่างชาติไหลเข้ากว่า 1.46 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ด้วยโครงการ FDI ประมาณ 190 โครงการ ในช่วงตั้งแต่เดือนมกราคม-ตุลาคม นับว่าเกินกว่าที่ตั้งเป้าหมายไว้ (46%) ซึ่งทางกระทรวงฯ ได้อนุมัติโครงการใหม่กว่า 93 โครงการ ด้วยเงินทุนจดทะเบียน 800 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขณะที่ โครงการปรับเพิ่มงบการลงทุน 670 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยโครงการส่วนใหญ่ที่ได้รับการสนับสนุนจากภาคอุตสาหกรรม ได้แก่ โครงการที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ จังหวัดดังกล่าวได้รับเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติ มูลค่า 29.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ จำนวนโครงการ FDI 1,447 โครงการ ในปัจจุบัน ประเทศเกาหลีใต้ ไต้หวัน และญี่ปุ่น เป็นนักลงทุนรายใหญ่ในจังหวัดด่งนาย

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/fdi-inflow-to-dong-nai-province-breaks-target-405777.vov

“เกาหลีใต้” เป็นผู้ลงทุนโดยตรงรายใหญ่ในเวียดนาม

จากข้อมูลของสำนักสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2562 เกาหลีใต้เป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุด ด้วยมูลค่าเงินลงทุนรวม 2,752.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 21.5 ของมูลค่าเงินทุนจดทะเบียนใหม่รวม รองลงมาเป็นจีน สิงคโปร์ ฮ่องกง และญี่ปุ่น ตามลำดับ โดยตั้งแต่ต้นเดือนจนถึงวันที่ 20 ตุลาคมที่ผ่านมา รวม 3,094 โครงการใหม่ ด้วยเงินทุนจดทะเบียนมากกว่า 12,833 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.9 สำหรับจำนวนโครงการ และลดลงร้อยละ 14.6 สำหรับมูลค่าเงินทุน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะที่ นักลงทุนส่วนใหญ่สนใจลงทุนในภาคค้าส่งค้าปลีก ยานยนต์ และภาคเกษตร ป่าไม้ และประมง เป็นต้น

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/rok-retains-position-as-vietnams-leading-source-of-fdi-405427.vov

เวียดนามดึงดูด FDI มากกว่า 29 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วง 10 เดือนปี 2562

จากข้อมูลของกระทรวงการวางแผนและการลงทุนเวียดนาม (MPI) เปิดเผยว่าเวียดนามดึงดูดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) มากกว่า 29.11 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วง 10 เดือนของปี 2562 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยตัวเลขดังกล่าว มูลค่าราว 12.38 พันล้านเหรียญฯ ใช้สำหรับโครงการใหม่ประมาณ 3,094 โครงการ และอีก 5.47 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ใช้สำหรับโครงการที่มีอยู่ในปัจจุบัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 83.6 ของมูลค่าในปีที่แล้ว โดยภาคอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูปยังคงเป็นภาคที่ดึงดูดของนักลงทุนต่างชาติมากที่สุด รองลงมาภาคอสังหาริมทรัพย์ และภาคการค้าปลีกค้าส่ง ตามลำดับ ในขณะที่ ประเทศฮ่องกง (จีน) เป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดในเวียดนาม รองลงมาเกาหลีใต้ และสิงคโปร์ ตามลำดับ รวมไปถึงเมืองฮานอยที่ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศมากที่สุด รองลงมานครโฮจิมินห์ บินห์ดอง ด่งนาย และบัคนินห์ ตามลำดับ

ที่มา :  https://english.vov.vn/economy/vietnam-attracts-over-29-billion-usd-in-fdi-in-ten-months-405251.vov

ญี่ปุ่นมองหาธุรกิจที่เน้นส่งออกในเมียนมา

ในอุตสาหกรรมท้องถิ่นซึ่งจะผลิตสินค้าและส่งออกไปยังอินเดีย จีน และไทย เนื่องจากมีประชากรจำนวนมากและติดมีชายแดนติดไทย อินเดีย และจีน โดยมีการนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้านและผลิตสินค้าและขายในตลาดท้องถิ่น จากงบประมาณปี 32-33 ถึงวันที่ 30 ก.ย. 62 การลงทุนรวมของญี่ปุ่นใน 117 ธุรกิจเกิน 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้การลงทุนรวม 39 ธุรกิจในเขตเศรษฐกิจพิเศษติวาลา ได้รับอนุญาตมากกว่า 670 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จนถึงขณะนี้การลงทุนรวม 150 ธุรกิจมีมูลค่าราว 1.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ ญี่ปุ่นติดอันดับที่ 10 จาก 50 ประเทศที่ลงทุนและติดอันดับ FDI ในเขตเศรษฐกิจพิเศษติวาลา คิดเป็น 36% ของการลงทุนทั้งหมด ซึ่ง FDI รวม 19 ประเทศในเขตเศรษฐกิจพิเศษติวาลา สูงกว่า 1.86 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/japan-is-eyeing-export-oriented-businesses-in-myanmar

เศรษฐกิจเวียดนามเติบโตสูงที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

จากข้อมูลของหน่วยงานรัฐฯ เปิดเผยว่าเวียดนามมีการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) สูงที่สุดในรอบ 9 ปีที่ผ่านมา และเป็นประเทศที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เศรษฐกิจของเวียดนามนั้นมีการขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ในขณะที่ องค์กรระหว่างประเทศและสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือคาดว่าเศรษฐกิจเวียดนามจะสามารถขยายตัวร้อยละ 6.8-7 ในปี 2562 รวมไปถึงทางข้อมูลของบริษัทฟิทช์ ระบุว่าในไตรมาสที่ 3/2562 เศรษฐกิจเวียดนามจะขยายตัวได้ร้อยละ 7.3 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เป็นผลมาจากผลประกอบการของภาคอุตสาหกรรมที่เติบโตอย่างแข็งแกร่ง นอกจากนี้ ภาครัฐได้สั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ดำเนินหาโซลูชั่นทางเศรษฐกิจ และอำนวยความสะดวกให้กับภาคเอกชน รวมไปถึงสร้างสภาพแวดล้อมในการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI)

ที่มา : https://tuoitrenews.vn/news/business/20191003/vietnams-gdp-growth-at-9year-high-topping-southeast-asia-govt/51443.html

กรุงฮานอยดึงดูดนักลงทุนต่างชาติมากที่สุด ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 62

จากข้อมูลของสำนักสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้  กรุงฮานอยดึงดูดเงินทุนจากต่างประเทศ ด้วยมูลค่า 6.15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 23.5 ของการลงทุนโดยรวมจากต่างประเทศ รองลงมานครโฮจิมินห์ และจังหวัดบิ่ญเซือง (Binh Duong) ตามลำดับ ในขณะเดียวกัน เวียดนามดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) อยู่ที่ 26.16 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งตัวเลขการลงทุนดังกล่าว มีมูลค่าเงินทุนไหลเข้าประมาณ 10.97 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ด้วยโครงการใหม่กว่า 2,760 โครงการ รวมไปถึงบริษัทข้ามชาติที่เข้ามาลงทุน 10.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นอกจากนี้ ภาคอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูปยังคงได้ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศมากที่สุด ตามมาด้วยภาคอสังหาริมทรัพย์ และภาคการค้าปลีกค้าส่ง ตามลำดับ และประเทศฮ่องกง (จีน) เป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุด ตามมาด้วยเกาหลีใต้ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น จีน ตามลำดับ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/hanoi-most-attractive-to-foreign-investors-in-nine-months/161332.vnp