ดัชนีอุตฯ IIP เพิ่มขึ้น 6.2% ในช่วง 2 เดือนแรก

จากรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม (IIP) เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 มีผลกระทบอย่างมากต่อกิจกรรมการผลิตภาคอุตสาหกรรม ซึ่งไวรัสข้างต้นส่งผลต่อแหล่งวัตถุดิบนำเข้าจากจีนในอุตสาหกรรมบางอย่าง หากจำแนกภาคอุตสาหกรรม พบว่าภาคแปรรูปและการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4, การผลิตไฟฟ้าและจำหน่าย (+8.4%), น้ำประปาและบำบัดน้ำเสีย (+4.9%) แต่การขุดเหมือง (-3.7%) อย่างไรก็ตาม สินค้าสำคัญบางอย่างที่อยู่ในธุรกิจ FDI มีการผลิตขยายตัวสูงขึ้น อาทิ ชิ้นส่วนโทรศัพท์เพิ่มขึ้นราวร้อยละ 30, โทรศัพท์มือถือ (+25.5%), สมาร์ทโฟน (+3.2%), ถ่านหินสะอาด (+10.3%) และการผลิตไฟฟ้า (+8.6%) นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจของสำนักงาน GSO ระบุว่าจำนวนพนักงานเพิ่มขึ้นที่อยู่ในธุรกิจอุตสาหกรรม ตั้งแต่ต้นเดือนที่แล้วเมื่อเทียบกับเดือนมกราคม ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคธุรกิจที่ไม่ใช่รัฐและธุรกิจ FDI จากข้อมูลข้างต้นนั้น แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการพร้อมที่จะฟื้นตัวหลังจากสถานการณ์ของไวรัสโควิด-19 ผ่อนคลายลง

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/iip-rises-62-in-first-two-months-410915.vov

ยอดค้าปลีกและบริการเวียดนาม 37.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 2 เดือนแรก

จากรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ ว่ารายได้จากการค้าปลีกและบริการของเวียดนามเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ด้วยมูลค่าอยู่ที่ 863.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งในช่วงเดือนมกราคมจนถึงกุมภาพันธ์ มียอดค้าปลีกอยู่ที่ประมาณ 674 ล้านล้านด่อง (29.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว หากจำแนกรายสินค้าที่มียอดขายเพิ่มขึ้น พบว่ารถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 ตามมาด้วยน้ำมันเบนซินและน้ำมัน (11%), เครื่องใช้ในบ้าน (9.5%), เครื่องนุ่งห่ม (8.9%), อาหาร (8.6%), ยานยนต์ (7.1%) และวัฒนธรรมและอุปกรณ์การเรียน (4.7%) สำหรับเมือง/นครที่มีรายได้จากการค้าปลีกเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ Quang Ninh, Hai Phong, Thanh Hoa, Nghe An และ Hanoi เป็นต้น ทั้งนี้ รายได้จากที่พักและบริการจัดเลี้ยงอยู่ที่ 95 ล้านล้านด่อง (4.08 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เนื่องมาจากผลกระทบการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ขณะเดียวกัน รายได้จากบริการด้านการท่องเที่ยวอยู่ที่ 7.4 ล้านล้านด่อง (320 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/retail-sales-service-revenues-post-374-billion-usd-in-two-months/169460.vnp

เวียดนามขาดดุลการค้า 176 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 2 เดือนแรก

จากรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามขาดดุลการค้าราว 176 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภาคเศรษฐกิจในประเทศขาดดุลการค้าอยู่ที่ 3.97 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ ภาคการลงทุนจากต่างชาติ (รวมถึงน้ำมันดิบ) เกินดุลการค้าอยู่ที่ 3.76 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ  สำหรับตั้งแต่เดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ มูลค่าการส่งออกรวมอยู่ที่ 36.92 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ถึงแม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งบางส่วนมาจากการส่งออกสมาร์ทโฟนซัมซุง S20 ทั้งนี้ สินค้าส่งออกที่มีมูลค่าสูงสุด ได้แก่ โทรศัพท์และชิ้นส่วน มีมูลค่าอยู่ที่ 6.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 ตามมาด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เครื่องจักรและรองเท้า เป็นต้น ในขณะเดียวกัน สินค้ารายการอื่นๆที่มีมูลค่าการส่งออกลดลง ได้แก่ อาหารทะเลมีมูลค่า 921 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 17.7 ตามมาด้วยกาแฟ ผักผลไม้ เม็ดมะม่วงหิมพานต์และเม็ดพริกไทย เป็นต้น สหรัฐฯยังคงเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ด้วยมูลค่า 9.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.6 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnam-posts-trade-deficit-of-176-million-usd-in-two-months-410757.vov

