เวียดนามเผย 5 เดือนแรกของปีนี้ ยอดการส่งออกพุ่ง 30.7%

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เผยว่ายอดการส่งออกสินค้าในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ อยู่ที่ 130.94 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 30.7% เมื่อเทียบเป็นรายปี จากตัวเลขทั้งหมดนั้น มาจากธุรกิจในประเทศ ประมาณ 33.06 พันล้านเหรียญสหรัฐ และธุรกิจที่ลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ อยู่ที่ 97.88 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าว มีสินค้าส่งออก 22 รายการที่มีมูลค่าการส่งออกแต่ละชิ้นกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนรวมกัน 87.3% ของยอดการส่งออกรวม ทั้งนี้ สินค้าอุตสาหกรรมหนักและแร่ธาตุ เป็นสินค้าส่งออกที่มีมูลค่ามากที่สุด ประมาณ 70.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 33 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว รองลงมาสินค้าอุตสาหกรรมเบาและหัตถกรรม (33%), สินค้าเกษตรและป่าไม้ (13.5%) และสินค้าประมง (12%) ในขณะเดียวกัน สหรัฐฯ ยังคงเป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ด้วยมูลค่า 37.6 ล้านเหรียญสหรัฐ รองลงมาจีน สหภาพยุโรปและอาเซียน ตามลำดับ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/export-turnover-grows-307-percent-in-five-months/202264.vnp

สินค้าเกษตรของเวียดนาม เป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภคชาวจีน

สินค้าทางการเกษตรของเวียดนาม เป็นที่ถูกปากของผู้บริโภคชาวจีนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เนื่องจากสินค้ามีคุณภาพที่ดี ตลอดจนการพัฒนาธุรกิจ รองหัวหน้าหน่วยงานส่งเสริมการค้า กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า กล่าวในที่ปะชุมออนไลน์ เมื่อวันที่ 26 พ.ค. ว่าจีนกลายมาเป็นตลาดส่งออกชั้นนำอันดับที่ 2 ของเวียดนาม ด้วยมูลค่าการส่งออกในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ อยู่ที่ 16.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 32.4% เมื่อเทียบเป็นรายปี นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งนำเข้ารายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม เพิ่มขึ้น 47.8% ท่ามกลางการระบาดของเชื้อไวรัส ทั้งนี้ ผัก กาแฟ ข้าว มันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากมันสำปะหลัง รวมถึงอาหารทะเล สินค้าเหล่านี้เป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของเวียดนามไปยังตลาดจีน

ที่มา : https://vov.vn/en/economy/vietnamese-agricultural-products-favoured-in-china-861199.vov

เวียดนามเผยช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ สิงคโปร์เป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุด

ตามข้อมูลของกระทรวงวางแผนและการลงทุน เผยว่าตั้งแต่ต้นปีนี้จนถึงวันที่ 20 พ.ค. ยอดการเบิกจ่ายโครงการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) เพิ่มขึ้น 6.7% เป็นมูลค่า 7.15 พันล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติส่วนใหญ่เข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูป มีมูลค่าถึง 6.14 พันล้านเหรียญสหรัฐ รองลงมาการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และค้าปลีกค้าส่ง โดยสิงคโปร์เป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ด้วยเม็ดเงิน 5.26 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 37.6% ของเงินลงทุนทั้งหมด ตามมาด้วยญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ นอกจากนี้ จังหวัดลองอาน (Long An) ถือเป็นแหล่งดึงดูดเม็ดเงินทุนจากต่างประเทศมากที่สุด ด้วยเงินทุนจดทะเบียนรวมทั้งสิ้น 3.35 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วน 23.9% ของทุนทั้งหมด ตามมาด้วยเมืองโฮจิมินห์ เก่นเทอ บินห์เดือง ไฮฟองและบั๊กเกียง

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/singapore-tops-list-of-foreign-investors-over-five-month-period-861182.vov

EIC CLMV Outlook Q2/2021

โดย ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC)

