การลงทุนรถไฟลาว จีนถึง 6.8 พันล้านหยวนในปี 2562

เมื่อวันที่ 6 มค. 63 มีการจัดการประชุมประจำปีของ บริษัท รถไฟสปป.ลาว – ​​จีน (LCRC) โดยในที่ประชุมประธานบริษัทนายจูกัวเจียงกล่าวว่ามีการลงทุนในการก่อสร้างทางรถไฟสายสปป.ลาว – ​​จีนถึง 6.8 พันล้านหยวนในปี 62 หรือคิดเป็น 50% ของการลงทุนทั้งหมดในโครงสร้างพื้นฐาน โดยขณะนี้ได้ดำเนินก่อสร้างมาแล้ว 86% ของโครงการ ประกอบด้วยอุโมงค์จำนวน 75 อุโมงค์ สะพานยาวกว่า 36 กม. ทางรถไฟที่ถือเป็น โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลสปป.ลาวกับจีนถือป็นสัญลักษณ์ของความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศที่ดีต่อกันและเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Belt and Road ของจีน โครงการดังกล่าวจีนมีการใช้เงินทุนถึง 416.83 พันล้านดอลลาร์โดยรัฐบาลสปป.ลาวให้กู้ 249.98 พันล้านกีบ โดยทุกโครงการคาดว่าจะแล้วเสร็จในปีนี้ นอกจากนี้ในปี63 บริษัทยังตั้งเป้าบรรลุการลงทุนทุกด้านอย่างมีคุณภาพและปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อประโยชน์ทั้งในด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมต่อไป

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/laos-china-railway-investment-reaches-68-billion-yuan-2019-111532

สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน กระทบ FDI กัมพูชา

กัมพูชาและประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากข้อพิพาททางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกาอย่างต่อเนื่อง จากรายงานล่าสุดของธนาคารแห่งชาติกัมพูชา โดยกล่าวเสริมว่าสงครามการค้าที่ยืดเยื้อได้ผลักดันให้เกิดความท้าทายที่สำคัญ ซึ่งทำให้กิจกรรมและการลงทุนระหว่างประเทศหลายประเทศชะลอตัวลง โดยรองผู้อำนวยการศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ลุ่มน้ำโขงกล่าวว่าสงครามการค้าส่งผลกระทบระยะสั้นและระยะยาวต่อประเทศ ซึ่งในระยะสั้นกัมพูชาจะได้รับประโยชน์ในแง่ของการค้าเพราะบริษัทจีนบางแห่งกำลังเผชิญกับการส่งออกผลิตภัณฑ์ไปยังตลาดสหรัฐเนื่องจากมีการเก็บภาษีที่สูง ดังนั้นหลายบริษัทจึงมองหาฐานการผลิตใหม่เช่นกัมพูชา อย่างไรก็ตามในระยะยาวสงครามการค้าจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจกัมพูชาไม่มากก็น้อย เช่นส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาน้อยลงและการลงทุนจากต่างประเทศในกัมพูชาลดลง โดย Nikkei Asian Review ได้รายงานเมื่อเร็วๆนี้ว่ามี บริษัท 16 แห่งกำลังมองหาฐานการผลิตใหม่จากจีนไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อหลีกเลี่ยงภาษีนำเข้าจากสหรัฐฯเนื่องจากข้อพิพาททางการค้า

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50677276/us-china-trade-tension-diverts-foreign-investments-to-kingdoms-benefit