เวียดนามเผยเดือนม.ค. ขาดดุลการค้า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

จากรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าเวียดนามขาดดุลการค้า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนมกราคมของปีนี้ โดยแบ่งมูลค่าการส่งออก 19 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 15.8 เมื่อเทียบกับปีก่อน ขณะที่ มูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 19.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 14.4 ทั้งนี้ สินค้าส่งออกที่ยังมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ (+5.6%) ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ทำมาจากไม้ (+1.4%) สำหรับสินค้าส่งออกรายการอื่นๆ ที่มีมูลค่าลดลง ได้แก่ เครื่องนุ่งห่ม (-21%) โทรศัพท์และส่วนประกอบ (-22.4%) และรองเท้า (-9.7%) ซึ่งสหรัฐอเมริกายังคงเป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ด้วยมูลค่า 4.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รองลงมาจีน สหภาพยุโรป ตามลำดับ ในขณะเดียวกัน จีนยังคงเป็นตลาดนำเข้ารายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ด้วยมูลค่า 6.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รองลงมาเกาหลีใต้และอาเซียน ตามลำดับ นอกจากนี้ ทางผู้เชี่ยวชาญมองว่ากิจกรรมการค้าระหว่างประเทศได้รับอิทธิพลมาจากช่วงวันหยุดยาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งวันปีใหม่ตามปฏิทินทางจันทรคติที่แสดงให้เห็นว่ามียอดการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น จนส่งผลให้เกิดการขาดดุลการค้า

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-reports-trade-deficit-of-100-million-usd-in-january/168057.vnp

เวียดนามเผยผู้ประกอบการก่อตั้งธุรกิจกว่า 12,000 แห่ง ในเดือนตุลาคม

จากข้อมูลของสำนักสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา มีผู้ประกอบการก่อตั้งธุรกิจอยู่ที่ 12,182 แห่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนที่แล้ว โดยธุรกิจที่ก่อตั้งใหม่มีเงินทุนที่จดทะเบียนรวม 6.19 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับเดือนกันยายน และมีการจ้างแรงงาน 94,700 คน ในขณะที่ ธุรกิจที่ล้มเลิกกิจการมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมาก 5,012 แห่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 84.5 และ 98.0 เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้วและปีที่แล้ว ทั้งนี้ ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2562 เวียดนามมีผู้ประกอบการที่จดทะเบียนใหม่ 114,400 แห่ง ด้วยเงินทุนจดทะเบียนรวมมากกว่า 61.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และจำนวนการจ้างแรงงานกว่า 1 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4, 28.5 และ 11.0 ตามลำดับ

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/over-12000-businesses-set-up-in-october-405719.vov

กรุงฮานอยดึงดูดนักลงทุนต่างชาติมากที่สุด ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 62

จากข้อมูลของสำนักสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้  กรุงฮานอยดึงดูดเงินทุนจากต่างประเทศ ด้วยมูลค่า 6.15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 23.5 ของการลงทุนโดยรวมจากต่างประเทศ รองลงมานครโฮจิมินห์ และจังหวัดบิ่ญเซือง (Binh Duong) ตามลำดับ ในขณะเดียวกัน เวียดนามดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) อยู่ที่ 26.16 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งตัวเลขการลงทุนดังกล่าว มีมูลค่าเงินทุนไหลเข้าประมาณ 10.97 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ด้วยโครงการใหม่กว่า 2,760 โครงการ รวมไปถึงบริษัทข้ามชาติที่เข้ามาลงทุน 10.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นอกจากนี้ ภาคอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูปยังคงได้ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศมากที่สุด ตามมาด้วยภาคอสังหาริมทรัพย์ และภาคการค้าปลีกค้าส่ง ตามลำดับ และประเทศฮ่องกง (จีน) เป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุด ตามมาด้วยเกาหลีใต้ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น จีน ตามลำดับ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/hanoi-most-attractive-to-foreign-investors-in-nine-months/161332.vnp

เวียดนามเผยยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้น 11.5% ในเดือนม.ค. – ส.ค.

จากข้อมูลของสำนักงานสถิติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2562 ยอดค้าปลีกของเวียดนามเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว คิดเป็นมูลค่าของรายได้จากการค้าปลีกและบริการประมาณ 137.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความต้องการซื้อของคนในท้องถิ่นเพิ่มขึ้น หากมีการปรับปัจจัยด้านราคา ดัชนียอดค้าปลีกในช่วง 7 เดือนแรก  เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.03 ซึ่งสูงกว่าเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ในขณะที่ ทุกภาคส่วนของยอดค้าปลีก ระบุว่าด้านกำลังซื้อเพื่อการศึกษา และผลิตภัณฑ์วัฒนธรรม เพิ่มขึ้นร้อยละ 14 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา รองลงมากลุ่มอาหาร (เพิ่มขึ้น 13.6%) ของครัวเรือน (11%) เครื่องนุ่งห่ม (10.5%) และการขนส่ง (8.5%) นอกจากนี้ จากข้อมูลของสถาบันวิจัยการตลาด คาดว่าตลาดค้าปลีก/ร้านสะดวกซื้อของเวียดนามจะมีอัตราการเติบโตกว่า 2 เท่า ในอีก 3 ปีข้างหน้า และอัตราการขยายตัวร้อยละ 37.4 ในปี 2021 รวมไปถึงสำนักงานการลงทุนต่างประเทศ ระบุว่าภาคการค้าปลีก/ค้าส่ง ติดอยู่ในอันดับที่ 3 ของภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับการดึงดูดจากการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/retail-sales-up-115-percent-in-januaryaugust/159849.vnp

รายการสินค้า 28 รายการ มีมูลค่าการนำเข้ากว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้

จากรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2562 สินค้าอุปโภคบริโภคกว่า 28 รายการ ที่มีมูลค่าการนำเข้ามากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 85.8 ของยอดคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ ในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา หากจำแนกรายการสินค้านำเข้าของเวียดนาม แสดงให้เห็นว่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ มีมูลค่ากว่า 28.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ตามมาด้วยโทรศัพท์และชิ้นส่วนประกอบ เครื่องแต่งกาย และพลาสติก ตามลำดับ โดยประเทศจีนยังคงเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ตามมาด้วยเกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา อาเซียน และสหภาพยุโรป ตามลำดับ ในส่วนการส่งออกสินค้าของเวียดนาม แสดงให้เห็นว่าโทรศัพท์และชิ้นส่วนประกอบยังคงเป็นสินค้าส่งออกสำคัญที่สุด ตามมาด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ และเครื่องนุ่งห่ม ตามลำดับ โดยประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุด ตามมาด้วยสหภาพยุโรป และจีน ตามลำดับ

ที่มา : https://en.nhandan.com.vn/business/item/7773002-28-items-see-import-value-of-over-us$1-billion-in-seven-months.html

SME น่าลงทุนเวียดนาม เมื่อคนในประเทศกำลังซื้อสูงขึ้น

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงฮานอย เผยข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ (GSO) ที่ชี้ว่า กำลังซื้อของผู้บริโภคเวียดนาม เพิ่มขึ้นกว่า 9.31% ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 61 เมื่อแยกอัตราเงินเฟ้อออกไป โดยในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2561 ผู้บริโภคมีความต้องการสินค้าและบริการที่จำเป็นต้องใช้ในงานแต่งงาน, อุปกรณ์การเรียนในปีการศึกษาใหม่ และเสื้อผ้าสำหรับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง เป็นต้น นอกจากนี้ ชาวเวียดนามยังเพิ่มความต้องการในการปรับปรุงที่พัก เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับปีใหม่ ซึ่งกำลังซื้อที่สูงขึ้นส่งผลให้ราคาน้ำมันและการขนส่งที่เกี่ยวข้องปรับตัวสูงขึ้น 3.45% ส่วนตัวเลขดัชนีอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 9.31% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ทั้งนี้ รายได้จากการขายปลีกในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2561 เพิ่มขึ้นกว่า 12.2% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ประกอบกับผู้บริโภคใช้จ่ายด้านอาหารเพิ่มขึ้น 13.3% รองลงมา คือ เครื่องนุ่งห่ม, เครื่องใช้ภายในบ้าน, ผลิตภัณฑ์เพื่อการศึกษา และยานพาหนะ ตามลำดับ ส่งผลให้มีรายได้จากการให้บริการด้านที่พักอาศัยและอาหาร เพิ่มขึ้น 8.3% จากปีก่อน รายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 15.6% และรายได้อื่นๆ เพิ่มขึ้น 9.3% โดยเมืองที่ผู้บริโภคมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น ได้แก่ Ho Chi Minh, Hai Phong, Thanh Hoa และ Da Nang เป็นต้น

ที่มา : https://www.bangkokbanksme.com/en/17528