มาตรการขึ้นทะเบียนหมูเพื่อกระตุ้นอุปทานเนื้อหมูในประเทศ

กรมวิชาการเกษตรและป่าไม้เวียงจันทน์จะสนับสนุนให้เกษตรกรหมูลงทะเบียนขอใบอนุญาตฟาร์มเพื่อวางแผนจัดการกับปัญหาการขาดแคลนหมูในปัจจุบันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยในปีนี้คาดหวังว่าจะมีการเลี้ยงลูกสุกร 190,000-200,000 ตัว เพื่อตอบสนองความต้องการของคนในประเทศให้เพียงพอ นอกจาจะมีข้อมูลที่สามารถนำมาหาแนวทางแก้ปัญหาแล้ว การขึ้นทะเบียนจะทำให้การเลี้ยงหมูมีประสิทธิภาพมากขึ้นรวมถึงปริมาณหมูที่จะเพิ่มขึ้นด้วย เมื่อผลผลิตเพิ่มขึ้นจะทำให้ราคาหมูลดลงมาช่วยควบคุมราคาหมูไม่ให้สูง ซึ่งการที่ราคาหมูสูงก็เป็นผลทำให้เงินเฟ้อในประเทศปรับตัวขึ้นและเป็นปัญหาที่สปป.ลาวเผชิญในปัจจุบันดังนั้นมาตราการดังกล่าวจะสามารถช่วยแก้ปัญหาทั้ง2ของสปป.ลาวได้

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/vientiane-eyes-measures-boost-pork-supply-amid-chronic-shortage-113324

เขตเศรษฐกิจพิเศษดึงดูดเงินมากถึง 5.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ

เขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEZs) ที่จัดตั้งขึ้นทั่วประเทศดึงดูดการลงทุนเกือบ 5.7 พันล้านเหรียญสหรัฐโดยมีบริษัท 806 แห่งได้ลงทุนในโซนซึ่งประกอบด้วย 26.34% ในภาคอุตสาหกรรม 25.26%ในการค้าและ 48.4% ในภาคบริการนอกจากนี้การเข้ามาลงทุนในเขตพิเศษยังทำให้เกิดการจ้างงานซึ่งได้สร้างงานถึง 12,596 ตำแหน่งสำหรับแรงงานลาว ปัจจุบันสปป.ลาวกำลังศึกษาถึงโอกาสในการจะจัดตั้งโซนเศรษฐกิจใหม่เพิ่มเติมอีกแห่งหนึ่งซึ่งเรียกว่า “สมาร์ทแอนด์อีโคซิตี้” ระหว่างเขตหลวงน้ำทาและจังหวัดอุดมไชยและมีการคาดการณ์จะสร้างเม็ดเงินและสร้างงานให้กับสปป.ลาวได้อีกมากและจะเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/special-economic-zones-attract-us57-b-113321

ระบบชำระภาษีอิเล็กทรอนิกส์ถูกติดตั้งบริเวณพรหมแดนสปป.ลาว

การใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ในการเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ทั้งในด้านการจัดการสำหรับยานพาหนะการท่องเที่ยวและรถบรรทุกขนสินค้าระหว่างพรหมแดน  โดยมีการติดตั้งระบบชำระเงิน QR Code ที่สะพานมิตรภาพลาว – ​​ไทยทั้ง 4 แห่ง โดยวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลให้มีประสิทธิภาพสูงสุดและยังเป็นการช่วยป้องกันการรั่วไหลของการเงินอีกด้วย นอกจากนี้ด้านการค้าและการท่องเที่ยวแพลตฟอร์มดังกล่าวจะช่วยลดความซับซ้อนของขั้นตอนให้น้อยลงเพื่อความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้นเป็นปัจจัยบวกที่จะช่วยส่งเสริมการค้าและการท่องเที่ยวของสปป.ในบริเวรพรหมแดนต่างๆ

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/electronic-tax-payment-system-installed-bokeo-friendship-bridge-113258

