พลังงานแสงอาทิตย์ยังคงมีความสำคัญกว่าการนำขยะมาผลิตพลังงานในกัมพูชา

โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 30 เมกะวัตต์ในจังหวัดโพธิสัตว์ ได้เริ่มผลิตไฟฟ้าให้กับกริดแห่งชาติโดยมีโครงการที่ได้รับอนุมัติอีกสามโครงการที่จะผลิตพลังงานในปลายปี 2020 แต่สิ่งนี้ยังคงมีคำถามเกี่ยวกับการที่จะนำขยะภายในท้องถิ่นมาเข้าขบวนการเปลี่ยนเป็นพลังงาน หรือที่เรียกันว่าพลังงานขยะ (WTE) ยังไม่ถูกนำมาใช้ ซึ่งโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์รวม 140 เมกะวัตต์จะแล้วเสร็จใน 4 จังหวัดทั่วกัมพูชาภายในสิ้นปี 2020 โดยพลังงานแสงอาทิตย์เป็นทิศทางที่กัมพูชากำลังดำเนินไปในแง่ของพลังงานหมุนเวียนในขณะนี้แม้ว่าที่ผ่านมาจะมีการศึกษาความเป็นไปได้ของโรงไฟฟ้าขยะชุมชนก็ตาม ซึ่งอัตราค่าไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าขยะอยู่ที่ประมาณ 0.14 ถึง 0.15 ดอลลาร์ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมงที่ขายให้กับ Electricite du Cambodge (EDC) และอัตราค่าไฟฟ้าจากเขื่อนพลังน้ำอยู่ที่ 0.06 ถึง 0.07 ดอลลาร์ต่อกิโลวัตต์ และจากโรงไฟฟ้าถ่านหินประมาณ 0.08 เหรียญต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง ตามรายงานของกระทรวงสิ่งแวดล้อมมีการรวบรวมและส่งขยะมูลฝอยกว่า 1.7 ล้านตัน ไปยังที่ทิ้งขยะซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยขยะมูลฝอยคิดเป็นร้อยละ 51 ของขยะทั้งหมดในปี 2561

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50766293/solar-still-beats-waste-to-energy/

ภาคอุตสาหกรรมในกัมพูชาส่งเสริมด้านพลังงานที่ยั่งยืน

สมาคมผู้ผลิตเสื้อผ้าแห่งกัมพูชา ร่วมกับ Global Green Growth Institute (GGGI) และ GERES กลุ่มเพื่อสิ่งแวดล้อมด้านพลังงานทดแทนและความเป็นปึกแผ่นซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่ตั้งขึ้นในเมืองมาร์เซย์ตั้งแต่ในปี 1976 กำลังร่วมกันดำเนินโครงการที่เรียกว่า การส่งเสริมการปฏิบัติด้านพลังงานอย่างยั่งยืนในภาคอุตสาหกรรมเสื้อผ้า หรือที่เรียกว่าโครงการ “Switch Garment in Cambodia” โดยโครงการ Switch Garment ได้รับทุนจากสหภาพยุโรปเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ซึ่งอายุโครงการอยู่ที่ 48 เดือน มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการผลิตเสื้อผ้าให้เกิดยั่งยืนในกัมพูชา โดยเพิ่มการลงทุนในแนวทางปฏิบัติด้านพลังงานที่ยั่งยืน ด้วยโครงการนี้จะแก้ปัญหาอุปสรรคที่ขัดขวางในด้านการลงทุนและการนำแนวทางปฏิบัติด้านพลังงานที่ยั่งยืนมาใช้และพัฒนากลไกที่เป็นนวัตกรรมสู่ภาคอุตสาหกรรมการผลิตสิ่งทอในกัมพูชา ซึ่งหวังว่าโครงการนี้จะช่วยให้โรงงานสามารถลดต้นทุนค่าไฟฟ้าและค่าน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้พลังงานหมุนเวียน ทั้งหวังว่าโครงการนี้จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณร้อยละ 17 จากอุตสาหกรรมสิ่งทอ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50763442/industry-to-promote-sustainable-energy/

