การส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปของเมียนมาร์มีมูลค่าสูงถึง 2.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา

กระทรวงพาณิชย์เมียนมาร์ เผยสถิติ มูลค่าการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผ่านกระบวนการตัด ผลิตและบรรจุหีบห่อ (CMP) ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน – วันที่ 1 ธันวาคม ในปีงบประมาณ 2566-2567 มีมูลค่ามากกว่า 2.966 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งสูงที่สุดในบรรดาสินค้าส่งออกหลัก 10 รายการ ในขณะที่ มูลค่าการส่งออกก๊าซธรรมชาติมีมูลค่า 2.22 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การส่งออกถั่วดำ 474.126 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การส่งออกข้าวและข้าวหัก 378.64 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การส่งออกข้าวโพด 271.312 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การส่งออกปลา 220.418 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การส่งออกถั่วเขียว 185.983 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การส่งออกยางธรรมชาติ 123.691 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การส่งออกถั่วมะแฮะ 101.952 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการส่งออกโลหะและแร่ 79.404 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามลำดับ อย่างไรก็ดี ในบรรดาประเทศคู่ค้าสิบอันดับแรกของเมียนมาร์ ประเทศไทยถือเป็นอันดับหนึ่งด้วยมูลค่าการค้ากว่า 2.472 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รองลงมาคือจีน ญี่ปุ่น อินเดีย สหรัฐอเมริกา เยอรมนี สเปน สาธารณรัฐเกาหลี และสหราชอาณาจักร นอกจากนี้ เมียนมาร์ยังพยายามเพิ่มการส่งออกภาคการผลิต และไม้วีเนียร์และไม้อัด ผลิตภัณฑ์ไม้สำเร็จรูป เสื้อผ้า น้ำตาล และผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ซึ่งนอกจากชายแดนแล้ว เมียนมาร์ยังส่งออกสินค้าทางทะเลและทางอากาศอีกด้วย

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/garment-exports-top-us2-9-bln-in-past-eight-months/#article-title

11 เดือนของปีงบฯ 65-66 เมียนมาส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปแบบ CMP โกยรายได้กว่า 4.7 พันล้านดอลลาร์ฯ

จากสถิติของสมาคมผู้ผลิตเสื้อผ้าเมียนมา เผย 11 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2565-2566 (เดือนเมษายน 2565 ถึงกุมภาพันธ์ 2566) เมียนมาส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปแบบ CMP (Cut, manufacture and produce) สร้างรายได้กว่า 4.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มในเมียนมาดำเนินธุรกิจโดยผู้ประกอบการในประเทศและต่างประเทศ เช่น  จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และไทย ส่วนผู้นำเข้าหลักคือ จีน ไทย สิงคโปร์ รวมถึงประเทศในแถบยุโรป ถือได้ว่าอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มในเมียนมาเป็นแหล่งโอกาสในการทำงานที่สำคัญและเป็นอุตสาหกรรมที่เน้นการผลิตซึ่งจำเป็นต้องใช้แรงงานที่มีทักษะเป็นหลัก ปัจจุบันมีโรงงานทั้งหมด 738 แห่งทั่วประเทศ ประกอบไปด้วยโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า 505 แห่ง โรงงานผลิตรองเท้า 48 แห่ง โรงงานผลิตวิกผม 8 แห่ง รวมถึงโรงงานที่เกี่ยวข้องกับกระเป๋า ชุดกีฬา รองเท้ากีฬา และถุงเท้า 117 แห่ง ฯลฯ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/cmp-garment-export-brings-in-over-4-7-bln-in-11-months-of-this-fy/#article-title

Q 2 ของงบประมาณย่อย 64-65 เมียนมาส่งออกสินค้า CMP คิดเป็น 26% ของรายได้การส่งออกสินค้าทั้งหมด

