เมียนมาผ่อนผันคำสั่งแปลงสกุลเงินให้ผู้ค้าที่ชายแดนจีน-ไทย

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ธนาคารกลางเมียนมา (CBM) ได้ขยายระยะเวลาบังคับแปลงสกุลเงินต่างประเทศเป็นเงินจัตสำหรับผู้ส่งออกที่ทำการค้าที่ชายแดนกับจีนและไทย โดยผู้ส่งออกที่ซื้อขายภายใต้โครงการการค้าชายแดนจีน-เมียนมา และไทย-เมียนมา ไม่จำเป็นต้องแปลงรายได้จากการส่งออกเป็นสกุลเงินจัตภายในหนึ่งวันทำการอีกต่อไป และอนุญาตแปลงรายได้ของตนเองที่เป็นสกุลเงินต่างประเทศมาเป็นเงินจัตได้ภายในระยะเวลา 1 เดือน ทั้งนี้ ธนาคารกลางยังมีคำสั่งให้ธนาคารตัวแทนที่ได้รับอนุญาตดำเนินการตรวจสอบการบังคับนำรายได้ของผู้ส่งออกเข้าบัญชีธนาคารของรัฐสำหรับรายได้จากการส่งออก นอกจากนี้ ยังอนุญาตให้ผู้นำเข้าสามารถชำระเงินเป็นสกุลเงินต่างประเทศกับธนาคารที่กำหนด โดยไม่ต้องผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการกำกับดูแลการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ.

ที่มา: https://english.news.cn/20220428/c939e28c2cdf49dab0f244300c49df72/c.html

งบประมาณย่อย 64-65 เมียนมาได้เปรียบดุลการค้า 321 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

การค้าระหว่างประเทศของเมียนมาของปีงบประมาณย่อย 2564-2565 (ตุ.ค. 2564 ถึงมี.ค. 2565) มีมูลค่า 16.234 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แบ่งเป็นการส่งออกมูลค่า 8.279 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการนำเข้ามูลค่า 7.955 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เกินดุลการค้ามูลค่า 324 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 263 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2563-2564 สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ ข้าว ข้าวหัก ข้าวโพด ถั่วและเมล็ดพืช ผลิตภัณฑ์ประมง ปศุสัตว์ และเครื่องนุ่งห่มสำเร็จรูป โดยมูลค่าการส่งออกทางทะเลเพิ่มขึ้นกว่า 1,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และเมื่อรวมกับการค้าชายแดนพบว่าเพิ่มขึ้นถึง 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ ในช่วงงบประมาณมาณย่อย 2564-2565 เมียนมาได้ตั้งเป้าการส่งออกไว้ที่ 8.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่กลับเพิ่มขึ้นถึง 101% และการนำเข้าที่ได้ตั้งเป้าไว้ 8.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 90% ดังนั้นมูลค่าการค้ารวมจึงพุ่งสูงถึง 95 % จากเป้าที่ได้ตั้งไว้ 17 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/e-paper/

งบประมาณย่อย 64-65 ส่งออกข้าวผ่านชายแดนเมียนมาซบเซาหนัก

สหพันธ์ข้าวเมียนมา เผย ยอดการส่งออกข้าวและข้าวหักผ่านชายแดนลดลงอย่างมาก โดยในปีงบประมาณย่อย(เดือนต.ค. 2564 ถึงเดือน มี.ค. 2565) เมียนมาส่งออกข้าวและข้าวหักมากกว่า 1.4 ล้านตัน เป็นการส่งออกทางทะเลมีปริมาณกว่า 1.3 ล้านตัน ในขณะที่การส่งออกผ่านชายแดนมีเพียง 76,000 ตัน เนื่องจากมาตรการป้องกัน COVID-19 ที่เข้มงวดของจีน ที่จำกัดรถบรรทุกสินค้าบริเวณชายแดนมูเซ ซึ่งขณะนี้มีเพียงขนส่งระยะใกล้ผ่านชายแดนจินซันเฉาะ (Kyinsankyawt) เท่านั้น ทำให้ให้มีการส่งออกผ่านชายแดนเพียง 76,000 ตันเท่านั้น เมียนมาส่งออกข้าวไปยังต่างประเทศ 13 ประเทศ ส่วนใหญ่ไปจะส่งไปยังไอวอรี่โคสต์ด้วยปริมาณมากกว่า 400,000 ตัน รองลงมาคือจีน 220,000 ตัน และฟิลิปปินส์มากกว่า 130,000 ตัน ในทำนองเดียวกัน ข้าวหักถูกส่งออกไปยัง 10 ประเทศ ส่วนใหญ่จะเป็นจีน 210,000 ตัน ตามด้วยเนเธอร์แลนด์ 160,000 ตัน และเบลเยียม 79,000 ตัน ปัจจุบันในปีงบประมาณ 2563-2564 มีการส่งออกข้าวไปตลาดต่างประเทศกว่า 2 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/rice-exports-through-border-show-big-slump-in-past-mini-budget-period/#article-title

มะม่วงเซ่งตะโลงขาดแคลนหนัก หนุนราคาพุ่ง!

