จีนหนุนโครงการพลังงานแสงอาทิตย์คาดแล้วเสร็จภายใน เม.ย. 64

โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 29 โครงการที่กำลังดำเนินการโดยจีนในเมียนมาจะแล้วเสร็จในเดือนเมษายนนี้ คาดว่าจะผลิตไฟฟ้าได้มากกว่า 1,000 เมกะวัตต์และเมื่อเสร็จสมบูรณ์และสามารถกระจายพลังงานไปยังกริดแห่งชาติได้ โครงการดังกล่าวจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 180 วันหลังจากได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลเมียนมา โดยบริษัทที่ได้ชนะการประมูลส่วนใหญ่มาจากจีน ซึ่งราคาประมูลของจีนต่ำกว่าที่อุตสาหกรรมคาดการณ์ไว้ที่ 0.0422 ดอลลาร์สหรัฐต่อหน่วย ราคาเสนอซื้อเฉลี่ยอยู่ที่ 0.0508 ดอลลาร์

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/china-backed-solar-projects-be-completed-april.html

กัมพูชาคาดโซล่าฟาร์ม 3 แห่ง จะช่วยเสริมปริมาณพลังงานสู่กริดในต้นปีหน้า

สถานีพลังงานแสงอาทิตย์ 3 แห่ง จะเริ่มสร้างพลังงานและเชื่อมโยงกับกริดแห่งชาติในต้นปีหน้า เนื่องจากขณะนี้โครงการยังไม่แล้วเสร็จ โดยในปัจจุบันโครงการดำเนินไปแล้วกว่าร้อยละ 90 ซึ่งโครงการก่อสร้างโซล่าฟาร์มทั้งสามโครงการเพิ่งได้รับการอนุมัติในการก่อสร้างเมื่อปีที่แล้ว โดยอธิบดีด้านพลังงานและโฆษกกระทรวงเหมืองแร่และพลังงานกล่าวว่านักลงทุนกระตือรือร้นที่จะก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามแผนที่วางไว้เพื่อสร้างพลังงานให้กับกริดแห่งชาติ ซึ่งทั้งสามโครงการถือเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 20 เมกะวัตต์ ที่ลงทุนโดย บริษัท Green Sustainable Ventures Co., Ltd. ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองบาเว็ตจังหวัดสวายเรียง ส่วนโรงผลิตที่สองมีขนาด 30 เมกะวัตต์ตั้งอยู่ในจังหวัดบันเตียเมียนเจยลงทุนโดย Ray Power Supply Co,. Ltd. และโรงผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ที่สามขนาด 60 เมกะวัตต์ในจังหวัดพระตะบองลงทุนโดย Risen Energy Co., Ltd.

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50790719/three-solar-stations-set-to-generate-power-earlier-next-year/

สถานีพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดกำลังผลิต 60 เมกะวัตต์แห่งใหม่ในกัมพูชา

สถานีไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ใหม่ขนาด 60 เมกะวัตต์ในเขตจังหวัดโพธิสัตว์ คาดจะสามารถผลิตไฟฟ้าให้สำหรับกริดแห่งชาติได้ภายในต้นปีหน้า ลงทุนโดย Schneitec Renewable Co., Ltd. โดยสถานีไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ครอบคลุมบนพื้นที่กว่า 135 เฮกตาร์ ซึ่งบริษัทได้ประกาศกรอบเวลาการผลิตไฟฟ้าระหว่างการเยี่ยมชมของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเหมืองแร่และพลังงานที่ได้เดินทางมายังโซลาร์ฟาร์ม ซึ่งรัฐบาลกัมพูชาได้อนุมัติโครงการตั้งแต่ในปี 2019 โดยโครงการโรงไฟฟ้า 2 โครงการในจังหวัดโพธิสัตว์ เป็นโครงการพลังงานน้ำจากเขื่อนขนาด 80 เมกะวัตต์ และอีกโครงการหนึ่งเป็นโครงการสถานีพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 90 เมกะวัตต์ นอกจากโพธิสัตว์แล้วกัมพูชายังมีโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในพื้นที่อื่นๆ เช่นโซลาร์ฟาร์มขนาด 10 เมกะวัตต์ในจังหวัดสวายเหรียง สถานีพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 80 เมกะวัตต์ในจังหวัดกัมปงสปือ สถานีพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 60 เมกะวัตต์ในจังหวัดกำปงชนัง และสถานีพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดเล็กขนาด 5 เมกะวัตต์ในเมืองบาเว็ต

