4 เดือนของปีงบประมาณย่อย เมียนมามีรายได้จากการส่งออกถั่วพัลส์ 390.895 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากปริมาณส่งออก 486,413 ล้านตัน

กระทรวงพาณิชย์ เมียนมามีรายได้ 390.895 ล้านดอลลาร์จากการส่งออกถั่วต่างๆ กว่า 486,413 ล้านตันผ่านเส้นทางทางทะเลและชายแดน ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. ถึง 28 ม.ค. ในช่วงปีงบประมาณย่อย 2564-2565 แบ่งเป็นการส่งออกทางทะเล 453,684.109 ตัน มีมูลค่า 361.919 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ผ่านชายแดน 32,729.362 ตัน มีมูลค่า 28.976 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณ 2562-2563 เมียนมามีรายได้กว่า 1.57 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการส่งออกถั่ว ซึ่งการส่งออกมูลค่ากว่า 374 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นการส่งออกถั่วและเมล็ดพืชทั้งทางทะเลและชายแดน เมื่อวันที่ 18 มิ.ย.64 เมียนมาและอินเดียจับมือทำข้อตกลงบันทึกความเข้าใจร่วมกัน (MOU) ในการส่งออกถั่วพัลส์ของเมียนมารวม 350,000 ตัน แบ่งเป็นถั่วดำ 250,000 ตันและถั่วแระ 100,000 ตันไปอินเดีย เป็นระยะเวลา 5 ปี (ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2564-2565 ถึงปี 2568-2569) .ซึ่งส่วนใหญ่แล้วถั่วเขียวและถั่วแระจะส่งออกไปยังอินเดียเป็นหลัก ส่วนถั่วเขียวผิวมันจะส่งออกไปยังจีนและบางประเทศในสหภาพยุโรป

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-earns-390-895-mln-from-over-486413-mln-tonne-pulses-export-in-nearly-4-months-of-mini-budget-year/

ชายแดน Kyinsankyawt รถขนส่งแตงโมไปจีน ประมาณ 100 คันต่อวัน

จากข้อมูลของคลังเก็บสินค้าข้าวด่านมูเซ ระบุ เมียนมาส่งรถบรรทุกแตงโมจำนวน 100 คันไปยังจีนในทุกๆ วันปัจจุบัน เมียนมาส่งสินค้าจำนวน 140 คันไปยังจีนทุกวันผ่านด่านชายแดน Kyinsankyawt รวมถึงรถบรรทุก 100 คันที่บรรทุกแตงโมและรถบรรทุก 40 คันบรรทุกข้าว ข้าวหัก เมล็ดพืช ยางพารา พลัมแห้ง และสินค้าอาหารอื่นๆ ส่วนการส่งออกแตงโมนั้นผู้ค้าต้องจ่ายค่าขนส่งประมาณ 30,000 หยวนซึ่งค่าขนส่งที่สูงเนื่องจากแตงโมเป็นผลไม้ที่เน่าเสียง่าย ส่งผลให้จำนวนคนขับรถบรรทุกลดลงเพราะแบกรับต้นทุนไม่ไหว เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของ COVID-19 ส่วนการผ่านชายแดน Kyinsankyawt จะอนุญาติให้ขนส่งสินค้าช่วงระยะทางสั้นๆ เท่านั้น จึงทำให้ราคาบริการขนส่งสินค้าระยะใกล้พุ่งสูงเกินจริง อยู่ที่ 10 ล้านจัตต่อราคาขนส่งรถบรรทุกหนึ่งคัน ในขณะที่ก่อนหน้านี้ราคาอยู่ที่เพียง 700,000-800,000 จัต ส่งผลให้ปริมาณการส่งออกข้าวและข้าวหักจึงลดลงจาก 60,000 ถุงเหลือ 10,000 ถุงต่อวัน ทั้งนี้จีนปิดจุดผ่านแดนที่เชื่อมกับชายแดนมูเซในช่วงที่ COVID-19 ระบาด ส่วนด่าน Kyinsankyawt ได้กลับมาซื้อขายอีกครั้งตั้งแต่วันที่ 26 พ.ย.64 โดยเริ่มส่งออกยาง ถั่วและพัลส์ต่างๆ พลัมแห้ง แตงโม แตงไทย และสินค้าอาหารอื่นๆ ไปยังจีน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/approximately-100-watermelon-truckloads-daily-delivered-to-china/

การส่งออกทางทะเลของเมียนมา เดือน ม.ค.65 พุ่ง 7.64 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย มูลค่าการค้าทางทะเลระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 64 ถึง 28 ม.ค 65 ของงบประมาณย่อยปี 2564-2565 พุ่งขึ้นเป็น 7.64 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 485 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากมูลค่าการค้าทางทะเล 7.159 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ของปีก่อน ในขณะเดียวกัน มูลค่าการค้าชายแดนในปีงบประมาณนี้อยู่ที่ 2.107 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ดิ่งลงจาก 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากปีงบประมาณที่ผ่านมา ซึ่งการค้าทางทะเลสร้างรายได้ถึง 19,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากมูลค่าการค้ารวมที่ 29,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณ 2563-2564 โดยการส่งออกส่วนใหญ่จะเป็น สินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์ประมง แร่ธาตุ ปศุสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากป่า สินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูป และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ส่วนการนำเข้า ได้แก่ สินค้าทุน สินค้าอุปโภคบริโภค และวัตถุดิบอุตสาหกรรม ปัจจุบันเมียนมามีท่าเรือ 9 แห่งโดยท่าเรือย่างกุ้งถือเป็นประตูสู่การค้าทางทะเลของเมียนมา