จับสัญญาณเศรษฐกิจไทยปี’63 ระวังปัจจัยเสี่ยงการเมืองภายใน

สัญญาณสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐมีทิศทางดีขึ้น ส่งผลบวกต่อเศรษฐกิจ การค้าโลก และตลาดการเงินโดยรวม คาดทำให้จีดีพีโลก ค้าโลกขยายตัวเพิ่มในปีหน้า การลงทุนในตลาดการเงินโลกคึกคักมาก ส่งผลดีต่อเนื่องกับเศรษฐกิจไทย ภาคส่งออก และภาคการท่องเที่ยวทั้งระบบ ขณะที่การเจรจาเรื่อง Brexit มีความชัดเจนขึ้นเช่นเดียวกัน หลังทราบผลการเลือกตั้งในประเทศอังกฤษ ลดความไม่แน่นอนจากผลกระทบเรื่อง Brexit ได้ในระดับหนึ่ง ขณะที่การลดภาษีนำเข้าจากจีนของสหรัฐจะทำให้ไทยได้ประโยชน์ลดลงจากการเบี่ยงเบนทางการค้า (trade diversion) เนื่องจากสินค้าจีนจะกลับเข้าไปในตลาดสหรัฐมากขึ้น ส่วนกลุ่มสินค้าส่งออกไทยที่ทดแทนสินค้าจีนได้ดีในช่วงที่ผ่านมาจากการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีน ได้แก่ สินค้าเกษตรกรรม อาหารทะเลแช่แข็งและแปรรูป เคมีภัณฑ์และเม็ดพลาสติก เหล็กและอะลูมิเนียม และของใช้ในบ้านและสำนักงาน คงได้รับผลกระทบบ้าง แต่การขยายตัวของส่งออกไปทั่วโลกจะดีขึ้น และภาพรวมของการส่งออกไปสหรัฐ และจีนจะเพิ่มขึ้นจากการเติบโตที่สูงขึ้นในปีหน้า ส่วนการเจรจาเรื่อง Brexit ที่มีความชัดเจนขึ้นหลังทราบผลการเลือกตั้ง ช่วยลดความไม่แน่นอนจากผลกระทบ ซึ่งไทยควรเตรียมการในการเจรจาเชิงรุกเพื่อจัดทำเอฟทีเอกับสหราชอาณาจักร พร้อมกับการเจรจาทำเอฟทีเอกับสหภาพยุโรป แนวโน้มปีหน้า ปัจจัยภายนอกจะเป็นบวกมากขึ้น แต่ปัจจัยภายในโดยเฉพาะความเสี่ยงทางการเมือง ผลกระทบเชิงลบเหล่านี้จะหักล้างปัจจัยบวกจากสัญญาณการฟื้นตัวของการค้าโลก และทำให้ประเทศไทยสูญเสียโอกาสจากการกระเตื้องขึ้นของเศรษฐกิจโลกได้ นอกจากนี้ การย้ายฐานการลงทุนบางส่วนมายังอาเซียนจากปัญหาสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนอาจมีการทบทวนใหม่ ซึ่งจะสัมพันธ์กับ สงครามทางการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกาจะยืดเยื้อหรือไม่และออกมาในรูปแบบใด หลังการเลือกตั้งสหรัฐอเมริกา จะมีส่วนสำคัญความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ แต่ภูมิภาคอาเซียนโดยรวมนั้นยังคงเป็นภูมิภาคที่นักลงทุนต่างชาติให้ความสนใจอยู่ เนื่องจากมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยเฉลี่ยสูงกว่าภูมิภาคอื่น อยู่ในระดับที่แข่งขันได้ โดยเฉพาะมาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม และไทย แม้ไทยนั้นจะมีปัญหาเรื่อง rule of law และการบังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรม เพราะประเด็นนี้จะเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติมากที่สุด

