การค้าระหว่างชายแดนไทย-กัมพูชายังคงดำเนินต่อแม้มีการติดเชื้อภายในประเทศไทย

ตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 ของไทยพุ่งสูงขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ ซึ่งเป็นผลมาจากการระบาดในเขตจังหวัดสมุทรสาคร มีผู้ติดเชื้อเกือบ 1,000 คน ทำให้รัฐบาลกัมพูชากังวลเป็นอย่างมากจากการระบาดรอบใหม่นี้ แต่อย่างไรก็ตามการกำหนดมาตรการพิเศษด้านศุลกากรโดยรัฐบาลทั้งสองประเทศกล่าวว่ายังคงสามารถทำการค้าระหว่างกันได้ตามปกติ ณ ชายแดนไทย-กัมพูชา ภายใต้มาตรการที่ได้ทำการกำหนด โดยรองประธานหอการค้ากัมพูชากล่าวว่าจนถึงขณะนี้การค้าชายแดนกัมพูชา-ไทยยังคงปกติและไม่มีปัญหาความแออัดหรือความล้มเหลวในการเคลียร์สินค้าเนื่องจากมาตรการความปลอดภัย โควิด-19 ที่เข้มงวดขึ้นจากทั้งสองรัฐบาล ซึ่งไทยเป็นหนึ่งในคู่ค้าหลักของกัมพูชา โดยเฉพาะสินค้าเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน อาหารแช่แข็ง และวัตถุดิบแปรรูปจำนวนมาก ที่ขายในตลาดกัมพูชาที่ทำการนำเข้าจากประเทศไทย จากข้อมูลที่เปิดเผยโดยกระทรวงพาณิชย์ของไทยในช่วงไตรมาสที่ 3 แสดงให้เห็นว่าปริมาณการค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและไทยอยู่ที่ 5.569 พันล้านดอลลาร์ลดลงร้อยละ 19 เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยการส่งออกของกัมพูชาอยู่ที่ 958 ล้านดอลลาร์ลดลงร้อยละ 48 ในขณะที่การส่งออกไปกัมพูชาของไทยอยู่ที่ 4.611 พันล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 9 ซึ่งการลดลงของการค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและไทยเกี่ยวข้องกับผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคระบาดในปีนี้เป็นหลัก

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50796894/business-as-usual-despite-recent-thai-virus-outbreak/

ค้าชายแดนเมียนมา-ไทยต้นทุนค่าเสียหายพุ่งสูงขี้น

มีคำแนะนำสำหรับการถ่ายสินค้าเพื่อการค้าบริเวณชายแดนและบรรจุลงรถแยกที่สะพานมิตรภาพไทย – เมียนมา 2 ทำให้ผู้ค้าในพื้นที่ได้รับผลกระทบจากจากความเสียหายที่เพิ่มขึ้น นาย U Aung Myint Oo ผู้อำนวยการ บริษัท การค้า Klohtoo Wah Co. Ltd. เผยสินค้าบางที่อย่างไม่สามารถตากแดดหรือฝนได้ เช่น แป้งข้าวเจ้าจะได้รับความเสียหายหากเปียก แต่การบรรจุสินค้าขึ้นรถบรรทุกของไทยจำเป็นต้องนำไปเก็บไว้ชั่วคราวที่อาคารผู้โดยสาร ซึ่งการขนย้ายสินค้ายังต้องใช้ค่าแรงเพิ่มเติม หลังจากมีผู้ตรวจพบ COVID -19 ในแม่สอดของประเทศไทยอีก 5 รายเมื่อเดือนที่แล้วสะพานมิตรภาพไทย – เมียนมา ปิดให้เป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ การสัญจรกลับมาได้อีกครั้งในวันที่ 25 ตุลาคม โดยปกติรถบรรทุกจะใช้เวลาเพียง 3 ชั่วโมงเพื่อข้ามพรมแดนเข้าสู่ประเทศไทย ขณะนี้สมาคมผู้ค้าหน่วยงานภาครัฐและหอการค้าเมียนมากำลังเจรจากับเจ้าหน้าที่ไทยเพื่อหาทางออกที่ช่วยบรรเทาภาระนี้ ปัจจุบันในแต่ละวันมีรถบรรทุกมากกว่า 300 คันวิ่งผ่านสะพาน ส่วนใหญ่จะนำเข้าวัสดุก่อสร้างจากไทย ในขณะการส่งออกจะเป็นผักและผลไม้ เช่น ข้าวโพด พริก และถั่วลิสง

