เมียนมาอัพเดทมาตรการเดินทางเข้าประเทศ

เมื่อวันที่ 11 เม.ย.65 กระทรวงสาธารณสุขเมียนมาร์ (MoH) เผย มาตรการการเดินทางเข้าเมียนมา โดยผู้เดินทางเข้าประเทศทุกคนจะต้องแสดงหลักฐานการฉีดวัคซีนที่ได้รับการยอมรับจาก MoH และรายงานผลการทดสอบ RT-PCR ภายใน 72 ชั่วโมงก่อนการเดินทาง ขณะเดียวกัน เด็กที่อายุต่ำกว่า 6 ขวบที่เดินทางพร้อมผู้ปกครองที่ได้รับวัคซีนครบแล้ว จะได้รับการยกเว้น และชาวต่างชาติจะต้องแสดงหลักฐานการซื้อประกัน COVID-19 ของเมียนมาก่อนเข้าประเทศ ทั้งนี้ผู้เดินทางเข้าประเทศที่จะต้องพักโรงแรมที่ภาครัฐได้กำหนดไว้เพื่อรอผลการทดสอบ RT-PCR ภายใน 24 ชั่วโมง ก่อนที่จะส่งผลตรวจให้ดับกระทรวงฯ ต่อไป หากพบว่ามีการติดเชื้อ จะถูกแยกตัวและนำส่งสถานพยาบาลทันที ทั้งนี้ การเดินทางเข้าประเทศจะต้องลงที่สนามบินนานาชาติย่างกุ้งเท่านั้น

ที่มา: https://english.news.cn/asiapacific/20220411/8b54cdd352b14b0e84100e3cc043f647/c.html

ผู้ประกอบการปลื้ม การท่องเที่ยวเมียนมาเห็นแววฟื้นตัวจากโควิด-19

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของเมียนมา เฮ ! รัฐบาลประกาศยกเลิกการระงับเที่ยวบินประเทศและมาตรการการต่างๆ ในวันปีใหม่เมียนมา เป็นเวลากว่าสองปีแล้วที่อุตสาหกรรมการบินระหว่างประเทศหยุดให้บริการท่ามกลางการระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยรัฐบาลจะยกเลิกมาตรการจำกัดเที่ยวบินของประเทศ ตั้งแต่วันที่ 17 เม.ย. 2565  ซึ่งตรงกับวันปีใหม่ของเมียนมา (เทศกาลตะจาน) เพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยวและการจ้างงานของประเทศ พบว่าโรงแรมและเกสต์เฮาส์ริมชายหาดถูกจองเต็มระหว่างวันที่ 9 ถึง 17 เม.ย.2565 ซึ่งธุรกิจท่องเที่ยวในประเทศกลับมาคึกคักอีกครั้งในช่วงวันหยุดปีใหม่ เนื่องจากเมียนมากำลังจะเปิดให้นักท่องเที่ยวต่างชาติกลับมาในเร็วๆ นี้ โดยสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงที่นักท่องเที่ยวนิยม ได้แก่ พุกาม อินเลย์ ปินดายา และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ส่งผลให้ธุรกิจที่พึ่งพาการท่องเที่ยวก็จะกลับสู่ภาวะปกติเช่นกัน  ทั้งนี้ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวต่างเห็นด้วยที่รัฐบาลเมียนมาจะลดข้อจำกัดของการเดินทางในวันขึ้นปีใหม่ของประเทศ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/entrepreneurs-delighted-with-tourism-recovery-from-covid-19/#article-title

 

