‘เวียดนาม’ เล็งนำเข้าไฟฟ้าจากสปป.ลาว 5,000 เมกะวัตต์ภายในปี 2573

สำนักข่าวเวียดนาม (VNA) รายงานว่าเวียดนามตั้งเป้าที่จะนำเข้าไฟฟ้าจากสปป.ลาว ประมาณ 5,000 เมกะวัตต์ (MW) ภายในปี 2573 ตามแผนงานการดำเนินการตามแผนพัฒนาไฟฟ้าแห่งชาติปี 2564-2573 โดยสามารถนำเข้ากำลังการผลิตไฟฟ้าสูงถึง 8,000 เมกะวัตต์ ในกรณีที่สภาพเอื้ออำนวยและราคาสมเหตุสมผล ทั้งนี้ กำลังการผลิตรวมของพลังงานลมนอกชายฝั่ง พลังงานลมบนบก และพลังงานชีวมวลในเวียดนามในปี 2573 จะอยู่ที่ 6,000 MW, 21,880 MW และ 1,088 MW ตามลำดับ ในขณะที่พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากขยะ อยู่ที่ 1,182 เมกะวัตต์ และกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งอยู่บนหลังคา 2,600 เมกะวัตต์

ที่มา : https://english.news.cn/20240403/d1f7f69dabed4dc1928a2e5c403f88bf/c.html

กัมพูชาคาดพลังงานทดแทนจะเป็นส่วนสำคัญของอุตสาหกรรมพลังงานภายในประเทศ

คาดแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่ผลิตได้ภายในประเทศกัมพูชาจะคิดเป็นเกือบร้อยละ 70 ของการผลิตไฟฟ้าของกัมพูชาในปีนี้ กล่าวโดย Sun Chanthol รองนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ในระหว่างการประชุมของกัมพูชาและเกาหลี ซึ่งคาดว่าการหารือดังกล่าวจะกระตุ้นให้นักลงทุนชาวเกาหลีเข้ามาลงทุนในกัมพูชามากขึ้น สำหรับกัมพูชามีแผนที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้า (PDP) ในช่วงปี 2022-2040 โดยเน้นไปที่การพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียนอย่างมีนัยสำคัญ สอดคล้องกับนโยบายที่จะเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2050 ซึ่งคาดว่าการผลิตไฟฟ้าโดยพลังงานแสงอาทิตย์ของกัมพูชาจะสูงถึง 3,155 เมกะวัตต์ ภายในปี 2040 ครอบคลุมสัดส่วนการผลิตไฟฟ้ากว่าร้อยละ 45 จากการผลิตพลังงานจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน ขณะที่แผนการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำจะเพิ่มขึ้นจาก 1,330MW เป็น 1,560MW ภายในปี 2030 และ 3,000MW ภายในปี 2040 และจากพลังงานจากชีวมวลหมุนเวียนซึ่งเป็นแหล่งพลังงานสะอาดอีกแหล่งหนึ่งจะเพิ่มขึ้นจาก 27MW ในปี 2022 เป็น 98MW ในปี 2030 และ 198MW ในปี 2040

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501429249/renewable-energy-to-give-70-of-power-in-cambodia-this-year/

‘เวียดนาม’ เล็งนำเข้าไฟฟ้ามากขึ้นจากสปป.ลาว

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ร้องขอให้การไฟฟ้าเวียดนาม (EVN) พิจารณาสร้างสายส่งไฟฟ้าใหม่ เพื่อที่จะนำเข้าไฟฟ้าจากสปป.ลาวมากยิ่งขึ้น โดยแผนงานดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อจ่ายไฟฟ้าให้กับภาคเหนือของประเทศ โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากยังไม่มีโครงการพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าแห่งใหม่จนถึงปี 2568 ทั้งนี้ ในปัจจุบัน นายกรัฐมนตรีได้อนุมัตินโยบายรับซื้อไฟฟ้าจากสปป.ลาว เนื่องจากต้นทุนที่ดีหากเทียบกับแหล่งอื่นในภูมิภาค

นอกจากนี้ ในช่วง 11 เดือนของปีนี้ เวียดนามนำเข้าไฟฟ้าจากสปป.ลาวและจีน ราว 4 พันล้านกิโลวัตต์ต่อชั่วโมง หรือคิดเป็น 1.5% ของการใช้พลังงานทั้งประเทศ

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/vietnam-mulls-importing-more-electricity-from-laos/