แม้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2021 จะเป็นแรงสนับสนุนสำคัญต่อการฟื้นตัวของภาคส่งออกในกลุ่ม CLMV แต่การระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 ในภูมิภาค ประกอบกับสถานการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในเมียนมาจะเป็นแรงกดดันสำคัญต่อเศรษฐกิจ CLMV ในปี 2021 โดยในส่วนของภาคส่งออกของ CLMV คาดว่าจะฟื้นตัวได้ดีตามทิศทางเศรษฐกิจและการค้าโลก โดยเฉพาะจากประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งเวียดนามมีแนวโน้มได้รับประโยชน์จากการส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้นมากสุดในภูมิภาค จากความแข็งแกร่งด้านการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ขณะที่ภาคเศรษฐกิจในประเทศ การระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 ในภูมิภาค CLMV ช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2021 จะเป็นแรงกดดันต่อกิจกรรมเศรษฐกิจในประเทศให้ปรับลดลง โดยในส่วนของเวียดนาม ภาครัฐสามารถควบคุมการระบาดในระลอกก่อนได้เป็นอย่างดี ทำให้เศรษฐกิจในประเทศไม่ได้รับผลกระทบมากนัก แต่ยังต้องจับตาการระบาดระลอกล่าสุดช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคมซึ่งเป็นความท้าทายสำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเวียดนามในระยะต่อไป ขณะที่ในกรณีของประเทศอื่น พบว่าเมียนมายังต้องเผชิญการระบาดที่ยืดเยื้อมาตั้งแต่เดือนกันยายนปี 2020 ส่วนกัมพูชาและ สปป.ลาวกำลังเผชิญการระบาดระลอกใหม่อย่างรุนแรงเป็นครั้งแรกในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2021 ทำให้รัฐบาลต้องใช้มาตรการ lockdown อย่างเข้มงวด ซึ่งส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศและเป็นตัวแปรสำคัญต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ CLMV ในปี 2021 นอกจากนี้ สถานการณ์การเมืองที่ทวีความรุนแรงขึ้นในเมียนมาก็มีแนวโน้มส่งผลกระทบอย่างหนักและยืดเยื้อต่อเศรษฐกิจ ทำให้ EIC ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจเมียนมาลงอย่างมีนัยสำคัญ

จากการที่ประเทศ CLMV น่าจะยังไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ได้ในภายในปี 2021 ดังนั้น การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ จึงขึ้นอยู่กับสองปัจจัยหลัก ได้แก่

  1. ขนาดและประสิทธิภาพของมาตรการกระตุ้นทางการคลังและการเงินเพื่อพยุงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและจำกัดผลกระทบจากแผลเป็นทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น และ
  2. ปัจจัยเสี่ยงรายประเทศ ได้แก่ ความรุนแรงทางการเมืองของเมียนมา และปัญหาหนี้สาธารณะใน สปป. ลาว

กัมพูชา : ปัจจัยบวก

  1. ภาคส่งออกจะกลับมาขยายตัวดีตามเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า
  2. รัฐบาลยังมีความสามารถทำนโยบายที่เพียงพอ ทำให้สามารถออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจได้ต่อเนื่อง

กัมพูชา : ปัจจัยลบ

  1. การระบาดระลอกใหม่ที่รุนแรงของ COVID-19 และมาตรการ lockdown ที่กลับมาเข็มงวดจะจำกัดการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
  2. การฟื้นตัวจะยังคงอยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยช่วงก่อนหน้า เนื่องจากภาคการท่องเที่ยวซึ่งเป็นภาคเศรษฐกิจหลักมีแนวโน้มซบเซา

สปป.ลาว : ปัจจัยบวก

  1. การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานโครงการใหญ่ๆ จะเป็นแรงสนับสนุนหลักของการเติบโตในปีนี้
  2. การส่งออกมีแนวโน้มได้อานิสงค์จากเศรษฐกิจประเทศเพื่อนบ้านที่ฟื้นตัวดีขึ้น และจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เพิ่มสูงขึ้น

สปป.ลาว : ปัจจัยลบ

  1. การยกระดับมาตรการ lockdown จะสร้างแรงกดดันต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจและทำให้การปิดพรมแดนยืดเยื้อออกไปอีก
  2. หนี้สาธารณะที่อยู่ในระดับสูงจะจำกัดความสามารถในการทำนโยบายการคลังในการกระตุ้นเศรษฐกิจ

เมียนมา : ปัจจัยลบ

  1. การปราบปรามของรัฐบาลทหารและขบวนการอารยะขัดขืนโดยมวลชน (CDM) จะส่งผลต่อการบริโภคภาคเอกชน
  2. ธุรกิจและโรงงานหลายแห่งปิดตัวลง จากปัญหาขาดแคลนแรงงานและแนวโน้มเศรษฐกิจที่ปรับตัวแย่ลง
  3. บริษัทต่างชาติมีแนวโน้มยับยั้งคำสั่งซื้อและเลื่อนโครงการลงทุนออกไป เพราะอาจเสี่ยงต่อชื่อเสียงองค์กร
  4. นโยบายการคลังที่เป็นข้อจำกัดและทิศทางเศรษฐกิจที่ไม่ชัดเจนและสร้างความไม่แน่นอนอย่างต่อเนื่องในระยะกลาง