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50788965/60-mw-solar-station-in-pursat-province-set-to-generate-power/

พื้นที่นอกกริดเมียนมามีโอกาสได้ใช้พลังงานแสงอาทิตย์

ประชาชนในเขตชนบทของเมียนมากว่า 450,000 คน คาดหวังจะได้ใช้ไฟฟ้าตามข้อตกลงระหว่างรัฐบาลและธนาคารโลก โดยทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะระดมทุนร่วมกัน 3.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อสร้างพลังงานแสงอาทิตย์ในพื้นที่รอบนอก การผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการปรับปรุงวิถีชีวิตและมาตรฐานการครองชีพของคนในชนบท ในปัจจุบันประชากรกว่าครึ่งไม่สามารถเข้าถึงกริดแห่งชาติและมากกว่าสองในสามของครัวเรือนในพื้นที่ชนบทที่ประชากรส่วนใหญ่ต้องอาศัยเทียน น้ำมันก๊าด แบตเตอรี่และเครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซล เงินทุนดังกล่าวมาจากบริษัทต่างๆ ไปยังผู้ค้าปลีกสู่ผู้บริโภคและจะช่วยในการผลิตจัดจำหน่ายและจำหน่ายสินค้าในชนบทที่มีคุณภาพ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/grid-areas-myanmar-enjoy-solar-power.html

บริษัทจดทะเบียนในจีนได้รับใบอนุญาตให้สร้างสวนพลังงานแสงอาทิตย์ในกัมพูชา

สภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ Risen Energy (กัมพูชา) ผู้ผลิตแผงวงจรจากจีนเพื่อสร้างโซล่าฟาร์มขนาด 60 เมกะวัตต์ (mW) ในจังหวัดพระตะบอง จากข้อมูลของ CDC โครงการดังกล่าวมีเงินลงทุน 50.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ก่อตั้งขึ้นในปี 1986 และจดทะเบียนเป็น บริษัท มหาชนของจีนในปี 2010 ในนาม Risen Energy เป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์ โดยการลงทุนโซล่าฟาร์มของ บริษัท ในกัมพูชาเป็นหนึ่งในสี่สวนพลังงานแสงอาทิตย์ที่รัฐบาลอนุมัติในระหว่างการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในโครงการโรงไฟฟ้าทั้งหมดเก้าโครงการที่กระทรวงพลังงานและเหมืองแร่กำลังก่อสร้าง ซึ่งในรายงานของกระทรวงดังกล่าวระบุห้าสวนพลังงานแสงอาทิตย์ในห้ารวมทั้งโครงการพระตะบองกำลังมีการเร่งการก่อสร้างเพื่อให้พวกเขาสามารถเชื่อมต่อกับกริดแห่งชาติภายในปีนี้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50726630/listed-chinese-firm-licensed-to-build-another-solar-park/

การเชื่อมต่อกริดแห่งชาติกับสถานีพลังงานแสงอาทิตย์ที่ 3 ของกัมพูชา

โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แห่งที่สามของกัมพูชาเปิดตัวในรูปแบบออนไลน์เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาในจังหวัดกำปงชนังตามรายงานของ Electricite du Cambodge (EDC) ผู้จัดหาพลังงานชั้นนำในประเทศ ตั้งอยู่ในเขต Toek Phos สามารถสร้างพลังงานเพิ่มเติมได้อีก 60 mW เพื่อช่วยตอบสนองความต้องการภายในประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัท SchneiTec Renewable Co. , Ltd. ซึ่งเป็น บริษัท เอกชนของกัมพูชาได้รับอนุญาตจากรัฐบาลภายใต้พื้นฐาน ของการจัดหาแหล่งเงินทุน ออกแบบ ก่อสร้างด้วยตนเอง (BOO) ซึ่งถือเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน โดย EDC ได้ซื้อพลังงานที่ผลิตโดยสถานีภายใต้ข้อตกลงระยะยาว ส่วนราคาสำหรับผู้บริโภคยังไม่ได้กำหนด แต่ SchneiTec Renewable Co. , Ltd จำเป็นต้องขายภายใต้กฎหมายในราคาต่ำกว่า 0.076 เหรียญสหรัฐต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง ซึ่งในปี 2562 รัฐบาลให้การก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 4 แห่งเพื่อสร้างกริดแห่งชาติทั้งหมดให้ได้ 140 เมกะวัตต์ โดยผู้อำนวยการฝ่ายพลังงานของกระทรวงเหมืองแร่และพลังงานกล่าวว่าการทำงานในโรงงานขั้นสุดท้ายซึ่งเป็นโครงการขนาด 60 mW ในจังหวัดกำปงชนังกำลังดำเนินการอยู่ คาดว่าโรงงานผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ทั้ง 4 แห่งจะสร้างพลังงานให้กับกริดในต้นปี 2564

