ธุรกิจเวียดนามเล็งจัดหาอุปกรณ์ให้กับหน่วยงานทางการแพทย์สหรัฐฯ

Ecom net USA เป็นแบรนด์สัญชาติเวียดนามที่ผลิตอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ (Personal Protective Equipment: PPE) ได้ลงนามเมื่อวันที่ 14 สิ.ค. (ตามเวลาสหรัฐฯ) เพื่อจัดหาหน้ากากและชุดป้องกัน PPE ให้กับทางกลุ่มโรงพยาบาลสหรัฐภายใต้ชื่อ “Spartan” ทั้งนี้ คุณ Vince Proffitt ประธานบริษัท Spartan Medical ชื่นชมคุณภาพของอุปกรณ์ทางการแพทย์จาก Ecom net USA และบริษัทเวียดนามอีกหลายแห่ง รวมถึงจากการประเมินโดย Nelson Lab ระบุว่าหน้ากากที่ผลิตโดยบริษัทเวียดนามนั้น สามารถป้องกันน้ำ,ทนไฟได้ และกรองอนุภาคในอากาศได้ถึงร้อยละ 99 นอกจากนี้ เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ทางบริษัท Ecom net USA ได้ให้การสนับสนุนหน้ากาก 10,000 ชิ้น ซึ่งเอกอัครราชทูตเวียดนามประจำสหรัฐฯ มอบเป็นของขวัญเพื่อต่อสู้กับเชื้อไวรัสโควิด-19

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnamese-firm-seals-deal-to-supply-equipment-for-us-medical-group-417388.vov

“เวียดนาม-สหรัฐฯ” เสริมความแข็งแกร่งด้านความร่วมมือของโครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน

กระทรวงการคลังเวียดนาม (MoF) ได้ลงนามเมื่อวันที่ 6 พ.ค. ในกรอบเสริมความแข็งแกร่งด้านความร่วมมือของโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินกับกระทรวงการคลังสหรัฐอเมริกา เพื่อช่วยให้เวียดนามตระหนักถึงความสำคัญของประเด็นดังกล่าว ซึ่งกระทรวบความร่วมมือจะประกอบไปด้วย 5 สาขาสำคัญ ได้แก่ การพัฒนาตลาดตราสารหนี้ให้มีสภาพคล่องสูงขึ้น ตามมาด้วยการสร้างเครื่องมือทางการเงินที่สามารถแก้ไขปัญหาต่อการลงทุนภาคเอกชนและโครงสร้างพื้นฐาน, ส่งเสริมนวัตกรรมและความยั่งยืนผ่านเครื่องมือทางการเงิน, การเสริมสร้างศักยภาพและโครงการช่วยเหลือเทคนิคทางการเงิน และการวิเคราะห์ภาระหนี้สินและประเด็นอื่นๆจากมุมมองของภาครัฐ ทั้งนี้ เวียดนามต้องการเงินทุนจำนวนมากในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ขณะที่ ผลการศึกษาของกระทรวงวางแผนและการลงทุน ระบุว่าเวียดนามต้องใช้เงินลงทุนประมาณ 195,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับโครงสร้างพื้นฐานในปี 2560-2563 โดยเฉพาะด้านพลังงาน การขนส่งทางถนน ทางอากาศและการบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น “การดำเนินการตามกรอบความร่วมมือกับสหรัฐฯ จะช่วยส่งเสริมความร่วมมือทวีภาคี”

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-us-cooperate-to-strengthen-infrastructure-finance-300081.html

กัมพูชาส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นร้อยละ 26 ในช่วง 5 เดือนแรก

การส่งออกจากกัมพูชาไปยังสหรัฐอเมริกาในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.9 สู่ 2.3 พันล้านดอลลาร์ ตามข้อมูลจากสำนักสำรวจสำมะโนประชากรของสหรัฐ โดยรายงานด้านการค้าระหว่างสองประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 18 สู่ 2.4 พันล้านดอลลาร์ ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงพฤษภาคมกัมพูชานำเข้าผลิตภัณฑ์มูลค่า 125 ล้านดอลลาร์ จากสหรัฐอเมริกาลดลงร้อยละ 42 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งการขยายตัวในทิศทางบวกของการส่งออกนั้นเกิดจากการส่งออกสินค้าที่ไม่ใช่เสื้อผ้าสำเร็จรูป เช่น ข้าวสาร จักรยานและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งการส่งออกของภาคเครื่องนุ่งห่มลดลงโดยเฉพาะในตลาดสหภาพยุโรป โดยเมื่อปีที่แล้วการค้าทวิภาคีระหว่างทั้งสองประเทศมีมูลค่ารวม 5.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 38 เมื่อเทียบกับปี 2561

