กัมพูชาส่งออกข้าวไปยังจีนแตะ 3 แสนตัน ในช่วงปี 2021

กัมพูชาส่งออกข้าวสารปริมาณกว่า 306,222 ตัน ไปยังประเทศจีนในปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 22.8 จากจำนวน 249,322 ตันในปีก่อนหน้า รายงานโดยสำนักข่าวซินหัว ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์ในภาคการค้าข้าวระหว่างทั้งสองประเทศ ตามคำกล่าวของ China Certification & Inspection Group (CCIC) ด้วยการสนับสนุนที่แข็งแกร่งจากประเทศจีน ทั้งทางด้านการผลิตและแปรรูปข้าวของกัมพูชา ร่วมกับข้อตกลงการค้าเสรีจีน-กัมพูชา (CCFTA) และข้อตกลงความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ที่มีผลบังคับใช้ไปเมื่อวันที่ 1 ม.ค. ที่ผ่านมา
ที่มา: https://www.khmertimeskh.com/50999300/for-1st-time-2021-rice-export-to-china-breach-300000-tons/

กัมพูชาส่งออก ‘ข้าว’ ไปเวียดนาม พุ่ง 75%

ตามรายงานของสำนักงานส่งเสริมการค้ากัมพูชาประจำเวียดนาม เปิดเผยว่ากัมพูชาส่งออกสินค้าการเกษตรไปยังตลาดเวียดนามในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2564 เป็นปริมาณ 3.1 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 75% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว พร้อมกับสินค้าการเกษตรอื่นๆ ที่ส่งออกไปยังตลาด เพิ่มขึ้นจาก 20% มาอยู่ที่ 400% เมื่อเทียบกับปีก่อน ในขณะเดียวกัน กัมพูชาส่งออกผลผลิตทางการเกษตรในปี 2564 ปริมาณรวม 7.98 ล้านตัน ไปยัง 68 ประเทศทั่วโลก เพิ่มขึ้น 63.8% เมื่อเทียบกับปีก่อน สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์ที่โดดเด่นของสินค้าเกษตรและภาวะการส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 นอกจากนี้ ในปีที่ผ่านมา การส่งออกมันสำปะหลังสดของกัมพูชาไปยังตลาดเวียดนาม มีสัดส่วน 70% ของผลผลิตทั้งหมด มีปริมาณมากกว่า 622,000 ตันในช่วงกระบวนการ ตลอดจนปริมาณการส่งออกเม็ดมะม่วงหิมพานต์ 912,000 ตัน แต่สินค้าส่งออกที่โดดเด่นมากที่สุด คือผักและผลไม้ พุ่ง 152% คิดเป็นมูลค่า 17.1 ล้านเหรียญสหรัฐ
ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/cambodian-paddy-exports-to-vietnam-enjoy-year-on-year-rise-of-over-75-post915900.vov
 

ราคาส่งออกข้าวเวียดนาม แซงหน้าไทย

ราคาส่งออกข้าวหัก 5% ของเวียดนามปรับตัวพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว แซงหน้าผู้ส่งออกข้าวไทยและประเทศในแถบเอเชีย ได้แก่ อินเดียและปากีสถาน โดยเฉพาะราคาส่งออกข้าวหัก 5% ของเวียดนามมีมูลค่า 438 เหรียญสหรัฐต่อตัน ในขณะที่ราคาข้าวประเภทเดียวกันที่มาจากไทย อินเดียและปากีสถาน มีราคาอยู่ที่ 373, 358 และ 363 เหรียญสหรัฐต่อตัน ตามลำดับ ทั้งนี้ Tran Chi Hung อธิบดีกรมวิชาการเกษตรและการพัฒนาชนบทประจำจังหวัดเหิ่วซาง กล่าวว่าราคาข้าวปรับตัวสูงขึ้นและคาดว่าราคาจะแตะอยู่ในระดับสูงในอนาคตอันใกล้ นอกจากนี้ ในปัจจุบัน ธุรกิจเวียดนามทำการส่งออกข้าวกว่า 5 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 2.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnams-rice-export-price-outstrips-thailands-903279.vov

