เกษตร ท่องเที่ยว กุญแจสู่ความก้าวหน้าเศรษฐกิจสปป.ลาว

รายงานของธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) เปิดเผย การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและการเสริมสร้างความเชื่อมโยงระหว่างการเกษตรและการท่องเที่ยวจะช่วยฟื้นฟูหลังโควิด 19 และการเติบโตอย่างครอบคลุมในสปป.ลาว สปป. ลาวได้สนับสนุนประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา แต่อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจและการจ้างงานของประเทศยังไม่ก้าวหน้า นางพรวันห์ อุทาวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการวางแผนและการลงทุน กล่าวว่า  “การสร้างงานที่มีคุณภาพและประสิทธิผลเป็นหนึ่งในความสำคัญสูงสุดในวาระนโยบายของรัฐบาล การทำให้อุตสาหกรรมการเกษตรและการท่องเที่ยวเป็นหัวใจสำคัญของการฟื้นตัวของเรา พร้อมกับกลยุทธ์ในการเสริมสร้างการผนึกกำลังของภาคส่วนต่างๆ จะเป็นโอกาสในการเริ่มต้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและแก้ปัญหาความยากจนของสปป.ลาว” ทั้งนี้ในรายงานระบุว่าในปี 2562 การท่องเที่ยวในลาวสนับสนุนการเติบโตของปศุสัตว์และการประมง ธุรกิจการท่องเที่ยวอาจเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่คุณค่าทางการเกษตรรูปแบบใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับพืชผักและปศุสัตว์มีมูลค่ามากถึง 4.1 ล้านคนในปี 2561 คิดเป็น 12% ของจีดีพีของประเทศ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Agriculture_183_21.php

ส่งออกข้าวเมียนมาสร้างรายได้กว่า 642 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบฯ ปัจจุบัน

ข้อมูลของกรมศุลกากรเมียนมา เผย รายได้จากการส่งออกข้าวและข้าวหักในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา (ต.ค.63-ก.ค.64) ของปีงบประมาณ 2563-2564 มุมูลค่าถึง 642.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยมีปริมาณการส่งออก 1.2 ล้านตัน แม้การค้าชายแดนจะซบเซา แต่ราคายังคงที่ในตลาดส่งออกชายแดน จากข้อมูลของสหพันธ์ข้าวเมียนมา (MRF) พบว่า ราคาข้าวขาวอยู่ในช่วง 375-405 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ข้าวเหนียวราคา 600-610 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน และข้าวหักอยู่ที่ 300-335 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน  ในปีนี้ การส่งออกไปยุโรปลดลง อย่างไรก็ตาม ยังสามารถที่จะส่งออกไปจีนและบังคลาเทศได้ ราคาข้าวหลักอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นตั้งแต่เดือนพ.ค. นอกจากนี้ มาตรการป้องกันแพร่ระบาดของ COVID-19 และภัยธรรมชาติส่งผลกระทบต่อราคา แต่คาดว่าจะยังคงทรงตัวในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ส่วนข้าวคุณภาพสูงยังเป็นที่ต้องการในประเทศ ราคาจะอยู่ระหว่าง 36,000-68,000 จัตต่อถุง ส่วนข้าวคุณภาพต่ำมีราคาอยู่ระหว่าง 23,000 ถึง 28,800 จัตต่อถุง เมียนมากำหนดเป้าการส่งออกข้าวเพียง 2 ล้านตันในปีงบประมาณปัจจุบัน เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกข้าวในฤดูร้อนลดลง การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อความพร้อมใช้ทรัพยากรน้ำในภาคการเกษตร ทั้งนี้เมียนมามีรายได้กว่า 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการส่งออกข้าวในปีงบประมาณ 2562-2563 ซึ่งก่อนหน้าวันที่ 30 ก.ย.64 คาดว่าจะมีปริมาณการส่งออกอยู่ที่ 2.5 ล้านตัน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-rice-export-registers-642-mln-this-fy/#article-title

ฮุน เซน วางแผนเร่งเพิ่มปริมาณการค้า กัมพูชาและต่างประเทศ

นายกรัฐมนตรี ฮุน เซน วางแผนเร่งเพิ่มปริมาณการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในสินค้าภาคเกษตร ซึ่งถือเป็นความหวังใหม่ของกัมพูชาในการสร้างความมั่นคงด้านการส่งออกและเป็นผลดีต่อระบบเศรษฐกิจในอนาคตของกัมพูชา รวมถึงทางด้าน Wang Yi รัฐมนตรีจีน ยืนยันการสนับสนุนของจีน ต่อภาคการเกษตรโดยกล่าวว่าจีนจะนำเข้าผลิตผลทางการเกษตรจากกัมพูชาเพิ่มมากขึ้นเพื่อประโยชน์ของเกษตรกรชาวกัมพูชา โดยจีนถือเป็นประเทศที่มีขนาดของเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกรองจากสหรัฐอเมริกา ดังนั้นจึงเป็นประโยชน์อย่างมากต่อกัมพูชาที่มีจีนเป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิด ผ่านข้อตกลงการค้าเสรีที่กำลังจะมีผลบังคับใช้ รวมถึงยังมีข้อตกลงการค้าเสรีกับสมาชิกอาเซียน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ที่กำหนดให้การส่งออกของกัมพูชาปลอดภาษีถึงร้อยละ 90 ระหว่างผู้ลง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือเป็นกรอบความร่วมมือระหว่างกัมพูชาและนานาประเทศในการเพิ่มปริมาณการค้าระหว่างกัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50934578/hunt-down-more-overseas-trade-demands-prime-minister-hun-sen/

