มัณฑะเลย์คาด GDP ต่อหัวจะเพิ่มขึ้น

จีดีพีต่อหัวของภูมิภาคมัณฑะเลย์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา คาดจะยิ่งเพิ่มด้วยกระแสเงินลงทุนจำนวน 841,600 ล้านจัตในปีงบประมาณปัจจุบันจนถึงเดือนมิ.ย.62 มีนักลงทุนจาก 7 ประเทศที่ลงทุน 445 ล้านเหรียญสหรัฐ (669.59 พันล้านจัต) ในภูมิภาคขณะที่การลงทุนในท้องถิ่นมีมูลค่าทั้งสิ้น 172 พันล้านจัต รัฐบาลของภูมิภาคได้ดำเนินมาตรการเพื่อประกันว่ามัฑะเลย์ซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของภูมิภาคยังคงเป็นสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจที่สุด เขาเสริมว่าภูมิภาคนี้มีโครงการที่นำโดยรัฐบาล 5 โครงการและอีก 5 โครงการดำเนินการร่วมกันโดยรัฐบาลระดับภูมิภาคและภาคเอกชน รัฐบาลระดับภูมิภาคมีแผนที่จะผลิตกระแสไฟฟ้าให้กับทั้งภูมิภาคภายในปี พ.ศ. 64 แต่ปัจจุบันมีเพียง 38% ของภูมิภาคเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงกระแสไฟฟ้าได้ในปีงบประมาณ 58-59 และเพิ่มขึ้นเป็น 74% ในปีงบประมาณปัจจุบัน นอกจากนี้ถนนบางสายได้ถูกสร้างขึ้นในพื้นที่ชนบทราว 748 กม. ในปีงบประมาณ 60-62 ในขณะที่สะพานอีก 3,023 เมตรถูกสร้างขึ้นในราคา 25,600 ล้านจัต

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/mandalay-region-expects-capita-gdp-rise.html

นครด่งนายก้าวหน้าในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ

จังหวัดทางตอนใต้ของจังหวัดด่งนายเวียดนามกำลังดำเนินพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และปฏิรูปการบริหาร เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมทางธุรกิจแก่นักลงทุนต่างชาติ โดยจากรายงานของกระทรวงการวางแผนและการลงทุน ระบุว่า ในจังหวัดด่งนายมีจำนวนเขตอุตสาหกรรม (Industrial Parks : IPs) อยู่ที่ 35 แห่ง รวมไปถึง มีโครงการลงทุนจากต่างชาติ 1,804 โครงการ คิดเป็นมูลค่า 33 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ กว่า 45 ประเทศทั่วโลก ซึ่งเวียดนามให้ความสำคัญกับโครงการเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และไม่ยอมรับกับการใช้แรงงานเข็มข้นสูง ด้วยเทคโนโลยีระดับต่ำ นอกจากนี้ คาดการณ์ว่ามูลค่าการลงทุนจากต่างชาติตลอดทั้งปีนี้ จะแตะระดับ 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/dong-nai-works-to-create-breakthrough-in-fdi-attraction/158279.vnp

ครึ่งปีแรกของปี 62 FDI เมียนมาพุ่ง 77% คิดเป็น 2.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ

สถิติจากคณะกรรมการการลงทุนและการบริหารบริษัท (DICA) สิงคโปร์เป็นนักลงทุนอันดับต้น ๆ มีมูลค่า 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจำนวนโครงการที่ลงทุนจำนวน 13 โครงการ อันดับ 2 คือ จีนมีมูลค่า 330 ล้านเหรียญสหรัฐและอีกกว่า 60 โครงการที่ได้รับอนุมัติ โดยอุตสาหกรรมการขนส่งและการสื่อสารได้รับการลงทุนมากที่สุดคือ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภาคการผลิต 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่บริการ 160 ล้านดอลลาร์ โรงแรมและการท่องเที่ยว รวมถึงอุตสาหกรรมปศุสัตว์และการประมงจะอยู่ที่ 130 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากรายงานของเวิลด์แบงก์ตัวเลข FDI เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปีก่อน แต่ยังไม่ถึงหนึ่งในสามของปี 60/61 และยังมองว่าโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ระเบียงเศรษฐกิจ พลังงานและการขนส่งเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งนี้อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มจะเป็นตัวดึงเม็ดเงินการลงทุนและสร้างภาระงานให้กับชาวเมียนมา