กระทรวงการวางแผนและการคลังของเมียนมา เผย การส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตแบบการตัด การผลิต และบรรจุภัณฑ์ (CMP) ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณย่อย 2564-2565 (เดือนต.ค. 2564 – เดือนมี.ค. 2565) คิดเป็น 26%  ของรายได้การส่งออกทั้งหมด ซึ่งไตรมาสที่ 1  ของงบประมาณรายย่อย เมียนมามีรายได้จากการส่งออกสินค้า CMP กว่า 1.055 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  ส่วนไตรมาสที่ 2 สามารถทำรายได้อีกกว่า 1.174 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แม้ว่าสถานประกอบการหรือบริษัทที่ต้องใช้แรงงานจำนวนมากต้องประสบปัญหาทางด้านการเงินจากวิกฤตโควิด-19 และปัญหาทางการเมืองในประเทศ แต่ขณะสถานการณ์ของธุรกิจกำลังกลับสู่ภาวะปกติหลังจากเริ่มฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับแรงงาน ทั้งนี้ภาคการผลิตของเมียนมาส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มที่มีการผลิตแบบ CMP และเป็นส่วนสำคัญของ GDP ของประเทศ ซึ่งตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป เกาหลีใต้ จีน และสหรัฐอเมริกา

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/cmp-constitutes-26-of-overall-export-values-in-q2-of-mini-budget-period/#article-title

YRIC รับรอง 4 บริษัทต่างชาติลงทุนในอุตสาหกรรม “CMP” คาด สร้างงานให้ชาวเมียนมาได้ถึง 2,369 ตำแหน่ง

คณะกรรมการการลงทุนเขตย่างกุ้ง (YRIC) ของเมียนมา ให้การรับรองบริษัทต่างชาติ 4 ราย เข้ามาลงทุนในภาคการผลิตของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม โดยเน้นไปที่การผลิตสินค้าแบบตัดเย็บ หรือ CMP (Cut, manufacture and produce) ซึ่งได้แก่เสื้อผ้าสำเร็จรูป ด้วยเงินลงทุนประมาณ 5.143 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สามารถสร้างงานให้กับคนในท้องถิ่นได้ถึง 2,369 ตำแหน่ง ทั้งนี้ในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 (เดือนม.ค.- เดือนมิ.ย.) มีการลงทุนจากต่างประเทศรวมทั้งสิ้น 159 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แบ่งเป็น จีน 41 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, ฮ่องกง 59 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, สิงคโปร์ 21 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, เกาหลีใต้ 17 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, ญี่ปุ่น 6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, ไต้หวัน 7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และอินโดนีเซีย 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/yric-endorses-4-foreign-manufacturing-projects-on-cmp-basis-with-2369-jobs/

YRIC รับรอง 3 โครงการผลิต CMP จาก 3 ประเทศ สร้างงานได้ถึง 3,373 ตำแหน่ง!

ในการประชุมเมื่อวันที่ 29 มิ.ย.2565 ที่ผ่านมา คณะกรรมการการลงทุนเขตย่างกุ้ง (YRIC) ได้รับรองการลงทุนจากบริษัทในประเทศใน 3 แห่ง และจากต่างประเทศอีก 3 แห่ง เพื่อลงทุนในภาคการผลิต ด้วยทุนจดทะเบียนกว่า 4.44 พันล้านจัต และ 6.659 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามลำดับ โดยโครงการทั้ง 6 จะทำการผลิตเส้นใยสังเคราะห์ และการผลิตเสื้อชั้นใน ชุดชั้นใน และการผลิตเสื้อผ้าแบบการตัด การผลิต และการบรรจุ (CMP) ซึ่งสามารถสร้างงานได้ถึง 3,373 ตำแหน่ง จนถึงปัจจุบัน มีการลงทุนจากจีน สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ฮ่องกง สาธารณรัฐเกาหลี เวียดนาม อินเดีย ไต้หวัน มาเลเซีย หมู่เกาะเวอร์จินของอังกฤษ และเสาธารณรัฐเซเชลส์ เริ่มเข้ามาลงทุนกันมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อลดความซับซ้อนในการตรวจสอบโครงการการลงทุน กฎหมายการลงทุนของเมียนมา ได้อนุญาตให้คณะกรรมการการลงทุนระดับภูมิภาคและระดับรัฐสามารถอนุมัติการลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยมีเงื่อนไขคือเงินลงทุนเริ่มต้นต้องไม่เกิน 6 พันล้านจัตหรือ 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/yric-endorses-3-domestic-3-foreign-cmp-manufacturing-projects-with-3373-job-opportunities/

