ร้องรัฐจ่ายชดเชยว่างงานต่อ ผลกระทบจากคำสั่งปิดกิจการ

นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ได้รับข้อร้องเรียนจากสมาคมสวนสนุกและสวนพักผ่อนหย่อนใจ สมาคมเพื่อสวนสัตว์ไทย สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ และ บมจ. เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป ถึงผลกระทบจากคำสั่งปิดกิจการเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 จึงได้เสนอให้จ่ายชดเชยว่างงาน เพื่อช่วยเหลือลูกจ้างผู้ประกันตน ซึ่งจะได้รับทดแทนสูงสุดไม่เกิน 90 วัน หลังจากที่รัฐออกคำสั่งปิดกิจการไปแล้วเมื่อเดือน เม.ย.64 และจะครบกำหนดเดือน ก.ค.นี้ ส่วนความคืบหน้ามาตรการในการบรรเทาหนี้ประชาชน และการเข้าถึงสินเชื่อของภาคเอกชน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ออกสินเชื่อวงเงินรวม 90,000 ล้านบาทมาช่วยเหลือแล้ว สำหรับการพักชําระเงินต้นและดอกเบี้ยที่ถึงกําหนดชําระอย่างน้อย 2 เดือน

ที่มา: https://www.thairath.co.th/business/other/2150172

สหภาพยุโรปให้คำมั่นสัญญา 42.9 ล้านยูโรเพื่อจัดการกับผลกระทบของ Covid-19 ต่อการศึกษาและโภชนาการ

สหภาพยุโรป (EU) จะให้เงิน 42.9 ล้านยูโรแก่สปป.ลาว เพื่อจัดการกับผลกระทบของการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ที่มีต่อการศึกษาและโภชนาการ เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรป เข้าเยี่ยมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง Mr Bounchom Oubonpaseuth เพื่อแจ้งให้เขาทราบถึงผลในเชิงบวกของการประเมินโครงการสนับสนุนงบประมาณการศึกษาและโภชนาการของสหภาพยุโรป เงินทุนดังกล่าวจะจัดสรรเงิน 26.4 ล้านยูโร (318 พันล้านกีบ) สำหรับโครงการสนับสนุนงบประมาณการศึกษาและ 16.4 ล้านยูโร (197 พันล้านกีบ) สำหรับการสนับสนุนงบประมาณด้านโภชนาการสอดคล้องกับยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการด้านโภชนาการแห่งชาติ สปป. ลาว” การสนับสนุนนี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเงินทุนสำหรับการขาดดุลงบประมาณหรือภาระผูกพันทางการเงินแต่เป็นการช่วยให้รัฐบาลรับมือกับวิกฤตโควิด-19 และความต้องการของนักเรียนและประชากรที่อ่อนแอของสปป.ลาว

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_EU142.php

เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำสปป.ลาวคาดหวังให้สปป.ลาวได้วัคซีนโควิด-19 เพิ่มขึ้นจากสหรัฐฯ

ดร.ปีเตอร์ เอ็ม เฮย์มอนด์ เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำสปป.ลาว กล่าวว่า วัคซีนโควิด-19 ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐฯ จะมาถึงสปป.ลาวในอนาคต เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้คนในสปป.ลาวจากไวรัสโควิด-19 ผ่านโครงการ COVAX Facility มูลค่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นความร่วมมือระดับโลกที่มีเป้าหมายเพื่อให้แน่ใจว่ามีการเข้าถึงวัคซีนโควิด-19 อย่างเท่าเทียมกัน การสนับสนุนจากสหรัฐฯ จะทำให้ประสิทธิภาพการฉีดวัคซีนในสปป.ลาวเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ปัจจุบันสปปป.ลาวสามารถฉีดวัคซีนเข็มแรกให้กับประชาชนไปแล้วกว่าร้อยละ 50 ของประชาทั้งหมดและหากได้รับวัคซีนเพิ่มเติมที่มีกำหนดรับในเดือนนี้ สปป.ลาวจะสามารถฉีดเข็มสองให้กับประชาชนได้ครอบคลุมกว่าร้อยละ 50 ภายในปีนี้ การเร่งฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันในตามหลักทางการแพทย์นั้น จะทำให้สปป.ลาวสามารถจบปัญหากับโควิดเร็วและจะเร่งกลับมาขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้เร็วกว่าประเทศอื่นๆ ในอาเซียน การสนับสนุนวัคซีนผ่านโครงการดังกล่าวจึงถือเป็นปัจจัยสำคัญในการที่จะทำให้สปป.ลาวรอดพ้นจากสถานการณ์ที่ยากลำบากในปัจจุบัน