สิงคโปร์รุกตลาดพลังงานไฟฟ้าความร้อนจากถ่านหินที่แขวงเซกอง สปป.ลาว

บริษัท Evolution Power Investment Corporation (EPIC) และ บริษัท Kuounmixay Bridge and Road Construction and Repair Company (KMX) ซึ่งเป็นบริษัทกิจการร่วมค้า (Joint Venture) ระหว่างสิงคโปร์กับ สปป.ลาว ลงนามบันทึกความเข้าใจกับรัฐบาล สปป.ลาว เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโรงผลิตไฟฟ้าพลังงาน ความร้อนจากถ่านหินสะอาดที่เมืองดากจึง สปป.ลาว โครงการดังกล่าว มีมูลค่า 1.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 1,000 เมกะวัตต์ เพื่อส่งไปขายยังประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะ ไทย เวียดนามและกัมพูชา โดยคาดว่าการก่อสร้างโครงการจะแล้วเสร็จในปี 2570และการเกิดขึ้นของโครงการดังกล่าวจะเป็นส่วนช่วยในขยายตัวเศรษฐกิจสปป.ลาวได้อย่างมั่นคง

ที่มา : https://globthailand.com/laos-11082020/

ความต้องการด้านพลังงานของกัมพูชาลดลงในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2020

ความต้องการด้านพลังงานลดลงในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2020 เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ซึ่งทำให้โรงงาน สิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว รวมถึงโรงแรมต้องปิดตัวลงส่งผลให้การใช้พลังงานภายในประเทศลดลง โดยการใช้พลังงานตั้งแต่เดือนมกราคมถึงมิถุนายนเฉลี่ยอยู่ที่ 33 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ซึ่งในช่วงเวลาเดียวกันแหล่งจ่ายไฟทั้งหมดอยู่ที่ประมาณ 1,700 เมกะวัตต์ ลดลงจาก 1,900 เมกะวัตต์ ในช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ถึงอย่างไรดังรายงานของกระทรวงฯพบว่าการจ่ายไฟเพิ่มขึ้นจาก 2,635 เมกะวัตต์ ในปี 2018 สู่ 3,382 เมกะวัตต์ ในปี 2019 ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 28 เมื่อเทียบเป็นรายปี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50755733/cambodias-energy-demand-drops-in-h1-of-2020/

ญี่ปุ่นร่วมลงทุนในภาคพลังงานของกัมพูชา

บริษัท พลังงานหมุนเวียนของญี่ปุ่นสองแห่งวางแผนที่จะสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแกลบและแผงโซลาร์เซลล์ในประเทศกัมพูชา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยรักษาความปลอดภัยของแหล่งจ่ายพลังงานปกติของกัมพูชา ซึ่งรายงานโดยสำนักข่าวญี่ปุ่น NNA กล่าวว่าทั้งสอง บริษัท คือ Aura Green Energy Co และผู้ให้บริการระบบแผงเซลล์แสงอาทิตย์ WWB Corp. ได้ร่วมมือกันเพื่อเปิดตัวธุรกิจผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสานโดยใช้ชีวมวลและพลังงานแสงอาทิตย์ในกัมพูชาภายในปี 2564 โดยการลงทุนในพลังงานทดแทนเช่นพลังงานเชื้อเพลิงแกลบจะช่วยให้ผู้ผลิตข้าวลดต้นทุนลง ซึ่งธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ในปี 2562 อนุมัติเงินกู้ 7.64 ล้านดอลลาร์เพื่อสนับสนุนการก่อสร้างสวนพลังงานแสงอาทิตย์ 100 เมกะวัตต์ (mW) ในประเทศกัมพูชาเพื่อช่วยในการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนและกระจายพลังงานให้ทั่วถึงไปยังชุมชนมากขึ้น รวมถึงเป็นการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันอีกด้วย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50718101/japan-jumps-in-on-energy/

