รัฐบาลสปป.ลาวเรียกร้องให้โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโควิดอย่างเข้มงวด

สปป. ลาว ได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นที่โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าต้องปฏิบัติตามมาตรการต่างๆ ที่นำมาใช้เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโควิด-19 เพื่อให้มั่นใจว่าคนงานและพนักงานได้รับการคุ้มครอง โรงงาน Trio Garment Factory ที่เป็นของต่างชาติ ตั้งอยู่ในหมู่บ้านสิกขิต เขตนาทรายทอง ก่อตั้งขึ้นในปี 2538 และมีคนงานประมาณ 2,800 คน มีกำลังการผลิตเสื้อผ้ามากกว่า 200,000 ชิ้น สร้างมูลค่ากว่า 27.5 พันล้านกีบต่อเดือน อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มเป็นหนึ่งในเครื่องกำเนิดเงินตราต่างประเทศที่สำคัญสำหรับสปป.ลาว มาตรการป้องกันที่เข้มงวดจะทำให้ขบวนการผลิตดำเนินการได้ต่อเนื่องสร้างรายได้ให้กับประเทศได้ต่อเนื่อง

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_VP117.php

พานาโซนิคย้ายโรงงานจากไทยไปเวียดนาม

โดย nuttachit I Marketeer

สำนักข่าวนิคเคอิ เอเชียน รีวิว รายงานว่าพานาโซนิค คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น มีแผนปิดโรงงาน ผลิตตู้เย็นและเครื่องซักผ้าในประเทศไทย เพื่อย้ายกำลังการผลิตไปรวมกับโรงงานผลิตตู้เย็นและเครื่องซักผ้าในเวียดนามให้เป็นโรงงานหลักในการผลิตตู้เย็นและเครื่องซักผ้า เหตุผลสำคัญ คือ ลดต้นทุนการจัดหาชิ้นส่วน ซึ่งการย้ายกำลังการผลิตในครั้งนี้ เป็นหนึ่งในการปรับโครงสร้างธุรกิจ โดยมีเป้าหมายลดต้นทุน ค่าใช้จ่าย 100 ล้านเยนหรือประมาณ 29.56 ล้านบาทในเดือนมีนาคม 2565

‘Marketeer’ วิเคราะห์ออกเป็น ดังนี้

  1. ลดต้นทุนค่าแรงสูงบนรายได้การผลิตที่ลดลง ลดต้นทุนในการจัดหาชิ้นส่วน และลดต้นทุนในการจ้างแรงงานที่มีค่าแรงขั้นต่ำถูกกว่าประเทศไทย
  2. ยอดขายในไทยลดลงบนการแข่งขันที่สูง แม้พานาโซนิคจะเข้ามาทำธุรกิจในไทยมาอย่างยาวนาน แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา พานาโซนิค ถูกสินค้าแบรนด์เกาหลี และจีน เข้ามาท้าทายตลาดอย่างต่อเนื่องจนรายได้และกำไรในการขายสินค้าพานาโซนิคลงอย่างเห็นได้ชัดในปี 2562

ทั้งนี้ ศิริรัตน์  ยงค์เจริญชัย ผู้จัดการทั่วไปสายสื่อสารองค์กร บริษัท พานาโซนิค แมนเนจเม้นท์ ประเทศไทย จำกัด ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า การควบรวมโรงงานผลิตตู้เย็นและเครื่องซักผ้าไปอยู่ที่ประเทศเวียดนามเป็นไปตามนโยบายของบริษัทแม่ในประเทศญี่ปุ่น ที่มีพิจารณาแผนการดำเนินธุรกิจมาตั้งแต่ปี 2562 เพื่อเป้าหมายในการเพิ่มประสิทธิภาพทั้งเรื่องของพื้นที่ขนาดใหญ่กว่า และการบริหารด้านการผลิตและต้นทุนให้มากขึ้น

ที่มา : https://marketeeronline.co/archives/165880

โรงงานสี่แห่งของเมียนมาเริ่มผลิตหน้ากากอนามัย

โรงงานสี่แห่งในเขตย่างกุ้งและเขตพะโคจะเริ่มผลิตหน้ากากอนามัยหลังจากวันหยุดเทศกาลตะจาน ท่ามกลางความต้องการหน้ากากในท้องถิ่นที่เพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากการระบาดของ coronavirus คณะกรรมการกำกับดูแลอุตสาหกรรมแห่งเขตพะโคได้หารือกับ Cobes Industries Myanmar Bago Co บริษัทย่อยของ Cobes Industries ในฮ่องกงซึ่งเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล (PPE) โดยรัฐบาลได้ลงนามข้อตกลงซื้อ PPE 100,000 ชิ้นจาก Cobes และโรงงานการดูแลสุขภาพ KM Healthcare ของเกาหลีใต้ในเขต Bago เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ในขณะเดียวกันกำลังการเจรจาโรงงานญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ในเขตอุตสาหกรรม Shwe Lin Pan ใกล้ย่างกุ้ง ปัจจุบันราคาของหน้ากากอนามัยพุ่งสูงขึ้นถึง 800 จัตและ 1000 จัตต่อชิ้น เมื่อเทียบกับ 100 จัตถึง 150 จัตก่อนการระบาดของ COVID-19

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/four-factories-start-producing-masks-myanmar.html

โรงงานใน Kaixi Myanmar ปลดคนงานกว่า 1,200 คน

สองโรงงานของ Kaixi ในเขตอุตสาหกรรม Ngwepinle ในเมืองไหลตายา และเขตอุตสาหกรรม Shwepyitha (4) ในเมืองชเว-ปยีตา เขตย่างกุ้งปลดพนักงาน 1,200 คนไปเมื่อวันที่ 21 มีนาคมที่ผ่านมา เนื่องจากไม่ได้รับคำสั่งซื้อชุดชั้นในสตรีจากประเทศคู้ค้าหลักอย่างอิตาลีและฝรั่งเศษที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 โรงงานทั้งสองเลิกจ้างแรงงาน 300 คนที่ทำงานน้อยกว่าสามเดือน ในการแจ้งเพื่อเลิกจ้างคนงานหากไม่มีคำสั่งซื้อควรแจ้งล่วงหน้าก่อนหนึ่งเดือน ทั้งนี้แรงงานจะได้รับการว่าจ้างอีกครั้งหากมีคำสั่งซื้อเข้ามา

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/kaixi-myanmar-factories-cut-1200-workers