COVID-19 กระทบการส่งออกทองคำเมียนมา

สมาคมผู้ประกอบการทองคำแห่งภูมิภาคย่างกุ้ง (YGEA) เผย การส่งออกทองคำหยุดชะงักลงเนื่องจากการระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้มีการระงับเที่ยวบินระหว่างประเทศ และไม่มีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการได้มีการเตรียมการส่งออกไว้แล้ว เนื่องจากอัตราการเสียชีวิตและการติดเชื้อ COVID-19  ลดลงอย่างมาก ทำให้การระงับเที่ยวบินระหว่างประเทศถูกยกเลิกตั้งแต่วันที่ 17 เม.ย.65 เป็นต้นไป ซึ่งเมื่อคลายมาตรการการเข้าประเทศ คาดว่าตลาดส่งออกทองคำจะฟื้นตัวขึ้นมาอีกครั้ง นอกจากนี้ การโอนเงินระหว่างประเทศในการซื้อขายทองคำที่มีมูลค่าต่ำกว่า 50,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ จะได้รับอนุญาตให้ใช้ระบบ Telegraph Transfer (TT) ทั้งนี้ตลาดส่งออกทองคำที่สำคัญของเมียนมาคือ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/covid-19-impacts-stop-gold-exports/#article-title

งบประมาณย่อย 64-65 เมียนมาส่งออกข้าวไปแล้วกว่า 1.4 ล้านตัน

จากข้อมูลของสหพันธ์ข้าวเมียนมา (MRF) พบว่า เมียนมาส่งมอบข้าวและข้าวหักมากกว่า 1.4 ล้านตัน ไป 27 ประเทศ ในช่วงงบประมาณย่อย (ต.ค. 2564 ถึงมี.ค. 2565) ตลาดหลักของการส่งออกคือ จีน ตามด้วยเนเธอร์แลนด์ เบลเยียม สเปน ฝรั่งเศส และประเทศอื่นๆ โดยราคาพันธุ์ข้าวขาวเกรดต่ำอยู่ที่ประมาณ 340-355 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทและคุณภาพที่แตกต่างกัน ซึ่งราคาค่อนข้างต่ำกว่าไทยและเวียดนาม แต่ยังสูงกว่าราคาตลาดของอินเดียและปากีสถาน ปัจจุบันผู้ส่งออกได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายของธนาคารกลางเมียนมา (CBM) ซึ่งการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศนั้นผู้ค้าข้าวในเมียนมาที่จะต้องฝากเข้าบัญชีที่ธนาคารที่ได้รับอนุญาตและแลกเปลี่ยนเป็นสกุลเงินท้องถิ่นที่เรตอ้างอิง คือ 1,850 จัตต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ปัจจุบัน ผู้ค้าต้องส่งออกข้าวทางทางทะเลแทนการค้าชายแดน เนื่องจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทั้งนี้เมียนมามีรายได้กว่า 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการส่งออกข้าวในปีงบประมาณ 2562-2563 จากการส่งออกข้าว 2.5 ล้านตัน ส่วนในปีงบประมาณ 2563-2564 มีรายได้กว่า 700.13 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการส่งออกข้าวและข้าวหัก 1.87 ล้านตัน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/7-april-2022/#article-title

MoC เผย ปีงบประมาณย่อย 64-65 เมียนมานำเข้าสินค้าลดลง 7.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา (MoC) เผย มูลค่าการนำเข้าของเมียนมาระหว่างวันที่ 1 ต.ค.2564-25 มี.ค.2565 ของงบประมาณย่อย ปี 2564-2565 (ต.ค.64-มี.ค.65) อยู่ที่ 7.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลง 24 ล้านดอลลาร์เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยที่การนำเข้าสินค้าทุนลดลงในเดือนที่แล้ว ขณะที่กลุ่มนำเข้าอื่นๆ (สินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าขั้นกลาง และธุรกิจเย็บเครื่องนุ่งห่ม หรือ CMP) เพิ่มขึ้น เมื่อเดือนที่แล้วเมียนมานำเข้าสินค้าทุน เช่น ชิ้นส่วนรถยนต์ ยานพาหนะ เครื่องจักร ฯลฯ อยู่ที่ประมาณ 1.43 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในขณะเดียวกัน การนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคมูลค่า 1.65 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 73.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณก่อนหน้า โดยประเทศที่เมียนมานำเข้าสินค้า 10 อันดับแรก ได้แก่ จีน สิงคโปร์ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย อินเดีย เวียดนาม ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี และสหรัฐอเมริกา

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/5-april-2022/#article-title