รวบรวมคำถามที่พบบ่อย (FAQ) เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจในกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา เวียดนาม)
ที่มา: กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ไมโครไฟแนนซ์ได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว วัตถุประสงค์คือขยายสินเชื่อให้กับประชาชนในพื้นที่ห่างไกล ปี 2560 มียอดปล่อยสินเชื่อประมาณ 4 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 1 ใน 4 ของธนาคารพาณิชย์ทั้งหมด ปัจจุบันมีผู้ให้บริการทั้งหมด 68 ราย มี 5 รายที่ครองส่วนแบ่ง 80% โดยการปล่อยสินเชื่อจะแบ่งเป็น ภาคครัวเรือน 33% การเกษตร 30% และค้าปลีก 19% จากประชากรที่ใช้สินเชื่อ 1.7 ล้านคน ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา กัมพูชาได้เพิ่มทุนจดทะเบียนไมโครไฟแนนซ์ ทำให้ต้องหาพันธมิตรจากต่างประเทศมากขึ้น ผลดีคือ การบริการที่หลากขึ้นเพราะแข่งขันสูง เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การบริโภคภาคครัวเรือนเพิ่ม ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้นนักลงทุนไทยควรปรับกลยุทธ์ให้เหมาะกับโอกาสทางธุรกิจ เช่น พัฒนาระบบ e-payment เพื่อขยายช่องทางและเชื่อมต่อพื้นที่ห่างไกล โดยเฉาะสินค้าที่เป็นที่นิยมอย่างมอเตอร์ไซค์หรือเครื่องจักรทางการเกษตร
ที่มา: http://www.exim.go.th/doc/newsCenter/50318.pdf
31 ธันวาคม 2561
http://www.exim.go.th/doc/newsCenter/50430.pdf
ที่มา: ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
28 ธันวาคม 2561
http://www.exim.go.th/doc/newsCenter/50383.pdf
ที่มา: ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
28 ธันวาคม 2561
http://www.exim.go.th/doc/newsCenter/50377.pdf
ที่มา: ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
27 ธันวาคม 2561
http://www.exim.go.th/doc/newsCenter/50368.pdf
ที่มา: ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
24 ธันวาคม 2561
ตลาดออนไลน์ในกัมพูชาถือว่าเติบโตเร็วมาก เพราะมีผู้เข้าถึงอินเตอร์เน็ตมากกว่า 50% ของประเทศ (ประมาณ 8 ล้านคน) มีบัญชี facebook ถึง 7 ล้านคน บัญชี instragram เพียง 660,000 คน ดังนั้นควรวางตำแหน่งของสินค้าให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย โฆษณาส่วนมากจะนิยมเอาดาราที่มีชื่อเสียงมาเป็นพรีเซนเตอร์ นิยมดูสื่อเคลื่อนไหวอย่างวีดีโอมากกว่าภาพนิ่ง การจัดส่งสินค้าควรให้รวดเร็วเพราะคนกัมพูชาไม่ชอบการรอคอย เพราะถ้ารอรับสินค้าเกินกว่าหนึ่งวันจะมีผลต่อการตัดสินใจทันที ทางออกคือจัดส่งด้วยมอเตอร์ไซค์ที่สะดวกและรวดเร็ว ส่วนการชำระเงิน เนื่องจากคนส่วนใหญ่ไม่มีบัญชีธนาคารและมีผู้ใช้บัตรเครดิตเพียง 3% จึงนิยมชำระเป็นเงินสดหรือใช้บริการโอนผ่านหมายเลขโทรศัพท์มือถือแทน ในอนาคตการทำธุรกรรมทางการเงินจะมีการเปลี่ยนไปเพราะคนกัมพูชาเปิดรับเทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลา
ที่มา: http://www.exim.go.th/doc/adn/49815_0.pdf
26 มิถุนายน 2561
