การเพิ่มขึ้นของสัญญาระหว่างเกษตรกรและผู้ค้าในกัมพูชา
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าวว่ารูปแบบการทำสัญญาที่เพิ่มขึ้นอย่างน่าทึ่งช่วยเพิ่มผลผลิตและการเข้าถึงตลาดให้กับเกษตรกร โดยกระทรวงต่างประเทศประกาศว่าระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนสิงหาคมมีการทำสัญญาโครงการของเกษตรกรรมรวม 91 โครงการ ทั้งภาคการผลิต ข้าว, อ้อย และปศุสัตว์ ซึ่งมีเกษตรกรรายย่อยเข้าร่วมถึง 7,897 ราย ร่วมทำสัญญาทั่วประเทศ โดยในการทำสัญญาผู้ซื้อจะลงนามในข้อตกลงกับเกษตรกรสำหรับการผลิตและการส่งมอบพืชผลที่จะส่งมอบในอนาคต ซึ่งจะกำหนดปริมาณคุณภาพและราคาที่กำหนดไว้ล่วงหน้า โดยรัฐบาลกัมพูชามองว่าการทำสัญญาเป็นกลไกที่มีประสิทธิภาพในการเพิ่มผลิตภาพ ในขณะที่เอื้อประโยชน์ต่อคนทุกฝ่าย ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงเกษตรกรกับ บริษัท ต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ผลิตข้าวที่เป็นสมาชิกสหพันธ์ข้าวของกัมพูชา
ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50639917/contract-farming-schemes-rising-ministry/
กัมพูชาติดอันดับหนึ่งในห้าผู้ส่งออกข้าวอินทรีย์ไปยังสหภาพยุโรป
ความต้องการข้าวอินทรีย์ในสหภาพยุโรปและตลาดสำคัญอื่นๆ เช่นสหรัฐอเมริกา, ออสเตรเลีย และจีนพุ่งสูงขึ้นเนื่องจากผู้บริโภคมีความห่วงใยต่อสิ่งแวดล้อมและใส่ใจสุขภาพมากขึ้น จากตัวเลขของสหพันธ์ข้าวกัมพูชา รายงานว่าการส่งออกข้าวอินทรีย์ของกัมพูชาอยู่ที่ 8,467 ตัน ไปยังสหภาพยุโรปคิดเป็น 3.9% ของการนำเข้าข้าวอินทรีย์ทั้งหมด โดยสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ส่งออกข้าวอินทรีย์รายใหญ่ที่สุดไปยังสหภาพยุโรปคิดเป็นเกือบ 70% ของตลาดทั้งหมด ตามด้วยปากีสถาน 10% และอินเดีย 9% ซึ่งประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 4 โดยมีการส่งออกอยู่ที่ 4.9% ของตลาด (10,522 ตันในการส่งออก) กว่าประมาณ 90% ของการส่งออกข้าวอินทรีย์ทั้งหมดของกัมพูชาเมื่อปีที่แล้วมาจาก Amru Rice Cambodian ซึ่งเมื่อปีที่แล้วกัมพูชาส่งออกข้าว 626,225 ตัน ลดลง 1.5% เมื่อเทียบกับปี 2560 โดยตลาดที่ใหญ่ที่สุดในการส่งออกข้าวของกัมพูชาคือสหภาพยุโรป คิดเป็นเกือบ 270,000 ตัน คิดเป็น 42.9%
ที่มา:https://www.khmertimeskh.com/50639919/cambodia-among-top-five-exporters-of-organic-rice-to-the-eu/
กัมพูชาจะกลายเป็นฐานการผลิตที่สำคัญสำหรับ บริษัทจักรยานของสหรัฐฯ
Ken International เป็นผู้ผลิตจักรยานจากสหรัฐกล่าวว่ากัมพูชาจะกลายเป็นฐานการประกอบและฐานการผลิตที่สำคัญในไม่ช้า โดยบริษัทผลิตจักรยานในปีที่แล้วถึง 3 ล้านคัน ซึ่งบริษัทกำลังสร้างโรงงานผลิตจักรยานใกล้กับกรุงพนมเปญบนพื้นที่ถึง 40,000 ตารางฟุต เป็นการร่วมลงทุนกับ Shanghai General Sports โดยจะเสร็จสมบูรณ์ภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งปีที่แล้วกัมพูชาส่งออกจักรยาน 1.5 ล้านคัน ไปยังสหภาพยุโรปมูลค่ารวมถึง 331 ล้านเหรียญสหรัฐตามรายงานจากธนาคารโลก ทำการแซงไต้หวันในส่วนของการเป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายรถจักรยานที่ใหญ่ที่สุดในตลาดสหภาพยุโรป นอกจากนี้ Trek Bicycle ของสหรัฐฯ ประกาศว่ามีแผนที่จะย้ายการผลิตจักรยานอย่างน้อย 2 แสนคัน จากจีนมายังกัมพูชาในปีนี้
ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/639577/kingdom-to-become-a-key-manufacturing-base-for-us-bike-firm/
การลดลงของนักท่องเที่ยวในเสียมราฐไม่ได้เป็นสาเหตุของความกังวล
นายกรัฐมนตรีฮุนเซนกล่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่าการลดลงของจำนวนนักท่องเที่ยวในเมืองเสียมเรียบ ซึ่งไม่ควรเป็นสาเหตุที่น่ากังวลแนะให้ดูภาพรวมโดยสังเกตว่าจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาในประเทศโดยรวมมากขึ้น โดยมีการชะลอตัวเล็กน้อยในจำนวนนักท่องเที่ยวในเสียมราฐ เพราะตอนนี้กัมพูชามีแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ เป็นทางเลือกเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจากศูนย์โบราณคดีอังกอร์และแถบชายฝั่งได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวต่างชาติมากขึ้นรวมถึงจังหวัดกัมปอต, แกบ, เกาะกง, รัตนคีรีและมณฑปคีรี โดยจากรายงานล่าสุดของกระทรวงการท่องเที่ยวระบุว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจากเสียมเรียบตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายนลดลง 8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ภาพรวมของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในกัมพูชาเพิ่มขึ้นถึง 11.2% คิดเป็นจำนวน 3.3 ล้านคน ในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งเมื่อปีที่แล้วมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาถึง 6.2 ล้านคน เพิ่มขึ้น 10.7% โดยคาดว่าจะดึงดูดนักท่องเที่ยวถึง 7 ล้านคน ในปี 2563 สร้างรายได้ให้แก่ประเทศ 4.3 พันล้านเหรียญ