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/fdi-jumps-77pc-us23-billion-first-half-2019.html

พนมเปญแลนด์แคปิตอล ลงทุนกว่า 5.25 ล้านเหรียญสหรัฐ ในมารีนเบย์แคปิตอล

พนมเปญแลนด์แคปิตอลอินเวสต์เมนต์ได้ลงนามในข้อตกลงกับมารีนเบย์แคปิตอลเพื่อทำการลงทุนอย่างเป็นทางการมูลค่ากว่า 5.25 ล้านเหรียญสหรัฐ สู่บริษัท โลจิสติกส์ชั้นนำของกัมพูชา เพื่อเพิ่มศักยภาพและร่วมพัฒนาภาคการขนส่งภายในประเทศกัมพูชา และเป็นการขยายธุรกิจของบริษัทเอง โดยเน้นว่าการเติบโตของเศรษฐกิจกัมพูชาและภาคการส่งออกในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมากัมพูชาเป็นประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่โดดเด่นที่สุดในเอเชียโดยมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยเฉลี่ยร้อยละ 7 ในช่วงสามปีที่ผ่านมา มูลค่าการส่งออกของกัมพูชาตั้งแต่เดือนมกราคมถึงพฤษภาคม 2562 มีมูลค่าถึง 5.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐตามรายงานของกระทรวงเศรษฐกิจและการเงิน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50628513/phnom-penh-land-capital-invests-5-25-million-into-marine-bay-capital/

เวียดนาม เผยมูลค่าการลงทุนในอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงครึ่งแรกของปี 2562

จากรายงานของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม (MARD) เปิดเผยว่ามูลค่าการลงทุนในภาคเกษตรกรรมอยู่ที่ 491.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในชวงครึ่งแรกของปี 2562 ด้วยจำนวนโครงการใหม่ 11 โครงการ รวมไปถึงโครงการที่มีอยู่ ในขณะนี้ ทางกระทรวงฯ จะดำเนินการสนับสนุนด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในการก่อสร้างโรงงานแปรรูปพืชผลทางการเกษตร และผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ รวมไปถึงฟาร์มเทคโนโลยีแปรรูปโควัวและนมวัว ด้วยจำนวนมูลค่ากว่า 3.8 ล้านล้านด่อง (หรือ 163.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) นอกจากนี้ ในช่วงตั้งแต่ปี 2556-2561 พบว่าอุตสาหกรรมการแปรรูปการเกษตร ป่าไม้และประมง มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 5-7 ต่อปี ดังนั้น มูลค่าการส่งออกรวมของอุตสาหกรรมนี้ จึงเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 8-10 ปี โดยเฉพาะในปี 2561 ที่เพิ่มขึ้นอย่างประวัติการณ์ด้วยมูลค่ารวมราว 40.02 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/523123/almost-500m-invested-in-farm-product-processing-industry-in-h1.html#oaphoz97v5rXCALX.97

เมียนมาเปิดโอกาสการลงทุน พร้อมส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ

นับเป็นเวลาหลายปีหลังจากที่เมียนมาได้ปฏิรูปการเมือง สังคม เศรษฐกิจ ซึ่งในช่วง 2 ปีให้หลังที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ คือมีการลดผ่อนมาตรการต่างๆ โดยออกนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติมากขึ้น รวมไปถึงกฎหมายสนับสนุนการลงทุนจากต่างชาติ เช่น ได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ในเรื่องของภาษีอากร หรือนักลงทุนต่างชาติสามารถถือหุ้นบริษัทท้องถิ่นได้ร้อยละ 35 และอำนวยความสะดวกการจัดตั้งบริษัทโดยจัดทำระบบจดทะเบียนบริษัทออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ Myanmar Companies Online (MyCo) เพื่อส่งเสริมให้บริษัทต่างชาติมีบทบาทในการพัฒนาบริษัทท้องถิ่น การพัฒนาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นได้ให้ความสำคัญกับ 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1. ปฏิรูปเศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน 2. การลงทุน ส่งเสริมการลงทุนในสาขาโครงสร้างพื้นฐาน ภาคเกษตร ปศุสัตว์ การประมง การศึกษา สาธารณสุข การท่องเที่ยว โลจิสติกส์ การผลิตสินค้าเพื่อทดแทนการนำเข้า การส่งออก และการจัดตั้งเขตอุตสาหกรรมใหม่ 3. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ปรับปรุงคุณภาพของทางหลวงเพื่อเชื่อมโยงระหว่างเมืองและชนบท และส่งเสริมให้ประชากรเข้าถึงไฟฟ้าภายในปี 2573 4. ส่งเสริมการท่องเที่ยว ได้เพิ่มจำนวนโรงแรม และพัฒนาการคมนาคมระหว่างสถานที่ท่องเที่ยวในอนาคต ในเวลานี้การพัฒนาไปในเชิงบวกทำให้เอื้อต่อการลงทุน และเพิ่มโอกาสที่จะเข้าไปลงทุน และถึงแม้ในการลงทุนจะต้องพบกับความท้าทายต่างๆ มีอุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้นในบางเรื่อง แต่เมียนมาในมุมมองของวิเคราะห์ คือเป็นประเทศที่มีความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ และคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะเติบโตได้ถึงร้อยละ 6-7 ภายในสองปี ทำให้เป็นโอกาสการลงทุนสำหรับผู้ประกอบการไทย

ที่มา: https://www.bangkokbanksme.com/article/27110

ปัจจัยในการตัดสินใจลงทุนของชาวต่างชาติ

การทำธุรกิจหรือการลงทุนในต่างประเทศ แม้จะเข้าตลาดก่อน แต่ถ้าใจไม่ถึง ไม่กล้าแย่งส่วนแบ่งการตลาด (Market Share)ก่อน ก็ไม่สามารถชนะได้ และการก้าวต่อไปจะยากลำบากมาก เมื่อเข้าไปลงทุนหรือทำการค้า ต้องใจกล้าๆ ลงให้ถึงที่สุด เมื่อได้ Market Share แล้ว ก็ต้องรักษาไว้ให้ดี ต้องมั่นดูแลตลาดให้ดี อย่าให้คู่แข่งเข้ามาแย่งส่วนแบ่งการตลาดได้ หากเราใส่ใจรักษาส่วนแบ่งการตลาดไว้ เราจะสามารถกินส่วนแบ่งได้อีกนาน ดังนั้นการที่บริษัทหนึ่งๆ กล้าเข้าไปในสภาวะที่คนอื่นไม่ได้เข้าหรือไม่กล้าเข้า อาจจะเป็นเพราะว่าเขามองว่าคู่แข่งน้อย การทำการตลาดย่อมง่ายกว่า ซึ่งจะมองด้านความเสี่ยงของสถานการณ์ทางการเมือง ว่ามีความผันผวนระยะสั้นมากกว่า เพราะรัฐบาลไหนๆ ก็มักจะอยู่ไม่เกิน 2 – 3 สมัย พอความนิยมเสื่อมลง ก็ถึงเวลาต้องเปลี่ยนแปลง เป็นหนึ่งเหตุผลหลักที่บริษัทจะไม่ค่อยกลัวกัน ยิ่งตอนมีการเลือกตั้ง นโยบายส่งเสริมการลงทุนจึงเกิดขึ้น เพื่อให้มีนักลงทุนจากต่างชาติเข้ามา จะทำให้ผลประโยชน์ที่ได้รับก็ย่อมมากตามไปด้วย อีกปัจจัยหนึ่งคือ ความสงบเรียบร้อยภายในประเทศที่จะไปลงทุน ถ้าไม่มีสงครามกลางเมือง แค่เดินขบวนประท้วง หรือการสู้รบตามชายแดนเล็กๆน้อยๆ นักลงทุนย่อมไม่กลัวในการเข้ามาลงทุน ตัวอย่างเช่น การสู้รบที่รัฐฉานรัฐยะไข่ของเมียนมา ในกรุงปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ กรุงเทพฯ หรือที่ย่างกุ้ง ก็ไม่มีการถอนการลงทุนออกไป สรุปว่า นักการค้าการลงทุน จะพิจารณาการลงทุนอย่างจริงจัง และมีการทำการศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้น ( Feasibility study) ก่อนจะตัดสินใจลงทุน

