เมียนมาเตรียมสร้างเขตอุตสาหกรรมสิ่งทอในย่างกุ้งและมัณฑะเลย์

กระทรวงที่ดินจัดสรรพื้นที่เพื่อจัดตั้งเขตพิเศษที่สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม โดยร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินโครงการนำร่องสำหรับอุตสาหกรรมและกลุ่มอุตสาหกรรม ซึ่งแผนกำลังดำเนินการตามนโยบายสิ่งทอระดับชาติด้วยความช่วยเหลือของ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอของเมียนมา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การส่งออกแห่งชาติ (NES) กระทรวงพาณิชย์นำ NES ไปใช้กับ 11 ภาคส่วน ซึ่งครอบคลุมภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มโดยมีการดำเนินการโดย No (3) อุตสาหกรรมหนักภายใต้การจัดตั้งของคณะกรรมการกระทรวงอุตสาหกรรม

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/separate-plots-planned-to-establish-specialized-textile-and-garment-zones-in-yangon-mandalay

อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็นเวลา 17 เดือนติดต่อกัน

จากข้อมูลของ Central Central Organization (CSO) อัตราเงินเฟ้อเมียนมาแตะระดับ 8.53% ช่วง ส.ค. เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงปลายปีที่ 8.35% ตั้งแต่ เม.ย. 61 ถึงเดือน ส.ค. 62 อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยเพิ่มขึ้นต่อเนื่องกัน 17 เดือน เมื่อเทียบปีต่อปีอยู่ที่ 10.37 เปอร์เซ็นต์ ปลายเดือน ส.ค.เขตมาเกว มีอัตราเงินเฟ้อสูงที่สุดที่ 12.57% รองลงมาคือ เขตสะกาย ที่ 10.66% และเชตชิน ที่ 10.07% เขตสะกาย มีอัตราเงินเฟ้อเปลี่ยนแปลงที่เยอะสุดที่ 15.70% ในขณะที่รัฐคะฉิ่นเห็นการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุดที่ 2.59% ในเดือน พ.ย.62 CSO ได้จัดทำแบบสำรวจครัวเรือนและการบริโภคจำนวน 32,669 ครัวเรือนใน 82 เมืองทั่วประเทศเพื่อคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และอัตราเงินเฟ้อ อดีตอัตราเงินเฟ้อคำนวณโดยใช้ปี 49 เป็นปีฐาน ปัจจุบันใช้ปี 55 เป็นปีฐานในการคำนวณอัตราเงินเฟ้อ ภายใต้แผนพัฒนาแห่งชาติห้าปีที่สอง (จาก 59-60 ถึง 63-64 ) รัฐบาลได้วางแผนที่จะลดอัตราเงินเฟ้อผ่านนโยบายการเงินการคลังการค้าและนโยบายสกุลเงินต่างประเทศ

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/average-inflation-rate-increases-for-17-consecutive-months

จำนวนนักท่องเที่ยวในปีงบประมาณที่ผ่านมา

ปีงบประมาณ 61-62 มีจำนวนนักท่องเที่ยวและชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศเพื่อทำธุรกิจจำนวน 1,218,891 คนเพิ่มขึ้น 442,843 คน จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ที่มีนักท่องเที่ยวจำนวน 526,248 คน ซึ่งในปี 62 มีจำนวนนักท่องเที่ยวถึง 954,929 คน และที่เข้ามาทำธุรกิจ 263,962 คน จากเดือน ม.ค. – ส.ค ในปีนี้มีนักท่องเที่ยวชาวจีนมาเยือนสูงสุด รองลงมาคือเกาหลี โดยนักท่องเที่ยวจีนเพิ่มขึ้น 161% และเกาหลีเพิ่มขึ้น 77% จากปัญหาชาวยะไข่ในปี 60 ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวจากประเทศตะวันตกลดลงถึง 40% ภายในปี 61 นโยบาย Look East ในปี 61-12 ที่ใช้ดึงดูดนักท่องเที่ยวด้วยการยกเว้นวีซ่าสำหรับนักท่องเที่ยวจากญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฮ่องกง และมาเก๊าและวีซ่าสำหรับพลเมืองจีนที่เดินทางเข้าประเทศโดยเครื่องบิน ซึ่งมีระยะทดลอง 1 ปี หลังจากนั้นจำนวนนักท่องเที่ยวจะเพิ่มขึ้น จำนวนนักท่องเที่ยวขาเข้าเพิ่มขึ้นจาก 3,443,133 คน ในปี 60 เป็น 3,551,428 ในปี 61 จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางผ่านชายแดนเป็นอันดับแรกและนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าประเทศด้วยการยื่นขอวีซ่าเป็นครั้งที่สอง

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/tourist-arrivals-up-last-fy

เนปิดอร์ตั้งเป้าหารายได้จากธุรกิจการจัดประชุม

เนปิดอร์มุ่งเน้นที่จะพัฒนาการจัดประชุม การจัดนิทรรศการและการแข่งขันกีฬาในปี 63 เพื่อสร้างรายได้มากขึ้นให้กับเมืองหลวง สมาคมการท่องเที่ยวแห่งเมียนมาอ้างจากสื่อของรัฐว่า เนปิดอร์มีศักยภาพในการเป็นสถานที่สำหรับการจัดประชุมขนาดใหญ่ การประชุมทางวิชาการหรือวิชาชีพ และการจัดกิจกรรมกีฬา เนปิดอร์มีโรงแรมหลายแห่งและสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกีฬาที่ได้มาตรฐานระดับสากล ซึ่งรวมถึงสระว่ายน้ำ สนามกีฬา และสนามกอล์ฟ นอกจากนี้ยังมีหลักสูตรการแข่งรถจักรยานยนต์และรถยนต์ แผนการสำหรับการท่องเที่ยวการกีฬาได้ถูกร่างขึ้นและมีแนวโน้มที่จะเริ่มในปี 63

