กัมพูชาเรียกร้องให้มีการพัฒนาพื้นที่ใกล้สนามบินเพิ่มเติม

รัฐบาลกัมพูชาเรียกร้องให้นักพัฒนาภาคอสังหาริมทรัพย์ให้ความสำคัญกับโครงการพัฒนาในพื้นที่ของสนามบินนานาชาติแห่งใหม่ใกล้เมืองหลวง โดยรัฐบาลสนับสนุนความร่วมมือระหว่างนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งรัฐบาลมองว่าภาคเอกชนมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในกัมพูชาในปัจจุบัน ซึ่งสนามบินนานาชาติพนมเปญแห่งใหม่ตั้งอยู่ในจังหวัดทางตอนใต้ของกรุงพนมเปญ อยู่ระหว่างการพัฒนาโดย Cambodia Airport Investment Co Ltd. ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างกลุ่ม บริษัท ในท้องถิ่น OCIC และสำนักงานเลขาธิการการบินพลเรือนแห่งรัฐของรัฐบาล โดยมูลค่าโครงการเพื่อการลงทุนอยู่ที่ 1.5 พันล้านดอลลาร์ ตามตัวเลขของกระทรวงการจัดการที่ดินการวางผังเมืองและการก่อสร้างมีโครงการกว่า 2,522 โครงการที่ได้รับการอนุมัติในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ด้วยมูลค่ากว่า 3.842 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจาก 1,047 โครงการ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นการเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 13.26

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50756645/call-for-more-development-near-capitals-new-airport/

การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชากับไทยในช่วง 7 เดือนแรก

การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและไทยมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 4,555 ล้านดอลลาร์ ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ลดลงร้อยละ 10.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนกรกฎาคมกัมพูชาส่งออกสินค้าไปยังประเทศไทยมูลค่า 839 ล้านดอลลาร์ ลดลงเมื่อเทียบเป็นรายปีที่ร้อยละ 21.13 ตามประกาศตัวเลขของกระทรวงพาณิชย์ของไทย ซึ่งกัมพูชานำเข้าสินค้าจากไทยทั้งสิ้น 3,716 ล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 7.27 เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยเมื่อปีที่แล้วการค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชากับไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.28 สู่ 9,418 ล้านดอลลาร์  ซึ่งคิดเป็นกัมพูชาส่งออก 2,272 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 195

ที่มา : https://en.khmerpostasia.com/2020/08/25/cambodia-thailand-bilateral-trade-reaches-us4-5-billion-in-first-seven-months/

การพัฒนาท่าเรือสีหนุวิลล์สู่การเชื่อมต่อทางการค้าโลกของกัมพูชา

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นกล่าวถึงการพัฒนาท่าเรือสีหนุวิลล์มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเพิ่มการเชื่อมต่อภายในระเบียงเศรษฐกิจตอนใต้ รวมถึงส่งเสริม อินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง โดยกระทรวงการต่างประเทศของกัมพูชากล่าวว่าความคืบหน้าของโครงการสำคัญในกัมพูชาได้มีการอัพเดทและหารือกันในที่ประชุม ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อขยายกิจกรรมการลงทุนบนโครงสร้างพื้นฐานและเพิ่มการค้าระหว่างประเทศให้มากขึ้น โดยเมื่อปีที่แล้วองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) ได้ลงนามในบันทึกความร่วมมือว่าด้วยความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ในด้านท่าเรือ ซึ่ง JICA กล่าวในแถลงการณ์เมื่อปีที่แล้วเนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมากในกัมพูชาทำให้ท่าเรือสีหนุวิลล์กลายเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ในประเทศและในภูมิภาคที่สำคัญมากขึ้น ปริมาณการขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์ประจำปีที่ท่าเรือเพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 540,000 ตู้สินค้า (TEU) ในปี 2018 จาก 290,000 TEU ในปี 2013 ซึ่ง JICA จะยังคงจัดหาเงินทุนและความร่วมมือในรูปแบบต่างๆ เช่น โครงการเงินกู้อย่างเป็นทางการเพื่อให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนา (ODA) ที่เรียกว่า “โครงการพัฒนาท่าเรือคอนเทนเนอร์ใหม่สีหนุวิลล์” และโครงการให้ความช่วยเหลือที่เรียกว่า “The Project for Port electronic data interchange (EDI) for Port Modernization” เพื่อพัฒนาท่าเรือสีหนุวิลล์ต่อไป

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50756097/development-of-sihanoukville-port-key-to-more-connectivity/

การเติบโตด้านการผลิตเกลือในจังหวัดกัมปอตของกัมพูชา

จังหวัดกัมปอตผลิตเกลือได้ประมาณ 84,000 ตันในปีนี้ เพื่อป้อนตลาดภายในประเทศตามรายงานของสำนักฟาร์มเกลือกรมอุตสาหกรรมวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมประจำจังหวัดกัมปอต โดยกัมพูชามีกลุ่มผู้ผลิตเกลือประมาณ 179 กลุ่ม (คิดเป็นเกษตรกร 1,650 ราย) ซึ่งมีฟาร์มเกลืออยู่จำนวน 3,726 เฮกตาร์ ในกัมปอต ซึ่งในจำนวน 83,969 ตัน มีการขายและกระจายสินค้าไปทั่วประเทศ 44,822 ตัน ส่วนที่เหลืออีกกว่า 39,000 ตัน ถูกเก็บไว้ในสต็อกเพื่อรองรับความต้องการในอนาคต โดย ณ ตอนนี้เกลือ 1 กระสอบ (ประมาณ 50 กิโลกรัม) ขายได้ในราคา 2 ถึง 2.50 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งในปี 2561 กัมพูชานำเข้าเกลือประมาณ 30,000 ตัน เพื่อรองรับความต้องการในท้องถิ่น โดยทำการนำเข้าจากจีนมากถึง 10,000 ตัน และอินเดีย 20,000 ตัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50756098/good-weather-proves-savoury-for-salt-farmers-in-kampot/

