คนละครึ่งเฟส 6 รับสิทธิ์ของขวัญปีใหม่นายกฯ เริ่มเมื่อไหร่

คนละครึ่งเฟส 6 หลังจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้ทำหนังสือด่วนที่สุดถึงทุกหน่วยงาน ถึงการดำเนินโครงการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ 2566 ให้กับประชาชน โดยโครงการดังกล่าว ต้องสามารถดำเนินการให้มีผลในทางปฏิบัติต่อส่วนรวมได้ทันในช่วงเทศกาลปีใหม่ ไม่ขัดต่อกฎหมาย และประกาศเตือนของคณะกรรมการการเลือกตั้ง และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศด้วย เช่น โครงการคนละครึ่ง โครงการเราเที่ยวด้วยกัน คาดว่าโครงการดังกล่าวเสนอต่อคณะรัฐมนตรีโดยเร็ว ภายในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 เพื่อพิจารณาความเหมาะสมและสอดคล้องในภาพรวมก่อน

ที่มา: https://www.thansettakij.com/business/economy/544850

แห่ใช้โครงการ “คนละครึ่ง” เฉียด 6 พันล้าน

นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า การใช้สิทธิผ่านโครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 5 โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ระยะที่ 3 และโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 5 ตั้งแต่วันที่ 1-4 ก.ย.65 มีผู้ใช้สิทธิรวม 23.78 ล้านคน ยอดใช้จ่ายสะสม 7,779.5 ล้านบาท แบ่งเป็นโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ใช้สิทธิ 9.02 ล้านคน ยอดใช้จ่าย 1,792.6 ล้านบาท โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ใช้สิทธิ 514,716 คน ยอดใช้จ่าย 101.8 ล้านบาท และโครงการคนละครึ่งใช้สิทธิ 14.24 ล้านคน ยอดใช้จ่าย 5,885.1 ล้านบาท เป็นเงินที่ประชาชนจ่าย 2,981.8 ล้านบาท และเงินที่รัฐร่วมจ่าย 2,903.3 ล้านบาท

ที่มา: https://www.thairath.co.th/business/economics/2492260

 

‘จุรินทร์’ลงใต้กระต้นศก. เอกชนเสนอประเด็นให้รัฐช่วย

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการประชุมทีมเซลส์แมนจ.ยะลา ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ที่โรงแรมแกรนด์แมนดาริน เบตง อำเภอเบตง มีข้อสรุปดังนี้ โดยประเด็นที่ 1 ต้องการให้ผ่อนปรนผังเมืองยะลา ให้สามารถสร้างห้องเย็นเก็บทุเรียนหรือผลไม้ได้โดยสะดวกขึ้น ไม่ต้องฝากเช่าห้องเย็นที่จังหวัดอื่น ประเด็นที่ 2 ขอให้ภาครัฐช่วยต่ออายุโครงการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ที่ธนาคารออมสินปล่อยกู้ผ่านธนาคารพาณิชย์ และธนาคารพาณิชย์ปล่อยกู้ให้กับผู้ประกอบการในจังหวัดชายแดนใต้ในอัตรา 1.5% ต่อปี วงเงิน 25,000 ล้านบาท จะหมดอายุในปีนี้ ขอต่อไปอีก 5 ปี คือ 2566-70 ขณะที่ความต้องการแรงงานต่างด้าวเมียนมาและกัมพูชา ได้มีการชี้แจงว่า ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 2564 อนุญาตให้ขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวโดยต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 1-3 เดือน เนื่องจากเงื่อนไขที่ ศบค. กำหนดเรื่องสถานการณ์โควิด-19

ที่มา: https://www.naewna.com/business/646851

รถไฟจีน-ลาว สร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจตั้งแต่เดือนแรก