ที่มา: https://www.prachachat.net/columns/news-403998

เวียดนามเผยยอดส่งออกเม็ดมะม่วงหิมพานต์ไปยังจีนพุ่งสูงขึ้น

เวียดนามส่งออกเม็ดมะม่วงหิมพานต์ไปยังจีนเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ถึงแม้ว่าสินค้าเกษตรหลายรายการของเวียดนามจะขนส่งไปยังตลาดใกล้เคียง ปัจจุบันเวียดนามเผชิญกับความท้าทายในการส่งออกสินค้าไปยังจีน เนื่องมาจากการเข็มงวดของคุณภาพสินค้าและการค้าข้ามพรมแดน อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลของกรมศุลกากรเวียดนาม ระบุว่าปริมาณส่งออกเม็ดม่วงหิมพานต์ไปยังจีนเพิ่มสูงขึ้นกว่า 58,100 ตัน คิดเป็นมูลค่า 447.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ ที่มีการเพิ่มขึ้นทั้งในด้านปริมาณและมูลค่า ทั้งนี้ สหรัฐอเมริกา จีน และเนเธอร์แลนด์ เป็นผู้นำเข้าเม็ดมะม่วงหิมพานต์รายใหญ่ของเวียดนาม ซึ่งจีนยังคงเป็นผู้นำเข้าสินค้าเกษตรรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 26.9 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด รองลงมาสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป อาเซียน และญี่ปุ่น

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/cashew-nut-exports-to-china-rise-sharply-407644.vov

ความสำเร็จโครงการเยี่ยมชมสปป.ลาว จีน

ในปี 62 ที่ผ่านมาสปป.ลาวและจีนได้ร่วมมือในโครงการการเยี่ยมชมสปป.ลาว-​​จีน ทั้งสองประเทศได้มีการเยี่ยมชมระหว่างกันตามความปรารถนาของผู้นำทั้ง 2 ประเทศเพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม การท่องเที่ยวและความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศโดยในปีที่ผ่านมีการส่งเสริมในการเอาวัฒนธรรมของทั้ง 2 ประเทศไปเผยแพร่ในสปป.ลาว-จีน เช่นจัดกิจกรรมในวันสำคัญของจีนในนครหลวงเวียงจันทน์ เทศกาลไหว้พระจันทร์ ในสวนของประเทศจีนก็มีการนำวัฒนธรรมสปป.ลาวไปเผยแพร่เช่นกัน ผลประโยชน์จากความร่วมมือดังกล่าว ทำให้ในแขวงต่างๆของสปป.ลาวมีการจับจ่ายใช้สอยและการลงทุนเพิ่มขึ้นของร้านค้าจากยอดนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชมทั้งจีนและสปป.ลาว โดยยอดนักท่องเที่ยวชาวจีนในช่วง 9 เดือนมีผู้คนไปเที่ยวประเทศลาวมากกว่า 3.4 ล้านคนเพิ่มขึ้น 11% จากปีที่แล้วซึ่งรัฐบาลตั้งเป้าดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวจีนให้ได้ 1 ล้านคนในปีนี้ซึ่งก็น่าจะเป็นไปได้ตามเป้าจากการส่งเสริมของทั้ง 2 ประเทศ

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Authorities.php

การส่งออกสินค้าเกษตรของเวียดนามไปยังจีน อาจต้องเผชิญกับอุปสรรค

กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม (MARD) ร่วมมือกับคณะกรรมการประชาชนจังหวัดกว่างนิง (Quang Ninh) ได้เข้าร่วมประชุมที่เมืองหม่งกาย ในวันที่ 1 ธันวาคมที่ผ่านมา เพื่อส่งเสริมการส่งออกสินค้าเกษตร ป่าไม่และประมงของเวียดนามไปยังตลาดจีน ซึ่งในจังหวัดกว่างนิงได้รับการพิจารณาให้เป็น “ประตู” ในการเชื่อมต่อการค้าระหว่างเวียดนามและจีน ส่งผลให้เกิดการขยายตัวของมูลค่าการค้าทวีภาคีประมาณ 100 พันล้านเหรียญสหรัฐ ตั้งแต่ต้นปีนี้ โดยในจังหวัดดังกล่าว จะได้รับการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานการขนส่ง และพัฒนาระบบการขนส่งชายแดน แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในหลายๆด้าน แต่ประเทศจีนก็มีระบบการตรวจสอบข้อกำหนดในการนำเข้าสินค้าอย่างเข็มงวด รวมถึงกฎหรือข้อระเบียบใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบย้อนกลับถึงถิ่นกำเนิดสินค้าและการติดฉลากผลิตภัณฑ์ เป็นต้น ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจอย่างมาก ทั้งนี้ รองผู้อำนวยการหน่วยงานด้านการแปรรูปและพัฒนาตลาดสินค้าเกษตรเวียดนาม ระบุว่าให้เรียกร้องผู้ประกอบการเวียดนามพยายามปรับตัวต่อการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นระบบการผลิตสินค้า ใบรับรองที่รัฐบาลจีนกำหนดไว้ในการนำเข้าสินค้า เป็นต้น

