มัณฑะเลย์ดึงดูดนักท่องเที่ยวกว่าครึ่งล้านคน

10 เดือนแรกของปีนี้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติมากกว่า 500,000 คน มาเยือนมัณฑะเลย์ และคาดมีจำนวนถึง 600,000 คนในปีนี้ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวมากขึ้นจำเป็นต้องมีการขนส่งที่ดีขึ้นและลดขั้นตอนการขอวีซ่า เนื่องจากเดือนที่เหลือของปีนี้เป็นฤดูท่องเที่ยวจำนวนอาจเพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ ส่วนใหญ่เป็นชาวจีนเกือบ 400,000 คนตามด้วยชาวสเปน เยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาลี อเมริกัน และอินเดีย สำหรับมาตรการผ่อนคลายวีซ่ามีผลบังคับใช้ไปเมื่อปีที่แล้วเพื่อความสะดวกในการเดินทางเข้าประเทศสำหรับนักท่องเที่ยวชาวจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น และมีแผนผ่อนคลายวีซ่าสำหรับชาวตะวันตกอีกด้วย ชาวยุโรปเริ่มให้ความสนใจในการมาเยือนมากขึ้นหลังจากที่เขตโบราณคดีพุกามในมัณฑะเลย์ได้รับยกระดับเป็นมรดกโลกเมื่อต้นปีที่ผ่านมา แม้ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจะเพิ่มขึ้นแต่สำคัญคือต้องคำนึงถึงคุณภาพของนักท่องเที่ยวด้วย ดังนั้นมัณฑะเลย์จึงต้องการนักท่องเที่ยวที่เชื่อฟังกฎระเบียบและไม่ทำลายสภาพแวดล้อม

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/mandalay-attracts-over-half-million-tourists.html

บริษัทเริ่มใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิตการเกษตรในรัฐฉาน

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา AEG Agriculture ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MoU) ร่วมมือกันในการลงทุนกับรัฐฉาน ถือเป็นการเริ่มต้นในการให้บริการเทคโนโลยีแก่การเกษตรในท้องถิ่น ด้วยการใช้ระบบความแม่นยำที่ชาญฉลาด HydroPlant ที่จะให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับสภาพอากาศ สภาพดิน และรายละเอียดอื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับการเพาะปลูก ระบบอัจฉริยะนี้นำเสนอข้อมูลที่เกษตรกรต้องการผ่านสมาร์ทโฟนรวมถึงระบบควบคุมอัตโนมัติ AEG Agriculture ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่ 5,000 ไร่ในรัฐฉานด้วยความช่วยเหลือจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ซึ่งสามารถบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เมื่อต้นปีที่ผ่านมา HydroPlant ได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในห้าเทคโนโลยีที่เข้าร่วมโครงการ Cohort 3 ของ Phandeeyar Accelerator สตาร์ทอัพรุ่นใหม่ ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นและเติบโตเทคโนโลยีใหม่ๆ ของเมียนมา

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/firms-use-technology-optimise-agriculture-yields-shan.html

มูลค่าการค้าโดยรวมเพิ่มขึ้นราว 590 ล้านเหรียญสหรัฐ

รายงานของกระทรวงพาณิชย์ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.ถึง 15 พ.ย.ของปีงบประมาณนี้มูลค่าการค้ารวมแตะที่ 4.598 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้น 587.875 ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ขาดดุลการค้าเกือบ 20 ล้านเหรียญสหรัฐ แบ่งเป็นมูลค่าการส่งออกถึง 2.289 พันล้านเหรียญสหรัฐในขณะที่มูลค่าการนำเข้าแตะ 2.309 พันล้านเหรียญสหรัฐ ดุลการค้าขาดดุลลดลงกว่า 550 ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ เกษตร, สัตว์, ทะเล, ป่าไม้, เหมืองแร่, ธุรกิจเสื้อผ้าแบบ Cutting Marking Packaging (CMP) และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ สินค้านำเข้า ได้แก่ สินค้าทุน วัตถุดิบ และวัตถุดิบ CMP มูลค่าการค้าโดยรวมคาดว่าจะสูงถึง 34 พันล้านเหรียญสหรัฐในปีงบประมาณ 62-63 การส่งออกสามารถทำรายได้มากถึง 18 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 62-62 มูลค่าการค้ารวมแตะที่ 34,979 ล้านเหรียญสหรัฐสูงกว่าเป้าหมายที่ 31.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/total-trade-value-increases-by-around-590-m