ลมแห่งการเปลี่ยนแปลงสำหรับภาคอุตสาหกรรมพลังงานของกัมพูชา

บริษัท พลังงานชั้นนำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้วางแผนที่จะสร้างฟาร์มกังหันลมแห่งแรกในกัมพูชา โดยThe Blue Circle บริษัทชาวสิงคโปร์กำลังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการเจรจากับผู้ผลิตไฟฟ้า Electricite du Cambodge (EDC) ของรัฐเพื่อเจรจาข้อตกลงการซื้อไฟฟ้า (PPA) ในฟาร์ม ซึ่งจะตั้งอยู่บนภูเขา Bokor ในจังหวัดกำปอต ซึ่งกระบวนการนี้อาจใช้เวลาประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปี จึงจะเสร็จสมบูรณ์ โดยค่า PPA อาจต่ำเพียง 7 เซ็นต์ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง วิกเตอร์โจนาผู้อำนวยการฝ่ายพลังงานของกระทรวงพลังงานกล่าว เมื่อมีการตกลงกันแล้วการก่อสร้างฟาร์มพลังงานสะอาดซึ่งจะมีกังหันลมอย่างน้อย 10 แห่ง สามารถทำการผลิตไฟฟ้าได้ 80 เมกะวัตต์ต่อปี โดยทั่วไปหนึ่งเมกะวัตต์สามารถตอบสนองความต้องการพลังงานของบ้านได้ระหว่าง 225-300 ครัวเรือนต่อปี โดยการใช้พลังงานทั่วประเทศเมื่อปีที่แล้วอยู่ที่ประมาณ 12 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงเพิ่มขึ้น 23% เมื่อปี 2561 ซึ่งจากการศึกษาเมื่อเร็ว ๆ นี้โดยธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ประเทศกัมพูชามีศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำถึง 10,000 เมกะวัตต์ (mW) ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมพลังงาน 8,100 mW และ 6,500 mW ตามลำดับ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50716028/winds-of-change-for-energy-industry/

จีน-เมียนมาลงทุนโครงการพลังงานที่เจาะพยู

บริษัท Kyaukphyu Electric Power ลงทุน 172 ล้านเหรียญสหรัฐในโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าในเจาะพยู รัฐยะไข่ จากรายงานของคณะกรรมการลงทุนของเมียนมา (MIC) The Kyaukphyu Electric Power Co ซึ่งเป็นกิจการร่วมค้าระหว่าง Supreme Group ของเมียนมาและ บริษัท Power China Enterprise จะสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานก๊าซซึ่งสามารถผลิตพลังงานได้ทั้งหมด 135 เมกะวัตต์ บริษัทได้ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับกระทรวงไฟฟ้าและพลังงานในพ.ย. 62 เนื่องจากความต้องการเพิ่มขึ้นประมาณ 1,000 เมกะวัตต์ต่อปี จึงประกาศสำหรับโครงการระยะยาวสี่โครงการในม.ค. 61 ซึ่งรวมถึงโครงการในเจาะพยู คาดใช้เวลาอย่างน้อยสามปีจึงจะแล้วเสร็จ ในระยะสั้นโครงการพลังงานเจ็ดแห่งที่มีกำลังการผลิตรวม 1,166 เมกะวัตต์กำลังดำเนินการอยู่ โครงการอื่น ๆ จะดำเนินการเพื่อตอบสนองความต้องการพลังงานของประเทศที่ 1,000 เมกะวัตต์ในปี 2564

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/china-myanmar-invest-power-project-kyaukphyu.html