จีนพร้อมสนับสนุนภาคพลังงานกัมพูชา

ทางการกัมพูชาพร้อมตอบสนองต่อความต้องการด้านพลังงานภายในประเทศ ภายใต้การร่วมมือของนักลงทุนจีน โดยเฉพาะการช่วยลดต้นทุนการบริโภคพลังงานของภาคครัวเรือนกัมพูชาซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 0.25 ดอลลาร์ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง ซึ่งสูงกว่ามากเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน อย่างประเทศไทยมีต้นทุนต่อกิโลวัตต์ชั่วโมงอยู่ที่ 0.139-0.141 ดอลลาร์ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง และเวียดนามโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 0.073-0.078 ดอลลาร์ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง สิ่งนี้พิสูจน์แล้วว่ากัมพูชามีต้นทุนทางด้านพลังงานที่สูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน แต่ด้วยความพยายามของรัฐบาลในการปรับปรุงภาคพลังงานได้เริ่มดำเนินโครงการไว้ตั้งปี 2018 ด้วยการเปิดตัวโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาด 400 เมกะวัตต์ “Lower Sesan 2” ในจังหวัดสตึงแตรง ภายใต้เงินทุนสนับสนุนจาก China Hwaneng Group จับมือร่วมกับ Royal Group ด้วยเม็ดเงินลงทุนกว่า 800 ล้านดอลลาร์ ในการสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำครอบคลุมกำลังการผลิตคิดเป็นกว่าร้อยละ 51 ของกำลังการผลิตไฟฟ้าทั้งหมดของกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501391160/china-proves-godsend-for-cambodias-energy-sector/

วิกฤตขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าในเวียดนาม ทรุดตัวต่อเนื่องจนถึงปี 2050

คณะกรรมการกำกับดูแลของสมัชชาแห่งชาติ รายงานว่าแหล่งทรัพยากรพลังงานปฐมภูมิที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติกำลังจะหมดไป เนื่องจากไฟฟ้าพลังน้ำถูกใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพแล้ว รวมไปถึงปริมาณน้ำมันและก๊าซจากแหล่งพลังงานหลักลดลงอย่างรวดเร็ว ในขณะที่จากรายงานของธนาคารโลก ประจำเดือน ส.ค. มีการประเมินความสูญเสียของเวียดนาม พบว่าเวียดนามสูญเสียรายได้จากวิกฤตพลังงานไฟฟ้าขาดแคลนประมาณ 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 0.3% ของ GDP โดยผู้เชี่ยวชาญได้เตือนถึงการขาดแคลนไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องในภาคเหนือของประเทศ ทำให้จะไม่มีการจัดตั้งโรงงานใหม่เกิดขึ้นในอีก 2 ปีข้างหน้า ด้วยเหตุนี้ เวียดนามจำเป็นที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ และอาจทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนไฟฟ้าได้จนถึงปี 2050

ที่มา : https://www.retailnews.asia/power-shortage-in-vietnam-looms-until-2050/

วิกฤตขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าในเวียดนาม ทรุดตัวต่อเนื่องจนถึงปี 2050

คณะกรรมการกำกับดูแลของสมัชชาแห่งชาติ รายงานว่าแหล่งทรัพยากรพลังงานปฐมภูมิที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติกำลังจะหมดไป เนื่องจากไฟฟ้าพลังน้ำถูกใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพแล้ว รวมไปถึงปริมาณน้ำมันและก๊าซจากแหล่งพลังงานหลักลดลงอย่างรวดเร็ว ในขณะที่จากรายงานของธนาคารโลก ประจำเดือน ส.ค. มีการประเมินความสูญเสียของเวียดนาม พบว่าเวียดนามสูญเสียรายได้จากวิกฤตพลังงานไฟฟ้าขาดแคลนประมาณ 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 0.3% ของ GDP

โดยผู้เชี่ยวชาญได้เตือนถึงการขาดแคลนไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องในภาคเหนือของประเทศ ทำให้จะไม่มีการจัดตั้งโรงงานใหม่เกิดขึ้นในอีก 2 ปีข้างหน้า ด้วยเหตุนี้ เวียดนามจำเป็นที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ และอาจทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนไฟฟ้าได้จนถึงปี 2050