การศึกษาความเป็นไปได้ของกรุงพนมเปญในการเป็นศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์
ธนาคารพัฒนาเอเชียได้เริ่มศึกษาความเป็นไปได้สำหรับศูนย์โลจิสติกส์ในกรุงพนมเปญ โดยศูนย์โลจิสติกส์ของกรุงพนมเปญเป็นส่วนหนึ่งของแผนแม่บทด้านโลจิสติกส์ของรัฐบาลกัมพูชาจะได้รับการพัฒนาในรูปแบบการเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งหลังจากการประชุมหารือระหว่างกระทรวงคมนาคมและ ADB โดยกระทรวงได้ออกมาแถลงว่าการเติบโตอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจในกัมพูชาต้องการการพัฒนาด้านโลจิสติกส์ในกรุงพนมเปญและในเขตเมืองอื่นๆ ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้า ทำให้กัมพูชาตอบสนองต่อการลงทุนในต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น โดยทางกระทรวงกล่าวว่ากัมพูชาจะกลายเป็นที่ตั้งทางยุทธศาสตร์ในภูมิภาคเอเซียเมื่อพูดถึงเรื่องโลจิสติกส์และการขนส่ง
ที่มา: https://www.khmertimeskh.com/50639291/feasibility-study-for-phnom-penh-logistics-centre-underway/
CDC อนุมัติโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในกำปงชนังและโพธิสัตว์
สภาเพื่อการพัฒนาของกัมพูชา (CDC) ได้อนุมัติการลงทะเบียนของโครงการสวนพลังงานแสงอาทิตย์ในจังหวัดกำปงชนังและโพธิสัตว์ โดยโซล่าฟาร์มทั้งสองแห่งเป็นการลงทุนของ บริษัท Schneitec Sustainable แต่ละแห่งจะมีความจุอยู่ที่ 60 MW และมีต้นทุนในการสร้าง 58 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งแห่งแรกจะสร้างขึ้นในเขต Krakor ในจังหวัด โพธิสัตว์จะเริ่มดำเนินการในเดือนเมษายนปีหน้า และแห่งที่สองจะตั้งอยู่ในเมือง Teuk Phos ของกำปงชนัง โดยจะเริ่มจ่ายไฟได้ในปลายปี 2020 แต่รัฐบาลยังได้เพิ่มการนำเข้าพลังงานจากประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มอีกด้วย ซึ่งกัมพูชามีสวนพลังงานแสงอาทิตย์สองแห่งคือ โรงงานขนาด 10 MW ในเมือง Bavet ของเมืองสวายเรียง และสวนพลังงานแสงอาทิตย์ 80 MW ในเขต Oudong ของเมืองกำปงสปือ โดย Keo Ratanak อธิบดี EDC กล่าวเมื่อเดือนที่แล้วกัมพูชาผลิตไฟฟ้าอย่างน้อย 390 MW หรือประมาณ 15% ของพลังงานทั้งหมดจากโซล่าฟาร์มในปีหน้า ซึ่งเมื่อปีที่แล้วกัมพูชาใช้พลังงานไป 2,650 MW เพิ่มขึ้น 15% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ที่มา: https://www.khmertimeskh.com/50639293/cdc-approves-solar-parks-in-kampong-chhnang-and-pursat/
กัมพูชาขาดผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์
แม้จะเป็นภูมิภาคที่เติบโตเร็วที่สุดสำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในโลก แต่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงช้าที่จะตอบสนองความต้องการ และเร่งที่จะพัฒนาผู้เชี่ยวชาญทางด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ โดยคาดว่าจะมีผู้ใช้ถึง 480 ล้านคน ภายในปี 2020 ซึ่งการขยายตัวที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนนี้ควบคู่ไปกับเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ผลักดันให้อาเซียนกลายเป็นพื้นที่เชื่อมต่อที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ โดยสิ่งนี้จะนำมาซึ่งการคุกคามและโอกาสที่เพิ่มขึ้น ซึ่งในปี 2560 ประเทศในกลุ่มอาเซียนมีการใช้จ่ายเพียง 0.06% ของ GDP หรือ 1.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับความปลอดภัยทางไซเบอร์ ซึ่งตรงกันข้ามกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 0.13% ซึ่งการขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ทั่วโลกคาดว่าจะสูงถึง 2 ล้านคนภายในปี 2562 โดย Cybersecurity Ventures รายงานว่าจะมีตำแหน่งงานด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ 3.5 ล้านตำแหน่ง
ที่มา:https://www.khmertimeskh.com/50639243/cambodia-sorely-lacking-cybersecurity-professionals/