เวียดนามเผยช่วงครึ่งปีแรก ดัชนี CPI ทำสถิติสูงสุด 5 ปีที่ผ่านมา

สำนักงานสถิติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2563 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.19 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ถือว่าสูงสุดตั้งแต่ปี 2559-2563 ทั้งนี้ ดัชนี CPI เดือนมิ.ย. ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.66 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันเดือนที่แล้ว เป็นผลมาจากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันและเนื้อสุกร อย่างไรก็ตาม ดัชนี CPI เดือนมิ.ย. ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.59 เมื่อเทียบกับเดือนธ.ค. ซึ่งต่ำที่สุดในช่วงปี 2559-2563 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงไตรมาสสองของปีนี้ ดัชนี CPI ลดลงร้อยละ 1.87 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.83 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว นอกจากนี้ ราคาทองคำพุ่งสูงขึ้นร้อยละ 1.71 เมื่อเทียบกับเดือนมิ.ย. เหตุจากผลกระทบของไวรัสโควิด-19 และข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีน

ที่มา : http://dtinews.vn/en/news/018/68638/cpi-records-five-year-high-in-h1.html

“โควิด” ฉุดความเชื่อมั่นดิ่งเหว คลายล็อกดาวน์สะพัด 2 แสนล้าน

ดัชนีความเชื่อมั่นไทยติดลบในรอบเกือบ 22 ปี หลังโควิด-19 ฉุดเศรษฐกิจไทยครึ่งปีแรก 2563 ติดลบ 10% เข้าสู่ภาวะถดถอยเชิงเทคนิค ส่วนผลการคลายล็อกดาวน์ระยะที่ 1 ช่วยเงินสะพัด 6-9 หมื่นล้าน ลุ้นเศรษฐกิจฟื้นไตรมาส 4 ายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีและประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนเมษายน 2563 อยู่ที่ระดับ 47.2 ลดลงจากเดือนมีนาคม 2563 ที่อยู่ในระดับ 50.3 ซึ่งติดลบต่อเนื่องต่ำสุดในรอบ 259 เดือน หรือ 21 ปี 7 เดือน ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ระดับ 39.2 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทำอยู่ที่ระดับ 46.0 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ระดับ 56.4 โดยเป็นผลจากความวิตกกังวลต่อการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ที่กระทบต่อเศรษฐกิจ ธุรกิจ และรายได้โดยรวม และการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เพื่อบริหารจัดการและควบคุมสถานการณ์ ทั้งนี้การรีสตาร์ตธุรกิจส่งผลต่อธุรกิจ การจับจ่ายใช้สอยในประเทศ มาตรการช่วยเหลือของรัฐ การกระตุ้นเศรษฐกิจทางด้านการลงทุน จะส่งผลให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้เร็วขึ้น เพราะจากปัญหาปัจจุบัน การล็อกดาวน์ทำให้เม็ดเงินหายไปจากระบบวันละ 10,000 ล้านบาท จากการชะลอจับจ่ายของประชาชนในทุกกลุ่มสินค้า การท่องเที่ยว สินค้าจำเป็น สินค้าฟุ่มเฟือย สำหรับแนวโน้มการปลดล็อกให้ชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศเป็นสัญญาณที่น่าจะเกิดขึ้นได้ในไตรมาส 3 และถ้าสถานการณ์ของการปลอดเชื้อโควิด-19 ในเอเชีย และทั้งโลกดีขึ้น คาดว่าไตรมาส 4 นักท่องเที่ยวต่างชาติน่าจะเริ่มกลับมา 6 ล้านคน หรือเดือนละประมาณ 2 ล้านคน ขึ้นอยู่กับมาตรการของรัฐ โดยจะทำให้การท่องเที่ยวไทยฟื้นเร็วขึ้น

ทีมา: https://www.prachachat.net/economy/news-462105

INFOGRAPHIC : เวียดนาม เผย CPI เดือน เม.ย.63 หดตัว 1.54% ต่ำสุดตั้งแต่ปี 2559-2563

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนเมษายน 2563 หดตัว 1.54% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนที่แล้ว ปรับตัวลดลงแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559-2563

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/cpi-down-154-lowest-in-20162020-period/172720.vnp

ดัชนีราคาผู้บริโภค ‘เวียดนาม’ เดือนเม.ย. ลดลง 1.54%

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนเม.ย. ปรับตัวลดลงร้อยละ 1.54 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เป็นผลมาจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและราคากลุ่มอาหารลดลง อย่างไรก็ตาม ดัชนี CPI เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.93 เมื่อเทียบกับเดือน เม.ย.62 โดยราคาสินค้าโภคภัณฑ์ 11 กลุ่มลดลง รวมถึงการขนส่ง (13.86%), วัสดุก่อสร้างและที่อยู่อาศัย (2.33%) และสินค้าและบริการอื่นๆ (0.13%) ทั้งนี้ ราคาทองคำเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.69 เมื่อเทียบกับเดือนมี.ค. และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (USD) ขยับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.95 ในขณะเดียวกัน อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ไม่รวมรายการที่มีการเคลื่อนไหว อาทิ อาหารสด พลังงาน บริการดูแลสุขภาพและการศึกษา) ลดลงร้อยละ 0.15 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน แต่ขยับเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.71 เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งตัวเลขดังกล่าวในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ ขยับเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.96