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50743738/cambodias-exports-to-u-s-up-26-percent-in-first-five-months/

สหรัฐฯมอบเงินสนับสนุน 56 ล้านดอลลาร์แก่กัมพูชา

รัฐบาลสหรัฐฯได้มอบเงินสนับสนุนโครงการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของกัมพูชาในปี 2563 จำนวน 56 ล้านดอลลาร์ รวมถึงเพื่อส่งเสริมภาคเกษตรกรรมในกัมพูชาอีก 18 ล้านดอลลาร์ ตามแถลงการณ์รัฐบาลกัมพูชาผ่านสภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) และรัฐบาลสหรัฐฯผ่านองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกา (USAID) ได้ลงนามในข้อตกลงการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาเมื่อสัปดาห์ที่แล้วเพื่อจัดหาโครงการด้านการเกษตรและสิ่งแวดล้อม โดยรองประธานสภาเพื่อการพัฒนากัมพูชากล่าวว่าข้อตกลงดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของทั้งสองประเทศเกี่ยวกับความร่วมมือ ซึ่งความร่วมมือด้านการพัฒนาทวิภาคีอย่างต่อเนื่องนี้เป็นเสาหลักที่สำคัญในการส่งเสริมและเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างทั้งสองประเทศ โดยในความร่วมมือกับกระทรวงเกษตรป่าไม้และการประมง USAID จะให้ทุนแก่โครงการต่างๆเพื่อช่วยลดจำนวนคนยากไร้ และเพิ่มการผลิตพืชผลที่สำคัญและปรับปรุงโภชนาการให้กับชุมชนในชนบท ซึ่งในภาคการศึกษากระทรวงศึกษาธิการเยาวชนและการกีฬาและโปรแกรม USAID จะสนับสนุนความพยายามในการปรับปรุงความเข้าใจในการอ่านในหมู่เด็กๆ เพื่อลดอัตราการออกกลางคันและจัดหาชาวกัมพูชาให้เข้ามาทำงาน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50738964/us-gives-56-mln-to-support-kingdom/

สหรัฐอเมริกามอบเงินเพิ่มเติมให้กับสปป.ลาวในการป้องกัน Covid-19

สหรัฐอเมริกาสนับสนุนเงินเพิ่มเติมอีก 2.5 ล้านเหรียญสหรัฐผ่านทาง US Agency เพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (USAID) เพื่อสนับสนุนการตอบสนองของ Covid-19 ในสปป.ลาว ดร. ปีเตอร์เฮย์มอนด์เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยกล่าวว่า “การระดมทุนเพิ่มเติมจากสหรัฐอเมริกาเป็นการยืนยันความมุ่งมั่นของเราภายใต้ความร่วมมือที่ครอบคลุมระหว่างสหรัฐฯ – ลาว ความช่วยเหลือด้วยการระดมทุนล่าสุดนี้ USAID จะให้การสนับสนุนห้องปฏิบัติการสปป.ลาวโดยช่วยให้พวกเขาวินิจฉัยและตรวจพบผู้ป่วย Covid-19 และช่วยในการเฝ้าระวัง Covid-19 เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อต่อไปยังผู้อื่น” ก่อนหน้านี้ในเดือนกุมภาพันธ์ USAID ได้จัดหาเครื่องมือทางการแพทย์วงเงินกว่า 92 ล้านเหรียญสหรัฐนฯ การสนับสนุนของ USAID นอกจากจะควบคุมความเสี่ยงของ COVID-19 แล้วยังมีประโยชน์แต่การระบบสาธารณสุขในอนาคตของสปป.ลาวที่อาจเผชิญกับการระบาดเชื้อไวรัสอื่นๆ นอกเหนือจาก COVID-19 ได้

ที่มา :  http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_US119.php

สหรัฐอเมริกาสนับสนุนการดำเนินธุรกิจในเวียดนาม

องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) ร่วมมือกับสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนาม (VCCI) และกรมศุลกากรเวียดนาม (GDVC) ณ วันที่ 22 มิ.ย. เปิดตัวโครงการประเมินระดับความพึงพอใจในการดำเนินธุรกิจ ผ่านระบบ National Single Window (NSW) ซึ่งรายงานดังกล่าว พื้นฐานมาจากการสำรวจ “ความพึงพอใจทางธุรกิจและขั้นตอนการบริหารผ่านระบบ NSW” ตั้งแต่เดือนก.ย.62 – มี.ค.63 ทั้งนี้ ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โครงการอำนวยความสะดวกทางการค้าของ USAID ได้ทำงานร่วมมือกับองค์กรที่หลากหลาย เพื่อที่จะลดค่าใช้จ่ายและเวลาในการทำธุรกิจที่เวียดนาม อย่างไรก็ตาม ข้อมูลสถิติการค้าสหรัฐฯ-เวียดนาม ชี้ให้เห็นว่าเมื่อปีที่แล้ว มูลค่าการค้าทั้งสองฝ่ายเติบโตสูงถึง 77.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยทาง USAID ยังคงสนัสนุนรัฐบาลเวียดนามและภาคเอกชน ในการปฏิรูปและยกระดับความพึงพอใจทางธุรกิจ ผ่านเครื่องอำนวยความสะดวกในการค้า “NSW”