ที่มา: https://www.posttoday.com/aec/trade/586359

ความกังวลต่อปัญหาภายในประเทศของนักลงทุน

ความกังวลในความสงบและการสู้รบของชนชาติพันธ์กับรัฐบาลกลางของเมียนมา ที่ได้รับฟังมาจากข่าวสารจากหลายช่องทาง ต่างได้รับความกังวลเป็นอย่างมาก ในสถานการณ์ปัจจุบันนี้นักลงทุนมองว่าประเทศที่สงบที่สุดคือสิงคโปร์ รองลงมาก็มาเลเซียและประเทศอื่นๆ ส่วนไทยอยู่อันดับท้ายๆ จากสถานการณ์การเมือง Death Lock และปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ว่าการค้าการลงทุน Foreign Direct Investment (FDI) เข้ามาในไทยและเมียนมาอยู่ไม่น้อย เพียงแต่ว่าอยู่ที่ช่วงสถานการณ์ของแต่ละประเทศ ดังนั้นมาลองวิเคราะห์ดูว่าเขาคิดอย่างไร การที่จะลงทุนหรือทำการค้าหากเราได้มีโอกาสครองตลาด สามารถต่อรองกับคู่ค้า เพราะสามารถแสดงให้คู่ค้าทั้งสองฝั่งคือฝั่งซื้อและฝั่งขาย ถ้าหากอยากได้โอกาสธุรกิจมาเป็นอันดับแรก ต้องประเมินว่าใช่เวลาอันเหมาะสมกับธุรกิจหรือไม่ ตัวอย่างเช่น บางธุรกิจที่มีน้อย เช่น สิ่งทอ หากมองด้านความเสี่ยง ก็จะมองว่าเร็วเกินไปหรือไม่ที่จะลงทุนทางด้านนี้ หรือถ้าจะบอกว่าคู่ค้าที่เป็นธุรกิจต่อเนื่อง เช่น โรงย้อม โรงพิมพ์ผ้า โรงงานการ์เม้นต์ ยังมีน้อย สามารถตัดสินใจทันทีว่าไม่ลงทุน แต่ในทางกลับกัน ถ้าในอนาคตอันใกล้นี้มาแน่ อาจจะรีบเข้ามาลงทุน แต่นี่เป็นมุมมอง อย่างไรก็ตามนักลงทุนมีความคิดของตัวเอง ไม่มีผิดหรือถูก อยู่ที่จะรอเวลาได้หรือเปล่า