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50712430/third-solar-power-station-joins-national-grid/

โซล่าฟาร์ม 5 แห่งใหม่กำลังดำเนินการเชื่อมต่อกับกริดแห่งชาติ

กระทรวงพลังงานและเหมืองแร่เปิดเผยว่าโซล่าฟาร์มจาก 5 จังหวัดจะเริ่มเปิดตัวในปีนี้ โดยในรายงานประจำปีระบุว่ากำลังเร่งงานก่อสร้างเพื่อให้สามารถเชื่อมต่อกับกริดแห่งชาติให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ซึ่งโครงการพลังงานแสงอาทิตย์จะช่วยเพิ่มแหล่งพลังงานของประเทศโดยรวม 160 เมกะวัตต์ (mW) ต่อปี โดยแบ่งเป็นจาก สวายเรียง 20 เมกะวัตต์, โพธิสัตว์ 30 เมกะวัตต์, กำปงสปือ 20 เมกะวัตต์, พระตะบอง 60 เมกะวัตต์ และ บันทายมีชัย 30 เมกะวัตต์ ซึ่งปีหน้าตามที่กระทรวงระบุประเทศจะเปิดตัวอีก 60 เมกะวัตต์ ในกำปงชนังและในจังหวัดโพธิสัตว์เพิ่มอีก 60 เมกะวัตต์ โดยรัฐบาลมีวัตถุประสงค์เพื่อกระจายแหล่งพลังงานในประเทศเนื่องจากความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาจากกิจกรรมการลงทุนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการก่อสร้างและการผลิต ซึ่งจากการศึกษาล่าสุดของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชียระบุว่ากัมพูชามีศักยภาพด้านพลังงานน้ำประมาณ 10,000 เมกะวัตต์, 8,100 เมกะวัตต์ สำหรับพลังงานแสงอาทิตย์และประมาณ 6,500 เมกะวัตต์ สำหรับพลังงานที่มาจากลม โดยกัมพูชาสร้างพลังงานทั้งหมดได้จาก 2,635 เมกะวัตต์ ในปี 2018 เป็น 3,382 เมกะวัตต์ ในปี 2019 เพิ่มขึ้น 28% เมื่อเทียบเป็นรายปี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50692029/five-new-solar-farms-to-be-connected-to-the-national-grid

ข้อตกลงใหม่ปูทางสำหรับการพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมกับ Marubeni Corporation ของญี่ปุ่นและกลุ่ม AMZ ทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศลาวโดยบันทึกความเข้าใจ (MOU) เกี่ยวกับโครงการได้ลงนามเมื่อเร็ว ๆ นี้ โดยมีวัตถุประสงค์ในการลงนามเพื่อศึกษาการใช้เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ใหม่ ๆ เข้ามาในการพัฒนาเศรษฐกิจโดยเฉพาะการพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์ที่เป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสปป.ลาว นอกจากนี้ยังถือเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุค 4.0 ที่ต้องการใช้การวิจัยเพื่อยกระดับเทคโนโลยี โดยเฉพาะในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจได้อย่างตรงจุด การลงนามดังกล่าวไม่เพียงแค่สนับสนุนการพัฒนาทที่สำคัญแต่กระทรวงเชื่อว่าการลงนามในบันทึกความเข้าใจเป็นขั้นแรกในการก้าวไปสู่การลงนามในบันทึกข้อตกลงในอนาคตอันใกล้

ที่มา: http://annx.asianews.network/content/new-agreement-paves-way-solar-power-development-