ที่มา : https://vnexplorer.net/us-supports-vietnam-to-improve-business-satisfaction-a202054474.html

พาณิชย์-เอกชนจับตาความขัดแย้งสหรัฐ-จีน

พาณิชย์-เอกชน เตรียมแผนปรับทัพส่งออก รับมือสงครามการค้าสหรัฐ-จีน ปะทุรอบใหม่  ชี้โลก เดาใจ “ทรัมป์” ยาก แต่คาดใกล้ช่วงเลือกตั้งปธน กระทรวงและภาคเอกชนอยู่ระหว่างติดตามสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐ-จีน จนเกิดสงครามการค้ารอบใหม่ และจะมีการจัดทำแผนในการผลักดันส่งออกร่วมกันเพื่อรองรับผลกระทบที่เกิดขึ้น หลังจากปีที่ผ่านมาภาคส่งออกได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าแล้ว และในปี 63 ก็ได้รับผลกระทบจากการระบาดไวรัสโควิด-19 ตอนนี้ภาคเอกชนกำลังติดตามความขัดแย้งรอบใหม่ระหว่างสหรัฐ-จีนอย่างใกล้ชิด แต่เชื่อว่าไทยมีโอกาสที่ได้รับประโยชน์เกี่ยวกับเรื่องของการค้าและการลงทุนมากเช่นกัน โดยเฉพาะโอกาสที่จะผลักดันให้ประเทศไทยเป็นซับพลายเซนของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่มั่นคงของโลกได้ เพราะในระยะหลังมีผู้ประกอบการจากจีนเริ่มย้ายฐานการผลิตมาไทยและอาเซียนจำนวนมากเพื่อป้อนชิ้นส่วนและวัตถุดิบให้กับบริษัทยักษ์ใหญ่ของจีนและประเทศต่าง ๆ ช่วงหลังจีนกับประเทศตะวันตกทั้งสหรัฐและยุโรปมีปัญหากันหลังจากที่เกิดการระบาดไวรัสโควิด-19 โดยเฉพาะสหรัฐที่กล่าวหาจีนมาเป็นต้นเหตุในการทำให้เกิดการระบาดจนมีความขัดแย้งต่อเนื่อง ดังนั้นจีนต้องหาพันธมิตรในอาเซียนและประเทศใกล้เคียงมากขึ้น เห็นจากที่ผ่านมาไทยขออะไรจีนมักได้ง่ายๆหลายเรื่อง โดยเฉพาะการเปิดด่านในการส่งสินค้าเกษตรไทยไปจีน ก็ได้รับความสะดวกรวดเร็วผิดกับครั้งก่อนๆ จนทำให้สินค้าเกษตรไทยหลายตัวสามารถส่งออกไปจีนได้เพิ่ม เช่น ทุเรียน แม้จะเจอปัญหาระบาดโควิด-19 แต่ก็มีล้งจีนเข้ามากว้างซื้อทุเรียนไทยมากกว่าเดิมอีกเพื่อนำไปจำหน่ายในตลาดจีน  

