นักลงทุนญี่ปุ่นเล็งกลยุทธ์จับพาร์ทเนอร์ M&A ในเวียดนาม

ผู้ประกอบการญี่ปุ่นจำนวนมากเล็งซื้อบริษัทไอทีเวียดนามจากการควบรวมกิจการ (M&A) เพื่อขยายการผลิตและธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากธุรกิจด้านไอทีแล้ว นักลงทุนญี่ปุ่นยังสนใจในสาขาธุรกิจอื่นๆ ได้แก่ โรงแรม นิคมอุตสาหกรรม พลังงานสะอาด พลังงานหมุนเวียน อาหารทะเลแปรรูปและเภสัชกรรม เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นเตรียมการสนับสนุนทางด้านการเงินแก่ธุรกิจ เพื่อความหลากหลายของห่วงโซ่อุปทาน ทั้งนี้ จากข้อมูลขององค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) ระบุว่าตัวเลขของผู้ประกอบการญี่ปุ่น 1,400 ราย จาก 3,500 รายที่ทำการสำรวจในปี 2562 พบว่านักธุรกิจญี่ปุ่นส่วนใหญ่ต้องการขยายการผลิตไปเวียดนามอีก 3 ปีข้างหน้า

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/japanese-investors-seek-ma-partners-in-vietnam/181587.vnp

ญี่ปุ่นครองแชมป์ปักหลักลงทุนในนครโฮจิมินห์

ตั้งแต่ต้นปีนี้จนถึงปัจจุบัน พบว่ามูลค่าเงินทุนของบริษัทญี่ปุ่นไปยังเมืองโฮจิมินห์ อยู่ที่ราว 9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 82.39 ของเงินลงทุนรวมจากต่างชาติในเมืองดังกล่าว ซึ่งสาขาธุรกิจที่ดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติมากที่สุด คือ วิศวกรรมเครื่องกล ด้วยมูลค่า 3.84 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รองลงมาอิเล็กทรอนิกส์, บริการ, เคมีภัณฑ์, ยาง, พลาสติก, เครื่องนุ่งห่มและอุตสาหกรรมอื่นๆ ทั้งนี้ องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) กล่าวว่าในเดือน มิ.ย. จำนวนผู้ประกอบการญี่ปุ่น 30 ราย ได้ขยายการผลิตไปยังเวียดนาม โดยจากผลสำรวจของบริษัทญี่ปุ่นราว 10,000 แห่ง ชี้ให้เห็นว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 41 มองว่ากำลังพิจารณาในการขยายการดำเนินงานไปยังเวียดนามในอีก 3 ปีข้างหน้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว เนื่องมาจากได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจจีน-สหรัฐฯ ประกอบกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19

ที่มา : https://fintel.vn/japan-is-the-largest-foreign-investor-in-hcmc/

เวียดนามส่งเสริมตลาดน้ำตาลในประเทศ

คุณ Tran Tuan Anh รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า กล่าวว่าขอให้หน่วยงานทุกภาคส่วน ดำเนินมาตรการเกี่ยวกับการเยียวยาทางการค้าระหว่างประเทศและส่งเสริมการตลาดแก่ผลิตภัณฑ์น้ำตาล ในขณะเดียวกัน ทางหน่วยงานจะสร้างฐานข้อมูลเกี่ยวกับการนำเข้า การส่งออกและการผลิตที่อาศัยข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมธุรกิจในการป้องกันทางการค้า ทั้งนี้ ในปีนี้ กรมการนำเข้า-ส่งออก ยื่นกฤษฎีกาให้กับรัฐบาล ภายใต้ “185/2013 / ND-CP” ในการลงโทษสำหรับการละเมิดกิจกรรมทางการค้า การผลิตที่เกี่ยวข้องกับสินค้าลอกเลียนแบบหรือสินค้าต้องห้ามและการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค เป็นต้น นอกจากนี้ เวียดนามสามารถผลิตอ้อยอยู่ที่ 7.3 ล้านตัน และผลผลิตรวมประมาณ 769,000 ตัน ในปี 2562-2563