เวียดนาม : ปัจจัยบวก

  1. ภาคส่งออกเติบโตแข็งแกร่งจากการส่งออกสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูง ยังคงเป็นปัจจัยขับปัจจัยขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจ
  2. กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ถอดเวียดนามออกจากรายชื่อประเทศผู้บิดเบื่อนค่าเงิน ส่งสัญญาที่ดีต่อการค้าเวียดนาม-สหรัฐฯ
  3. FDI เข้าเวียดนามส่งสัญญาฟื้นตัวแข็งแกร่งตามแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจ และความสามารถในการเข้าถึงตลาดใหม่ๆ ผ่านข้อตกลงการค้า รวมถึงจำนวน/ฐานผู้บริโภคขนาดใหญ่

เวียดนาม : ปัจจัยลบ

  1. การควบคุมการระบาดของ COVID-19 หลานคลัสเตอร์ในเดือนเมษายน-พฤษภาคมยังเป็นประเด็นที่ต้องจับตามอง

อ่านต่อ : https://www.scbeic.com/th/detail/product/7594

เวียดนามเผย 4 เดือนแรก ยอดส่งออกไม้ พุ่ง 50.5%

กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท เผยว่ายอดการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ทำมาจากไม้ แตะ 4.99 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้น 50.5 เมื่อเทียบเป็นรายปี สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ เป็นผู้นำเข้าไม้รายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม คิดรวมกันเป็นสัดส่วน 87.1% ของยอดการส่งออกรวม นอกจากนี้ ในปัจจุบัน เวียดนามมีจำนวนผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจด้านการผลิตและแปรรูปไม้ประมาณ 12,000 แห่ง ด้วยจำนวนพนักงานราว 500,000 คน และจำนวนเงินทุนทางด้านการผลิต 320 ล้านล้านดอง (14 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ซึ่งมีมูลค่าสินทรัพย์ถาวรมากกว่า 120 ล้านล้านดอง และรายได้สุทธิเกือบ 360 ล้านล้านดอง

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/wood-exports-post-505percent-surge-in-four-months/202061.vnp

“เวียดนาม-ญี่ปุ่น” จับมือร่วมส่งเสริมการดำเนินงาน ภายใต้ข้อตกลง CPTPP

เวียดนามและญี่ปุ่นได้ตกลงที่จะส่งเสริมความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด เพื่อดำเนินการตามความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) ซึ่งได้บรรลุฉันทานมติมาจากการเจราทางโทรศัพท์ระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการฟื้นฟูเศรษฐกิจของญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคมที่ผ่านมา อีกทั้ง เวียดนามยอมรับที่จะสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่นักลงทุนชาวญี่ปุ่นที่ต้องการลงทุนในเวียดนาม และการเคลื่อนไหวดังกล่าวนั้น ช่วยให้เวียดนามกลายเป็นจุดเชื่อมโยงที่สำคัญในห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจญี่ปุ่น โดยเฉพาะสาขาผลิตยานยนต์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ทางการแพทย์ เสื้อผ้าและสิ่งทอ สิ่งเหล่านี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อความสัมพันธ์แบบทวิภาคีทั้งทางเศรษฐกิจและการค้า

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-japan-to-work-closely-for-effective-implementation-of-cptpp/202091.vnp

โอกาสการส่งออกข้าวของเวียดนามในตลาดฟิลิปปินส์

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม ระบุว่าฟิลิปปินส์ปรับลดอัตราภาษีนำเข้าข้าว ช่วยเปิดโอกาสแก่ธุรกิจเวียดนามคงอุปทานให้มีเสถียรภาพและปกป้องตลาดในประเทศ อย่างไรก็ตาม ภาวะการแข่งขันทางด้านราคาที่รุนแรงของผู้ส่งออกแบบดั้งเดิม ได้แก่ ไทยและอินเดีย ทำให้ทางกระทรวงฯ ได้เรียกร้องให้ผู้ประกอบการในประเทศเร่งร่วมมือกับครัวเรือนเกษตร เพื่อลดต้นทุนและยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขัน ในขณะเดียวกัน ผู้ส่งออกควรศึกษาและปฏิบัติตามกฎระเบียนที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ยังต้องมั่นติดตามตลาดอยู่เสมอ เนื่องจากการปรับลดอัตราภาษีของฟิลิปปินส์สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา และจัดทำแผนป้องกันความเสี่ยงทางธุรกิจ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/opportunities-for-vietnam-to-maintain-stable-rice-export-to-philippines/201927.vnp