 

กัมพูชาส่งออกข้าวสารกว่า 4.6 แสนตัน ในช่วง 10 เดือน

กัมพูชาส่งออกข้าวสารปริมาณรวมกว่า 460,169 ตัน ในช่วงเดือน ม.ค.-ต.ค.ปีนี้ คิดเป็นมูลค่าสุทธิ 393 ล้านดอลลาร์ ตามตัวเลขจากกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง (MAFF) ซึ่งการส่งออกข้าวสารทั้งหมดลดลงร้อยละ 14 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยจีนยังคงเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุดสำหรับการนำเข้าข้าวของกัมพูชาอยู่ที่ประมาณ 230,000 ตัน รองลงมาคือประเทศในสหภาพยุโรปและกลุ่มประเทศอาเซียนที่ปริมาณ 115,000 ตัน และ 43,000 ตัน ตามลำดับ ส่วนอีก 70,000 ตัน ถูกส่งไปยังจุดหมายปลายทางอื่น ๆ รวมถึงออสเตรเลียและประเทศในแอฟริกา ซึ่งจากการส่งออกทั้งหมดคิดเป็นการส่งออกข้าวหอมกว่าร้อยละ 71 หรือประมาณ 327,000 ตัน โดยในเดือน ม.ค.-ต.ค. กัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตรปริมาณรวมมากกว่า 6.3 ล้านตัน ส่วนใหญ่เป็นข้าวสาร ข้าวเปลือก มะม่วง กล้วย ส้มโอ พริกไทย และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ไปยัง 68 ประเทศ ซึ่งทำรายได้รวมกว่า 4 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 87.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50962463/cambodia-exports-over-460000-tonnes-of-milled-rice-in-10-months/

11 เดือน เมียนมาส่งออกข้าวสร้างรายได้กว่า 661.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กรมศุลกากรเมียนมา เผย เมียนมาสร้างรายได้ 661.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการส่งออกข้าวและข้าวหักในช่วงแปดเดือนที่ผ่านมา (ต.ค.63 – ส.ค.64) ของปีงบฯ  2563-2564 โดยการชะงักของการค้าชายแดนทำให้ตลาดซบเซาและส่งผลให้ราคาส่งออกลดลง ราคาข้าวขาวมีตั้งแต่ 340-355 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ขึ้นอยู่กับพันธุ์และคุณภาพ ซึ่งในปีนี้ การส่งออกไปยังยุโรปลดลง แต่อย่างไรก็ตามยังสามารถส่งออกไปยังจีนและบังคลาเทศได้ นอกจากนี้ ราคาข้าวปี 2563 จะเพิ่มขึ้นในฤดูฝน ดังนั้น จึงเป็นไปได้ว่าช่วงฤดูมรสุมของปีนี้ราคาอาจจะเพิ่มขึ้น โดยเมียนมาตั้งเป้าการส่งออกข้าวเพียง 2 ล้านตันในปีงบประมาณนี้ เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกลดลงตาม การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และน้ำชลประทานในการเกษตร ส่งผลให้ตัวเลขการส่งออกลดลง 300,000 ตันในปีนี้ ทั้งนี้การส่งออกข้าวในปีงบฯ 2562-2563 มีรายได้กว่า 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งก่อนหน้าวันที่ 30 ก.ย.64 คาดว่าปริมาณการส่งออกจะอยู่ที่ 2.5 ล้านตัน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-rice-export-earns-661-4-mln-in-eleven-months/

 