ที่มา: https://www.posttoday.com/aec/trade/586290

จับตาเศรษฐกิจเมียนมาร์ เมื่อแบรนด์หรูตบเท้าเข้ามาลงทุน

เมียนมาเหมือนหลายประเทศกำลังพัฒนาที่ยังมีช่องว่างระหว่างชนชั้น กลุ่ม HNWI หรือ high net worth individual เริ่มเปิดตัวมากขึ้น คือผู้ที่มีทรัพย์สินเป็นเงินสดหรือเงินลงทุนมากกว่า 1 ล้านดอลลาร์ บริษัทที่ปรึกษาแห่งหนึ่งในเมียนมาระบุเศรษฐีเหล่านี้เมีเชื้อสายจีนเสียเป็นส่วนใหญ่ และมักมีสายสัมพันธ์กับผู้นำทางทหาร กับนักธุรกิจในแวดวงค้าอัญมณี หรืออุตสาหกรรมตัดไม้ขนาดใหญ่ หลังการเลือกตั้งเมื่อปี 2012 เศรษฐกิจก็เริ่มกระเตื้องอันเป็นผลจากการไหลเข้าของเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศ ทำให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์เฟื่องฟู เศรษฐกิจที่โตปีละ 7% ทำให้ธุรกิจค้าปลีกในประเทศโตไปด้วย อย่างไรก็ตามการผุดขึ้นของห้างสรรพสินค้าดูเน้นไปที่ผู้บริโภคระดับรากหญ้าและชนชั้นกลางมากกว่า ส่วนกลุ่มเศรษฐีก็ยังนิยมบินไปช้อปปิ้งสินค้าแบรนด์เนมที่ต่างประเทศ เช่น ไทย ฮ่องกง สิงคโปร์ หรือไม่ก็ยุโรป เนื่องจากนาฬิกาและรถยนต์เป็นสิ่งที่แสดงฐานะทางสังคม ช่วงไม่กี่ปีมานี้ แบรนด์สินค้าหรูได้ให้ความสนใจและเริ่มเข้ามาบุกเบิก เช่น นาฬิกาแฟรงก์ มุลเลอร์ ตามด้วยร้าน Swiss Time Square ซึ่งเป็นศูนย์รวมนาฬิกาหรูหลากหลายยี่ห้อ และยังมีค่ายรถยนต์ที่มาเปิดโชว์รูม เช่น จาร์กัวร์ แลนด์โรเวอร์ บีเอ็มดับบลิว และเมอร์เซเดสเบนซ์ ยังไม่นับรวมเครื่องสำอางแบรนด์ไฮเอนด์ที่เข้ามาทำตลาด ธุรกิจเหล่านี้ไม่ได้ตอบสนองเฉพาะกลุ่มเศรษฐี หากยังรวมถึงกลุ่มชาวเมียนมาโพ้นทะเลที่เคยอพยพไปตั้งรกรากในต่างประเทศแล้วกลับมาดำเนินธุรกิจในบ้านเกิด และชนชั้นระดับกลางค่อนไปทางสูงซึ่งเป็นกลุ่มใหม่และกำลังเพิ่มจำนวนขึ้น สำหรับผู้ประกอบการไทยลองประเมินดูว่านอกจากอสังหาริมทรัพย์ และบริการทางการแพทย์ (โรงพยาบาลเอกชน) เรามีสินค้าหรือบริการอะไรที่พอจะดึงดูดลูกค้ากระเป๋าหนักจากเมียนมาได้บ้าง 

ที่มา: https://www.smethailandclub.com/aec-1924-id.html

การลงทุนจากต่างชาติในไมโครไฟแนนซ์กัมพูชา แรงส่งการเปลี่ยนแปลงในหลายมิติ

ไมโครไฟแนนซ์ได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว วัตถุประสงค์คือขยายสินเชื่อให้กับประชาชนในพื้นที่ห่างไกล ปี 2560 มียอดปล่อยสินเชื่อประมาณ 4 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 1 ใน 4 ของธนาคารพาณิชย์ทั้งหมด ปัจจุบันมีผู้ให้บริการทั้งหมด 68 ราย มี 5 รายที่ครองส่วนแบ่ง 80% โดยการปล่อยสินเชื่อจะแบ่งเป็น ภาคครัวเรือน 33% การเกษตร 30% และค้าปลีก 19% จากประชากรที่ใช้สินเชื่อ 1.7 ล้านคน ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา กัมพูชาได้เพิ่มทุนจดทะเบียนไมโครไฟแนนซ์ ทำให้ต้องหาพันธมิตรจากต่างประเทศมากขึ้น ผลดีคือ การบริการที่หลากขึ้นเพราะแข่งขันสูง เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การบริโภคภาคครัวเรือนเพิ่ม ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้นนักลงทุนไทยควรปรับกลยุทธ์ให้เหมาะกับโอกาสทางธุรกิจ เช่น พัฒนาระบบ e-payment เพื่อขยายช่องทางและเชื่อมต่อพื้นที่ห่างไกล โดยเฉาะสินค้าที่เป็นที่นิยมอย่างมอเตอร์ไซค์หรือเครื่องจักรทางการเกษตร

ที่มา: http://www.exim.go.th/doc/newsCenter/50318.pdf

31 ธันวาคม 2561