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnam-promotes-measures-to-manage-local-sugar-market-417510.vov

ตลาดอีคอมเมิร์ซเวียดนามโต 25% ปี 2562

จากรายงาน “e-Commerce White Book 2020” ของหน่วยงานเศรษฐกิจดิจิทัลและอีคอมเมิร์ซเวียดนาม (iDEA) เปิดเผยว่าในปี 2562 รายได้ของธุรกิจ B2C อยู่ที่ 10.08 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25 ซึ่งจำนวนคนช้อปปิ้งออนไลน์ที่ 44.8 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ด้วยค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 225 ดอลลาร์สหรัฐต่อหัว สูงกว่าเมื่อเทียบกับปี 2561 ราว 23 ดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ ทางผู้อำนวยการของ iDEA กล่าวว่าในปี 2562 เป็นโอกาสอันยิ่งใหญ่สำหรับภาคธุรกิจอีคอมเมิร์ซเวียดนาม เมื่อเวียดนามดำเนินตามแผ่นแม่บทที่รัฐบาลตั้งไว้แก่อีคอมเมิร์ซในปี 2559-2563 อีกทั้ง เวียดนามตั้งเป้าการเติบโตของอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซที่ร้อยละ 25 ต่อปี คิดเป็นมูลค่า 35 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ในปัจจุบัน เวียดนามเป็นตลาดอีคอมเมิร์ซที่เติบโตเร็วที่สุด ติดอันดับที่ 2 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซีย

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/e-commerce-revenue-grows-25-percent-in-2019/180457.vnp

เวียดนามเผยการบริโภคเหล็กลดลง 9.6% ในช่วง 7 เดือนแรก

สมาคมเหล็กเวียดนาม (VSA) เผยในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ การบริโภคเหล็กของเวียดนามอยู่ที่ 12.7 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 9.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยคาดว่าตลาดเหล็กทั่วโลกจะกลับมาปรับตัวดีขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ แต่ว่าเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังคงระบาดอยู่จนถึงตอนนี้ ประกอบกับเวียดนามประสบปัญหาการขายเหล็กในตลาดต่างประเทศ เนื่องจากหลายๆประเทศยังคงล็อกดาวน์อยู่และการหยุดชะงักของซัพพลายเชน ทั้งนี้ สมาคมฯ ระบุว่าผู้ส่งออกเหล็กชาวเวียดนามจำเป็นต้องพิจารณาเกี่ยวกับการควบคุมผลิตภัณฑ์เหล็กสำเร็จรูปที่ส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ เนื่องจากรายการสินค้าดังกล่าว ได้รับการแจ้งเตือนถึงมาตรการป้องกันทางการค้า นอกเหนือจากมาตรฐานด้านเทคนิคและมาตรฐานแหล่งกำเนิดสินค้าแล้ว ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญกับเงื่อนไขป้องกันทางการค้า เมื่อส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ และยุโรป

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/steel-consumption-down-96-in-first-seven-months-417440.vov

Vietnam Economic Factsheet : July.2563

เศรษฐกิจเวียดนาม ประจำเดือนกรกฎาคม 2563

หัวข้อสำคัญ ดังต่อไปนี้

ด้านการผลิต

  • พื้นที่การเกษตรกรรม
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (IPI)
  • ยอดการค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการ
  • จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ

ด้านการใช้จ่าย

  • ยอดขายรถยนต์ส่วนบุคคล
  • การใช้จ่ายภาครัฐบาลรวม
  • การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทใหม่, ยอดขายรถยนต์เชิงพาณิชย์
  • การค้าระหว่างประเทศ

เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

  • ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)
  • อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน
  • ทุนสำรองระหว่างประเทศ
  • ดุลบัญชีเดินสะพัด

ภาคการเงิน

  • ปริมาณเงินความหมายกว้าง (M2)
  • อัตราแลกเปลี่ยน
  • อัตราดอกเบี้ยนโยบาย
  • สินเชื่อในประเทศ

ที่มา : General Statistics Office of Vietnam, CEIC Data