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_US141.php

ตลาดโฮจิมินห์ดิ่ง เผชิญลูกค้าน้อยราย เหตุกลัวโควิดระบาด

จากการสำรวจของสำนักข่าว VnExpress เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา พบว่าตลาดส่วนใหญ่มีผู้ซื้อหรือผู้บริโภคเพียงไม่กี่รายที่เข้ามาจับจ่ายใช้สอย และตลาดดั้งเดิมอีก 40 แห่ง ได้รับอนุญาตให้เปิดดำเนินการได้บางส่วน โดยจำหน่ายเฉพาะอาหาร ทั้งนี้ ผู้บริหารตลาดรายหนึ่ง กล่าวว่าพ่อค้า/แม่ค้าหันมาขายของออนไลน์มากขึ้น ขณะที่ผู้บริโภคกลัวที่จะเข้ามาตลาด เนื่องจากอยู่ในบริเวณที่ใกล้เคียงกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 อย่างไรก็ดี ร้านค้าหลายแห่งได้ปรับลดราคาผักผลไม้หลายชนิด นอกจากนี้ ผู้คนในเมืองโฮจิมินห์กว่า 13 ล้านคน เผชิญกับการระบาดของโควิด-19 ที่เลวร้ายที่สุดเท่าที่เคยมีมา ด้วยจำนวนผู้ติดเชื้อมากที่สุด มากกว่า 39,500 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 27 เม.ย. 2564)

ที่มา : https://e.vnexpress.net/news/business/economy/hcmc-traditional-markets-lack-patrons-on-covid-fears-4328158.html

“ไนกี้” หวั่นโควิด-19 ระบาด ปิดโรงงานผลิตรองเท้าในเวียดนาม

บริษัทวิจัยตลาด ส่งสัญญาเตือนการปิดโรงงานผลิตรองเท้า 2 รายในเวียดนาม เนื่องจากเผชิญกับการระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการผลิตรองเท้าไนกี้ (Nike) โดยเวียดนามมีสัดส่วน 49% ของปริมาณการนำเข้าผ่านการขนส่งทางทะเล และเชื่อมโยงกับสินค้าของไนกี้และอื่นๆ ของบริษัทในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ อีกทั้ง งบประมาณของบริษัท ไนกี้ ปี 2563 ได้ทำสัญญาจ้างในเวียดนาม เพื่อผลิตรองเท้าแบรนด์ราว 50% นอกจากนี้ ผู้ให้บริการ ‘S&P Global Market Intelligence’ ชี้ให้เห็นว่า ‘Changshin Vietnam’ โรงงานผลิตรองเท้าจากเกาหลี และ ‘Pou Chen Corp’ ของไต้หวัน ประกาศหยุดการดำเนินกิจการเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว อาจทำให้ซัพพลายเชนเกิดหยุดชะงักลงที่บริษัททำธุรกิจด้วย

ที่มา : https://e.vnexpress.net/news/business/companies/nike-could-run-out-of-vietnamese-sneakers-4328007.html

30 สมาคมทำจดหมายเปิดผนึกถึง ‘บิ๊กตู่’ จี้ 5 เรื่อง ชะลอเอ็นพีแอลพุ่ง หยุด ศก.พัง 1.5 แสนล้านต่อเดือน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยร่วมกับสมาคมการค้าและธุรกิจเอสเอ็มอีกว่า 30 องค์กร ออกแถลงการณ์และส่งหนังสือเปิดผนึกถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐบาล เบื้องต้นจะมี 5 ประเด็นเร่งด่วน ได้แก่ 1.ขยายระยะเวลาพักชำระหนี้และไม่คิดดอกเบี้ย 2. ลดอัตราดอกเบี้ยสำหรับเอสเอ็มอี 3.เร่งรัดการใช้ พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาวิสาหกิจ ภายในไตรมาส 3/64 เปิดโอกาสให้ตัวแทนจากทุกภาคส่วน ทั้งรัฐ เอกชน นักวิชาการ ฯลฯ อยู่ในคณะกรรมการเพื่อจะได้หารือมาตรการที่ออกมาใช้ได้ตรงกับสถานการณ์ที่แท้จริง 4.เร่งรัดตั้งกองทุนฟื้นฟูเอ็นพีแอล และ 5.เร่งแก้ปัญหาลดจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทั้งนี้สมาพันธ์ฯ ยังประเมินความเสียหายจากการขยายเวลาล็อกดาวน์และเคอร์ฟิวใน 13 จังหวัด ซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจประมาณ 9 ล้านล้านบาทต่อปี ส่วนนี้หากได้รับผลกระทบ 20% จะเสียหายถึง 1.5 แสนล้านบาทต่อเดือน

ที่มา: https://www.matichon.co.th/economy/news_2837796

วัคซีนจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน กว่า 1 ล้านโดส เดินทางถึงสปป.ลาวแล้ว

วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน มากกว่า 1 ล้านโดสที่รัฐบาลสหรัฐฯ บริจาคให้ มาถึงสปป.ลาวแล้วเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา วัคซีนได้รับการบริจาคผ่าน COVAX Facility ซึ่งเป็นความร่วมมือที่นำโดย Coalition for Epidemic Preparedness Innovations (CEPI), Gavi, the Vaccine Alliance และองค์การอนามัยโลก (WHO) โดยมียูนิเซฟเป็นพันธมิตรในการจัดส่งที่สำคัญ การบริจาคนี้เป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนของสหรัฐฯ ในการยุติการแพร่ระบาดทั่วโลก และสนับสนุนเป้าหมายของสปป.ลาวในการฉีดวัคซีนให้ได้ 50% ของประชากรทั้งหมดภายในสิ้นปีนี้ ทั้งนี้วัคซีนที่ได้รับบริจาคจะฉีดให้กับประชาชนลาวทั้งหมด 1,030,461 คนในสปป.ลาวคิดเป็น 14% ของประชากรทั้งหมด