ผลผลิตทางการเกษตรของกัมพูชา 9 รายการ ถูกยกขึ้นเป็นพืชมูลค่าสูง

รัฐบาลออสเตรเลียได้จัดทำรายการพืชผลมูลค่าสูงของกัมพูชาจำนวน 9 รายการ โดยได้ศึกษาห่วงโซ่คุณค่าทางการเกษตรของกัมพูชา-ออสเตรเลีย (CAVAC) ซึ่งผลการศึกษาระบุว่า มะม่วง ถั่วเลนทิล เม็ดมะม่วงหิมพานต์ พริก มันเทศ อะโวคาโด งา น้ำตาลปี๊บ และกล้วยตาก ถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่สำคัญ โดยเพื่อเป็นการกำหนดเป้าหมายให้กับเกษตรกร ผู้แปรรูป และผู้ที่มีส่วนได้เสียในภาคการเกษตรของกัมพูชาในการวางแผนการผลิตพืชผล ซึ่งรัฐบาลกัมพูชาหวังว่าจะเพิ่มความต้องการในตลาดสำคัญๆ เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ยุโรป จีน และอาเซียน และหาผู้ซื้อรายใหม่ๆ เพิ่มขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มปริมาณการค้าระหว่างประเทศเป็นสำคัญ ซึ่งภาคเกษตรกรรมคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 22 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของกัมพูชา ส่วนการจ้างงานคิดเป็นอย่างน้อยร้อยละ 65 ของประชากรภายในประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50924268/nine-agricultural-products-listed-as-high-value-crops/

ปริมาณการส่งออกพริกสดของกัมพูชาเพิ่มสูงขึ้น ในช่วง 5 เดือนแรกของปี

การส่งออกพริกสดของกัมพูชาเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ ตามสถิติที่เปิดเผยโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง ซึ่งตั้งแต่เดือนมกราคมถึงพฤษภาคม 2021 มีการส่งออกพริกสดรวมกันกว่า 56,507 ตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 95 เมื่อเทียบกับปีก่อน ขณะเดียวกันกัมพูชายังทำการส่งออกพริกแห้งจำนวน 600 ตัน ลดลงร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยตลาดที่ใหญ่ที่สุดในการนำเข้าพริกจากกัมพูชาคือประเทศไทย รองลงมาคือสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อีกทั้งกัมพูชาพยายามทำงานอย่างหนักเพื่อกระจายสินค้าส่งออก โดยเฉพาะสินค้าเกษตร อาทิเช่น ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ข้าวโพด กล้วยสด ส้มโอ มะม่วง และพริกไทย ไปยังต่างประเทศ เพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณการส่งออก รวมถึงเป็นการขยายตลาดต่างประเทศในเวลาเดียวกัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50867931/cambodia-sees-a-surge-in-fresh-chilli-export/

MADB สาขามะริด ปล่อยเงินกู้ 5,000 ล้านจัต ช่วยเกษตรกรในฤดูมรสุม

ธนาคารพัฒนาการเกษตรแห่งเมียนมา (MADB) สาขามะริด ได้ปล่อยเงินกู้ช่วยเหลือภาคการเกษตรจำนวน 5 พันล้านจัต สำหรับการปลูกข้าวในช่วงมรสุมครอบคลุมเกษตรกรกว่า 6,122 คนใน 5 ตำบลในอำเภอมะริด เขตตะนาวศรี โดยใช้เกณฑ์จ่าย 150,000 จัตต่อเอเคอร์ สูงสุดไม่เกิน 10 เอเคอร์ ดอกเบี้ยร้อยละ 5 เหมือนเช่นเดียวกันกับปีที่แล้ว

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/madb-to-disburse-k5-bln-monsoon-crop-loans-for-over-6000-farmers-in-myeik-district/#article-title

