ความต้องการบริโภคถั่วลูกไก่ในประเทศสูงขึ้น หนุนราคาพุ่ง

ความต้องการบริโภคถั่วลูกไก่ในประเทศยังพุ่งสูงต่อเนื่อง ทำให้ผลผลิตจากเมืองต่างๆ ในเขตมัณฑะเลย์ เช่น เจาะแซ (Kyaukse) , ปะเตนจี้ (Patheingyi), มะตะยา (Madaya), สิ่นกู้ (Singu) และมาขากเขตซะไกง์ เช่น เมืองมยี่นมู (Myinmu) และเมือง โมนยวา (Monywa) ได้ทะลักเข้าสู่ตลาดมัณฑะเลย์เป็นอย่างมากส่งผลให้ราคาพุ่งสูงขึ้นอย่างน่าตกใจอยู่ที่ 116,000 จัตต่อถุง (ประมาณสามตะกร้า) เมื่อเทียบกับปีก่อนอยู่ที่เพียง 80,000 จัตต่อถุง ชาวเมียนมาส่วนใหญ่ชอบบริโภคเพราะมีสารอาหารและรสชาติที่อร่อยเข้มข้น ทั้งยังกระตุ้นให้โรงงานผลิตและแปรรูปในมัณฑะเลย์เปิดดำเนินการ สร้างโอกาสในการทำงานให้กับผู้คนในท้องถิ่น นอกจากนี้ยังมีพ่อค้าจากอินเดียก็ที่เข้ามารับซื้ออีกด้วย อีกทั้งผลผลิตในปีนี้ค่อนข้างสูงเนื่องจากสภาพอากาศที่ดีและถั่วนั้นปลอดจากศัตรูพืช คาดว่าผลผลิตจะเพิ่มขึ้น 10% เมื่อเทียบกับปี 2564 ถั่วลูกไก่มีการเพาะปลูกหลักในภูมิภาคตอนบนของเมียนมาและพบได้ในภูมิภาคตอนล่างของเขตพะโค ที่นิยมปลูกกันทั่วไป คือ พันธุ์ V2, V7 และ 927

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/high-domestic-consumption-hikes-up-chickpea-prices/

เมียนมาส่งออกข้าวโพดหมัก 51 ตันไปยังจีน

เมื่อวันที่ 18 ก.พ.2565 สถานเอกอัครราชทูตจีนในย่างกุ้งเปิดเผบว่า เมียนมาส่งออกข้าวโพดหมักสำหรับเป็นอาหารเลี้ยงวัวจำนวน 51 ตันไปยังจีน ผ่านด่านชายแดนชินฉ่วยฮ่อ (Chinshwehaw)  นอกจากนี้ กระทรวงเกษตร ปศุสัตว์และการชลประทานของเมียนมา และสำนักงานบริหารทั่วไปของการควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบ และการกักกันของสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ลงนามร่วมกับข้อตกลงมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS) เมื่อวันที่ 31 ม.ค.2565 เพื่อส่งออกอย่างถูกกฎหมาย นาย U Min Khaing ประธานสมาคมอุตสาหกรรมข้าวโพดเมียนมา (MCIA) เปิดเผยว่า เมียนมาตั้งเป้าส่งออกข้าวโพดราว 2 ล้านตันในปีงบประมาณ 2564-2565 โดยส่งออกไปยังไทยผ่านชายแดนเมียวดี ในขณะที่การส่งออกทางทะเลจะส่งออกไปยังไปยังฟิลิปปินส์ อินเดีย เวียดนาม ลาว และสิงคโปร์ นอกจากนี้ ราคาข้าวโพดในปีนี้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ในปีงบประมาณ 2563-2564 เมียนมาร์ส่งออกข้าวโพดประมาณ 2.3 ล้านตัน ไทยเป็นประเทศผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุด รองลงมาคือ จีน อินเดีย และเวียดนาม

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-exports-51-tonnes-of-silage-corn-to-china/#article-title

เกษตรกรอำเภอจู้นละปลูกมะเขือเทศไต้หวัน เฮ ได้ราคาดี

เกษตรกรหมู่บ้าน Magyi Inn อำเภอจู้นละ จังหวัดกั่นบะลู เขตซะไกง์ กำลังเร่งปลูกมะเขือเทศไต้หวันเพราะได้ราคาดี โดยต้นทุนการเพาะปลูกอยู่ที่ประมาณ 200,000 จัตต่อเอเคอร์ ซึ่งรวมทั้งเมล็ดพันธุ์ ไถ ปุ๋ย และราคาน้ำมันเชื้อเพลิง คาดว่าสามารถออกผลผลิตได้มากกว่า 1,000 ต้นในเดือนมี.ค.นี้ โดยราคาขายส่งมะเขือเทศขายได้ 1,000 จัตต่อ vises (1  visses เท่ากับ 1.66 กิโลกรัม) ทั้งนี้มะเขือเทศไต้หวันสามารถปลูกได้ทุกฤดูกาล ซึ่งจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตร ได้เข้ามาให้ความรู้และเทคโนโลยีการเกษตรเพื่อให้ได้พืชผลที่ปลอดสารเคมี และยังสาธิตวิธีการใช้สารกำจัดศัตรูพืชตามธรรมชาติและยาฆ่าแมลงให้อีกด้วย

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/exotic-tomato-growers-in-kyunhla-delight-to-earn-good-price/

4 เดือนแรกของงบประมาณย่อย 64-65 ค้าชายแดนด่านมูเซ ลดฮวบเกือบ 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย 4 เดือนแรกของงบประมาณย่อย (2564-2564) ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2564  ถึง 28 ม.ค. 2565 มูลค่าการค้าชายแดนมูเซระหว่างเมียนมาและจีนลดลงเกือบ 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว แบ่งเป็นการส่งออก 425.880 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การนำเข้า 20.801 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยมีมูลค่าการค้ารวมอยู่ที่ 446.681 ล้านสหรัฐฯดอลลาร์ และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (2563-2564) อยู่ที่ 1,945.917 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ที่แบ่งเป็นการส่งออก 1,226.391 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการนำเข้า 719.526 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งในปีงบประมาณ 2563-2564 จีนติดอันดับ 1 ใน 10 ประเทศผู้นำเข้าสำคัญของเมียนมาโดยมีมูลค่าการค้า 4,905.80 ล้านดอลลาร์ รองลงมาคือไทยที่ 3,172.26 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตั้งแต่เดือนต.ค.ถึงก.ย.ของปีงบประมาณ 2562-2563 การค้าระหว่างเมียนมาและจีนมีมูลค่ามากกว่า 12.13 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นการส่งออกมูลค่ากว่า 5.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการนำเข้ามูลค่ากว่า 6.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/muse-border-trade-down-nearly-1500-mln-within-four-months-this-mini-budget-period/#article-title