ที่มา : https://www.retailnews.asia/power-shortage-in-vietnam-looms-until-2050/

CSG พร้อมสร้างสมดุลในการจัดหาพลังงานให้แก่ สปป.ลาว

China Southern Power Grid (CSG) กำลังมองหาโอกาสทางธุรกิจมากขึ้น ภายในเขตลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-ลุ่มแม่น้ำโขง (LMC) โดยเฉพาะในประเทศ สปป.ลาว หลังจากที่ได้รุกลงทุนด้านพลังงานและการค้าภายในภูมิภาคแล้วในปัจจุบัน ด้าน Li Xinhao ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายความร่วมมือระหว่างประเทศของ CSG กล่าวว่า บริษัท พร้อมให้การช่วยเหลือและร่วมมือกับกลุ่มประเทศในเขตลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-ลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อสร้างสมดุลในด้านการจัดหาไฟฟ้าในภูมิภาค ซึ่งในช่วงฤดูแล้งของ สปป.ลาว ทางการจำเป็นต้องนำเข้าพลังงานไฟฟ้าเพื่อตอบสนองต่อความต้องการภายในประเทศ โดยในอนาคต CSG จะสร้างสายส่งไฟฟ้าเพิ่มขึ้นใน สปป.ลาว เพื่อเป็นการสร้างความแข็งแกร่งด้านพลังงาน ภายในสิ้นปี 2022 บริษัท ได้นำส่งไฟฟ้ากว่า 40,212 GWh ไปยังเวียดนาม 1,228 GWh ไปยัง สปป.ลาว และ 4,969 GWh ไปยังเมียนมา รวมถึงทำการซื้อไฟคืนจากเมียนมา 23,279 GWh

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_132_China_CSG_y23.php

“เศรษฐกิจเวียดนาม” มุ่งมั่นที่จะก้าวข้ามอุปสรรคในปี 2567

จากรายงานของกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เปิดเผยให้เห็นว่าเศรษฐกิจเวียดนามเผชิญกับความท้าทายมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นแรงกดดันต่อการบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาค รวมไปถึงปัญหาหรืออุปสรรคที่ไม่คาดคิดในอนาคต นอกจากนี้ ความเสี่ยงในปีหน้า ไม่เพียงแต่มาจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกหรือหนี้เสียที่เพิ่มสูงขึ้น แต่ยังมาจากการดำเนินมาตรการปฏิรูปเศรษฐกิจที่ไม่ได้ผลอีกด้วย ทั้งนี้ ปัญหาคอขวดต่างๆ อาทิเช่น ปัญหาการขาดแคลนกำลังไฟฟ้าที่ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจและการดำเนินงานขององค์กร ตลอดจนการใช้ชีวิตของผู้คนอีกด้วย ในขณะที่การปฏิรูปเพื่อส่งเสริมบรรยากาศทางธุรกิจและยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันก็เกิดการหยุดชะงักลง และอาจขัดขวางต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ซึ่งกำลังเผชิญกับความท้าทายที่ยากลำบากอยู่แล้ว

ที่มา : https://vir.com.vn/adb-highlights-default-risks-in-vietnams-property-markets-102853.html

“เวียดนาม” ซื้อไฟฟ้าจากจีน เหตุบรรเทาปัญหาขาดแคลนไฟฟ้าหนัก

บริษัท นอร์ทเทิร์ด พาวเวอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้ซื้อไฟฟ้าจากบริษัท Guangxi Power Grid ของจีน เพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนไฟฟ้าในช่วงฤดูร้อนนี้ บริษัทสัญชาติจีนจะเตรียมจัดหาไฟฟ้าให้กับเวียดนามโดยเร็วที่สุด ทั้งนี้ ภาคเหนือของประเทศเวียดนามเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนพลังงาน 1,600-4,900 เมกะวัตต์ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม เนื่องจากปัญหาความร้อน นอกจากนี้ การไฟฟ้าเวียดนามได้เสนอเรื่องไปยังบริษัท Vietnam Oil and Gas Group (PetroVietnam) ซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ให้ทำการจัดลำดับความสำคัญของการจัดหาก๊าซสำหรับการผลิตไฟฟ้า ท่ามกลางความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงฤดูร้อน

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/vietnam-to-buy-electricity-from-china-to-ease-shortage-2145690.html

“สิงคโปร์-สปป.ลาว” กระชับความสัมพันธ์ด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อมและดิจิทัล

เดอะสเตรตส์ไทมส์ (The Straits Times) รายงานว่าประเทศสิงคโปร์และสปป.ลาว กำลังยกระดับความร่วมมือในสาขาใหม่ ได้แก่ พลังงาน ดิจิทัล ความยั่งยืนและการปกป้องสิ่งแวดล้อม เนื่องจากครบรอบความสัมพันธ์ทางการทูต 50 ปี ทั้งนี้ นายลี เซียนลุง นายกรัฐมนตรีของสิงคโปร์ และนายพันคำ วิพาวัน นายกรัฐมนตรีสปป.ลาว ได้ร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) จำนวน 4 ฉบับ พิธีลงนามในครั้งนี้ ถือเป็นการเริ่มต้นของความร่วมมือเพื่อโครงข่ายไฟฟ้าระดับภูมิภาค พลังงานหมุนเวียนและการเชื่อมต่อโครงข่ายไฟฟ้าสำหรับการค้าไฟฟ้าข้ามพรมแดน สิ่งนี้จะข่วยส่งเสริมการค้าไฟฟ้าข้ามพรมแดนในภูมิภาคและทำให้ประเทศต่างๆ ร่วมกันลดคาร์บอน ในขณะเดียวกันก็สร้างงานและยกระดับการเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาค

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten2022_Singapore189.php