จับตาเศรษฐกิจเมียนมาร์ เมื่อแบรนด์หรูตบเท้าเข้ามาลงทุน

เมียนมาเหมือนหลายประเทศกำลังพัฒนาที่ยังมีช่องว่างระหว่างชนชั้น กลุ่ม HNWI หรือ high net worth individual เริ่มเปิดตัวมากขึ้น คือผู้ที่มีทรัพย์สินเป็นเงินสดหรือเงินลงทุนมากกว่า 1 ล้านดอลลาร์ บริษัทที่ปรึกษาแห่งหนึ่งในเมียนมาระบุเศรษฐีเหล่านี้เมีเชื้อสายจีนเสียเป็นส่วนใหญ่ และมักมีสายสัมพันธ์กับผู้นำทางทหาร กับนักธุรกิจในแวดวงค้าอัญมณี หรืออุตสาหกรรมตัดไม้ขนาดใหญ่ หลังการเลือกตั้งเมื่อปี 2012 เศรษฐกิจก็เริ่มกระเตื้องอันเป็นผลจากการไหลเข้าของเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศ ทำให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์เฟื่องฟู เศรษฐกิจที่โตปีละ 7% ทำให้ธุรกิจค้าปลีกในประเทศโตไปด้วย อย่างไรก็ตามการผุดขึ้นของห้างสรรพสินค้าดูเน้นไปที่ผู้บริโภคระดับรากหญ้าและชนชั้นกลางมากกว่า ส่วนกลุ่มเศรษฐีก็ยังนิยมบินไปช้อปปิ้งสินค้าแบรนด์เนมที่ต่างประเทศ เช่น ไทย ฮ่องกง สิงคโปร์ หรือไม่ก็ยุโรป เนื่องจากนาฬิกาและรถยนต์เป็นสิ่งที่แสดงฐานะทางสังคม ช่วงไม่กี่ปีมานี้ แบรนด์สินค้าหรูได้ให้ความสนใจและเริ่มเข้ามาบุกเบิก เช่น นาฬิกาแฟรงก์ มุลเลอร์ ตามด้วยร้าน Swiss Time Square ซึ่งเป็นศูนย์รวมนาฬิกาหรูหลากหลายยี่ห้อ และยังมีค่ายรถยนต์ที่มาเปิดโชว์รูม เช่น จาร์กัวร์ แลนด์โรเวอร์ บีเอ็มดับบลิว และเมอร์เซเดสเบนซ์ ยังไม่นับรวมเครื่องสำอางแบรนด์ไฮเอนด์ที่เข้ามาทำตลาด ธุรกิจเหล่านี้ไม่ได้ตอบสนองเฉพาะกลุ่มเศรษฐี หากยังรวมถึงกลุ่มชาวเมียนมาโพ้นทะเลที่เคยอพยพไปตั้งรกรากในต่างประเทศแล้วกลับมาดำเนินธุรกิจในบ้านเกิด และชนชั้นระดับกลางค่อนไปทางสูงซึ่งเป็นกลุ่มใหม่และกำลังเพิ่มจำนวนขึ้น สำหรับผู้ประกอบการไทยลองประเมินดูว่านอกจากอสังหาริมทรัพย์ และบริการทางการแพทย์ (โรงพยาบาลเอกชน) เรามีสินค้าหรือบริการอะไรที่พอจะดึงดูดลูกค้ากระเป๋าหนักจากเมียนมาได้บ้าง 

ที่มา: https://www.smethailandclub.com/aec-1924-id.html

การลงทุนจากต่างชาติในไมโครไฟแนนซ์กัมพูชา แรงส่งการเปลี่ยนแปลงในหลายมิติ

ไมโครไฟแนนซ์ได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว วัตถุประสงค์คือขยายสินเชื่อให้กับประชาชนในพื้นที่ห่างไกล ปี 2560 มียอดปล่อยสินเชื่อประมาณ 4 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 1 ใน 4 ของธนาคารพาณิชย์ทั้งหมด ปัจจุบันมีผู้ให้บริการทั้งหมด 68 ราย มี 5 รายที่ครองส่วนแบ่ง 80% โดยการปล่อยสินเชื่อจะแบ่งเป็น ภาคครัวเรือน 33% การเกษตร 30% และค้าปลีก 19% จากประชากรที่ใช้สินเชื่อ 1.7 ล้านคน ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา กัมพูชาได้เพิ่มทุนจดทะเบียนไมโครไฟแนนซ์ ทำให้ต้องหาพันธมิตรจากต่างประเทศมากขึ้น ผลดีคือ การบริการที่หลากขึ้นเพราะแข่งขันสูง เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การบริโภคภาคครัวเรือนเพิ่ม ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้นนักลงทุนไทยควรปรับกลยุทธ์ให้เหมาะกับโอกาสทางธุรกิจ เช่น พัฒนาระบบ e-payment เพื่อขยายช่องทางและเชื่อมต่อพื้นที่ห่างไกล โดยเฉาะสินค้าที่เป็นที่นิยมอย่างมอเตอร์ไซค์หรือเครื่องจักรทางการเกษตร