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/more-costs-damage-incurred-while-trading-thai-border.html

ค้าชายแดนมูเซกลับมาเปิด หลังคลายล๊อคด่านหลุยลี่

การค้าชายแดนที่ด่านมูเซของรัฐฉานกลับมาเปืดอีกครั้งหลังจากสำนักงานศุลกากรในเมืองหลุ่ยลี่ของจีนเริ่มเปิดทำการ ในวันที่ 22 กันยายน 63  การค้าชายแดนระหว่างเมียนมาและจีนถูกระงับหลังจากด่านหลุ่ยลี่ถูกปิดไปเมื่อวันที่ 15 กันยายน 63 ภายหลังตรวจพบผู้ติดเชื้อ COVID-19 ในขณะที่การเดินทางออกนอกเมืองหลุ่ยลี่ยังคงถูกจำกัด ซึ่งสินค้าอนุญาตให้ผ่านชายแดนได้แต่คนขับรถบรรทุกของเมียนมาต้องสับเปลี่ยนรถกับคนขับรถของจีนก่อนที่สินค้าจะถูกนำเข้า คาดว่าจะมีการส่งออกข้าวประมาณ 20,000 ถุงจากเมียนมาในวันนี้ มูลค่าการค้าที่ด่านมูเซสูงสุดในบรรดาด่านชายแดนโดยมีการส่งออกรวม 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณ 62-63 และการนำเข้าจากจีนสูงถึง 1.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/border-trade-muse-resumes-after-ruili-restrictions-relaxed.html

ผู้ค้าหน้ากากอนามัยขอให้แก้ไขการขนส่งเพื่อคุมราคาไม่ให้สูงจนเกินไป

กระทรวงพาณิชย์ตรวจสอบการขายอาหารหลัก ยา และเวชภัณฑ์ในราคาที่สูงเกินจริง เมื่อวันที่ 13 กันยายน 63 ออกเตือนให้ผู้ค้าไม่ให้ขึ้นราคาโดยไม่จำเป็นในช่วง COVID-19 ในเดือนมีนาคม 63 ที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์ห้ามขึ้นราคาสินค้าพื้นฐาน ยา และเวชภัณฑ์ ทั้งนี้กรมกิจการผู้บริโภคยังเรียกร้องให้ธุรกิจต่างๆ ไม่เพิ่มราคาหน้ากากอนามัยที่นำเข้าจากจีนและให้จำหน่ายในราคาที่เหมาะสม ความต้องการพุ่งสูงขึ้นตั้งแต่การพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเมื่อปลายเดือนสิงหาคม 63 แต่ผู้ค้ากล่าวว่าควรผ่อนปรนข้อจำกัดบางประการในการขนส่งที่ชายแดนเมียนมา – จีนเพื่อให้ราคามีเสถียรภาพมากขึ้นเนื่องจากหน้ากากอนามัยที่ผลิตจากจีนส่วนใหญ่จะนำเข้าจากชายแดน ปัจจุบันราคามีความผันผวนเนื่องจากความต้องการที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาจากข้อจำกัดและความล่าช้าที่ชายแดน เช่น จากชายแดนมูเซเพื่อเข้ามาย่างกุ้งและมัณฑะเลย์มีความลำบากและทำให้ราคาพุ่งสูงขึ้น ขณะเดียวกันสหพันธ์ข้าวเมียนมาได้เรียกร้องให้ธุรกิจปฏิบัติตามคำเตือนของกระทรวงที่ไม่ขึ้นราคาข้าวเนื่องจากเป็นสินค้าอาหารพื้นฐานในประเทศ ด้านสมาคมผู้ค้าน้ำมันเพื่อการบริโภคแห่งเมียนมายังได้เรียกร้องให้ตัวแทนจำหน่ายขายในราคาที่เหมาะสม โดยทั่วไปราคาสินค้าโภคภัณฑ์สูงขึ้นในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาเนื่องจากข้อจำกัดด้านโลจิสติกส์และการขนส่งซึ่งกรมกิจการผู้บริโภคจะทำตรวจสอบสินค้าที่ขายเกินราคาบ่อยขึ้น