นโยบายใหม่ต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมเหล็กเมียนมา

บริษัท ผู้ผลิตเหล็กระหว่างประเทศในเขตเศรษฐกิจพิเศษติลาว่า กำลังมองหาโอกาสเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านการผลิตเหล็กในมีเพียง 50,000 ตัน แต่ยังมีศักยภาพมากเนื่องจากประเทศยังต้องการการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานจำนวนมากซึ่งต้องใช้เหล็ก โอกาสการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) จึงมีแนวโน้มที่ดี คาดเติบโต 7% โดยได้รับการสนับสนุนจากธนาคารโลก ตลาดจะพัฒนาหากมีการสนับสนุนการผลิตเหล็ก ตอนนี้ส่วนใหญ่นำเข้าเป็นหลักซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตในอุตสาหกรรมท้องถิ่น ความต้องการอยู่ที่ประมาณ 2 ล้านถึง 2.5 ล้านตันต่อปี มากกว่า 90 % จากการนำเข้า อีกไม่กี่ปีความต้องการเหล็กจะเพิ่มขึ้นและทำไมต้องนำเข้าทั้งที่ผลิตได้เอง แต่ปัญหาคือการนำเข้าได้รับการยกเว้นภาษีซึ่งทำให้แข่งขันได้ยาก การนำเข้าส่วนใหญ่มาจากเวียดนามซึ่งได้รับการปกป้องด้วยนโยบายและกฎระเบียบ หากนโยบายที่คล้ายคลึงกันถูกนำไปใช้ในการผลิตเหล็กในประเทศจะเพิ่มขึ้นถึงห้าเท่าคือ 50,000, 000 ตันภายในสิบปี หากการผลิตเหล็กเติบโตขึ้นจะสามารถยับยั้งการไหลออกของเงินสำรองต่างประเทศและกลายเป็นผู้ส่งออกเหล็กได้ สามารถเพิ่มการจ้างงานและการเติบโตทางเศรษฐกิจ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/new-policies-needed-unleash-growth-steel-industry.html

ธนาคารเพื่อการท่องเที่ยวเมียนมาปล่อยสินเชื่อให้สมาคมการท่องเที่ยว

ธนาคารการท่องเที่ยวแห่งเมียนมา (MTB) ประกาศว่าจะเริ่มปล่อยกู้แก่สมาชิกสมาคมการท่องเที่ยวแห่งสหภาพเมียนมา (UMTA) ในเดือนนี้ MTB ประกาศสินเชื่อ SMEs สำหรับสมาชิก UMTA ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทท่องเที่ยวและการท่องเที่ยว อัตราดอกเบี้ยสำหรับสินเชื่อแบบไม่มีหลักประกันกำหนดไว้ที่ 13% ต่อปีและผู้สมัครจะต้องทำประกันสำหรับสินเชื่อ (CGI) จากเมียนมาประกันภัย จำนวนเงินสูงสุดของสินเชื่ออยู่ที่ 20 ล้านจัต ด้วยเป็นธนาคารที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวจึงมุ่งปล่อยสินเชื่อให้กับภาคนี้ แต่ยังวางแผนที่จะให้การสนับสนุนแก่ภาคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและธุรกิจอื่น ๆ ในมุมมองนักธุรกิจคิดว่าอัตราเงินกู้สูงเกินไป แต่ก็ประสบปัญหาในการขอสินเชื่อกับธนาคารอื่น จากสถิติของกระทรวงโรงแรมและการท่องเที่ยวมี บริษัทท่องเที่ยวและการท่องเที่ยวมากกว่า 2,500 แห่ง แต่ส่วนใหญ่เป็น SMEs ในขณะเดียวกัน UMTA มีสมาชิกประมาณ 1,000 คน MTB เป็นหนึ่งในห้าธนาคารเฉพาะกิจที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารกลางของเมียนมา (CBM) ในปี 60 ก่อตั้งขึ้นโดย บริษัท การท่องเที่ยวสาธารณะ วัตถุประสงค์เพื่อปล่อยสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อช่วยเหลือภาคการท่องเที่ยว

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/bank-provide-tourism-association-members-no-collateral-loans.html

