เวียดนามเผยดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนพฤศจิกายน ลดลง 0.01% จากเดือนก่อน

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของเวียดนามในเดือนพฤศจิกายน ลดลงร้อยละ 0.01 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า เป็นผลมาจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่อ่อนตัวลงและค่าน้ำค่าไฟฟ้าที่ปรับตัวลดลง ในขณะที่ ในช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้ ดัชนี CPI เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.43 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยมีสินค้าและบริการ 11 รายการในกลุ่มตะกร้าสินค้าที่ใช่ในหลักการคำนวณ CPI พบว่ามี 3 รายการที่ลดลง ได้แก่ การขนส่ง บริการไปรษณีย์และโทรคมนาคมและวัฒนธรรม การท่องเที่ยว เป็นต้น นอกจากนี้ ราคาทองคำเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.87 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า

  ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/november-cpi-edges-down-001-percent-from-previous-month/191251.vnp

เวียดนามเกินดุลการค้าลดลงเหลือ 600 ล้านเหรียญสหรัฐในเดือนพ.ย. ขณะที่ ผลผลิตอุตฯ พุ่ง 9.2%

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม เปิดเผยว่าในเดือนพฤศจิกายน เวียดนามเกินดุลการค้าลดลงเหลือ 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากที่เกินดุลการค้าในเดือนตุลาคม 2.94 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ด้วยมูลค่า 24.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะเดียวกัน การนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.4 ด้วยมูลค่า 24.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ ในช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้ การส่งออกของเวียดนามมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ด้วยมูลค่า 254.59 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะเดียวกัน การนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 ด้วยมูลค่า 234.50 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เกินดุลการค้าอยู่ที่ 20.09 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ ผลผลิตอุตสาหกรรมของเวียดนามในเดือนพฤศจิกายน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.2 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว และในช่วงเดือนมกราคม-พฤศจิกายน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ที่มา : https://vietreader.com/business/24941-vietnam-nov-trade-surplus-plunges-to-600-mln-industrial-output-rises-92.html

รัฐบาลและธุรกิจ เป็นกุญแจสำคัญในการสร้างความก้าวหน้าเศรษฐกิจดิจิทัลของเวียดนาม

จากข้อมูลของ Central Institute for Economic Management (CIEM) ระบุว่าการผลักดันของการนำเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญทั้งภาครัฐและเอกชน จะต้องร่วมกันสร้างความก้าวหน้าของเศรษฐกิจดิจิทัลในเวียดนาม สำหรับภาครัฐบาลแล้วนั้น ได้เล็งเห็นความสำคัญของการดำเนินกฎหมาย เพื่อส่งเสริมกับการนำเทคโนโลยีมาใช้ตามหลักสากล ทั้งนี้ เศรษฐกิจดิจิทัลควรครอบคลุมไปยังพื้นที่ห่างไกลและกลุ่มเปราะบาง รวมถึงผู้หญิงหรือคนจน นอกจากนี้ ผลการศึกษาของ Google, Temasek และ Bain เปิดเผยว่าผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญให้เศรษฐกิจดิจิทัลของเวียดนาม ขยายตัวร้อยละ 16 ในปีนี้ คิดเป็นมูลค่า 14 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จนถึงปี 2568 อยู่ที่ 52 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม ในอนาคตข้างหน้า รัฐบาลจำเป็นต้องสร้างความมั่นใจว่าโลกไซเบอร์มีความปลอดภัย และปรับปรุงกฎหมายแก่เศรษฐกิจดิจิทัล ตลอดจนนโยบายภาษีแก่ผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจบนแพลตฟอร์มดิจิทัล และประเด็นในเรื่องการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น

ที่มา : http://hanoitimes.vn/government-firms-are-key-to-create-breakthroughs-in-vietnam-digital-economy-315008.html

“อีคอมเมิร์ซ” ประตูส่งออกสำคัญของเวียดนาม

สภาหอการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนาม (VCCI) และบริษัท Innovative Hub ได้จัดงานสัมมนาเกี่ยวกับการส่งออกสินค้าในท้องถิ่นผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ในบริบทของการระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ห่วงโซ่อุปทานต่างๆ เกิดการหยุดชะงัก และการเข้ามาของอีคอมเมิร์ซ ขี้ให้เห็นถึงจุดแข็งในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ SMEs ที่ยังคงรักษาความสามารถในการดำเนินงาน ทั้งนี้ คุณ Zoe Zuo CEO ของบริษัท Innovative Hub ได้แชร์กระบวนการทำงานของอีคอมเมิร์ซในสิงค์โปร์ที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และยังแนะนำให้เลือกกลุ่มเป้าหมายและลูกค้าให้ชัดเจน เพื่อที่จะนำเสนอสินค้าที่เหมาะสมกับแต่ละกลุ่ม นอกจากนี้ จากข้อมูลของสมาคมอีคอมเมิร์ซเวียดนาม ระบุว่ามูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซในปีนี้ เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 30 ด้วยมูลค่าราว 15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และจะเติบโตถึง 52 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2568

  ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/european-firms-in-vietnam-more-positive-about-q3-performance/191126.vnp