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/traders-face-masks-ask-smoother-logistics-flow-avoid-price-hikes.html

กัมพูชามีแผนเปิดประตูชายแดนกับเวียดนามอีกแห่ง

กระทรวงโยธาธิการและขนส่ง (MPWT) ระบุว่ากำลังดำเนินเปิดประตูชายแดนอีกแห่งกับเวียดนาม เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งตู้สินค้าข้ามพรมแดนระหว่างสองประเทศ ทั้งนี้ เมื่อเร็วๆนี้ จากการประชุมระหว่างภาครัฐกับเอกชน กัมพูชาและญี่ปุ่น คุณ Nou Savath เลขาธิการกระทรวง กล่าวว่ากระทรวงโยธาธิการและขนส่ง มีแผนที่จะนำคณะทำงานรัฐมนตรี ทำการตรวจสอบประตูชายแดนอีกแห่งกับเวียดนาม สำหรับการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ เนื่องจากประตูชายแดน ‘Bavet-Moc Bai’ คับคั่งอย่างมาก อีกทั้ง กัมพูชากำลังพิจารณาที่จะเปิดประตูชายแดนอีกแห่ง ‘Prey Vor-Binh Hiep’ เพื่อลดขั้นตอนการดำเนินงานของศุลกากรและสถาบันที่เกี่ยวข้อง และลดความแออัดของชายแดน Bavet

ที่มา : https://english.cambodiadaily.com/business/cambodia-plans-another-intl-border-gate-with-vietnam-168978/

“ส.ว.สถิตย์” แนะตั้งสหภาพศุลกากรในกลุ่ม CLMV สร้างกลไกพึ่งตนเองในกรอบที่ใหญ่ขึ้น

“ส.ว.สถิตย์” แนะทางรอดยุคโควิด-19 เสนอตั้งสหภาพศุลกากรในกลุ่มประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม และ ไทย ทลายอุปสรรคทางการค้าชายแดนระหว่างกัน สร้างกลไกการพึ่งตนเองในกรอบที่ใหญ่ขึ้น พร้อมให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมการเกษตรที่มีห่วงโซ่การผลิตครอบคลุมประชากรจำนวนมาก และใช้ทรัพยากรในประเทศที่มีอยู่อย่างสมบูรณ์ ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2563 ดร.สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธ์ุ สมาชิกวุฒิสภาได้อภิปรายแสดงความคิดเห็นต่อรายงานเรื่องข้อเสนอทิศทางประเทศไทยหลังวิกฤตโควิด-19 ของคณะกรรมาธิการพาณิชย์และการอุตสาหกรรม ของวุฒิสภาว่า สงครามการค้า และโควิด-19 ทำให้ประเทศไทยต้องหันกลับมาเน้นเศรษฐกิจภายในประเทศมากขึ้น พึ่งตนเอง สำหรับประเทศไทยไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะเศรษฐกิจของไทยมีขนาดเล็กเกินกว่าที่จะอยู่ได้ด้วยตนเอง ไทยควรจะเร่งประสานเศรษฐกิจรวมกลุ่มกัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม ไทย (CLMVT: Cambodia, Laos, Myanmar, Vietnam, Thai) เพื่อสร้างกลไกในการพึ่งตนเองในกรอบที่ใหญ่ขึ้น สินค้าไทยเป็นที่นิยมในกลุ่มประเทศเหล่านี้ และผลิตจากวัตถุดิบในประเทศเป็นหลัก นอกจากนี้ ดร.สถิตย์ เสนอว่า เศรษฐกิจของกลุ่ม CLMVT ควรพัฒนาไปสู่การจัดตั้งเป็นสหภาพศุลกากร (Customs Union) กล่าวคือ นอกจากเสรีในการนำเข้า-ส่งออกกันแล้ว อัตราภาษีศุลกากร ที่นำเข้ามาในแต่ละประเทศของสหภาพศุลกากรจะเป็นอัตราเดียวกัน

