ส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป CMP ลดฮวบ 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบฯ 63-64

จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์เมียนมา การส่งออกของภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในกลุ่มการตัด การผลิต และบรรจุ (CMP : Cut Make Pack) ดิ่งลงระดับต่ำสุดที่ 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ช่วงระหว่างวันที่ 1 ต.ค.63 ถึง 30 มิ.ย.64 ในปีงบประมาณ 63-64 การส่งออกลดลงมากกว่า 20% ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากความต้องการที่ลดลงของตลาดสหภาพยุโรป โดยการส่งออกลดลงกว่า 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปีงบประมาณ 62—63 ขณะที่อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม CMP กลายเป็นอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มดีแม้มีสิทธิพิเศษทางการค้าจากประเทศตะวันตกและเป็นส่วนสำคัญของจีดีพีประเทศ แต่เกิดการหยุดชะงักในภาคการขนส่งและอุปทาน และผลกระทบอย่างรุนแรงจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทั้งนี้เมียนมาส่งออกเสื้อผ้า CMP ไปยังตลาดหลัก เช่น ในญี่ปุ่น สหภาพยุโรป สาธารณรัฐเกาหลีใต้ จีน และสหรัฐอเมริกา

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/cmp-garment-exports-plummet-to-us2-5-bln-in-current-fy/

ปีงบ 63-64 ภาคการผลิตดึงเม็ดเงินลงทุนต่างชาติ 256.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ผู้ประกอบการต่างชาติจับตาการลงทุนภาคผลิตในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา (ต.ค.63-มิ.ย.64) ของปีงบประมาณปัจจุบัน 63-64 โดยอัดฉีดเงินทุนประมาณ 256.85 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ใน 23 โครงการ ซึ่งบริษัทที่เน้นการใช้แรงงานกำลังได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้จากการแพร่ระบาดของ COVID-19 และการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ภาคการผลิตส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในเครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอที่ผลิตบนพื้นฐานการตัดเย็บ การผลิต และการบรรจุ (CMP) ถือเป็นส่วนสำคัญของ GDP ประเทศ ปัจจุบันการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปลดลงอย่างมากจากความต้องการที่น้อยลงของตลาดสหภาพยุโรป ส่งผลให้โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า CMP บางแห่งปิดตัวลง ปัจจุบันเมียนมาดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมากกว่า 3.76 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา ด้านคณะกรรมการด้านการลงทุนของเมียนมา (MIC) เผย ระหว่างวันที่ 1 ต.ค.63 ถึง 30 มิ.ย.64 มีบริษัท 23 แห่งที่ลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในภาคการผลิต ภาคพลังงานได้รับโครงการขนาดใหญ่ 6 โครงการ ภาคการปศุสัตว์และการประมง 6 โครงการ ภาคบริการอื่นๆ 5 โครงการ ขณะที่ภาคเกษตรกรรมมีการลงทุน 2 โครงการ และ 1 โครงการในนิคมอุตสาหกรรมและภาคการโรงแรมและการท่องเที่ยว

ที่มา: https://gnlm.com.mm/manufacturing-sector-attracts-256-8-mln-this-fy/

อุตสาหกรรมเสื้อผ้า CMP ส่งออกสูงสุด 1.4 พันล้านดอลลาร์ในรอบ 5 เดือน

5 เดือนแรก (ต.ค.64 – ก.พ.64) ของปีงบประมาณ 63-64 การส่งออกเสื้อผ้าของเมียนมาพุ่งเกิน 1.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ แม้โรงงานต่างๆ กำลังเผชิญกับการยกเลิกคำสั่งซื้อใหม่ แต่อย่างไรก็ตาม H&M ผู้ค้าปลีกสินค้าแฟชั่นสัญชาติสวีเดนเริ่มทยอยกลับมาสั่งซื้อตามด้วยแบรนด์อย่าง Primark และ Bestseller หลังหยุดการสั่งซื้อไปเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา อุตสาหกรรมการผลิตเสื้อผ้าแบบ CMP (Cutting Making และ Packaging) และการได้รับสิทธิพิเศษจากประเทศตะวันตกกลายเป็นอุตสาหกรรมส่งออกหลักของประเทศ แต่การหยุดชะงักจากภาคโลจิสติกส์ อุปทาน และผลกระทบจากโควิด-19  และความไม่แน่นอนทางการเมืองเป็นอุปสรรคสำคัญ ภาคการผลิตเสื้อผ้าของเมียนมาจึงเป็นส่วนสำคัญของ GDP ประเทศ จากยอดคำสั่งซื้อที่ลดลงทำให้โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าบางแห่งปิดตัวลงชั่วคราวและทำให้คนงานหลายพันคนต้องตกงาน เมียนมาสงออกเสื้อผ้า CMP ไปยังตลาดในญี่ปุ่นและยุโรปเป็นหลักตามด้วย สาธารณรัฐเกาหลีใต้ จีน และสหรัฐอเมริกา