กัมพูชาและเวียดนามร่วมพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการค้าชายแดน

นายกรัฐมนตรีประจำประเทศเวียดนามได้ออกแผนการดำเนินการบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการพัฒนาและการเชื่อมต่อโครงสร้างพื้นฐานด้านการค้าชายแดนระหว่างเวียดนามและกัมพูชา โดยการดำเนินการเริ่มต้นในวันที่ 19 สิงหาคม และจะมีผลจนถึงเดือนตุลาคม 2022 ซึ่งกระทรวงที่เกี่ยวข้องถูกกำหนดให้จัดกิจกรรมรณรงค์ด้านการสื่อสารเพื่อสร้างความตระหนักในเนื้อหาของบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการค้าชายแดนเวียดนาม – กัมพูชา เพื่อส่งเสริมการค้ากับกัมพูชา และแบ่งปันข้อมูลระหว่างกัน รวมถึงจัดหลักสูตรการฝึกอบรม ซึ่งในปี 2021 และ 2022 ทั้งสองประเทศจะทำการสำรวจการสร้างตลาดชายแดน ดำเนินกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้นักธุรกิจเวียดนามและกัมพูชาลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านการค้าชายแดน เพิ่มกิจกรรมส่งเสริมการค้าและการลงทุนที่เกี่ยวข้อง และ บริษัท สนับสนุนในการแนะนำและกระจายสินค้าที่ตลาดชายแดน ศูนย์การค้า และงานแสดงสินค้า โดยเวียดนามและกัมพูชามีพรมแดนทางบกยาวเกือบ 1,137 กม. ผ่าน 10 จังหวัดของเวียดนาม และ 9 จังหวัดของกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50755887/cambodia-and-vietnam-to-develop-infrastructure-to-facilitate-border-trade/

การท่องเที่ยวภายในประเทศในช่วงวันขึ้นปีใหม่กัมพูชา

การท่องเที่ยวภายในประเทศดึงดูดผู้เดินทางมากกว่า 1.4 ล้านคน ทั้งคนในท้องถิ่นและชาวต่างชาติที่พักอาศัยอยู่ภายในประเทศในช่วงสัปดาห์ก่อนของวันขึ้นปีใหม่ประจำปีของกัมพูชา โดยประธานสมาคมตัวแทนการท่องเที่ยวแห่งกัมพูชา (CATA) กล่าวว่าในช่วงวันหยุดที่ผ่านมามีส่วนช่วยภาคการท่องเที่ยวเป็นอย่างมากหลังจากได้รับผลกระทบจากการระบาดในปัจจุบัน แต่ด้วยความร่วมมือที่ดีระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รัฐบาล และภาคเอกชน ทำให้ในช่วงวันหยุดประชาชนรู้สึกปลอดภัย ในขณะที่ผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยวก็ให้ความสนใจเป็นอย่างมากในการปฏิบัติตามมาตรการด้านความปลอดภัยของรัฐบาลส่งผลให้ผู้คนภายในประเทศกล้าที่จะเดินทางไปเที่ยวยังจุดท่องเที่ยวต่างๆทั่วประเทศ แต่ถึงอย่างไรผู้สังเกตการณ์ด้านการท่องเที่ยวคาดการณ์ว่ากัมพูชาจะสูญเสียรายได้จากนักท่องเที่ยวราว 3 พันล้านดอลลาร์ เนื่องจากไม่มีนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 7 ปีในการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50756096/internal-travellers-breathe-fresh-air-into-tourism/

ความต้องการด้านพลังงานของกัมพูชาลดลงในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2020

ความต้องการด้านพลังงานลดลงในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2020 เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ซึ่งทำให้โรงงาน สิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว รวมถึงโรงแรมต้องปิดตัวลงส่งผลให้การใช้พลังงานภายในประเทศลดลง โดยการใช้พลังงานตั้งแต่เดือนมกราคมถึงมิถุนายนเฉลี่ยอยู่ที่ 33 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ซึ่งในช่วงเวลาเดียวกันแหล่งจ่ายไฟทั้งหมดอยู่ที่ประมาณ 1,700 เมกะวัตต์ ลดลงจาก 1,900 เมกะวัตต์ ในช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ถึงอย่างไรดังรายงานของกระทรวงฯพบว่าการจ่ายไฟเพิ่มขึ้นจาก 2,635 เมกะวัตต์ ในปี 2018 สู่ 3,382 เมกะวัตต์ ในปี 2019 ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 28 เมื่อเทียบเป็นรายปี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50755733/cambodias-energy-demand-drops-in-h1-of-2020/