การลงทุนการศึกษาในเมียนมา

เมื่อหลายวันก่อนสถาบันที่ปรึกษาอัจฉริยะด้านการค้าและการลงทุน (AITI) ของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้ส่งผู้ประกอบการที่ต้องการจะไปลงทุนในเมียนมา มาขอคำปรึกษาจากทั้งหมด 3 ราย หนึ่งในนั้นเป็นผู้ประกอบการที่อายุยังน้อยทำธุรกิจเกี่ยวกับโรงเรียนกวดวิชาที่มีการสอนด้านภาษา ด้านดนตรี ด้านวิชาการและสันทนาการเข้ามาปรึกษาขายแฟรนไชส์การศึกษาที่เมียนมา มีความเป็นไปได้หรือไม่ ซึ่งอยากให้เขาทำการบ้านให้มากกว่านี้ แล้วค่อยมาปรึกษากันใหม่ เมียนมามีความเสี่ยงมากเพราะการศึกษาของเมียนมาต่างจากที่อื่น เมียนมาเรียนในระบบ 6-2-2 ไม่เหมือนไทยที่เรียนระบบ 6-3-3 การสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่จะไม่ใช้วิธีการสอบเอนทรานส์ ที่นั่นใช้วิธีวัดผลสอบ โดยเอาคะแนนการสอบปลายปีของปี 10 มายื่นเรื่องขอเรียนต่อในมหาวิทยาลัยได้เลย ข้อสอบจากส่วนกลางจะส่งตรงไปที่เขตจังหวัดเลย ข้อดีคือไม่ซ้ำซ้อน และไม่ต้องสิ้นเปลืองทรัพยากรมากแต่ต้องซื่อสัตย์ การเรียนการสอนของที่เมียนมาคุณภาพจึงเข้มข้นมากๆ ตำราเรียนคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ที่นี่ใช้ตำราเรียนเป็นภาษาอังกฤษ เด็กจึงมีคุณภาพ จบแค่ปี 8 ก็สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ จบจากที่นี่สามารถสอบเข้าเรียนที่สิงคโปร์ ออสเตรเลีย อังกฤษ สหรัฐอเมริกาได้เลย ถ้ามีฐานะดีมักจะคาดหวังที่สี่ประเทศดังกล่าวเป็นอันดับต้นๆ ส่วนที่มีฐานะรองลงมาหรือคนในรัฐฉานที่เป็นไทยใหญ่ ก็ต้องมาที่ประเทศไทยเพราะถูกดีและสามารถพูดไทยได้ อันดับแรกเลยคือต้องทำการสำรวจตลาดก่อน ด้วยการเดินตามโรงเรียนเอกชนต่างๆ และโรงเรียนอินเตอร์อาจจะซึ่งอาจไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายก็เป็นได้ เพราะถ้าสามารถเรียนโรงเรียนอินเตอร์ เป้าหมายไปไกลแล้ว การศึกษาของเราน่าจะสู้สิงคโปร์ลำบาก จากนั้นค่อยมาวางแผนว่าวิสัยทัศน์ว่าจะเดินไปอย่างไร น่าจะเป็นทางออกที่เสี่ยงน้อยกว่า

ที่มา: https://www.posttoday.com/aec/trade/607276

การกระตุ้นเศรษฐกิจของเมียนมา

การใช้นโยบายลดความร้อนแรงในตลาดอสังหารัมทรัพย์ ในช่วงปี 58 เพราะในช่วงดังกล่าวการเก็งกำไรทำให้ราคาของอสังหาริมทรัพย์ ราคากระโดดไปสูงมาก ทำให้การลงทุนในภาคการผลิตก็หยุดชงักลง ดังนั้นจึงออกมาตรการกฎหมายเงินขาว-เงินดำ คือให้จ่ายภาษีซื้อ-ขายอสังหาริทรัพย์ด้วยอัตรา 30% ทำให้เกิดการชะงักทันที เกิดปัญหาในตลาดอสังหาฯ ในย่างกุ้งเพราะเมื่อไม่มีการซื้อขาย ทำให้กระแสเงิน M1 M2 M3 ขาดไปจากตลาดจนเกิดปัญหาเงินฝืด การลงทุนภาคการผลิตลดลง จับจ่ายใช้สอยของประชาชนฝืดเคืองลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงมีกฎหมายใหม่ออกมา โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ต.ค. 62 นี้ คือลดภาษีซื้อ-ขายสินค้าทุกชนิดรวมถึงอสังหาริมทรัพย์ ในอัตราก้าวหน้าทั้งหมด กล่าวคือ การซื้อขาย ตั้งแต่ 1 ล้านถึง 100 ล้าน ให้เสียภาษี 3% 101 ล้านถึง 300 ล้าน ให้เสียภาษี 5% 301 ล้านถึง 1,000 ล้าน ให้เสียภาษี 10% 1001 ล้านถึง 3,000 ล้าน ให้เสียภาษี 15% 3001 ล้านขึ้นไป ให้เสียภาษี 30% สิ่งที่ตามมา คือ ภาษีน้อยลงไปทันที ราคาสินค้าถูกลง สิ่งที่จะตามมาคือกลับเข้าสู่ภาคเงินออม Saving Money เงินเหล่านี้มีบางส่วนจะเข้าไปกระตุ้นเศรษฐกิจในรูปของการบริโภค เมียนมาเพียงลดอัตราดอกเบี้ยลง คนก็จะไม่นิยมฝากเงิน เพราะได้ไม่มากเท่าการนำเงินไปลงทุนในภาคการผลิตซึ่งจะส่งผลไปยังภาคการผลิตทันที ถ้าจะเปรียบเทียบกับประเทศอื่นแล้ว รัฐบาลมีอิสระในการจัดการแก้ปัญหา เพียงแต่ปัญหาของเมียนมาเริ่มมีมานานเกือบ 70 ปีมาแล้ว

ที่มา: https://www.posttoday.com/aec/trade/603433