ที่มา: http://www.exim.go.th/doc/newsCenter/50318.pdf

31 ธันวาคม 2561

SME น่าลงทุนเวียดนาม เมื่อคนในประเทศกำลังซื้อสูงขึ้น

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงฮานอย เผยข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ (GSO) ที่ชี้ว่า กำลังซื้อของผู้บริโภคเวียดนาม เพิ่มขึ้นกว่า 9.31% ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 61 เมื่อแยกอัตราเงินเฟ้อออกไป โดยในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2561 ผู้บริโภคมีความต้องการสินค้าและบริการที่จำเป็นต้องใช้ในงานแต่งงาน, อุปกรณ์การเรียนในปีการศึกษาใหม่ และเสื้อผ้าสำหรับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง เป็นต้น นอกจากนี้ ชาวเวียดนามยังเพิ่มความต้องการในการปรับปรุงที่พัก เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับปีใหม่ ซึ่งกำลังซื้อที่สูงขึ้นส่งผลให้ราคาน้ำมันและการขนส่งที่เกี่ยวข้องปรับตัวสูงขึ้น 3.45% ส่วนตัวเลขดัชนีอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 9.31% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ทั้งนี้ รายได้จากการขายปลีกในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2561 เพิ่มขึ้นกว่า 12.2% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ประกอบกับผู้บริโภคใช้จ่ายด้านอาหารเพิ่มขึ้น 13.3% รองลงมา คือ เครื่องนุ่งห่ม, เครื่องใช้ภายในบ้าน, ผลิตภัณฑ์เพื่อการศึกษา และยานพาหนะ ตามลำดับ ส่งผลให้มีรายได้จากการให้บริการด้านที่พักอาศัยและอาหาร เพิ่มขึ้น 8.3% จากปีก่อน รายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 15.6% และรายได้อื่นๆ เพิ่มขึ้น 9.3% โดยเมืองที่ผู้บริโภคมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น ได้แก่ Ho Chi Minh, Hai Phong, Thanh Hoa และ Da Nang เป็นต้น

ที่มา : https://www.bangkokbanksme.com/en/17528

จะเข้าไปลงทุนและจ้างงานในกัมพูชา ก็ต้องรู้จักคนของประเทศเขา

ปัจจุบันกัมพูชามีวัยแรงงาน 9 ล้านคน จากประชากร 19 ล้านคน อัตราว่างอยู่ที่ 0.4 % ต่ำเป็นอันดับ 2 ของโลก ส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ ก่อสร้าง การท่องเที่ยว และการเกษตร มีกฎหมายแรงงานที่เข้มแข็ง ค่าแรงต่อเดือนอยู่ที่ 170 ดอลล่าร์สหรัฐและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่จบขั้นประถมศึกษาและขาดแคลนแรงงานด้านเทคนิคและวิศวกร จากข้อมูลบริษัทไทยที่เข้าไปลงทุนธุรกิจอาหารและวัสดุก่อสร้างจะนำสินค้ามาขายก่อนแล้วจึงตั้งโรงานเพื่อผลิตและส่งออก และให้คนท้องถิ่นบริหารเอง ทั้งนี้จะส่งบุคลากรไทยเพื่อมาสอนงานและวางระบบองค์กรก่อน ปัญหาที่พบ ขาดทักษะในด้านการปฏิบัติและการทำงานเป็นทีม คิดวิเคราะห์ไม่ได้ ให้ความสำคัญกับวันหยุดและเทศกาลต่างๆ ซึ่งจะไม่นิยมทำงานในวันหยุด และปัญหาคอร์รัปชันสูง ดังนั้นการลงทุนต้องศึกษาและเข้าใจวัฒนธรรมประเพณีและข้อควรปฏิบัติต่างๆ ก่อนการลงทุน

ที่มา: http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/644218

22 มีนาคม 2561

แสวงหาโอกาสการลงทุนในเมืองรองของเมียนมา

นับตั้งแต่เมียนมาออกกฎหมายว่าด้วยบริษัท (Myanmar Company Law) ที่ให้ต่างชาติเข้าถือหุ้นได้ 35% ตั้งแต่สิงหาคม ปี 2561 ส่งผลให้ย่างกุ้งเมืองเศรษฐกิจสำคัญเกิดการแข่งขันอย่างดุเดือด ราคาที่ดินพุ่งสูง ด้งนั้นเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงควรศึกษาการลงทุนในเมืองรองที่สำคัญๆ เช่น เมืองมัณฑะเลย์ มีประชากรมากถึง 1.7 ล้านคน จุดเด่นคือที่ตั้งสามารถเชื่อมโยงการค้าการลงทุนกับอย่างจีนและอินเดีย เมืองมะละแหม่ง จากจำนวนประชากร 1.2 ล้านคน จุดเด่นคือมีวัยแรงงานอยู่เป็นจำนวนมาก เหมาะแก่การตั้งฐานการผลิตและเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางเรือ สามารถกระจายสินค้าไปยังพื้นที่อื่นได้ด้วย ซึ่งปัจจุบันไทยลงทุนในการแปรรูปยาง เมืองมะริด อุดมไปด้วยทรัพยากรทางทะเล เช่น ไข่มุก หรือการประมง ซึ่งผู้ประกอบการไทยเข้าไปลงทุนเยอะ และการท่องเที่ยวสะดวกเพราะเดินทางได้ทั้งจากระนองและภูเก็ต จึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยในการเจรจาหาพันธมิตรร่วมลงทุน

ที่มา: http://www.exim.go.th/doc/adn/49914_0.pdf

31 กรกฎาคม 2561