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/cmp-garment-exports-top-1-4-bln-in-five-months/#article-title

อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มเมียนมามุ่งผลิต-ส่งออกที่หลากหลายขึ้น

อุตสาหกรรมเสื้อผ้าของเมียนมาจำเป็นต้องเน้นความหลากหลายโดยการกระจายตลาดเนื่องจากคำสั่งซื้อที่ลดน้อยลงอันเป็นผลมาจากสถานการณ์ COVID-19  ซึ่งอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มของเมียนมาต้องเอาชนะความท้าทายที่เกิดจากการระบาดในปัจจุบันโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีความไม่แน่นอนว่าจะมีวัคซีนป้องกัน COVID-19 เมื่อใด ปัจจุบันตลาดเครื่องนุ่งห่มของเมียนมา ได้แก่ สหภาพยุโรป เกาหลี ญี่ปุ่น และเยอรมนี และอีกเล็กน้อยในตลาดสหรัฐฯ อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจของหลายประเทศเหล่านี้กำลังได้รับผลกระทบส่งผลให้มีคำสั่งซื้อน้อยลง ทั้งนี้ประเทศที่นำเข้าผ้าดิบจากจีนและเมียนมาอาจพิจารณาหันมานำเข้าจากอินเดียหรือปากีสถานแทน การระบาดของ COVID-19 ยังส่งผลให้อัตราการว่างงานในภาคอุตสาหกรรมนี้สูงขึ้น และการยกเลิกคำสั่งซื้อซึ่งส่งผลให้งานหายากขึ้นและการปลดแรงงานออกเนื่องจากนักการถอนการลงทุนของต่างชาติ ขณะนี้โรงงาน CMP (Cut-Make-Pack) ปิดตัวลงมากถึง 64 แห่งส่งผลให้มีผู้ตกงานมากกว่า 25,000 คน ยุทธศาสตร์การส่งออกแห่งชาติจึงมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนจาก CMP ไปเป็นแบบ FOB (Free on Board) เพื่อะเพิ่มขีดความสามารถของแรงงานและการขยายตลาด ทั้งนี้ภายใต้โครงการที่ริเริ่มโดยสหราชอาณาจักรซึ่งสนับสนุนให้โรงงานเสื้อผ้า 5 แห่งในย่างกุ้งและพะโคเริ่มผลิต อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) แทน เมียนมามีรายได้เกือบ 4.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากการส่งออกเสื้อผ้าในปีงบประมาณ 62-63 ซึ่งลดลงกว่า 63 ล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับปีก่อน

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmars-garment-sector-told-diversify.html

บริษัทต่างชาติลงทุน 24 ล้านดอลลาร์สหรัฐในธุรกิจ CMP ในย่างกุ้ง

ตามรายงานของคณะกรรมการการลงทุนเขตย่างกุ้ง บริษัท ต่างๆ จะเข้าร่วมลงทุนในธุรกิจผลิตเสื้อผ้าและกระเป๋าแบบ CMP (Cutting Making และ Packaging) ในเขตอุตสาหกรรมในเขตย่างกุ้งรวมถึงเขตเศรษฐกิจพิเศษติวาล่า ด้วยการลงทุนเกือบ 24 ล้านดอลลาร์สหรัฐ บริษัท ไฟน์ไลน์ จำกัด จากฮ่องกง ลงทุน 2.087 ล้านดอลลาร์สหรัฐในเขตเศรษฐกิจพิเศษติวาล่า บริษัท Genesis Myanmar Garment จำกัด จำนวน 4.285 ดอลลาร์สหรัฐ ในเขตอุตสาหกรรมอีสต์ ดราก้อน South Frame Myanmar Limited จากเอสโตเนีย 0.852 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  Myanmar Journey Bags Co Ltd (ฮ่องกง) 1.622 ล้านดอลลาร์สหรัฐในเขตอุตสาหกรรมวาตายา Kai Sheng (เมียนมา) ของไต้หวัน 0.911 ล้านดอลลาร์สหรัฐใน ในเมืองชเวปยีธา บริษัท การ์เม้นท์ จำกัด จากจีน 1.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ บริษัท ศรีหยวน (เมียนมา) จำกัด จากฮ่องกง 0.906 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเมืองไล่ง์บแว่ บริษัท ซันไรส์ (เมียนมา) แฟชั่น จำกัด จากจีน 4.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเขตอุตสาหกรรม Thadukan บริษัท ซีรานนอนวูฟเวน (เมียนมา) จำกัด จากฮ่องกง 2.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ Allland Fashion Limited จากจีน 1.002 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเขตอุตสาหกรรมไลง์ตายา และมีบริษัททั้งจากจีน ไต้หวัน และอื่น ๆ ที่ลงทุนในธุรกิจเสื้อผ้าแบบ CMP ในหลายเขตอุตสาหกรรม การลงทุนในครั้งนี้สามารถสร้างงานในท้องถิ่นมากกว่า 8,920 ตำแหน่ง

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/companies-to-invest-24-m-in-cmp-garment-bag-making-in-yangon