ราคามะนาวเมืองจาอี้นเซะจี้ ร่วงอย่างต่อเนื่อง

มะนาวมีการปลูกกันอย่างแพร่หลายในเมืองจาอี้นเซะจี้ (Kya-in-Seikkyi) จังหวัด ก่อกะเระ รัฐกระเหรี่ยง  เกษตรกรในท้องถิ่นมีการปลูกเชิงพาณิชย์และหารายได้เสริมให้กับครอบครัวเป็นจำนวนมากบนพื้นที่กว่า 10,000 เอเคอร์ ทำให้มะนาวออกผลสู่ตลาดเป็นอย่างมากส่งผลให้ราคาจึงลดลงอย่างต่อเนื่อง ในฤดูมรสุมปีที่แล้ว ราคามะนาวแตะ 15 จัตต่อลูก แต่พุ่งเป็น 150 หรือ 200 จัตต่อผลแต่ขึ้นอยู่กับขนาดของลูกมะนาว แต่ปีนี้ราคาร่วงลงเหลือลูกละ 40 จัต ทั้งนี้เมื่อถึงฤดูเก็บเก็บเกี่ยวมะนาวจะถูกส่งไปยังขายยังเมืองมะละแหม่ง รัฐมอญ และเขตย่างกุ้ง

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/lemon-price-constantly-drops-in-kya-in-seikkyi/#article-title

สปป.ลาวได้เงินทุนสำหรับพัฒนาความสามารถในการแข่งขันทางการเกษตร

สมาคมการพัฒนาระหว่างประเทศ ธนาคารโลกและรัฐบาลสปปป.จัดหาเงินจำนวน 29,300,000 ดอลลาร์สหรัฐเพื่อเป็นเงินทุนให้กับโครงการความสามารถในการแข่งขันด้านการเกษตรของสปป.ลาวซึ่งจะมีขึ้นในปี 2561 ถึง 2567 วัตถุประสงค์ของโครงการคือการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของห่วงโซ่คุณค่าทางการเกษตรที่ โครงการนี้ได้ระบุพืชที่ให้ผลผลิตมากที่สุด 3 ชนิด ได้แก่ ข้าว ผัก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตรด้วยการใช้เทคโนโลยีเครื่องจักรใหม่ ๆ และการลดแรงงานและต้นทุนการผลิต โดยพื้นที่โครงการครอบคลุมพื้นที่การเกษตรมากกว่า 11,000 เฮกตาร์ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Funds101.php

กัมพูชาและประเทศในกลุ่มภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกร่วมส่งเสริมความร่วมมือด้านการเกษตร

กัมพูชาและประเทศในกลุ่มภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้จัดให้มีการประชุมเสมือนจริง เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการเกษตรโดยเฉพาะเรื่องการประกันความมั่นคงด้านอาหารที่ยั่งยืนในภูมิภาค ซึ่งถือเป็นการประชุมระดับรัฐมนตรีเกี่ยวกับระบบอาหารประจำปี 2030 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 24 เมษายน ที่ผ่านมา ภายใต้หัวข้อ “Building Back Better” ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรป่าไม้และประมงของกัมพูชาทำการเข้าร่วมประชุม โดยได้เน้นย้ำถึงความท้าทายบางประการในภาคการเกษตรของกัมพูชา รวมถึงผลผลิตทางการเกษตรบางประเภทที่ตกต่ำและการไม่มีตลาดรองรับ ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 ซึ่งรัฐมนตรียังคงทำงานอย่างหนักเพื่อส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตข้าวคุณภาพสูง ตลอดจนพืชสวนและพืชอุตสาหกรรม ผ่านการกระจายความหลากหลายทางการเกษตรอย่างทันท่วงที

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50844871/cambodia-asia-pacific-regional-countries-foster-agricultural-collaboration/

สถานการณ์ภาคการเกษตรกัมพูชาในปีที่ผ่านมา

กระทรวงเกษตรตั้งเป้าที่จะเพิ่มผลิตภาพในส่วนของภาคการเกษตรภายในประเทศ โดยมุ่งเน้นไปที่การเปลี่ยนไปใช้เครื่องจักรกลทางการเกษตรทดแทนแรงงานมนุษย์ ซึ่งเครื่องจักรกลการเกษตรที่เข้ามาคาดว่าจะแทนที่แรงงานคนและสัตว์เกือบทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการผลิตข้าวและพืชอุตสาหกรรมเกษตร จากรายงานของกรมวิชาการเกษตรกัมพูชาปัจจุบันมีรถแทรกเตอร์ 32,094 คัน รถคูโบต้า 498,119 คัน และรถเกี่ยวข้าว 6,796 คัน ในภาคการเกษตร ซึ่งในปี 2020 กัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตรมูลค่ารวมกว่า 4.037 พันล้านดอลลาร์ ตามข้อมูลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ซึ่งเป็นการส่งออกข้าวสารมากกว่า 690,000 ตัน ในปี 2020 ไปยังตลาดต่างประเทศทั่วโลก และข้าวเปลือกอีกมากกว่า 2,800,000 ตัน ถูกส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนาม รวมไปถึงผลิตผลทางการเกษตรอื่น ๆ ร่วมด้วย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50802183/2020-was-a-bumper-year-for-agriculture/