การรถไฟจีน-ลาวให้ผลลัพธ์ที่ดีในการขนส่งผู้โดยสารและสินค้า นับตั้งแต่เปิดตัวเมื่อเดือนที่แล้ว นับเป็นก้าวสำคัญสำหรับการเชื่อมต่อระดับภูมิภาคและความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างทั้งสองประเทศและทั่วทั้งตะวันออกเฉียงใต้ เอเชีย ข้อมูลล่าสุดแสดงให้เห็นว่าทางรถไฟระยะทาง 1,035 กม. ซึ่งเชื่อมต่อคุนหมิงในมณฑลยูนนานทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนกับเวียงจันทน์เมืองหลวงของลาว รองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 670,000 คนและสินค้า 170,000 ตันภายในเดือนแรก รถไฟดังกล่าวเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการเดินทางครั้งใหม่สำหรับความร่วมมือระหว่างจีน-ลาว เนื่องจากทำให้ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลแห่งนี้กำลังมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางทางบก ส่งเสริมการท่องเที่ยวในท้องถิ่น และจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนของทั้งสองประเทศในท้ายที่สุด ซึ่งจะสามารถเพิ่มรายได้ให้แก่สปป.ลาวกว่าร้อยละ 21 ในระยะยาว

ที่มา : http://en.people.cn/n3/2022/0105/c90000-9940963.html

ทางการกัมพูชาเร่งกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ รองรับ RCEP

กระทรวงพาณิชย์เร่งพัฒนาภาคการส่งออกสินค้าเกษตรของกัมพูชาเพื่อรองรับข้อตกลงความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ที่กำลังจะมีผลบังคับใช้ ในช่วงวันที่ 1 มกราคม 2022 ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีสมาชิกมาจากกลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศ และพันธมิตรการค้าเสรีอาเซียน 5 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และนิวซีแลนด์ ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ระบุว่า จากผลการศึกษาของสถาบันวิจัยทางเศรษฐกิจเพื่ออาเซียนและเอเชียตะวันออก (ERIA) กล่าวถึงการส่งออกของกัมพูชาจะเติบโตถึงร้อยละ 7.3 และการลงทุนขยายตัวร้อยละ 23.4 จากการเข้าร่วม RCEP โดยกระทรวงพาณิชย์ระบุเพิ่มเติมว่ากัมพูชาจะได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีสำหรับสินค้าสำคัญ อาทิเช่น สินค้าเกษตร สินค้าเกษตรแปรรูป และสินค้าอุตสาหกรรมเมื่อข้อตกลงมีผลใช้บังคับ
ที่มา:https://www.khmertimeskh.com/50994966/implementation-of-rcep-to-boost-cambodias-economic-growth/

กกร.ขอพบ‘บิ๊กตู่’ ชี้ช่อง5แนวทางฝ่าวิกฤติโควิด

คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย แจ้งว่า กกร.ได้ยื่นหนังสือขอเข้าหารือ นายกรัฐมนตรี เพื่อหารือแนวทางการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ล่าสุดอยู่ระหว่างรอแจ้งเวลากลับมา ทั้งนี้ ได้ยื่น 5 ประเด็นหลักในการหารือดังนี้ 1.ให้เอกชน เป็นผู้ติดต่อนำเข้าวัคซีนได้ไม่ต้องผ่านหน่วยงานรัฐ 2.อนุญาตสนับสนุนให้เอกชนดำเนินการผลิตและจัดหายาฟาวิพิราเวียร์ รวมทั้งอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องให้เพียงพอ 3.สนับสนุนค่าใช้จ่ายชุดตรวจแรพิด แอนติเจน เทสต์ที่มีคุณภาพมาตรฐาน และเพียงพอ 5.แนวทางการฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย เช่น ให้กรมสรรพากร ยกเว้นภาษีเอสเอ็มอี ระยะเวลา 3 ปี ฯลฯ

ที่มา: https://www.naewna.com/business/595654

อสังหาฯ หวั่นเจ็บแต่ไม่จบแนะ 3 แผนสกัด

นายอธิป พีชานนท์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวว่า มาตรการล็อกดาวน์ในครั้งนี้ รัฐบาลต้องวางแผนการปฏิบัติงานที่ชัดเจนว่า ระหว่างล็อกดาวน์ 14 วัน โดยมี 3 วาระที่ต้องดำเนินการเร่งด่วน คือ 1.จัดให้มีการตรวจคัดกรองให้มากที่สุด 70 -80% ของคนในพื้นที่ ของประชาชนให้้มีโอกาสได้ตรวจคัดกรองในราคาที่ไม่แพง 2.เร่งฉีดวัคซีนในพื้นที่สีแดง ป้องกันการติดเชื้อเพิ่มขึ้น และ 3.เยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการล็อกดาวน์ จะดูแลอย่างไร เพราะสุดท้ายต้องกลับภูมิลำเนาทำให้เกิดการแพร่เชื้อในต่างจังหวัดเพิ่มขึ้น

ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/948347

สะพาน Thanatpin -Kyaungsu เปิดให้ใช้แล้วในเขตพะโค

โครงการสะพานชนบทมูลค่า 400 ล้านจัต เพื่อเชื่อมระหว่างเมือง Thanatpin กับหมู่บ้าน Minywar Kyaungsu ได้เปิดใช้อย่างเป็นทางการเพื่อความสะดวกในการคมนาคม เพื่อลดความยากลำบากในการขนส่งและกระตุ้นเศรษฐกิจในชนบทโดยครอบคลุม 10 หมู่บ้านที่มี 1,411 ครัวเรือนและชาวบ้านกว่า 6,800 คน กรมพัฒนาทางหลวงชนบท (Thanatpin) ได้ดำเนินการสร้างถนนและสะพานให้ครอบคลุม 70% ของประชากรในเขตพะโค

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/k400-mln-thanatpin-kyaungsu-bridge-opened-to-rural-community-in-bago-region/

เริ่มแล้ว ‘ม33เรารักกัน’ เปิดลงทะเบียนรับ 4,000 บาท ตั้งแต่วันนี้–7 มี.ค. 2564

วันที่ 21 ก.พ. 2564 กระทรวงแรงงาน ได้เปิดลงทะเบียนโครงการ ‘ม33เรารักกัน’ รับเงินเยียวยา 4,000 บาท เป็นวันแรก สำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19  โดยสามารถลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.ม33เรารักกัน.com และตรวจสอบการได้รับสิทธิ ตั้งแต่วันนี้ -7 มี.ค.64  โดยผู้ได้รับสิทธิ์สามารถตอบสอบคุณสมบัติ ลายละเอียด และลงทะเบียนได้ในเว็บไซต์ https://www.xn--33-nqia4jubqa0kcg0o.com/ ทั้งนี้คาดว่าจะมีผู้ประกันตน ม.33 เข้าข่ายมีสิทธิได้รับเงินเยียวยาในครั้งนี้ จำนวน 9.27 ล้านคน ใช้วงเงินทั้งสิ้นประมาณ 37,100 ล้านบาท

ที่มา: https://workpointtoday.com/m-33-we-love/

ไตรศุลี กำชับตรุษจีนอย่าขายของแพง

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในช่วงเทศกาลตรุษจีน 2564 ซึ่งตรงกับวันที่ 12 ก.พ.เผย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม จึงได้กำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ให้ดูแลควบคุมราคาสินค้าให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ป้องกันการฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้าเอาเปรียบประชาชน ร้านค้าต้องปิดป้ายแสดงราคาอย่างชัดเจน ซึ่งการไม่ปิดป้ายแสดงราคาสินค้า ยังมีโทษตามกฎหมายด้วย ทั้งนี้ ประเมินว่า ประชาชนจะเลือกซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบการจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ทุกแพลตฟอร์ม โดยตรวจสอบทั้งราคาและการโฆษณาเกินจริง ป้องกันการเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค รวมถึงป้องกันมิจฉาชีพ โฆษณาชวนเชื่อ หลอกลวงประชาชน จึงให้ประชาชน ได้ตรวจสอบข้อมูลก่อนเลือกซื้อสินค้า หากพบพฤติกรรมเข้าข่ายการกระทำความผิด สามารถแจ้งเบาะแสได้ที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) 1166 โดย ในวันตรุษจีน วันที่ 12 ก.พ.นี้ รัฐบาลกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการกรณีพิเศษ ชิญชวนประชาชนจับจ่ายใช้สอยในช่วงเทศกาลตรุษจีน โดยสามารถซื้อสินค้าและบริการผ่านมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐได้ เช่น โครงการคนละครึ่ง โครงการเราชนะ ฯลฯ ทั้งนี้ เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดการหมุดเวียนของเม็ดเงิน กระจายสู่ประชาชนอย่างทั่วถึง ช่วยบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากสถานการณ์โควิด-19 อย่างไรก็ตาม ขอให้ประชาชนเว้นระยะห่างเพื่อป้องกันโรคโควิด-19 ด้วย.

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/823919