อุตสาหกรรมพลังงานและเหมืองแร่ยังสำคัญต่อเศรษฐกิจสปป.ลาวในปี 63

คณะเศรษฐศาสตร์และการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาวกล่าวว่ารัฐบาลควรมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนด้านพลังงานและเหมืองแร่เนื่องจากยังเป็นภาคอุตสาหกรรมที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสปป.ลาวในปัจจุบันและในอนาคต ดร.ภูเพชรรองคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์และการจัดการธุรกิจกล่าวว่าภาคพลังงานและเหมืองแร่เป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญที่สุดสำหรับสปป.ลาวในช่วงที่เศรษฐกิจผันผวน โดยสปป.ลาวมีโรงไฟฟ้าพลังน้ำมากถึง 73 แห่ง กำลังการผลิตติดตั้งรวม 9,531MW และสร้างรายได้มากกว่า 5 หมื่นล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี ในปี 62 มีการส่งออกมากถึง 6,000 เมกะวัตต์และการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำเพิ่มเติมอีก 12 แห่งดังนั้นรัฐบาลควรมุ่งมั่นที่จะดำเนินนโยบายส่งเสริมการขายต่อไปเพื่อดึงดูดการลงทุนในประเทศและต่างประเทศควบคู่ไปกับการตรวจสอบความปลอดภัยการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำและต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดร.ภูเพชรยังกล่าวเพิ่มเติมว่าบรรยากาศที่ดีสำหรับการดำเนินธุรกิจจะดีขึ้นในปีนี้หากเศรษฐกิจมหภาคมีการจัดการอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพเกี่ยวกับการลงทุน

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/energy-and-mines-remain-key-boosters-lao-economy-2020-economist-111531

เมียนมาคาดปีหน้าการลงทุนน้ำมันและก๊าซเพิ่มขึ้น

การประชุมคณะกรรมการพัฒนาภาคเอกชนครั้งที่ 30 กับผู้ประกอบการเมียนมาเมื่อวันที่ 19 ต.ค.62 ที่ผ่านมา กระทรวงการลงทุนและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจต่างประเทศคาดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซนอกชายฝั่งจะเพิ่มขึ้นในปี 63 เมื่อข้อเสนอได้รับการสำรวจและการผลิต กระทรวงไฟฟ้าและพลังงาน (MOEE) กล่าวกับ The Myanmar Times ว่าการผลิตก๊าซเชิงพาณิชย์จะเริ่มต้นที่การค้นพบครั้งที่ 6 ที่บล็อก Shwe Yee Htun-2 นอกชายฝั่งในปี 66 และสามารถผลิตก๊าซได้ที่บ่อ Shwe Yee Htun-2

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/more-oil-and-gas-investments-expected-next-year.html

กระทรวงพลังงานเร่งศึกษาเปิดสัมปทานแหล่งสำรวจปิโตรฯใหม่

รัฐมนตรีกระทรวงพลังงาน เปิดเผยภายหลังการประชุมมอบนโยบายด้านพลังงาน โดยการเปิดประมูลสัมปทานแหล่งสำรวจและผลิตปิโตรเลียมรอบใหม่ คาดว่าจะเริ่มดำเนินการในปี 63 ส่วนปัญหาพื้นที่ทับซ้อนแหล่งขุดเจาะก๊าซธรรมชาติ ไทย กัมพูชา จะเร่งทำให้แล้วเสร็จก่อนปี 65 โดยจะดำเนินภารกิจในการใช้พลังงานสร้างเศรษฐกิจฐานราก และเดินหน้าเรื่อง “พลังงานชุมชน” ที่อยู่ระหว่างการศึกษา โดยมีเป้าหมายลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับประชาชน และมีนโยบายเปิดกว้างให้กับนักลงทุน หรือผู้ประกอบการ เอสเอ็มอี ในการร่วมลงทุนร่วมกับชุมชน รวมถึงนโยบายผลักดันสินค้าเกษตรสร้างมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ ไบโอแก๊ส ไบโอแมส ที่อยู่ระหว่างการจัดทำแผนให้สอดรับกับนโยบายการผลิต ทั้งนี้ในมิติที่ 2 กระทรวงฯ จะเน้นสร้างการเป็นผู้นำด้านพลังงานอาเซียนโดยจะทำหน้าที่เป็นผู้เชื่อมต่อกับผู้เชี่ยวชาญบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลก ให้ได้โนวฮาวที่ดี และเข้มแข็ง เพื่อยกระดับด้านพลังงานในระดับสากล ไม่เฉพาะแค่ใน CLMV เพื่อให้เติบโตเร็วขึ้น

ที่มา : https://www.mitihoon.com/2019/08/15/129235/