เมียนมาส่งออก “หมาก” ไปอินเดีย ลดฮวบ

ผู้ค้าหมากชาวเมียนมา เผย การส่งออกหมากของเมียนมาไปยังอินเดียลดลงอย่างมากในปีนี้ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วหมากจะถูกส่งออกผ่านเขตย่างกุ้ง พะโค และมัณฑะเลย์ไปยังอินเดีย อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาการค้าชายแดนระหว่างเมียนมาและอินเดียลดลงอย่างต่อเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและผลกระทบของโควิด-19 โดยในปีก่อนสามารถส่งออกได้ประมาณ 400-500 ถุง แต่ตอนนี้ลดลงเหลือ 300 ถุง นอกจากนี้ ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับตัวเพิ่มส่งผลให้ค่าขนส่งเพิ่มขึ้นจาก 3,600 จัต เป็น 4,500 จัตต่อถุง ปัจจุบันราคาหมากโดยทั่วไปอยู่ที่ 4,300-4,900 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) ลดลงเมื่อเทียบกับราคาของปีก่อนที่สูงถึง 5,000-6,000 จัตต่อ viss ขณะเดียวกัน การนำเข้าหมากจากไทยเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ราคาลดต่ำลง

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-areca-nuts-exports-to-india-plummet/

ปีงบประมาณย่อย 64-65 เมียนมานำเข้าสินค้าทุนลดลง

6 เดือนแรกของปีงบประมาณย่อย (2564-2565) ระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 2564 ถึง 31 มี.ค. 2565 เมียนมามีการนำเข้าสินค้าทุน เช่น ชิ้นส่วนรถยนต์ ยานพาหนะ เครื่องจักร และเหล็กกล้า เป็นมูลค่าประมาณ 1.49 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงกว่า2.78 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปีงบประมาณ 2563-2564 จากผลกระทบของ COVID-19 การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของประเทศ กระทบต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะคอนโดมิเนียมที่พึ่งพาชาวต่างชาติเป็นหลัก ที่ลดลงถึง 70% ผู้ประกอบการต้องลดค่าเช่า ตามยอดดารเข้าพักที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน ที่เงินจัตอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ เป็นอีกสาเหตุที่ส่งผลให้ราคาวัสดุก่อสร้าง เช่น เหล็ก ซีเมนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักร สูงขึ้น ในทางกลับกัน วัตถุดิบที่ใช้ในการตัดเย็บเสื้อผ้าประเภท Cut-Make-Pack (CMP) มีมูลค่านำเข้า  1.14 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ กลับเพิ่มขึ้นถึง 329 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปีงบประมาณที่แล้ว โดย 10 ประเทศหลักที่เมียนมานำเข้าสินค้าทุน ได้แก่ จีน สิงคโปร์ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย อินเดีย เวียดนาม ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี และสหรัฐอเมริกา

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-records-import-plunge-in-capital-goods-in-past-mini-budget-period/

6 เดือนแรกของงบประมาณย่อย 64-65 การค้าชายแดนเกาะสอง แตะ 170 ล้านเหรียญสหรัฐ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย ปีงบประมาณย่อย 2564-2565 การส่งออกจากชายแดนเกาะสองกับประเทศไทยในช่วง 6 เดือนแรกอยู่ที่ 161.695 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีงบประมาณก่อน 21.249 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยมีมูลค่าการค้ารวมอยู่ที่ 163.564 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องด้วยสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลต่อการค้าระหว่างเมียนมาและไทยในปีงบประมาณ 2562-2563 มีมูลค่าเพียง 5,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงกว่า 350 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากปีงบประมาณ 2561-2562 โดยมีมูลค่าการค้ารวมอยู่ที่ 5,117.913 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา : https://news-eleven.com/article/229173

โครงการพัฒนาชนบทครอบคลุม 126 หมู่บ้าน ของเมืองมะริด เขตตะนาวศรี

ปีงบประมาณ 2565-2566 กรมพัฒนาชนบท เมืองมะริด เขตตะนาวศรี กำลังเร่งดำเนินโครงการพัฒนาชนบทใน 126 หมู่บ้าน โดยจะเน้นไปที่โครงสร้างพื้นฐาน เช่น การก่อสร้างถนนและสะพาน การประปาและไฟฟ้า โครงการหมู่บ้าน emerald green โครงการกองทุนหมุนเวียน โครงการพัฒนาชนบทและหลักสูตรวิชาชีพด้านอาชีวศึกษา โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับเศรษฐกิจสังคมของชุมชน ซึ่งในช่วงปีงบประมาณปัจจุบัน มีการเร่งพัฒนาโครงการ ได้แก่ ถนน 5 สาย, สะพาน 13 แห่ง, โครงการประปา 37 โครงการ, หมู่บ้าน emerald green 4 แห่ง, โครงการพัฒนาชนบทใน 72 หมู่บ้าน, และหลักสูตรการฝึกวิชาชีพ ที่จะใช้งบประมาณกว่า 1.977 พันล้านจัต

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/e-paper/

ชายแดนเกาะสอง-ระนอง ส่งออกประมงมากที่สุดของเขตตะนาวศรี

รายงานของกรมประมงเมืองเกาะสอง เผย ด่านชายแดนเกาะสอง-ระนอง มีการส่งออกสินค้าประมงมากที่สุด ของเขตตะนาวศรี โดย 6 เดือนที่ผ่านมา ระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 2564 ถึง 31 มี.ค. 2565 มีการส่งออกสินค้าประมงจากเกาะสองไปยังประเทศไทย คิดมูลค่ากว่า 160 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากปริมาณสินค้าประมงประมาณ 161,283 ตัน แม้ชายแดนเกาะสองจะมีความต้องการสินค้าประมงในปริมาณมาก แต่พบว่าในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาลดลงกว่า 18,000 ตันเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยมีมูลค่าการส่งออกลดลง 1.245 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การส่งออกปลามีแนวโน้มลดลงในฤดูสัตว์น้ำวางไข่ (เมษายน พฤษภาคม และมิถุนายน) ซึ่งธุรกิจประมงชายฝั่งถือเป็นหัวใจหลักทางเศรษฐกิจของเกาะสอง

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/kawthoung-ranong-border-post-sees-highest-fishery-exports-in-taninthayi-region/#article-title