การผลิตไฟฟ้าในประเทศลาวส่งออก 6,457MW ในการส่งออก

ตลอด 5 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2559-ปัจจุบัน กำลังการผลิตไฟฟ้าของสปป.ลาวสามารถผลิตได้มากถึง6,457MW จากจำนวนโรงไฟฟ้าพลังน้ำที่เพิ่มขึ้น 63 แห่งโดยมีกำลังการผลิตติดตั้ง 7,213 เมกะวัตต์ /โรงงาน ทำให้มีไฟฟ้าเพื่อส่งออกได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 145 สร้างรายได้แก่ประเทศมากกว่า 1.3 พันล้านกีบหรือเพิ่มขึ้น 35% เมื่อเทียบกับในช่วงเดียวกันเมื่อ 5 ปีก่อน (2554-2558) ซึ่งปัจจุบันสปป.ลาวมีการขยายสายส่งไฟฟ้าเพิ่มติมเพื่อให้เอื้อต่อการตอบสนองอุปสงค์ในประเทศที่เพิ่มขึ้นและอุปสงค์ของภาคต่างประเทศที่มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นไทย กัมพูชา พม่าที่เป็นคู่ค้าพลังงานไฟฟ้าที่สำคัญของสปป.ลาวโดยมีการคาดการณ์ว่าประเทศเล่านี้จะมีความต้องการพลังงานาไฟฟ้าในอีก 5 ปีข้างหน้าเพิ่มเติมจากเดิมไปอีก เป็นผลดีแก่ภาคพลังงานไฟฟ้าที่จะสร้างรายได้แก่ประเทศมากขึ้นดังนั้นเศรษฐกิจของสปป.ลาวที่มีภาคพลังงานค่อยขับเคลื่อนก็จะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องตามการเติบโตของภาคพลังงานไฟฟ้า

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/electricity-generation-laos-sparks-6457mw-exports-113257

หลวงพระบางเมืองตัวอย่างการปรับปรุงบรรยากาศทางธุรกิจ

เจ้าหน้าที่ของเมืองหลวงพระบางได้เป็นผู้นำในการปรับปรุงกระบวนการอนุญาตให้ดำเนินธุรกิจหลังจากที่รัฐบาลสั่งให้หน่วยงานของรัฐปรับปรุงสภาพธุรกิจทั่วประเทศ โดยสรุปกระบวนการใหม่ที่สปป.ลาวและธุรกิจต่างประเทศต้องปฏิบัติตามเพื่อตั้งค่าการดำเนินงานตามประกาศ ขณะนี้มีเพียง 3 ขั้นตอนในการเริ่มต้นธุรกิจในสปป.ลาว คือการได้รับใบรับรองการลงทะเบียนขององค์กร ได้รับการประทับตราองค์กรและการลงทะเบียนสำหรับประกันสังคม ซึ่งหลังจากได้รับแบบฟอร์มใบสมัครที่กรอกข้อมูลครบถ้วนแล้วเจ้าหน้าที่จะต้องออกหนังสือรับรองการจดทะเบียนองค์กรหรือบัตรประจำตัวองค์กรให้กับผู้ประกอบการธุรกิจภายใน 10 วัน การลดเวลาในการออกหนังสือรับรองการจดทะเบียนองค์กร การออกใบอนุญาตให้ธุรกิจใช้ตราประทับของตนเจ้าหน้าที่ไม่ควรใช้เวลาเกิน 5 วันในการพิจารณาคำขอ และใช้เวลาไม่เกินกว่า 2 วันในการพิจารณาการออกทะเบียนประกันสังคมของบริษัท รัฐบาลได้เริ่มนโยบายเพื่อปรับปรุงบรรยากาศทางธุรกิจทั่วประเทศ โดยเชื่อว่าจะช่วยกระตุ้นการลงทุนในประเทศและต่างประเทศรวมถึงการสร้างงานและรายได้ การริเริ่มของเมืองหลวงพระบางเพื่อปฏิรูปการจดทะเบียนองค์กรเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับหน่วยงานอื่น ๆ ของรัฐ อีกทั้งรัฐบาลกำลังปรับปรุงกลไกที่ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถจดทะเบียนธุรกิจออนไลน์ได้ อย่างไรก็ตามนอกเหนือจากการได้รับใบรับรองการลงทะเบียนขององค์กร ผู้ประกอบการจะต้องได้รับใบอนุญาตในการดำเนินธุรกิจจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/luang-prabang-city-sets-example-business-climate-improvement-113159