เวียดนามเป็นแหล่งลงทุนอันดับต้นๆ ของญี่ปุ่น

ธุรกิจในเวียดนามจำนวนมากได้รับคำแนะนำให้ปรับตัวอย่างรวดเร็ว เพื่อคว้าโอกาสในการรับกระแสการลงทุนจากญี่ปุ่น โดยเฉพาะธุรกิจญี่ปุ่นกว่า 2,000 ราย เข้ามาลงทุนในเวียดนามช่วงสิ้นปี 2562 รองลงมากลุ่มประเทศเอเชียตะวันออก ด้วยเงินทุนจดทะเบียน 59.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 15.6 ของเงินทุนรวม โดยข้อมูลข้างต้น เกิดหลังจากองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร) เปิดเผยรายชื่อบริษัท 15 รายที่ได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่น เพื่อย้ายฐานการผลิตจากจีนไปยังกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ไทยและสปป.ลาว ทั้งนี้ ตามการสำรวจของเจโทร เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ระบุว่าธุรกิจญี่ปุ่นส่วนใหญ่ร้อยละ 63.9 ดำเนินกิจการในเวียดนาม สิ่งนี้เป็นโอกาสอันดีแก่ธุรกิจในท้องถิ่น เพื่อยกระดับความร่วมมือและเชื่อมต่อกับธุรกิจญี่ปุ่น โดยเฉพาะการผลิตชิ้นส่วนและสนับสนุนเทคโนโลยีสารสนเทศ

ที่มา : https://vietreader.com/business/finance/24421-vietnam-regarded-as-top-investment-destination-for-japan-businesses.html\

จีนยังคงเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดในเวียดนาม

กรมศุลกากรเวียดนาม รายงานว่ามูลค่าการส่งออกของเวียดนามไปยังจีน อยู่ที่ประมาณ 5.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเดือนตุลาคม ส่งผลให้ยอดมูลค่ารวมนับตั้งแต่ต้นปีนี้จนถึงปัจจุบัน ราว 38 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จีนเป็นตลาดสำคัญของเวียดนาม ด้วยมูลค่าการค้าระหว่างประเทศทั้งหมดในปีนี้ อยู่ที่ 100 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ถึงแม้ว่ามีสัญญาเชิงบวกหลายด้าน แต่ความตึงเครียดของสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน และการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อกิจกรรมการค้าระหว่างประเทศของเวียดนามในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ด้วยเหตุนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (MoIT) จึงอำนวยความสะดวกในการส่งออกสินค้าไปยังจีน ไม่ว่าจะเป็นปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการประกอบธุรกิจ ปฏิรูปสถาบันและลดขั้นตอนการจัดการ เป็นต้น เพื่อช่วยลดต้นทุนธุรกิจ นอกจากนี้ ทางกระทรวงฯ ได้ไปเปิดสำนักงานส่งเสริมการค้าในเมืองหางโจวและเจ้อเจียง เพื่อสร้างความสัมพันธ์ในการทำธุรกิจในจีนและเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ

ที่มา : https://vnexplorer.net/china-retains-vietnams-largest-trade-partner-a2020128284.html

EIC CLMV Outlook Q4/2020

เศรษฐกิจ CLMV ส่งสัญญาณฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดในไตรมาสที่ 2 ของปี 2020 หลังเริ่มผ่อนคลายมาตรการ lockdown ในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายนปี 2020 แม้กัมพูชาและลาวสามารถควบคุมการระบาดได้สำเร็จ แต่เมียนมาและเวียดนามกลับเผชิญการระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 ในช่วงครึ่งหลังของปี 2020 โดยเวียดนามกลับมาประกาศใช้มาตรการ lockdown ในบางพื้นที่และสามารถควบคุมการระบาดได้สำเร็จในเดือนสิงหาคม ขณะที่เมียนมายังคงได้รับผลกระทบอย่างมากจากจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่เดือนกันยายน ทั้งนี้เศรษฐกิจ CLMV ยังคงฟื้นตัวช้าและไม่ทั่วถึง โดยระดับการฟื้นตัวที่แตกต่างกันมากขึ้นนั้น เป็นผลมาจากการฟื้นตัวแบบช้า ๆ และไม่ทั่วถึงของเศรษฐกิจโลก อัตราว่างงานที่เพิ่มขึ้น ระดับการระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 และประสิทธิภาพของมาตรการรองรับ รวมทั้งปัจจัยเฉพาะในรายประเทศที่มีแนวโน้มยืดเยื้อ เศรษฐกิจเวียดนามกลับมาฟื้นตัวได้ดีด้วยแรงหนุนจากการส่งออกที่แข็งแกร่ง ขณะที่การระบาดของ COVID-19 และการถูกเพิกถอนสิทธิพิเศษทางการค้า EBA บางส่วนจะยิ่งซ้ำเติมการชะลอตัวของอุปสงค์ต่างประเทศในกัมพูชา ในขณะเดียวกัน เศรษฐกิจลาวยังเผชิญแรงกดดันจากข้อจำกัดในการทำนโยบายการคลัง (fiscal space) และความเสี่ยงที่สูงขึ้นในประเด็นการผิดชำระหนี้ สำหรับเมียนมา การระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 และมาตรการ lockdown ที่กลับมาเข้มงวดขึ้นส่งผลให้เศรษฐกิจเมียนมามีแนวโน้มฟื้นตัวต่ำกว่าคาดการณ์ในปีงบประมาณ 2020/2021

  • กัมพูชา  อุปสงค์จากต่างประเทศที่ยังอ่อนแอจะเป็นแรงกดดันต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจกัมพูชา
  • สปป.ลาว ข้อจำกัดในด้านการทำนโยบายการคลังและความเสี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ที่เพิ่มสูงขึ้นยังเป็นความท้าทายหลัก
  • เมียนมา การระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 และมาตรการ lockdown ที่กลับมาเข็มงวดขึ้นจะส่งผลลบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเมียนมา
  • เวียดนาม แม้เผชิญการระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 แต่เศรษฐกิจเวียดนามยังขยายตัวได้ดี จากการควบคุมการระบาดได้อย่างรวดเร็วและการส่งออกที่แข็งแกร่ง

ที่มา : SCB EIC

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.scbeic.com/th/detail/product/7175