นาย U Kyaw Soe Naing เลขาธิการสมาคมพัฒนาตลาดมะม่วงและเทคโนโลยีเมียนมา (เมืองมัณฑะเลย์) เผย ราคามะม่วงมะม่วงเซ่งตะโลง (Seintalone) จำหน่ายอยู่ที่ 33,000-35,000 จัตต่อ 1 ตะกร้า (16 กิโลกรัม จำนวน 50-60 ผล) ส่วนมะม่วงมีคุณภาพต่ำราคาจะอยู่ที่ 300,000-500,000 จัตต่อตันเท่านั้น เพราะเมื่อวันที่ 18 เม.ย.2565 ที่ผ่านมาเกิดลมแรงในพื้นที่ส่งผลกระทบสร้างความเสียหายต่อสวนมะม่วงในมัณฑะเลย์ อีกทั้งปีนี้มีแนวโน้มผลผลิตลดลง 30% เมื่อเทียบกับปีที่แล้วเนื่องจากลมแรงและแมลงศัตรูพืช และชายแดนจีนยังคงปิดตัวอยู่ ดังนั้นจึงพึ่งพาตลาดภายในประเทศเท่านั้น อีทั้งรี้ราคาถุงห่อผลมะม่วงในปัจจุบันได้เพิ่มขึ้นจาก 27 จัตเป็น 47 จัตต่อถุง ทำให้จ้าของสวนบางรายไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนนี้ได้

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/26-april-2022/#article-title

แนวโน้มราคาเกลือเมียนมา พุ่งขึ้น ! ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

เกษตรกรนาเกลือ คาดว่า ราคาเกลือจะยังคงอยู่ในระดับสูงในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า เป็นผลมาจากฝนตกหนักในเดือนที่ผ่านมา สร้างความเสียหายให้กับนาเกลือ ส่งผลให้ราคาพุ่งขึ้น 320 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) ซึ่งสภาพอากาศที่แปรปรวนในเดือนมีนาคมมีผลต่อการผลิตเกลือในเดือนเมษยานและพฤษภาคม ทำให้การผลิตมีการใช้เชื้อเพลิงมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้ราคาพุ่งสูงตามไปด้วย นอกจากนี้ ราคาปัจจุบันยังสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วถึง 4 เท่า ซึ่งเกษตรกรนาเกลือกล่าวว่าการขาดแคลนวัตถุดิบทำให้ราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องไปจนถึงเดือนพฤษภาคม จึงคาดการณ์ว่าในอนาคตจะขาดแคลนเกลืออย่างแน่นอน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/salt-prices-likely-to-extend-rise-in-coming-months/#article-title

ตลาดถั่วมัณฑะเลย์ เริ่มกลับมาคึกคัก หลัง เทศกาล “ตินจาน”

ตลาดค้าถั่วมัณฑะเลย์เริ่มกลับมาซื้อ-ขายกันคึกคักอีกครั้งหลัง เทศกาลตินจาน (สงกรานต์เมียนมา) พบว่าส่วนใหญ่มีการส่งออกไปยังต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งนาย U Soe Win Myint เจ้าของคลังสินค้าในเมืองมัณฑะเลย์ เผยว่า ถั่วดำ ถั่วแระ ข้าวโพด งา ถั่วลิสง ถั่วแดง เนยถั่ว และถั่วลันเตานั้นเริ่มกลับมาขายดีกันมากขึ้น โดยปัจจุบันมีการส่งออกถั่วดำและถั่วแระไปยังอินเดีย ส่วนถั่วเขียว งา ถั่วลิสง ถั่ว heirloom ถั่วแป๋ และเนยถั่ว ถูกส่งไปยังจีน ส่วนข้าวโพดส่วนใหญ่ส่งไปยังไทย ในขณะเดียวกัน ราคาน้ำมันพืชสําหรับบริโภค ยังคงทรงตัวเช่น น้ำมันถั่วลิสงและน้ำมันงา 8,000 จัตต่อ viss (1 viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) น้ำมันเมล็ดดอกทานตะวันจะอยู่ระหว่าง 5,500-6,000 จัตต่อ viss  และราคาน้ำมันถั่วเหลืองจะอยู่ระหว่าง 6,500-7,000 จัตต่อ viss

ทีมา: https://www.gnlm.com.mm/mandalay-bean-market-bustling-in-post-thingyan-period/#article-title