ที่มา : https://mgronline.com/politics/detail/9630000087276

โควิดฉุดยอดค้าชายแดน-ผ่านแดน ครึ่งปี หด 9.18% พาณิชย์ เร่งสปีดเปิดด่านเพิ่ม

กรมการค้าต่างประเทศ เผยสถิติการค้าชายแดน-ผ่านแดน 6 เดือนของปี 2563 มูลค่ารวมทั้งสิ้น 627,480 ล้านบาท ลดลง 9.18% จากปัญหาโควิด-19 พร้อมจากนี้ กรมฯดันเปิดด่านค้าชายแดนให้เพิ่มจากปัจจุบัน 40 จุด มาเลเซียยังครองแชมป์ค้าชายแดนสูงสุด สำหรับมูลค่าการค้าชายแดนกับเพื่อนบ้าน 4 ประเทศ (มาเลเซีย เมียนมา สปป.ลาว และกัมพูชา) ในช่วง ม.ค.-มิ.ย. 63 พบว่า มาเลเซียเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่ง มีมูลค่าการค้ารวม 109,401 ล้านบาท (ลดลง 26.81%) รองลงมาคือ สปป.ลาว มูลค่า 92,285 ล้านบาท (ลดลง 7.09%) เมียนมา มูลค่า 86,744 ล้านบาท (ลดลง 13.65%) และกัมพูชา มูลค่า 82,023 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 2.27%) เรียงตามลำดับ ทั้งนี้ สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทยไปมาเลเซีย ได้แก่ ยางพารา เครื่องคอมพิวเตอร์ และแผงวงจรไฟฟ้า สปป.ลาว ได้แก่ น้ำมันดีเซล สินค้าปศุสัตว์อื่นๆ และสินค้าแร่และเชื้อเพลิงอื่นๆ เมียนมา ได้แก่ เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ น้ำมันดีเซล และปูนซีเมนต์ และกัมพูชา ได้แก่ เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ สินค้าปศุสัตว์ และรถยนต์นั่ง ขณะที่มูลค่าการค้าผ่านแดนประเทศเพื่อนบ้านไปยัง จีน สิงคโปร์ เวียดนาม และประเทศอื่น ๆ ในช่วง ม.ค.- มิ.ย. 63 พบว่า จีนเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งมีมูลค่าการค้ารวม 109,896 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 16.00%) รองลงมา คือ สิงคโปร์ มูลค่า 41,694 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 13.70%) เวียดนาม มูลค่า 29,900 ล้านบาท (ลดลง 23.89%) และประเทศอื่นๆ มูลค่า 75,537 ล้านบาท (ลดลง 16.78%) สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทยไปจีน ได้แก่ ผลไม้สดฯ เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ และยางพารา สิงคโปร์ ได้แก่ เครื่องยนต์สันดาปฯ เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ และแผงวงจรไฟฟ้า และเวียดนาม ได้แก่ ผลไม้สดแช่เย็นฯ เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ อุปกรณ์กึ่งตัวนำฯ ปัจจุบันไทยได้เปิดจุดผ่านแดน (จุดผ่านแดนถาวร/จุดผ่านแดนชั่วคราว/จุดผ่อนปรนการค้าและการท่องเที่ยว/จุดผ่อนปรนพิเศษ) 40 แห่ง จากทั้งหมด 97 แห่งทั่วประเทศ โดยเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2563 จังหวัดสระแก้วได้มีประกาศเปิดจุดผ่านแดนเพื่อการขนส่งสินค้าเพิ่มอีก 2 แห่ง คือ จุดผ่อนปรนการค้าบ้านตาพระยา และบ้านหนองปรือ รวมทั้งได้มีมาตรการผ่อนคลายจุดผ่านแดนที่เปิดอยู่แล้วอีก 2 แห่ง คือ จุดผ่านแดนถาวรบ้านคลองลึก อ.อรัญประเทศ และจุดผ่านแดนถาวรบ้านเขาดิน อ.คลองหาด เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกทางการค้าชายแดนไทย-กัมพูชา จุดผ่อนปรนการค้าบ้านยักษ์คุ จังหวัดอำนาจเจริญ นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2563 รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) ได้นำคณะเดินทางลงพื้นที่ ณ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ในการร่วมกันผลักดันให้มีการกลับมาเปิดทำการจุดผ่อนปรนการค้ากิ่วผาวอก อ.เชียงดาว และบ้านหลักแต่ง อ.เวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่อีกครั้ง ทั้งนี้ ปัจจุบันจุดผ่อนปรนการค้าทั้ง 2 แห่งดังกล่าวปิดทำการเนื่องจากฝ่ายเมียนมาไม่อนุญาตให้มีการเดินทางเข้า-ออกด้วยเหตุผลความมั่นคงภายใน

