สนง.สถิติเวียดนาม เผย CPI เดือนก.พ. ลดลง 0.17%

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ประจำเดือนกุมภาพันธ์ ลดลงร้อยละ 0.14 เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว เนื่องมาจากความต้องการสินค้าลดลง หลังจากช่วงเทศกาลขึ้นปีใหม่ (เต็ด), ราคาน้ำมันที่ลดลง และการระบาดของไวรัสโควิด-19 จากการแพร่ระบาดไวรัสดังกล่าวส่งผลให้กิจกรรมของภาคการท่องเที่ยวและเทศกาลลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธุรกิจโรงแรมและบริการด้านความบันเทิง ซึ่งกลุ่มสินค้าและบริการ 11 รายการที่อยู่ในตะกร้าสินค้า โดยมีสินค้า 6 รายการที่ราคาลดลงทำสถิติ ได้แก่ บริการขนส่ง (2.5%), การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, เครื่องดื่มและบุหรี่, เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า, วัสดุที่อยู่อาศัยและบริการโทรคมนาคมและไปรษณีย์ ขณะเดียวกัน กลุ่มสินค้าที่มีราคาสูงขึ้น ได้แก่ บริการจัดงานเลี้ยง (0.26%), สินค้าและบริการอื่นๆ, แพทยศาสตร์และบริการทางการแพทย์, เครื่องใช้ในครัวเรือนและการศึกษา ทั้งนี้ ราคาทองคำในเดือน ก.พ. เคลื่อนไหวตามราคาทองคำโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.74 จากเดือน ม.ค. ที่แตะระดับราว 4.45 ล้านดองต่อตำลึง สาเหตุมาจากนักลงทุนย้ายเงินทุนไปยังสินทรัพย์ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น เพราะผลกระทบที่ไวรัสโควิด-19 มีผลต่อเศรษฐกิจ สำหรับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราดองต่อดอลลาร์สหรัฐ ยังคงอยู่ในระดับคงที่ อยู่ที่ 23,300 ดอง/ดอลลาร์สหรัฐ ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core Inflation) ในเดือน ก.พ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.17 จากเดือน ม.ค.

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/february-cpi-falls-by-017-percent-410755.vov

สิ้นปี 62 CPI เมียนมาพุ่งขึ้นเป็น 161.72%

ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ปลายเดือนธันวาคมที่ผ่านมาอยู่ที่ 161.72% เพิ่มขึ้น 9.45% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วตามรายงานของสำนักงานสถิติกลางแห่งเมียนมา (CSO) พบว่ากลุ่มอาหารพุ่งขึ้น 174.13% กลุ่มที่ไม่ใช่กลุ่มอาหาร 144.26% ดัชนีราคาผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ มัณฑะเลย์เพิ่มสูงสุดถึง 15.38% ส่วนยะไข่เพิ่มต่ำสุดที่ 3.16% โดยอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยอยู่ที่ 8.81% และอัตราเงินเฟ้อปีต่อปีเท่ากับ 9.45%

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/cpi-hits-16172-pc-in-late-december

CPI เดือน ม.ค.63 โตสูงสุดในรอบ 7 ปีที่ผ่านมา

จากรายงานขอวสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในเดือนมกราคม ขยายตัวร้อยละ 1.23 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า และร้อยละ 6.43 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว บ ซึ่งเป็นการปรับตัวเพิ่มสูงสุดในรอบ 7 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ หัวหน้าของสำนักงาน GSO ได้อธิบายถึงดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือนม.ค. ว่าสาเหตุที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องมาจากมีความต้องการอาหาร อุปโภคบริโภค เครื่องดื่มและสิ่งทอมากขึ้นในช่วงเทศกาลปีใหม่เต็ต นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในเดือนม.ค. ซึ่งเป็นตัวชี้วัดอัตราเงินเฟ้อที่ไม่รวมรายการที่มีการเคลื่อนไหว ได้แก่ อาหาร พลังงาน บริการสุขภาพและการศึกษา รวมไปถึงสินค้าอื่นๆที่รัฐบาลควบคุม เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.76 เมื่อเทียบกับเดือนธ.ค. 62 และร้อยละ 3.25 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งอัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีอัตราการขยายตัวเร็วกว่าเงินเฟ้อพื้นฐาน แสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงของราคาส่วนใหญ่มาจากราคาอาหาร บริการและน้ำมันปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/cpi-in-january-hits-record-high-in-recent-7-years-409385.vov

CPI ประจำเดือนตุลาคม เพิ่มสูงขึ้นในรอบ 3 ปี

จากแถลงการณ์ของสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในเดือนตุลาคม เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.59 เมื่อเทียบกับเดือนกันยายน นับว่าเพิ่มขึ้นสูงที่สุดในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา โดยดัชนีฯ ขยายตัว เป็นผลมาจากอุปทานเนื้อหมูลดลง เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดหมูแอฟริกัน, ราคาน้ำมันโลกเพิ่มสูงขึ้น และการปรับขึ้นค่าธรรมเนียมของการศึกษา เป็นต้น ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) เดือนตุลาคม ขยายตัวร้อยละ 0.15 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนที่ผ่านมา และขยายตัวร้อยละ 1.99 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ในขณะที่ ตั้งแต่เดือนมกราคม-ตุลาคม ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเฉลี่ย ขยายตัวร้อยละ 1.92 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/cpi-in-october-shows-threeyear-high-rise-405413.vov

ม.หอการค้าไทย เผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ต.ค.อยู่ที่ 81.3 ปรับตัวลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผย ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือน ต.ค.61 อยู่ที่ 81.3 จาก 82.3 ในเดือนก.ย.61 ซึ่งปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 จากความกังวลสงครามการค้าและนักท่องเที่ยวจีนที่ลดลง โดยปัจจัยลบที่ส่งผลให้ดัชนีฯ ปรับตัวลดลง ได้แก่ การส่งออกเดือนก.ย.61 ลดลงร้อยละ 5.20 , ราคาพืชผลทางการเกษตรส่วนใหญ่ยังทรงตัวในระดับต่ำ, ความกังวลสงครามการค้าสหรัฐฯและจีน, นักท่องเที่ยวจีนลดลง, ผู้บริโภคยังรู้สึกว่าเศรษฐกิจฟื้นตัวช้าและกระจุกตัว

ที่มา: https://mgronline.com/uptodate/detail/9610000110478