การระบาดของโรค coronavirus ไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกสปป.ลาว

การส่งออกของสปป.ลาวไปยังประเทศจีนยังคงดำเนินต่อไปตามปกติแม้ว่าจีนจะอยู่ในท่ามกลางการแพร่ระบาดของ coronavirus ปัจจุบัน โดยในเดือนธันวาคมที่ผ่านมามูลค่าการส่งออกจากสปป.ลาวไปยังประเทศจีนมีมูลค่าสูงถึง 175 ล้านดอลลาร์สรอ.ทำให้ตลาดส่งออกที่อยู่ติดกับประเทศลาวทางตอนเหนือเป็นที่คาดหมายว่ามูลค่าการส่งออกในเดือนมกราคมจะไม่ลดลงโดยสินค้าที่สำคัญในการส่งออกได้แก่ ทรายแร่ยางและผลิตภัณฑ์ยางทองแดงและทองแดงผลิตภัณฑ์กล้วยข้าวโพดและปุ๋ยประเทศจีนถือเป็นคู่ค้าที่สำคัญทั้งในด้านนักลงทุนต่างชาติที่ใหญ่ที่สุดในสปป.ลาวและเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับสองของประเทศ ปัจจัยที่สนับสนุนให้การค้ามีการเติบโตมีหลายปัจจัยทั้งในการลงนามร่วมมือทางค้าหรือในอนาคตอันใกล้ที่โครงการรถไฟจีน – ลาวที่จะเสร็จในปลายปี 63 และจะทำให้การเชื่อมต่อระหว่างจีนและสปป.ลาวสะดวกมากขึ้นและเอื้อต่อการท่องเที่ยวและการค้า  ดังนั้นการคาดการณ์ของรัฐบาลสปป.ลาวจึงมองว่าการแพร่ระบาดของcoronavirusไม่มีผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจสปป.ลาว

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/china-coronavirus-outbreak-yet-impact-lao-exporters-113161

ศูนย์วิจัยสัตว์น้ำมีเป้าหมายเพาะพันธุ์ปลาเพิ่ม 4 ล้านตัว

ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางน้ำมีชีวิต (LARReC) ภายใต้กระทรวงเกษตรและป่าไม้ตั้งเป้าการเพาะพันธุ์ปลา 4 ล้านตัวในปีนี้เพื่อสนับสนุนความมั่นคงด้านอาหารของประเทศและยังจะร่วมมือกับเครือข่ายฟาร์มเอกชนอีก 15 แห่งทั่วประเทศเพื่อเพิ่มผลผลิตปลาตามที่ระบุไว้ในแผนยุทธศาสตร์ของกระทรวงในปัจจุบันซึ่ง LARReC จะมีให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในท้องถิ่นเพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลผลิตให้สอดคล้องกับเป้าหมายของ LARReC อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยสภาพอากาศที่จะส่งผลกระทบต่อผลผลิตเป็นปัญหาที่ศูนย์ไม่สามารถควบคุมได้ถือเป็นความท้าทายของศูนย์ในการแก้ปัญหาดังกล่าว ปัจจุบันโครงการดังกล่าวถือว่าประสบความสำเร็จจากการเพิ่มผลผลิตปลาได้มากถึง 10% เมื่อเทียบกับปีที่แล้วทำให้ไม่ต้องมีการนำเข้าปลาจากต่างประเทศมากเหมือนแต่ก่อน ทำให้มีปลาบริโภคในราคาที่ถูกลงรวมถึงสร้างความมั่นคงให้แก่เกษตรกรอีกด้วย

ที่มา: http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Aquatic.php