ที่มา : https://www.dailynews.co.th/economic/775916

สปป.ลาวดึงดูดการลงทุนมูลค่า 36 พันล้านเหรียญสหรัฐฯจากนักลงทุนต่างประเทศ

รัฐบาลได้อนุมัติโครงการการลงทุนมากกว่า 6,000 โครงการและจะมีการระดมทุนรวม 36 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ กระทรวงการวางแผนและการลงทุนซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบการบริหารการลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชนเปิดเผยตัวเลขล่าสุดเมื่อเร็วๆ นี้ซึ่งแสดงให้เห็นว่าตั้งแต่ปี 2532-2562 จำนวนโครงการลงทุนทั้งหมดมีมูลค่ารวม 36.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ จากสถิติพบว่าจีนเป็นนักลงทุนต่างชาติที่ลงทุนมูลค่าสูงที่สุดโดยมีโครงการรวมทั้งสิ้น 862 โครงการมูลค่าการลงทุนรวมกัน 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ รองลงมาจะเป็นประเทศไทยและเวียดนามมีมูลค่าการลงทุน 4.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐและ 3.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐตามลำดับ ในอนาคตรัฐบาลจะออกนโยบาบที่จะช่วยส่งเสริมการลงทุน รวมถึงการปรับปรุงบรรยากาศทางธุรกิจและทำให้ธุรกิจต่างๆ ดำเนินงานในสปป.ลาวได้ง่ายขึ้นและเพื่อปรับปรุงสถานการณ์สำหรับผู้ประกอบการรายใหม่กระทรวงการวางแผนและการลงทุนได้จัดตั้งบริการแบบครบวงจรเพื่อให้นักธุรกิจได้รับอนุญาตการลงทุนรวมทั้งเอกสารที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจได้สะดวกขึ้นเพื่อเป็นการสร้างบรรยายกาศที่ดีด้านการลงทุนในประเทศ

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laos.php

การค้าระหว่างสหรัฐฯเพิ่มขึ้น 35% ในไตรมาสที่ 1

ข้อมูลด้านการค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและสหรัฐอเมริกามีมูลค่าอยู่ที่ราว 1.678 พันล้านดอลลาร์ ในไตรมาสแรกของปี 2563 เพิ่มขึ้น 35% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วตามข้อมูลการค้าของรัฐบาลสหรัฐ โดยการส่งออกของกัมพูชาประกอบด้วย 1.594 พันล้านดอลลาร์เพิ่มขึ้น 42% ในขณะที่การนำเข้าของกัมพูชาอยู่ที่ 85 ล้านดอลลาร์ลดลง 30% จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์กัมพูชา ซึ่งพบว่าการส่งออกในประเทศส่วนใหญ่เป็นสินค้าสิ่งทอ รองเท้า สินค้าการท่องเที่ยวและสินค้าเกษตร การนำเข้าจากสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่เป็นยานพาหนะอาหารสัตว์และเครื่องจักร โดยรองประธานหอการค้ากัมพูชากล่าวว่าตัวเลขการค้าสะท้อนให้เห็นถึงกิจกรรมการผลิตที่เพิ่มขึ้นในกัมพูชาเพื่อการส่งออก เนื่องจากอีกปัจจัยหนึ่งคือระบบ GSP ของสหรัฐอเมริกาที่ได้ให้กับกัมพูชาในปี 2559 เพื่อการส่งออกของ สินค้าการท่องเที่ยว เช่นกระเป๋าและกระเป๋าถือได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตามที่สมาคมผู้ผลิตเสื้อผ้าในกัมพูชา (GMAC) โดย 80% ของมูลค่าสินค้าการท่องเที่ยวมูลค่า 1.2 พันล้านดอลลาร์ ถูกส่งไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาเมื่อปีที่แล้ว

ที่มา: https://www.khmertimeskh.com/50720675/us-trade-up-35-in-q1/

Covid-19 ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าในกัมพูชากว่า 130 แห่ง

อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าของกัมพูชาได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการระบาดของ COVID-19 อย่างต่อเนื่องกับการส่งออกที่ได้รับผลกระทบในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลกล่าวว่ามีโรงงานถึง 130 โรงงานที่ยื่นขอให้ระงับการผลิตและส่งผลกระทบต่อแรงงานกว่า 100,000 ราย ซึ่งสำหรับไตรมาสที่สองของปีนี้การส่งออกเสื้อผ้าและรองเท้าจะลดลง 50 ถึง 60% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยในปัจจุบันกัมพูชายังไม่ได้รับคำสั่งซื้อใดๆ จากผู้ซื้อในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายนรวมถึงในอนาคตอันใกล้ ซึ่งสามารถสรุปได้ว่าการส่งออกเสื้อผ้าและรองเท้าจะได้รับผลกระทบอย่างหนักในไตรมาสที่สองของปีนี้ สหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางการตลาดหลักสำหรับการส่งออกเสื้อผ้าของกัมพูชาได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ CoVid-19 ด้วย โดยรัฐบาลและเจ้าของโรงงานตกลงที่จะให้ค่าจ้างขั้นต่ำ 70 เหรียญสหรัฐต่อเดือนสำหรับพนักงานที่ถูกระงับแต่ละราย ซึ่งรัฐบาลให้เงินสนับสนุน 40 เหรียญสหรัฐส่วนที่เหลืออีก 30 เหรียญสหรัฐจะเป็นภาระของเจ้าของโรงงาน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50717977/coronavirus-takes-its-toll-on-garment-industry-with-130-factories-suspending-operations-affecting-100000-workers/