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-maritime-trade-tops-us7-64-bln-as-of-28-january/

ศรีลังกานำเข้าข้าวกว่า 100,000 ตัน จากเมียนมา

กระทรวงการค้าของศรีลังกา เผย ได้ตัดสินใจนำเข้าข้าวขาว 100,000 ตันจากเมียนมาเพื่อควบคุมราคาข้าวที่พุ่งขึ้นในประเทศ โดยราคาการนำเข้าราคา 445 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ผ่านบริษัท Sri Lanka State Trading (General) Corporation และมีแผนจะนำเข้าข้าวครั้งละ 20,000 ตัน จากการให้ข้อมูลของกระทรวงฯ พบว่าการนำเข้าข้าวในศรีลังกามักจำกัดไว้เพียงปริมาณเล็กน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวบาสมาติ

ที่มา:https://english.news.cn/asiapacific/20220207/4b0782f17ce940e998054617832c610a/c.html

4 เดือนของงบประมาณฯ สิงคโปร์นำโด่งเป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุดของเมียนมา

จากข้อมูลคณะกรรมการการลงทุนและการบริหารบริษัท ( DICA) พบว่า สิงคโปร์กลายเป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุดในเมียนมาในช่วงสี่เดือนของบประมาณปัจจุบัน (2564-2565) ซึ่งเริ่มในเดือนตุลาคมปีที่แล้ว โดยดึงดูดเงินลงทุนกว่า 506 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากวิสาหกิจต่างชาติที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาลงทุนในประเทศ ซึ่งตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 64 ถึงวันที่ 31 ม.ค. 65 ภาคบริการครองอันดับหนึ่งของเงินลงทุนจากต่างประเทศมากที่สุดด้วยเงินลงทุนกว่า 206 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  รองลงมาคือภาคการผลิตมีมูลค่าการลงทุนกว่า 114 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และภาคการก่อสร้าง 65 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยสิงคโปร์เป็นผู้นำด้านการลงทุนด้วยเม็ดเงินกว่า 275 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ในปีงบประมาณที่แล้ว เมียนมาได้รับเงินลงทุนในประเทศกว่า 3.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา: https://english.news.cn/asiapacific/20220207/812846d52591466085c5fa7840faf7a1/c.ht

งานหัตถกรรมไม้เริ่มเป็นที่นิยมอย่างมากในเมียนมา

งานหัตถกรรมไม้เหล่านี้มีการผลิตและจำหน่ายในราคาถูกในตลาด
ท้องภายใยนประเทศ ราคาของผลิตภัณฑ์แต่ละประเภทมีราคา
ตั้งแต่ 1,000 ล้านจัต ปัจจุบันการค้าขายผ่านระบบออนไลน์ใน
ประเทศเริ่มเฟื่องฟูเป็นอย่างมาก ปัจจุบันยอดขายถาดรองอาหาร
ออนไลน์เริ่มเป็นนิยมในต่างประเทศ ยอดขายในท้องถิ่นส่วนใหญ่จะ
เป็นบาตรที่ใช้สำหรับพระไว้บิณฑบาต งานหัตถกรรมของเมียนมาที่
ทำจากไม้และสินค้าอุปโภคบริโภคเป็นที่นิยมอย่างมากในขณะนี้
นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะจัดงานแสดงและขายงานหัตถกรรมจาก
ผู้ค้าในท้องถิ่นอีกด้วย

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmars-wooden-handicrafts-marketable-at-domestic-market/#article-title

4 เดือนแรกของงบประมาณย่อย เมียนมาส่งออกข้าวไปแล้วกว่า 1 ล้านตัน

รายงานของสหพันธ์ข้าวเมียนมา (MRF) เผย เมียนมาส่งออกข้าวและข้าวหักมากกว่า 1.07 ล้านตันในช่วง 4 เดือนแรกของงบประมาณย่อยในปีปัจจุบัน (ต.ค. 2564 ถึงมี.ค 2565) โดยส่งออกไป 27 ประเทศมีจีนเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ ซึ่งราคาข้าวขาวคุณภาพต่ำราคาอยู่ที่ประมาณ 330-355 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน โดยราคาส่งออกค่อนข้างต่ำกว่าของไทยและเวียดนาม แต่สูงกว่าราคาตลาดของอินเดียและปากีสถาน ปัจจุบันผู้ค้าข้าวหันไปส่งออกทางทะเลแทน เนื่องจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ทำให้ต้องปิดชายแดน เมียนมาส่งข้าวและข้าวหักไปยังจีน ประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน และกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป ส่วนการซื้อขายภายในประเทศค่อนข้างซบเซาท่ามกลางผลผลิตที่ออกมาล้นตลาด เมียนมามีรายได้กว่า 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการส่งออกข้าวในปีงบประมาณ 2562-2563 โดย ณ วันที่ 30 ก.ย.2564 คาดว่าปริมาณข้าวจะอยู่ที่ 2.5 ล้านตัน จะสร้างรายได้ 700.13 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการส่งออกข้าวและข้าวหัก 1.87 ล้านตันในปีงบประมาณ 2563-2564 (ต.ค.63-ก.ย.64)

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-ships-over-1-mln-mt-of-rice-in-past-four-months/