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/april-cpi-down-154-percent-monthonmonth/172557.vnp

เวียดนามเผยดัชนีราคาผู้บริโภคไตรมาสแรก ขยายตัวสูงสุดตั้งแต่ปี 2559-2563

จากรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2563 ปรับตัวขึ้นร้อยละ 5.56 นับว่าสูงสุดตั้งแต่ปี 2559-2563 โดยสาเหตุสำคัญจากความต้องการอาหารเพิ่มขึ้น ในเดือนม.ค. – ก.พ. (ช่วงปีใหม่เต็ด : Tet), ภายในงานแถลงข่าววันที่ 27 มี.ค. ณ กรุงฮานอย รวมถึงราคาอาหารและผักที่ปรับสูงขึ้นร้อยละ 13.21 และ 4.14 ตามลำดับ โดยการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นั้น เริ่มขึ้นในช่วงปลายเดือนม.ค. ปีนี้ ดังนั้น ความต้องการผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ ไฟฟ้าและน้ำเพิ่มขึ้น ทำให้ราคาสินค้าดังกล่าวปรับตัวขึ้นร้อยละ 1.43, 9.89 และ 4.75 ตามลำดับ สำหรับราคาน้ำมันเฉลี่ยในช่วงไตรมาสแรก ลดลงร้อยละ 5.75 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากผลกระทบของโควิด-19 และสงครามราคาน้ำมันระหว่างโอเปกและรัสเซีย ทั้งนี้ อุปสงค์การท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นในช่วงวันปีใหม่ แต่เมื่อเผชิญกับการแพร่ระบาดทำให้แพ็คเกจทัวร์ลดลง นอกจากนี้ ทางสำนักงาน GSO ระบุว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในช่วง 3 เดือนแรก ปรับตัวขึ้นร้อยละ 3.05

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/firstquarter-cpi-sees-highest-rise-in-20162020-411898.vov

ราคาเนื้อหมูพุ่งสูงขึ้น ดัชนี CPI พ.ย.

จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (Customer Price Index: CPI) ในเดือนพฤศจิกายนของปี 2562 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.96 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนที่แล้ว ซึ่งดัชนี CPI พ.ย. 2562 เป็นการขยายตัวที่สูงที่สุด ในช่วง 9 ปีที่ผ่านมา และมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.52 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยตัวเลขที่เพิ่มสูงขึ้นดังกล่าว เป็นผลมาจากราคาเนื้อหมูและผลิตภัณฑ์ทำมาจากเนื้อหมูพุ่งสูงขึ้น เนื่องมาจากผลผลิตที่ลดลง จากการแพร่ระบาดของไข้หวัดหมูแอฟริกา อย่างไรก็ตาม ดัชนี CPI ในช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.57 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว นับว่าอัตราการขยายตัวต่ำที่สุดในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยในช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.94 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/pork-price-pushes-up-november-cpi/164609.vnp

อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็นเวลาเก้าเดือนติดต่อกัน

จากตัวเลขของกระทรวงวางแผนและการเงิน เดือน เม.ย.61 ถึงเดือน มิ.ย. 62 อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 1.53% ถึง 3.27% นานถึง 9 เดือนติดต่อกันของปีงบประมาณปัจจุบัน อัตราเงินเฟ้อเมื่อเทียบเป็นรายปีคาดแตะระดับ 4.10% และอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยอยู่ที่ 4.81% ในปี 61-62 อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยที่คำนวณโดยใช้ปี 55 เป็นปีฐานอยู่ที่ 8.08% และอัตราเงินเฟ้อปีต่อปีคิดเป็น 9.51% ในช่วงปลายเดือน มิ.ย. เขตมะกเวมีค่าสูงสุดอยู่ที่ 12.31% รองลงมาคือรัฐมอญ 10.14% และมัณฑะเลย์ 9.99% ในเดือน พ.ย. 55 องค์กรสถิติกลางได้ทำการสำรวจครัวเรือนและการบริโภคของครัวเรือน 32,669 ครัวเรือนใน 82 เมืองทั่วประเทศเพื่อคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคและอัตราเงินเฟ้อ ในอดีตอัตราเงินเฟ้อคำนวณโดยใช้ปี 49 เป็นปีฐาน ปัจจุบันปี 55 ถูกใช้เป็นปีฐานในการคำนวณอัตราเงินเฟ้อ

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/average-inflation-rate-increases-for-nine-consecutive-months