ธนาคารเพื่อการพัฒนาการเกษตรแห่งเมียนมาขยายเวลาการชำระเงินกู้ของเกษตรกร

ธนาคารเพื่อการพัฒนาการเกษตรแห่งประเทศเมียนมา (MADB) ประกาศจะขยายระยะเวลาการชำระคืนสำหรับฤดูเก็บเกี่ยวในฤดูหนาวไปอีกสามเดือน จาก มิ.ย. ถึง 15 ก.ย. ของปีนี้ เพื่อรอราคาที่ดีขึ้น เงินกู้ยืมได้ครอบคลุมสำหรับพืชอื่น ๆ ได้แก่ เนยถั่ว ถั่วสีเหลือง งา ทานตะวัน หัวหอม และพริก เพราะพืชเหล่านี้มีการส่งออกและบริโภคภายในประเทศสูง ทั้งนี้พื้นที่เพาะปลูกสามารถใช้เป็นหลักประกันให้มีเครดิตที่ดี ปัจจุบัน MADB ให้สินเชื่อสูงถึง 150,000 จัตต่อเอเคอร์กรณีของข้าวและ 100,000 จัตต่อเอเคอร์สำหรับพืชอื่น ๆ สินเชื่อสำหรับข้าวเพิ่มขึ้นจาก 100,000 จัตเป็น 150,000 จัตในปี 59 และพืชอื่น ๆ จาก 50,000 จัตเป็น 100,000 จัตในปี 61 MADB ให้สินเชื่อแก่เกษตรกรตาม 3 ฤดูกาลเพาะปลูกหลัก ได้แก่ ช่วงมรสุม ก่อนช่วงมรสุมและฤดูหนาว อนึ่งการชำระคืนของเกษตรกรลดลงตั้งแต่ปี 55 เนื่องจากภัยธรรมชาติ เช่น ฝนตกหนัก น้ำท่วม ภัยแล้ง และการระบาดของศัตรูพืช หากไม่สามารถชำระคืนเงินได้สามารถชะลอการชำระโดยต้องได้รับอนุมัติจากผู้บริหารหมู่บ้าน กรมวิชาการเกษตร และกรมการจัดการที่ดินและสถิติการเกษตร

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/bank-loosens-repayment-period-farmers.html

MIC อนุมัติการลงทุนในประเทศและต่างประเทศ 8 แห่งมูลค่าสูงกว่า 270 ล้านเหรียญสหรัฐ มากกว่า 150 พันล้านจัต

ในระหว่างการประชุม (ครั้งที่ 19/2562) คณะกรรมาธิการการลงทุนของเมียนมา (MIC) ได้อนุมัติการลงทุนในประเทศและต่างประเทศแปดแห่งมูลค่า 279.88 ล้านดอลลาร์สหรัฐและสูงกว่า 156 พันล้านจัตสร้างงานในท้องถิ่นได้ถึง 33,279 อัตรา เป็นการลงทุนในที่อยู่อาศัย บริการการศึกษา อุตสาหกรรม และการเกษตร เป้าหมายการลงทุนสำหรับปีงบประมาณ 62-63 จะเกิดขึ้นเนื่องจากโครงการโครงสร้างพื้นฐานแม้จะมีการเลือกตั้งทั่วไปในปีหน้า การเลือกตั้งของเราในปีหน้าประชาคมระหว่างประเทศจะรอดูผลการเลือกตั้งและสถานการณ์ของรัฐบาลใหม่ ซึ่งเป็นปกติของ บริษัทข้ามชาติที่รอเฝ้าดูสถานการณ์ อย่างไรก็ตามยังชี้ให้เห็นถึงการมีอยู่ของ Project Bank ที่จัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาล ซึ่งรวมถึงโครงการระดับชาติและโครงการระดับกระทรวง สำหรับโครงการโครงสร้างพื้นฐานจะเชิญนักลงทุนในปีหน้าโครงการเหล่านั้นต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากซางโครงการเหล่านั้นจะมีผลประโยชน์แม้จะมีการเลือกตั้ง เป้าหมายการลงทุนสามารถบรรลุได้หากโครงสร้างพื้นฐาน น้ำมันและก๊าซ และการสื่อสารได้รับการพิจารณา

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/mic-approves-8-local-and-foreign-investments-worth-over-us270m-over-k150bn