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/nay-pyi-taw-targets-convention-business.html

ความเสียหายจากน้ำท่วมในนาข้าวปีนี้ผลกระทบน้อยกว่าปีที่แล้ว

ข้อมูลจากกระทรวงเกษตรปศุสัตว์และการชลประทาน (MOALI) ระบุว่าพื้นที่นาข้าวกว่า 600,000 เอเคอร์ถูกน้ำท่วมขังในช่วงฤดูมรสุมในปีนี้ ซึ่งมีพื้นที่ทั้งหมด 130,000 เอเคอร์หรือ 21% ที่ได้รับความเสียหาย ในพื้นที่ที่เสียหายในปีนี้มีพื้นที่กว่า 30,000 เอเคอร์เหมาะสำหรับการเพาะปลูกในช่วงฤดู จากข้อมูลของ MOALI คาดว่าผลผลิตข้าวในปีนี้จะลดลง 700,000 ตัน  การเพาะปลูกข้าวมากกว่า 70% อยู่ในช่วงฤดูมรสุม ความเสียหายส่วนใหญ่เกิดขึ้นในพื้นที่พะโคและอิรวดี แต่ความเสียหายของปีนี้น้อยกว่าเมื่อปีที่แล้ว ในปี 61 พื้นที่นาข้าวมากกว่า 1,300,000 เอเคอร์ถูกน้ำท่วมเสียหายกว่าครึ่งหนึ่งของพื้นที่

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/less-flood-damage-local-paddy-fields-year-moali.html

ปี 61 – 62 เมียนมาส่งออกข้าวถึง 691 ล้านเหรียญสหรัฐ

เมียนมามีรายรับมากกว่า 691 ล้านเหรียญสหรัฐจากการส่งออกข้าวและข้าวหัก 2.29 ล้านตัน ใน 11 เดือนของปี 61-62 โดย 73% ของการส่งออกทั้งหมดผ่านทางทางทะเล การส่งออกข้าว 1.792 ล้านตันไปยัง 65 ประเทศคิดเป็น 559.894 ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ยังส่งออกข้าวหัก 498,000 ตันไปยัง 41 ประเทศและมีรายได้ 132.139 ล้านเหรียญสหรัฐ ด้านการส่งออกข้าวไปยังตลาดอียูและแอฟริกาผ่านทางการค้าทางทะเลและจีนผ่านการค้าชายแดนมูเซเป็นหลัก ปริมาณส่งออกข้าวประมาณ 3.6 ล้านทำลายสถิติการส่งออกมากที่สุดในรอบห้าสิบปีเพราะมีการเปิดตลาดใหม่มากขึ้น สหพันธ์ข้าวเมียนมา (MRF) กำลังจัดการกับปัญหาที่ราคาตลาดที่ต่ำในปีนี้ เกษตรกรกำลังเผชิญกับความลำบากในการมีไซโล ระบบอบแห้งข้าวเปลือกและยานพาหนะที่จะใช้บรรทุกข้าว ก่อนหน้านี้มีเพียง 11 บริษัทที่ส่งออกข้าวไปจีนแต่ปัจจุบันมีมากกว่า 40 บริษัท

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/myanmar-earns-us691-m-from-rice-export-in-2018-19-fy

เครื่องบิน ATR ลำใหม่ของ MNA

สายการบินประจำชาติแห่งเมียนมา (MNA) ได้รับเครื่องบินซีรี่ส์ใหม่ ATR 72-600 จาก บริษัท ATR ของฝรั่งเศส MNA จำนวน 10 ลำ ประกอบด้วย ATR 72-600 series และเครื่องบิน ATR 72-500 Series โดยเครื่องบินใหม่จะถูกเพิ่มในเที่ยวบินภายในประเทศและต่างประเทศ เครื่องบินดังกล่าวบินมาจากตูลูสประเทศฝรั่งเศสและใช้เวลาสามคืนในสนามบินกรีซ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และอินเดียก่อนบินไปย่างกุ้ง โดยสายการบินได้ลงนามในข้อตกลงเพื่อซื้อเครื่องบิน ATR 72-600 series จำนวน 6 ลำจาก ได้เปิดศูนย์ซ่อมบำรุงที่สนามบินนานาชาติย่างกุ้งซึ่งได้รับการยอมรับจากสำนักงานความปลอดภัยการบินแห่งยุโรป (EASA) ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษารวมถึงการตรวจสอบ 8 ปีมีมูลค่าสูงกว่า 700,000 เหรียญสหรัฐสำหรับเครื่องบิน ATR รุ่นปี 2007 และมากกว่า 400,000 เหรียญสหรัฐสำหรับรุ่นปี 2010 ของสิงคโปร์ การบำรุงรักษาของมาเลเซียจะมีราคาสูงกว่า 500,000 เหรียญสหรัฐสำหรับเครื่องบิน ATR รุ่นปี 2012 ส่วนของเมียนมาจะอยู่ที่ 100,000 เหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/mna-receives-new-atr-plane