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/agricultural-exports-to-china-face-barriers-406985.vov

คาราวานส่งเสริมการท่องเที่ยวถึงจุดหมายปลายทางแล้ว

กองคาราวานจำนวน 33 คัน จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวในประเทศจีน สปป.ลาว และกัมพูชาไปถึงจุดหมายปลายทางสุดท้ายแล้ว โดยขบวนเดินทางออกจากคุนหมิงในมณฑลยูนนานของจีนในวันที่ 16 พ.ย. ข้ามสปป.ลาวก่อนมาถึงกัมพูชาในวันที่ 25 พ.ย. ซึ่งขบวนรถข้ามไปยังประเทศกัมพูชาผ่านประตูชายแดนที่จังหวัด Stung Treng จากนั้นเดินทางไปยังพนมเปญ, กันแลนด์และกำปงธมก่อนถึงจุดหมายปลายทางสุดท้ายคือเสียมราฐ โดยจากคุนหมิงถึงเสียมราฐรวมระยะทางประมาณ 6,000 กิโลเมตร ซึ่งชื่ออย่างเป็นทางการของคาราวาน คือ Lancang-Mekong Culture and Tourism Exchange and Historical Cities Caravan Tour from China, Laos and Cambodia. เป้าหมายของขบวนรถคือเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวที่เยี่ยมชมตลอดทางรวมถึงการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวภายใต้กรอบความร่วมมือของ Lancang-Mekong Cooperation Framework. โดยขบวนรถดังกล่าวจัดเป็นส่วนหนึ่งของ โครงการวัฒนธรรมจีน-กัมพูชาปีการท่องเที่ยว 2019

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50665906/tourism-caravan-reaches-final-destination/

บริษัทจีนสนับสนุนการพัฒนาด้านการเกษตรในกัมพูชา

บริษัท เครื่องจักรกลการเกษตร Zoomlion ของจีน ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ Zoomlion Heavy Industry Science & Technology Co., Ltd. ได้ลงนามในข้อตกลงเพื่อช่วยให้ภาคการเกษตรของกัมพูชามีความทันสมัยเพิ่มมากขึ้น โดยได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่าด้วยการส่งเสริมการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะตามคำแถลงของ Zoomlion เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ภายใต้ MoU นั้น Zoomlion จะให้บริการโซลูชั่นที่ชาญฉลาดและส่งช่างผู้เชี่ยวชาญมายังกัมพูชาเพื่ออำนวยความสะดวกในการยกระดับอุตสาหกรรมเกษตรกรรมในท้องถิ่น เป้าหมายของ Zoomlion คือการบรรลุการพัฒนาอย่างยั่งยืนของธุรกิจอุปกรณ์การเกษตรในกัมพูชา ซึ่งความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ของ Zoomlion กับกัมพูชาจะเริ่มต้นจากการส่งเสริมการปลูกและผลิตข้าวโพด ภายใต้การใช้เครื่องจักรกลอย่างเต็มรูปแบบรวมถึงการร่วมกันทำการวิจัยเทคโนโลยีการอบแห้งอัจฉริยะ โดย Zoomlion พยายามที่จะนำเสนอเทคโนโลยีการเกษตรที่ชาญฉลาดมากขึ้นผ่านโซลูชั่นเครื่องจักรกลและผลิตภัณฑ์เพื่อช่วยให้อุตสาหกรรมการเกษตรของกัมพูชามีความทันสมัยในระยะยาว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50665904/chinese-company-to-support-development-of-local-agriculture/