สมัชชาแห่งชาติกล่าวถึงสี่โครงการพลังงานแสงอาทิตย์ในกัมพูชา

โครงการพลังงานแสงอาทิตย์สี่โครงการซึ่งคิดเป็นกำลังการผลิตรวม 140 เมกะวัตต์ ได้รับการอนุมัติในระหว่างการประชุมสมัชชาแห่งชาติ โดยรัฐสภาอนุมัติร่างกฎหมายเกี่ยวกับการค้ำประกันการชำระเงินในโครงการ เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อการปฏิบัติตามภาระผูกพันทั้งหมดของโครงการ ซึ่ง Green Sustainable Ventures Co Ltd. ลงทุน 17.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ในโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ 20 เมกะวัตต์ ในเขตของจังหวัดสวายเรียงสามารถผลิตพลังงานได้ 34.67 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี โดย Ray Power Supply Co Ltd. จะลงทุนอีกกว่า 28.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ในโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 30 เมกะวัตต์ ในเขตของบันทายมีชัย โดยสามารถผลิตพลังงานได้ถึง 50 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี ส่วน Risen Energy Co Lte. จะสร้างโซล่าฟาร์มขนาด 60 เมกะวัตต์ ในเขตจังหวัดพระตะบองด้วยการลงทุน 57.2 ล้านเหรียญสหรัฐ สามารถผลิตพลังงานได้ที่ 107 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี และโครงการสุดท้าย SchneiTec Infinite Co Ltd. กำลังวางแผนที่จะลงทุน 29 ล้านเหรียญสหรัฐขนาด 30 เมกะวัตต์ในเขต ของจังหวัดโพธิสัตว์สามารถผลิตพลังงานได้ที่ 48 ล้านกิโลวัตต์ต่อปี ซึ่งโรงไฟฟ้าเหล่านี้จะถูกขายให้กับการผลิตไฟฟ้าของกัมพูชา (EDC) ในอัตรา 0.076 เหรียญสหรัฐต่อกิโลวัตต์ชั่วโมงตามรายงานจากกระทรวงเหมืองแร่และพลังงาน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50672968/national-assembly-says-yes-to-four-solar-projects

รัฐบาลและภาคเอกชนของกัมพูชาหารือเกี่ยวกับระบบพลังงานแสงอาทิตย์ไม่ได้

กระทรวงเหมืองแร่และพลังงานร่วมกับบริษัทพลังงานแสงอาทิตย์ในท้องถิ่นหลายแห่งประชุมเชิงปฏิบัติการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับแนวทางสำหรับระบบพลังงานแสงอาทิตย์ (SHS) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลการตลาดวิเคราะห์ตัวอย่างของการปฏิบัติที่ดีในอุตสาหกรรมและหารือเกี่ยวกับความท้าทายที่จะได้รับจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งจัดขึ้นโดยโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) และโดยมีผู้เข้าร่วมเป็น บริษัท BNP-Power Green, Kamworks และบริษัทอื่นๆ ถือเป็นบริษัทเชิงโซลูชั่น โดยจะแบ่งปันประสบการณ์และมุมมองเกี่ยวกับตลาดโซล่าร์ในประเทศกัมพูชาซึ่งกันและกัน ซึ่ง Sokun Sum ซีอีโอของ Lighting Engineering Solution กล่าวว่าความต้องการแผงโซลาร์เซลล์บนชั้นดาดฟ้าในประเทศกำลังเติบโต โดยแผงเซลล์แสงอาทิตย์บนชั้นดาดฟ้าเริ่มเป็นที่นิยมในปี 2018 เมื่อรัฐบาลอนุญาตให้ภาคเอกชนเชื่อมต่อระบบ PV เข้ากับกริดแห่งชาติได้ ซึ่งมีการตั้งข้อสังเกตว่า บริษัท ในท้องถิ่น โรงงานและครัวเรือนหลายแห่งกำลังติดตั้งระบบ PV เพื่อลดค่าไฟฟ้า โดยรัฐบาลตั้งเป้าหมายที่จะผลิตพลังงานจากแผงโซลาร์เซลล์ในกัมพูชาร้อยละ 15 ภายในสิ้นปีหน้า

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50664003/govt-and-private-sector-to-discuss-solar-home-system-guidelines/