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_More_138.php

‘กระทรวงการคลังเวียดนาม’ อัดฉีดเงิน 21.5 ล้านล้านดอง ใช้สู้โควิด-19

เมื่อวันที่ 16 ก.ค. 2564 กระทรวงการคลัง ประกาศว่าเวียดนามใช้งบประมาณรวมกว่า 21.5 ล้านล้านดอง เพื่อสู้กับการระบาดของโควิด-19 และจำนวนเงินดังกล่าว มีการใช้เงิน 8.4 ล้านล้านดอง เพื่อซื้อวัคซีนและอุปกรณ์ทางการแพทย์ ในขณะเดียวกันมีการใช้เงิน 13.1 ล้านล้านดอง เพื่อบรรเทาและสนับสนุนทางการเงินให้แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ซึ่งเป็นไปตามมติของรัฐบาลฉบับที่ 42 และฉบับที่ 154 ดังนั้น กระทรวงการคลังจึงได้เสนอให้รัฐบาลจัดสรรเงิน 1,237 ล้านล้านดองจากกองทุนสำรองของรัฐ ปี 2564 เพื่อที่จะให้กระทรวงฯ จัดซื้อวัคซีนและดำเนินการฉีดวัคซีนทั่วประเทศ นอกจากนี้ กระทรวงการคลังได้ขอให้ส่วนราชการและหน่วยงานท้องถิ่น ลดค่าใช้จ่ายลง 50% และรายจ่ายประจำอย่างน้อย 10% เพื่อที่จะนำเงินไปต่อสู้กับการระบาดโควิด-19

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/83203/finance-ministry-says-has-spent-vnd215-trillion-on-covid-19-fight.html

ปธ.หอค้า ชี้ 4 ประเด็นเสี่ยงจากขยายล็อกดาวน์ คาด ศก.เสียหาย 1.2 แสนล้าน ใน 30 วัน

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย เผยว่า จากประกาศควบคุมสูงสุดและเข้มงวด เพิ่มจาก 10 จังหวัด เป็น 13 จังหวัด ภาคเอกชน มีความเห็นว่า 1.ภาคเอกชน ต้องการความชัดเจนในการจัดการ ประกาศที่ออกมาควรมีรายละเอียดเพื่อให้ประชาชนและผู้ประกอบการมีการเตรียมความพร้อม 2.สำหรับที่มีการยกระดับเพิ่มใน 3 จังหวัด เห็นว่าเป็นจังหวัดที่มีภาคการผลิตสูงมาก ควรต้องมีมาตรการเชิงรุกในการตรวจ การคัดแยก และจัดสรรวัคซีนให้ทั่วถึง 3.จากการประเมินความเสียหายเบื้องต้นคาดว่าผลกระทบ 1 เดือน จะประมาณ 90,000-120,000 ล้านบาท 4. รัฐต้องเร่งกระจายวัคซีนให้กลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ที่มีการระบาดหนักเป็นการด่วน

ที่มา: https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2836170

วิกฤตโควิด ระลอก 3 ลามหนัก ส่งผลความต้องการไข่และไก่เพิ่ม หนุนราคาพุ่ง

ราคาเนื้อสัตว์ปีกและไข่เพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ จากความต้องการเพิ่มขึ้นจากวิกฤติ COVID-19 ที่ระลอก 3  ระบาดรุนแรงขึ้นในประเทศ ราคาไข่เพิ่มขึ้นจาก 130 จัตเป็น 220 จัต ส่วนราคาไก่เพิ่มขึ้นเป็น 12,000 จัต/viss การระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ประชาชนมีความกังวล ต่อการปรับขึ้นราคาสินค้าโภคภัณฑ์จากความต้องการที่เพิ่มขึ้น การผลิตปศุสัตว์และสัตว์ปีกเติบโตขึ้น 10-15% ต่อปี  ตามรายงานของ MLF ปัจจุบัน มีการเลี้ยงไก่เนื้อ 1.35 ล้านตัว กึ่งไก่เนื้อประมาณ 1.465 ล้านตัว และไก่ไข่อีก 2.9 ล้านตัวในฟาร์มไก่และฟาร์มปลาที่เลี้ยงแบบผสมผสาน นอกจากนี้ ภาคปศุสัตว์ในประเทศกำลังเผชิญกับแรงกดดันจากนักลงทุนต่างชาติอย่างจีน ไทย และอินเดีย เพราะการเพาะเลี้ยงพันธุ์สัตว์ปีกส่วนใหญ่เป็นของเกษตรกรในท้องถิ่น ดังนั้นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ในท้องถิ่นจึงต้องเปลี่ยนไปใช้วิธีผสมพันธุ์สมัยใหม่และเพิ่มกำลังการเพาะเลี้ยงเพื่อปรับตัวให้ทันกับนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามา

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/egg-poultry-prices-surge-on-rising-demand-in-covid-19-crisis/