บริษัทจีนสำรวจโอกาสทางธุรกิจในสปป.ลาว

 บริษัท อาหารและเครื่องดื่มจากจีน – บริษัท Hainan Pinxiang Foodstuff จำกัด หวังจะขยายตลาดไปยังสปป.ลาวโดยเริ่มแรกมุ่งเน้นไปที่เวียงจันทน์ บริษัทได้จัดแสดงเครื่องใช้บางอย่างในงานนิทรรศการเศรษฐกิจและเทคโนโลยีสำหรับความร่วมมือระหว่างล้านช้าง–ลุ่มน้ำโขงปี 62 ตัวแทนของ Hainan Pinxiang Foodstuff กล่าวว่า บริษัท ตั้งอยู่ที่มณฑลไห่หนานประเทศจีน ผลิตอาหารและเครื่องดื่มที่มาจากผลไม้ท้องถิ่น ซึ่งเป็นครั้งแรกที บริษัทมาสปป.ลาว เนื่องจากต้องการขยายตลาดในต่างประเทศโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศอาเซียน สปป.ลาวจึงเป็นตลาดที่น่าสนใจ เพราะประเทศนี้มีวัฒนธรรมอาหารที่คล้ายคลึงกันและคิดว่าคนในท้องถิ่นจะชอบผลิตภัณฑ์ ได้มีการทำการสอบถามทางธุรกิจและหารือเกี่ยวกับความร่วมมือในอนาคตกับบริษัทท้องถิ่นบางแห่ง อย่างไรก็ตามยังไม่มีการเซ็นสัญญาอย่างเป็นทางการ ทั้งนี้กำลังมองหาตัวแทนจำหน่ายในสปป.ลาว หากผลิตภัณฑ์ทำได้ดีในตลาดท้องถิ่น อาจพิจารณาตั้งโรงงานในสปป.ลาว เนื่องจากสภาพอากาศมีความคล้ายคลึงกัน จึงสามารถปลูกผลไม้และส่วนผสมอื่น ๆ ในสปป.ลาวได้

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/chinese-company-explores-business-opportunities-laos-109272

การส่งออกข้าวไปยังประเทศจีนของกัมพูชายังคงอยู่ภายใต้โควตาของปีที่แล้ว

ซีอีโอของธนาคารเพื่อการพัฒนาชนบท (RDB) กล่าวว่า Cofco ผู้ผลิตและผู้ค้าอาหารรายใหญ่ที่สุดของจีนยังไม่ได้ส่งคำสั่งซื้อใดๆ สำหรับข้าวสารที่ผลิตในกัมพูชาในปี 2562 โดยโควตาสำหรับปี 2562 อยู่ที่ 400,000 ตัน ซึ่งผู้ส่งออกข้าวในประเทศบางรายกำลังพยายามส่งข้าวไปยังประเทศจีนตามโควตาสำหรับปี 2018 ที่ 300,000 ตัน โดยจีนได้ให้คำมั่นที่จะซื้อข้าว 400,000 ตันจากกัมพูชาในปีนี้ ซึ่งคำปฏิญาณดังกล่าวเกิดขึ้นในเดือนมกราคมระหว่างการประชุมที่ปักกิ่งระหว่างนายกรัฐมนตรีฮุนเซนและประธานาธิบดีจีนจินผิงโดยตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนตุลาคมปีนี้กัมพูชาส่งข้าวสารจำนวน 184,844 ตัน ไปยังประเทศจีน คิดเป็น 40% ของการส่งออกข้าวสารทั้งหมดของกัมพูชาที่ 457,940 ตัน เพิ่มขึ้น 5% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว จากข้อมูลของ SOWS-REF สหภาพยุโรปเป็นผู้ซื้อข้าวกัมพูชารายใหญ่เป็นอันดับสองโดยซื้อข้าวสารจำนวน 155,950 ตัน ในช่วงเดือนมกราคมถึงตุลาคมเพิ่มขึ้น 34% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว รายงานแสดงให้เห็นว่า 83 บริษัท ส่งออกข้าวกัมพูชาไปยังตลาดต่างประเทศรวมทั้ง บริษัท Baitang (Kampuchea) จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดของกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50664440/rice-exports-to-china-still-under-last-years-quota-crf/