สปป.ลาวส่งออกข้าว 50 ตันแรกไปยังสหภาพยุโรป

สปป.ลาวส่งออกข้าว 50 ตัน ไปยังสหภาพยุโรปมีมูลค่า 29,000 เหรียญสหรัฐ การจัดส่งข้าวพันธุ์ทาดอกคำ-8 (TDK8) ครั้งแรกถูกจำหน่ายให้กับเบลเยียมโดยบริษัท Champahom Trading Import-Export Sole Co., Ltd. การขายเป็นส่วนหนึ่งของโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวเพื่อการพาณิชย์ภายใต้กระทรวงเกษตรและป่าไม้ ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยได้รับเงินทุนจากธนาคารโลก ดร.บุญวง คำบุนเฮือง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและป่าไม้ กล่าวกับเวียงจันทน์ไทมส์ “รัฐบาลสปป.ลาวมีเป้าหมายเพิ่มปริมาณการส่งออกข้าวเป็น 3,000 ตันต่อปี ทั้งนี้ผู้ซื้อชาวยุโรปจำนวนมากต้องการซื้อข้าวจากลาวเนื่องจากการทำเกษตรกรรมปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม ความท้าทายหลักสำหรับเกษตรกรในการผลิตข้าวคือมาตรฐานที่เข้มงวดตามที่ประเทศในสหภาพยุโรปกำหนด”

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laos_exports_194.php

ส่งออกข้าวเมียนมาสร้างรายได้กว่า 642 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบฯ ปัจจุบัน

ข้อมูลของกรมศุลกากรเมียนมา เผย รายได้จากการส่งออกข้าวและข้าวหักในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา (ต.ค.63-ก.ค.64) ของปีงบประมาณ 2563-2564 มุมูลค่าถึง 642.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยมีปริมาณการส่งออก 1.2 ล้านตัน แม้การค้าชายแดนจะซบเซา แต่ราคายังคงที่ในตลาดส่งออกชายแดน จากข้อมูลของสหพันธ์ข้าวเมียนมา (MRF) พบว่า ราคาข้าวขาวอยู่ในช่วง 375-405 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ข้าวเหนียวราคา 600-610 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน และข้าวหักอยู่ที่ 300-335 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน  ในปีนี้ การส่งออกไปยุโรปลดลง อย่างไรก็ตาม ยังสามารถที่จะส่งออกไปจีนและบังคลาเทศได้ ราคาข้าวหลักอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นตั้งแต่เดือนพ.ค. นอกจากนี้ มาตรการป้องกันแพร่ระบาดของ COVID-19 และภัยธรรมชาติส่งผลกระทบต่อราคา แต่คาดว่าจะยังคงทรงตัวในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ส่วนข้าวคุณภาพสูงยังเป็นที่ต้องการในประเทศ ราคาจะอยู่ระหว่าง 36,000-68,000 จัตต่อถุง ส่วนข้าวคุณภาพต่ำมีราคาอยู่ระหว่าง 23,000 ถึง 28,800 จัตต่อถุง เมียนมากำหนดเป้าการส่งออกข้าวเพียง 2 ล้านตันในปีงบประมาณปัจจุบัน เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกข้าวในฤดูร้อนลดลง การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อความพร้อมใช้ทรัพยากรน้ำในภาคการเกษตร ทั้งนี้เมียนมามีรายได้กว่า 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการส่งออกข้าวในปีงบประมาณ 2562-2563 ซึ่งก่อนหน้าวันที่ 30 ก.ย.64 คาดว่าจะมีปริมาณการส่งออกอยู่ที่ 2.5 ล้านตัน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-rice-export-registers-642-mln-this-fy/#article-title

พาณิชย์ชี้ตลาดสิงคโปร์ หอมมะลิโอกาสสูง-ข้าวกล้องมาแรง

นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 25 ส.ค. 64 กรมได้ร่วมกับสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย และสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (สคต.) ณ กรุงสิงคโปร์ จัดการประชุมหารือกับสมาคมผู้นำเข้าข้าวสิงคโปร์ เพื่อผลักดันการส่งออกข้าวไทยไปยังสิงคโปร์ในช่วงที่เหลือของปี 64 นี้ สาเหตุที่สิงคโปร์นำเข้าข้าวจากไทยลดลงมาจากราคามีความผันผวนมาก ผู้นำเข้าบางส่วนจึงหันไปนำเข้าข้าวจากเวียดนามและอินเดียที่มีเสถียรภาพด้านราคา แม้คุณภาพจะด้อยกว่าข้าวไทย แต่ครึ่งปีหลังราคาข้าวไทยคาดจะปรับตัวลดลงโดยเฉพาะข้าวหอมมะลิ นอกจากนี้ ข้าวกล้อง กำลังได้รับความนิยม หลังจากรัฐบาลสิงคโปร์ได้รณรงค์ให้บริโภคข้าวกล้องเพื่อลดอัตราผู้ป่วยโรคเบาหวาน คาดว่าครึ่งปีหลังจะมีการนำเข้าข้าวจากไทยเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน

ที่มา: https://www.naewna.com/business/598361

ข้าวเวียดนาม เผชิญการแข่งขันจากอินเดียและฟิลิปปินส์

ตามรายงานของสำนักงานส่งเสริมแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ชี้ให้เห็นว่าในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ ยอดการส่งออกข้าวของเวียดนาม อยู่ที่ 2.7 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าราว 1.48 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 11.3% ในด้านปริมาณ และ 5% ในด้านมูลค่า เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ ราคาข้าวของเวียดนามนั้น สูงกว่าราคาข้าวของอินเดียและไทยค่อนข้างมาก ข้าวเวียดนาม 1 ตัน สูงกว่าข้าวไทย 20 เหรียญสหรัฐ และสูงกว่าข้าวอินเดีย 100 เหรียญสหรัฐต่อตัน หากเฉลี่ยราคาข้าวของเวียดนามในช่วง 4 เดือยแรกของปีนี้ แตะ 543 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น 15.4% เมื่อเทียบเป็นรายปี ทั้งนี้ เมื่อเร็วๆนี้ ฟิลิปปินส์ประกาศยกเลิกภาษีนำเข้าแก่กลุ่มประเทศในอาเซียนและนอกอาเซียน ตลอดจนประเทศที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่ง (MFN) โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มการนำเข้าข้าวราคาถูกจากอินเดียและปากีสถาน อย่างไรก็ตาม เวียดนามยังคงเป็นผู้จัดหาข้าวรายใหญ่ที่สุดให้แก่ฟิลิปปินส์ แต่ว่าฟิลิปปินส์ยังรับซื้อข้าวจากไทยและอินเดีย รวมถึงประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย

ที่มา : https://e.vnexpress.net/news/business/industries/vietnamese-rice-faces-competition-from-india-in-philippines-4293486.html

ราคาส่งออกข้าวคุณภาพต่ำ ตรึงอยู่ที่ 23,000 จัตต่อถุง เนื่องจากธนาคาร จำกัดการทำธุรกรรมการเงิน

ราคาส่งออกข้าวคุณภาพต่ำยังไม่กระเตื้องขึ้น และถูกตรึงไว้ที่ 23,000 จัตต่อถุง 108 ปอนด์ เนื่องจากไม่สามารถถอนเงินจากธนาคารได้ ดังนั้นผู้ค้าข้าวกำลังเผชิญกับการซื้อขายที่จำกัดและไม่สามารถชำระเงินสดสำหรับการซื้อขายได้ แม้จะมีความพยายามเชื่อมต่อกับ Myanmar Economic Bank และธนาคารเอกชนอื่นๆ แต่ก็ไม่สามารถเบิกเงินสดได้ นอกจากนี้ยังมีบริษัทเพียงไม่กี่แห่งที่สามารถซื้อข้าวได้และยังมีบริษัทที่ซื้อข้าวส่งออกไปยังบังกลาเทศอีกด้วย ดังนั้นราคาข้าวส่งออกจึงไม่สามารถแข่งขันได้มากนัก ก่อนหน้านี้การซื้อขายข้าวและข้าวหักประมาณ 80,000 ถุงทุกวันที่ศูนย์ค้าส่งข้าวบุเรงนอง แต่ปัจุบันเหลือประมาณ 30,000 ถุง

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/price-of-exported-low-quality-rice-stands-at-k23000-per-108-pound-bag-due-to-bank-withdrawal-limit/