เศรษฐกิจเมียนมาขยายตัว 7.1% ในปีนี้

เศรษฐกิจของเมียนมาคาดขยายตัว 6.8% ระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 61 ถึงวันที่ 30 ก.ย. 62 เทียบกับ 6.5 % ในปีที่แล้วตามรายงานของสำนักงานวิจัยเศรษฐกิจมหภาคของอาเซียน +3 (AMRO) ซึ่งได้รับแรงหนุนจากความเชื่อมั่นทางธุรกิจการเติบโตในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มและผลิตภัณฑ์การผลิตอื่น ๆ การบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชียคาดการณ์ว่าจะขยายตัว 6.6% สำหรับปีงบประมาณ 61-62 และ 6.8% ในปี 63-64 ส่วน IMF คาดว่าการเติบโตจะอยู่ที่ 6.4% ในปีงบประมาณ 61-62 และถ้าการใช้จ่ายภาครัฐเพิ่มขึ้น.ในปี 62-63จะเติบโต 6.6 ผลกระทบจากความต้องการที่ลดลงจากจีนเนื่องจากสงครามการค้า แต่ก็ยังได้รับประโยชน์จากเงินลงทุนเนื่องจากการย้ายฐานการผลิตและหากสามารถปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ แต่โครงสร้างพื้นฐานเป็นสิ่งที่ยากลำบาก ธนาคารกลางของเมียนมา (CBM) ควรปรับอัตราแลกเปลี่ยนให้สอดคล้องกับกลไกตลาดและดำเนินการสร้างทุนสำรองระหว่างประเทศเพื่อสานต่อความสามารถในการจัดการกับปัจจัยภายนอก ความเสี่ยงต่อการคาดการณ์ส่วนใหญ่มาจากความตึงเครียดทางชาติพันธุ์ในรัฐยะไข่ ความไม่แน่นอนในเศรษฐกิจโลกที่เกี่ยวข้องกับการปกป้องการค้าและราคาพลังงาน กล่าวว่าความจำเป็นเร่งด่วนคือแก้ไขปัญหาคอขวดโครงสร้างพื้นฐานและข้อจำกัดด้านทรัพยากรมนุษย์เพื่อเพิ่มการลงทุนภาคเอกชนและเพิ่มศักยภาพการเติบโต  และในขณะที่การเพิ่มขึ้นของค่าไฟฟ้าจะช่วยลดภาระทางการคลัง แต่จะช่วยเพิ่มอัตราเงินเฟ้อในระยะสั้น อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะสูงถึง 8.8% ในปีงบประมาณ 61-62 และประมาณ 9% ในปีงบประมาณ 62-63 ส่วนหนึ่งเนื่องจากการปรับขึ้นค่าไฟฟ้า

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/economy-expand-much-71-year-amro.html  

ญี่ปุ่นมองหาธุรกิจที่เน้นส่งออกในเมียนมา

ในอุตสาหกรรมท้องถิ่นซึ่งจะผลิตสินค้าและส่งออกไปยังอินเดีย จีน และไทย เนื่องจากมีประชากรจำนวนมากและติดมีชายแดนติดไทย อินเดีย และจีน โดยมีการนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้านและผลิตสินค้าและขายในตลาดท้องถิ่น จากงบประมาณปี 32-33 ถึงวันที่ 30 ก.ย. 62 การลงทุนรวมของญี่ปุ่นใน 117 ธุรกิจเกิน 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้การลงทุนรวม 39 ธุรกิจในเขตเศรษฐกิจพิเศษติวาลา ได้รับอนุญาตมากกว่า 670 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จนถึงขณะนี้การลงทุนรวม 150 ธุรกิจมีมูลค่าราว 1.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ ญี่ปุ่นติดอันดับที่ 10 จาก 50 ประเทศที่ลงทุนและติดอันดับ FDI ในเขตเศรษฐกิจพิเศษติวาลา คิดเป็น 36% ของการลงทุนทั้งหมด ซึ่ง FDI รวม 19 ประเทศในเขตเศรษฐกิจพิเศษติวาลา สูงกว่า 1.86 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/japan-is-eyeing-export-oriented-businesses-in-myanmar

เมียนมาคาดปีหน้าการลงทุนน้ำมันและก๊าซเพิ่มขึ้น

การประชุมคณะกรรมการพัฒนาภาคเอกชนครั้งที่ 30 กับผู้ประกอบการเมียนมาเมื่อวันที่ 19 ต.ค.62 ที่ผ่านมา กระทรวงการลงทุนและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจต่างประเทศคาดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซนอกชายฝั่งจะเพิ่มขึ้นในปี 63 เมื่อข้อเสนอได้รับการสำรวจและการผลิต กระทรวงไฟฟ้าและพลังงาน (MOEE) กล่าวกับ The Myanmar Times ว่าการผลิตก๊าซเชิงพาณิชย์จะเริ่มต้นที่การค้นพบครั้งที่ 6 ที่บล็อก Shwe Yee Htun-2 นอกชายฝั่งในปี 66 และสามารถผลิตก๊าซได้ที่บ่อ Shwe Yee Htun-2

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/more-oil-and-gas-investments-expected-next-year.html

ปี 61-62 เมียนมาส่งออกผลิตภัณฑ์สัตว์ 360 ล้านเหรียญสหรัฐ

ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 61 ถึงวันที่ 30 ก.ย. 62 ของปีงบประมาณ 2561-2562 เมียนมามีรายได้ 366.322  ล้านเหรียญสหรัฐจากการส่งออกผลิตภัณฑ์สัตว์ในปีงบประมาณ 61-62 มากกว่า 134.831  ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเทียบกับปีงบประมาณ 60-61 ที่มีรายรับ 231.490 ล้านเหรียญสหรัฐ เมียนมาส่วนใหญ่ส่งออกสินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ผลิตภัณฑ์ทางทะเล ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ ผลิตภัณฑ์แร่ อุตสาหกรรมสำเร็จรูป (CMP) และอื่น ๆ รายรับจากการส่งออกคาดว่าจะสูงถึง 15.3 พันล้านเหรียญสหรัฐในปีงบประมาณก่อนหน้า แต่จำนวนเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 17 พันล้านเหรียญสหรัฐซึ่งสูงกว่า 473.218 ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเทียบกับปีก่อน ในปี 61-62 มูลค่าการค้าระหว่างประเทศสูงกว่า 34.97 พันล้านเหรียญสหรัฐซึ่งสูงกว่าเป้า 31 พันล้านเหรียญสหรัฐ อย่างไรก็ตามยอดขาดดุลการค้าพุ่งทะลุ 1.39 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/over-360m-earned-from-animal-product-exports-in-2018-2019-fy