งานสัมมนา “Krungsri Business Talk : กัมพูชา VS เวียดนาม ตลาดไหน ใช่เลย!” มีการนำผู้มีประสบการณ์ในการทำธุรกิจของทั้ง 2 ประเทศมาถ่ายทอดข้อมูลที่สำคัญคือ ประเด็นที่ 1 การเติบโตและสินค้าที่เป็นไปได้ในตลาด กัมพูชาชอบดีทีวีไทยเป็นอย่างมากจึงไม่จำเป็นต้องทำโฆษณาตัวสินค้าไทยเพราะเป็นที่นิยมอยู่แล้ว ส่วนเวียดนาม มี FTA เชื่อมต่อการส่งออกของไทยและนิยมสินค้าอย่างเครื่องสำอางและไอที ประเด็นที่ 2 พฤติกรรมผู้บริโภค กัมพูชาเปิดรับสินค้าทุกอย่าง ไม่สนใจว่าฉลากจะเป็นภาษาไหนแต่ถ้าเป็นภาษาไทยจะยิ่งมีความเชื่อมั่น ส่วนเวียดนามมีรสนิยมในสินค้าที่มีคุณภาพมากขึ้น ชอบผลิตภัณฑ์ที่มีกิมมิคและแปลกใหม่ ประเด็นที่ 3 การจับจ่ายและกฎระเบียบ การเข้าไปทำธุรกิจของทั้ง 2 ประเทศจะคล้ายคลึงกันคือหาคู่ค้าและตัวแทนจำหน่าย ด้านกฎระเบียบของเวียดนามจะมีความอ่อนไหวมากกว่าเพราะเปลี่ยนแปลงบ่อย สิ่งที่นักลงทุนพึงตระหนักคือการติดตามข้อมูลข่าวสาร นโยบายและเศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศอยู่ตลอด
ที่มา: https://www.thairath.co.th/content/1258896
19 เมษายน 2561
ปัจจุบันกัมพูชามีวัยแรงงาน 9 ล้านคน จากประชากร 19 ล้านคน อัตราว่างอยู่ที่ 0.4 % ต่ำเป็นอันดับ 2 ของโลก ส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ ก่อสร้าง การท่องเที่ยว และการเกษตร มีกฎหมายแรงงานที่เข้มแข็ง ค่าแรงต่อเดือนอยู่ที่ 170 ดอลล่าร์สหรัฐและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่จบขั้นประถมศึกษาและขาดแคลนแรงงานด้านเทคนิคและวิศวกร จากข้อมูลบริษัทไทยที่เข้าไปลงทุนธุรกิจอาหารและวัสดุก่อสร้างจะนำสินค้ามาขายก่อนแล้วจึงตั้งโรงานเพื่อผลิตและส่งออก และให้คนท้องถิ่นบริหารเอง ทั้งนี้จะส่งบุคลากรไทยเพื่อมาสอนงานและวางระบบองค์กรก่อน ปัญหาที่พบ ขาดทักษะในด้านการปฏิบัติและการทำงานเป็นทีม คิดวิเคราะห์ไม่ได้ ให้ความสำคัญกับวันหยุดและเทศกาลต่างๆ ซึ่งจะไม่นิยมทำงานในวันหยุด และปัญหาคอร์รัปชันสูง ดังนั้นการลงทุนต้องศึกษาและเข้าใจวัฒนธรรมประเพณีและข้อควรปฏิบัติต่างๆ ก่อนการลงทุน
ที่มา: http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/644218
22 มีนาคม 2561
ปัจจุบันการท่องเที่ยวคิดเป็น 15% ของจีดีพีประเทศ นักท่องเที่ยวเพิ่ม 15% ต่อปี และสังเกตได้ว่าชาวต่างชาติผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนนิตยสาร International Living จัดให้อยู่ในอันดับที่ 17 จาก 24 ประเทศที่ติดอันดับประเทศที่น่าไปใช้ชีวิตหลังเกษียณอายุมากที่สุดในโลก จากปัจจัยอย่างค่าครองชีพที่ถูก การเป็นมิตรกับชาวต่างชาติ เช่น สามารถเป็นเจ้าของห้องพักได้ ขอวีซ่าโดยไม่ต้องขอหนังสือรับรองการทำงานแต่ต้องต่อทุกๆ ปี และการก่อการร้ายค่อนข้างต่ำ ดังนั้นจึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยในการลงทุนอย่างสินค้าอุปโภคบริโภคที่ได้คุณภาพตรงตามความต้องการของกลุ่มผู้ซื้อที่มีความเชื่อมั่นมากกว่าสินค้าท้องถิ่น สถานพยาบาลที่ได้มาตรฐานสากลสำหรับผู้สูงอายุหรือธุรกิจดูแลผู้สูงอายุที่กัมพูชายังไม่มี และธุรกิจเกี่ยวเนื่องอย่างอุปกรณ์สำหรับใช้ภายในที่พักอาศัย ออกแบบและตกแต่งภายใน
ที่มา: http://www.exim.go.th/doc/adn/48800_0.pdf
25 มิถุนายน 2560