ไตรมาสแรกของปีงบฯ 64-65 เมียนมาส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป พุ่งขึ้น 18.6% เมื่อเทียบกับปีก่อน

สำนักงานสถิติ กระทรวงการวางแผนและการเงินของเมียนมา เผย การส่งออกเสื้อผ้าในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2564-2565 เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปีงบประมาณก่อน โดยมีมูลค่าการส่งออกมากกว่า 1,055 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  ขณะที่การส่งออกของไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2563-2564 มีมูลค่าอยู่ที่ 889.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นสามเท่าจาก 337 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2553 เป็นเกือบ 1 พันล้านดอลลาร์ในปี 2557

โดยสินค้าส่งออกหลักของเมียนมา ได้แก่ ข้าว, ถั่ว, ข้าวโพด และสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในกลุ่ม CMP (Cut–Make-Pack) ในบรรดาสินค้าส่งออกจะพบว่า เครื่องนุ่งห่ม (เสื้อผ้าสำเร็จรูป) เพิ่มขึ้นมากกว่า 4 เท่าใน 5 ปี ถือเป็นสินค้าที่มีอนาคตมากที่สุดในภาคการส่งออกของประเทศ ซึ่งเมียนมาจะใช้กระบวนการแบบรับจ้างผลิต ในการตัดเย็บและบรรจุภัณฑ์ (CMP) โดยนำเข้าสินค้าสิ่งทอจากต่างประเทศและนำมาตัดเย็บภายในประเทศ

ด้านสมาคมผู้ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปเมียนมา เผยสหภาพยุโรป เป็นหนึ่งประเทศชั้นนำที่นำเข้าเสื้อผ้าสำเร็จรูป ตามมาด้วย ญี่ปุ่น, เกาหลี, สหรัฐอเมริกา ฯลฯ ทั้งนี้ในปี 2558 การส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปมีมูลค่าสูงถึง 1.46 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็น 10% ของการส่งออกสินค้าทั้งหมด

ที่มา : https://news-eleven.com/article/227890

เดือนต.ค.64-ก.พ65 ภาคการผลิตเมียนมาดึงดูดเม็ดเงินลงทุนไปแล้ว 138 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

จากสถิติของคณะกรรมการการลงทุนและการบริหารบริษัท (DICA) พบว่า นักลงทุนต่างชาติส่วนใหญ่จับตาภาคการผลิตเพื่อการลงทุนในเมียนมา เพราะสามารถดึงเงินลงทุนใน 25 โครงการ มีมูลค่าประมาณ 138.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ของงบประมาณย่อย (เดือนต.ค. 2564 ถึงเดือนมี.ค. 2565) ปัจจุบัน บริษัทที่เน้นใช้แรงานเป็นหลักได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 โดยเฉพาะการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป ส่งผลให้โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าแบบ CMP (Cutting, Making และ Packing) บางแห่งปิดตัวลงอย่างถาวรและชั่วคราว ทำให้คนงานหลายพันคนตกงาน อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมกำลังกลับสู่ภาวะปกติหลังจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 สำหรับในหมู่คนงานมากขึ้น ภาคการผลิตของเมียนมาส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในเครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอที่ผลิตแบบ CMP และถือเป็นส่วนสำคัญของ GDP ประเทศ ทั้งนี้ในช่วงเดือนต.ค.2564 -ก.พ.2565 เมียนมาดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมากกว่า 530.77 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากบรรษัทข้ามชาติ 34 แห่ง แบ่งเป็น การลงทุนในภาคเกษตรกรรม ปศุสัตว์และการประมง การผลิต พลังงาน การก่อสร้าง การขนส่งและการสื่อสาร การโรงแรมและการท่องเที่ยว และบริการอื่นๆ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/manufacturing-sector-attracts-over-138-mln-in-october-february/#article-title