ที่มา: https://www.prachachat.net/economy/news-506891

ค้าชายแดน-ผ่านแดน 4 เดือนแรกหดตัว 9.45%

นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เผยสถิติการค้าชายแดนและผ่านแดนของไทยในช่วง 4 เดือนแรกปี 2563 (ม.ค.-เม.ย.) มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 415,241 ล้านบาท หดตัวลง 9.45% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็น การส่งออก 239,495 ล้านบาท ลดลง 9.68% และการนำเข้า 175,746 ล้านบาท ลดลง 9.13% ทำให้ไทยเกินดุลการค้า 63,749 ล้านบาท โดยการค้าชายแดน 4 ประเทศ พบว่า มาเลเซียเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งมีมูลค่าการค้ารวมทั้งสิ้น 70,022 ล้านบาท หดตัว 32.35% รองลงมาคือ เมียนมา มูลค่า 60,194 ล้านบาท หดตัว 7.08% ตามมาด้วยกัมพูชามูลค่า 59,619 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.06% และ สปป.ลาว มูลค่า 62,745 ล้านบาท หดตัว 2.63% ทั้งนี้ สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทยไปยังสปป.ลาว ได้แก่น้ำมันดีเซล สินค้าปศุสัตว์อื่นๆ สินค้าแร่และเชื้อเพลิงอื่นๆ และกัมพูชา ได้แก่ เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ สินค้าปศุสัตว์ และรถยนต์ อุปกรณ์ เป็นต้น นอกจากนี้ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือโควิด-19 ในปัจจุบันส่งผลกระทบต่อแนวโน้มการค้าชายแดนและผ่านแดนลดลง เนื่องจากมีการประกาศปิดจุดผ่านแดนถาวรของไทยโดยจากเดิมทั่วประเทศจำนวน 42 จุด เหลือเพียง 26 จุด ประกอบกับความต้องการสินค้าและปัจจัยการผลิตของประเทศเพื่อนบ้านลดลง

ที่มา : https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/437679?utm_source=category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=Macro_econ