ค้าชายแดนเมียนมา ลดฮวบ 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผยตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค 64 ถึง 7 ม.ค. 65 ของปีงบประมาณรายย่อยปัจจุบัน (2564-2565)  มูลค่าการค้าชายแดนรวมทั้งสิ้นอยู่ที่ 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลง 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ที่ 2.88 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยแบ่งเป็นการส่งออก 1.13 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการนำเข้า 493 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งประเทศเพื่อนบ้านที่ทำการค้าขายกับเมียนมา เช่น จีน ไทย บังคลาเทศ และอินเดีย มีด่านชายแดนที่ทำการค้าขายทั้งหมด 19 แห่ง โดยชายแดนเมียวมีมูลค่าการค้าสูงสุดประมาณ 656 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รองลงมาคือ ด่านตีกี 444 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และด่านมูเซ 324 ดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ เกษตร สัตว์ ทางทะเล ป่าไม้ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสำเร็จรูป และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ส่วนการนำเข้าจะเป็นสินค้าทุน วัตถุดิบ สินค้าส่วนบุคคล และผลิตภัณฑ์ CMP

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/total-border-trade-down-nearly-1-3-bln/

เดือนต.ค.-พ.ย.64 ภาคการผลิตเมียนมาดึงดูดเม็ดเงินลงทุนไปแล้วกว่า 75.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

คณะกรรมการการลงทุนและการบริหารบริษัท (DICA) เผย สถานประกอบการต่างประเทศส่วนใหญ่จับตาภาคการผลิตของเมียนมาเพื่อดูแนวโน้มการลงทุน พบว่าเมียนมาดึงดูดเม็ดเงินลงทุนประมาณ 75.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ใน 8 โครงการ ในช่วงเดือนต.ค.-พ.ย.64 ของงบประมาณย่อยในปีงบประมาณปัจจุบัน ที่ผ่านมาการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปของเมียนมาลดลงอย่างมากจากความต้องการของตลาดสหภาพยุโรปที่ตกต่ำในเดือนที่แล้ว ส่งผลให้โรงงานผลิตเสื้อผ้าแบบ CMP (Cutting Making และ Packaging) ส่งผลโรงงานบางแห่งปิดตัวถาวรและชั่วคราว ทำให้คนงานหลายพันคนต้องตกงาน อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมกำลังกลับสู่ภาวะปกติหลังจากมีการฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับแรงงาน ภาคการผลิตของเมียนมาส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในเครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอที่แบบ CMP และถือเป็นส่วนสำคัญของ GDP ประเทศ เมียนมาดึงดูดเม็ดเงินการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) มูลค่ากว่า 234.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากบริษัท 13 แห่งในช่วงเดือนต.ค.-พ.ย.64 เป็นการลงทุนในภาคเกษตรกรรม ปศุสัตว์และการประมง การผลิต พลังงาน การก่อสร้าง การขนส่งและการสื่อสาร โรงแรมและการท่องเที่ยว และบริการอื่นๆ ซึ่งรวมถึงการขยายทุนโดยวิสาหกิจที่มีอยู่แล้วและการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา
ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/manufacturing-sector-attracts-75-6-mln-in-oct-nov/#article-title

เมียนมานำเข้าวัตถุดิบ CMP 179 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์เผย ณ วันที่ 5 พฤศจิกายน 64 เมียนมานำเข้าวัตถุดิบเครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอที่ผลิตด้วยการตัด การผลิต และบรรจุภัณฑ์ CMP (cut-make-pack) 179.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ของงบประมาณย่อยปี 64-65 (ต.ค.63 ถึง มี.ค.64) เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 24.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งภาคการผลิต CMP เป็นส่วนสำคัญของ GDP ประเทศ ขณะนี้อุตสาหกรรมกำลังกลับสู่สภาวะปกติหลังจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของเมียนมา โดยตลาดส่งออกหลักๆ จะเป็นญี่ปุ่น ยุโรป เกาหลีใต้ จีน และสหรัฐอเมริกา ระหว่าง 1 ต.ค.63 ถึง 30 ก.ย.64 ในปีงบประมาณ 63-64 เมียนมาส่งออกเสื้อผ้า CMP แตะระดับต่ำสุดที่ 3.6 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/raw-materials-import-by-cmp-businesses-stand-at-179-mln-as-of-5-november/